หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 1309 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


ร่วมรำลึกครบร้อยวันสึนามิ พิมพ์
Thursday, 17 August 2006


ฝ่ายเผยแพร่เพื่อการมีส่วนร่วม  


Image

ร่วมรำลึกครบร้อยวันสึนามิ


ให้ความหวังปลุกปลอบเธอลุกขึ้นใหม่
ด้วยกำลังใจจากเราทั้งมวล


มีโอกาสได้ลงมาเก็บเกี่ยวเรื่องราวของอาสาสมัคร ณ ศูนย์อาสาสมัครสึนามิ เขาหลัก ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ในช่วงเวลาที่จะมีการจัดงาน  "100 days ...รำลึกครบร้อยวันสึนามิ ความหวัง...กำลังใจ...การฟื้นฟู" ระหว่างวันที่ 2 - 4 เมษายน 2548 ซึ่งจัดขึ้นที่บริเวณหาดบางเนียง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา เพื่อนำบางแง่มุมของอาสาสมัครมาถ่ายทอดลง "ผู้ไถ่" ฉบับนี้ ที่ซึ่งร่องรอยความสูญเสียยังยืนทะมึนเป็นภาพตอกย้ำจดจารอยู่ในก้นบึ้งความทรงจำของผู้ประสบภัยอย่างไม่อาจเลือนหาย ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าใด  หากท้องฟ้ายามค่ำคืนยังมีทั้งวันที่มีดวงจันทร์ส่องสว่างกระจ่างตาและวันที่ฟ้ามืดมนด้วยไร้แสงจันทร์ฉันใดก็ฉันนั้น ฉันคิดว่าเรื่องราวความมีน้ำจิตน้ำใจของอาสาสมัครจำนวนมากมายหลากหลายเชื้อชาติที่ผลัดเปลี่ยนกันมาช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิที่นี่ คงช่วยขับไล่ความมืดมนและรอยเศร้าหม่นของชีวิตผู้คนที่นี่ให้จางหายไปได้บ้าง และกาลเวลาคงช่วยทำหน้าที่นั้น


ทุกคนต่างเผชิญกับความสูญเสีย

ย่านการค้าบริเวณเขาหลัก ณ วันนี้เงียบเหงาบริเวณเขาหลัก อ.ตะกั่วป่า ที่พำนักของเรา (ฉันและเพื่อนร่วมงาน) เป็นบังกะโลเล็กๆ ซ่อนตัวอยู่ลึกเข้ามาจากด้านหน้าซึ่งเป็นร้านมินิมาร์ทและร้านค้าต่างๆ ติดถนนสายหลัก สาวน้อยคนแรกซึ่งดูแลต้อนรับผู้เข้าพักและคอยทำความสะอาดบังกะโลที่นี่ เป็นคนแรกที่ฉันได้ทราบถึงความสูญเสีย... พ่อแม่ของเธอจากไปกับคลื่นสึนามิ เหลือเพียงญาติผู้ใหญ่ที่คอยเป็นกำลังใจให้เธอดำเนินชีวิตต่อไป  ถึงแม้ฉันจะไม่เห็นร่องรอยความเศร้าบนใบหน้าของเธอยามนี้ก็ตาม  แต่เธอยังคงอ่อนเยาว์เหลือเกินในวัยที่ต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักเช่นนี้

บรรยากาศยามค่ำคืน...  ตลอดเส้นทางละแวกใกล้ที่พัก ซึ่งคงเคยเป็นย่านการค้าที่คึกคักไปด้วยนักท่องเที่ยวเพราะมีร้านอาหารมากมายหลายร้านทั้งเล็กใหญ่ให้เลือกตามกำลังทรัพย์ของลูกค้า มีร้านขายของที่ระลึก ร้านตัดสูทและเสื้อผ้า ร้านอินเตอร์เน็ท ฯลฯ ทุกที่มีแต่ความเงียบเหงา

เราเลือกร้านอาหารเล็กๆ บรรยากาศดูเป็นกันเองด้วยเก้าอี้ไม้ไผ่มีที่รองนั่งลายดอกไม้หลากสีสัน และแสงไฟนวลตายามส่องขับให้ร้านนี้สว่างพอเหมาะ  ยามนี้มีเพียงเราสองคนเป็นลูกค้าของร้านนี้  ...หลังมื้ออาหารของเรากำลังจะสิ้นสุดลง พี่ผู้หญิงเจ้าของร้านหน้าตาใจดี เดินถือผลไม้อันได้แก่ แตงโมและสับปะรดซึ่งถูกหั่นและจัดวางแล้ว 1 จาน นำมายื่นให้เรา พร้อมเชิญชวนให้รับประทาน น้ำใจถูกหยิบยื่นให้ก่อนแล้ว จึงนำไปสู่บทสนทนาถามไถ่ความเป็นไปของกันและกัน

พี่ลัดดาวัลย์  โลหะ เจ้าของร้าน Pueng Restaurant เป็นคนหนึ่งที่สูญเสียน้องสะใภ้และหลานไปในวันแสนเศร้าวันนั้น เธอบอกว่าเพิ่งจะพบศพของญาติเมื่อไม่กี่วันนี้เอง และได้ประกอบพิธีทางศาสนาเสร็จสิ้นไปแล้ว เธอเล่าว่า หลังเหตุการณ์วันนั้นผ่านไปไม่ทันข้ามวัน เธอออกตามหาญาติทั้งสองคน ต้องเดินลุยน้ำที่ยังท่วมขัง ระหว่างทางมีแต่เสียงร้องขอความช่วยเหลือของผู้ประสบภัยจนไม่รู้จะช่วยใครดี มีหลายคนสิ้นใจในขณะที่เธอเข้าไปช่วยดึงร่างของพวกเขาให้พ้นจากน้ำที่เต็มไปด้วยโคลน เป็นภาพที่ยังคงติดตาและไม่อาจสลัดทิ้งได้จนถึงวันนี้

พี่ลัดดาวัลย์ กับบรรดาอาสาสมัครต่างชาติ ซึ่งหมุนเวียนกันมาอุดหนุนแต่ละคืนเงียบเหงาเช่นนี้

ก่อนเรามาถึงพังงาไม่กี่วัน เพิ่งจะเกิดแผ่นดินไหวอีกระลอกที่เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย ความรุนแรงที่วัดได้ถึง 8.5 ริกเตอร์  มีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดคลื่นสึนามิได้อีก ประชาชนจึงพากันอพยพหนีขึ้นไปหลบอยู่บนที่สูงกันหมดรวมทั้งเธอและครอบครัวด้วย พี่ลัดดาวัลย์เล่าว่า "คืนนั้นชุลมุนวุ่นวายกันไปหมด รถชนคนข้ามถนนที่กำลังหนีขึ้นเขา รถติดเป็นขบวน พี่เองต้องพาพ่อกับแม่หนีขึ้นเขา ถ้าเกิดแบบนี้บ่อยๆ คงแย่  ลำพังพี่เองไม่เท่าไร สงสารพ่อแม่เพราะแกแก่มากแล้วทั้งคู่ ทุกคืนนี่หลับไม่เต็มตื่นเลย ระแวงว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีก แต่ละคืน.. ดึกๆ ต้องลุกออกมาหน้าร้านดูว่าเหตุการณ์ปกติดีอยู่ เดี๋ยวนี้เวลานอนต้องเตรียมกระเป๋าไว้ข้างตัวมีอุปกรณ์ที่จำเป็นเผื่อไว้หากเกิดอะไรขึ้นอีก"

พี่ลัดดาวัลย์บอกว่า "หลังเหตุการณ์วันที่ 28 มีนาคม ที่นี่ยิ่งเงียบกันไปใหญ่ นักท่องเที่ยวที่เริ่มกลับมาเที่ยวก็กลับกันไปหมด เขากลัว ดีที่ช่วงนี้มีอาสาสมัครต่างชาติมาช่วยสร้างบ้าน ช่วยเหลือผู้ประสบภัย เขาพักแถวๆ นี้กัน พวกเขาก็ผลัดกันมาอุดหนุนทานอาหาร เปลี่ยนร้านไปแต่ละวัน  ถ้าไม่ได้อาสาสมัครเหล่านี้มาช่วยคงแย่กว่านี้ นี่ก็ไม่รู้ว่าจะเปิดร้านได้อีกนานแค่ไหน" เสียงแผ่วเบาที่แฝงไปด้วยความกังวล ทำเอาแตงโมชิ้นที่อยู่ในปากหมดความหวานไปในชั่วขณะนั้น


อาสาสมัคร - มิตรภาพไร้พรมแดน

บริเวณหน้าศูนย์อาสาสมัครสึนามิที่ศูนย์อาสาสมัครสึนามิ เขาหลักเนเจอร์รีสอร์ต - เรือนไม้หลังคามุงจากถูกสร้างให้เข้ากับธรรมชาติและสภาพแวดล้อมที่ยังอุดมไปด้วยต้นไม้ สังเกตง่ายด้วยป้ายสีขาวมีรูปคนเหยียบบนคลื่นและตัวหนังสือภาษาอังกฤษว่า Tsunamu Volunteer Center มีหนุ่มสาวหลายคนทั้งไทยและฝรั่งต่างกำลังขะมักเขม้นอยู่กับงานของตน  พี่เล็ก อาสาสมัครคนหนึ่งถามเราว่า "ใครเย็บจักรเป็นบ้างมีงานจะให้ช่วย"  ไพ - เพื่อนร่วมงานที่มาด้วยกันอาสาด้วยความเต็มใจ เพราะได้ช่วยงานที่ตัวเองถนัดและดีใจที่ได้กลับมารื้อฟื้นการเย็บผ้าด้วยจักร ส่วนฉันผู้ไม่สามารถ จึงนั่งรองานอื่นที่พอจะทำได้ ขณะนั่งรอจึงสังเกตการณ์มองไปรอบๆ ตัว พี่หนูหริ่งนั่งอยู่หน้าแลปทอป สลับกับการรับโทรศัพท์ และเดินเข้าเดินออกห้องทำงานเป็นระยะๆ ท่าทางจะยุ่งเอาการ ส่วนพี่ป๊อกดูเหมือนจะเป็นมือขวาของพี่หนูหริ่งนั่งเตรียมสุนทรพจน์ที่พี่หนูหริ่งจะต้องขึ้นพูดในวันเปิดงาน เธอบอกว่า "ร่างให้ไปน่ะ แต่ไม่รู้จะพูดตามนั้นหรือเปล่า"

แล้วงานชิ้นแรกที่ฉันได้รับมอบหมายให้ทำอย่างถึงพร้อมด้วยศักยภาพก็มาถึงมือ กระดาษสีฟ้า ชมพู เหลือง มีข้อความภาษาอังกฤษบอกว่าพวงกุญแจตุ๊กตาผ้าซึ่งภายในบรรจุทรายนี้ เป็นฝีมือของผู้ประสบภัยสึนามิ และรายได้จากการขายตุ๊กตานี้ก็จะกลับไปสู่ผู้ประสบภัยอีกครั้ง เราจะต้องตัดกระดาษซึ่งถูกตีตารางขนาดไว้แล้ว และติดเข้ากับพวงกุญแจตุ๊กตาสึนามิทั้งหมด

อาสาสมัครกำลังช่วยกันเตรียมงาน 100 วันสึนามิไพมุ่งมั่นกับงานเย็บผ้านันกำลังทำแผนที่สำหรับแจก

ระหว่างทำงาน การสัมภาษณ์นอกรอบจึงเริ่มขึ้น เปิ้ล - น้องนักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีบพิตรภิมุข และเพื่อน มาฝึกงานด้านบัญชีที่มูลนิธิกระจกเงา เนื่องจากงานที่กรุงเทพฯ ไม่ค่อยมีอะไรให้ช่วย พี่ๆ จึงส่งมาช่วยเตรียมงาน 100 วันสึนามิ ที่นี่ ... ซาร่า มาจากออสเตรเลีย รู้ข่าวจากเว็บไซท์ tsunamivolunteer.net จึงสมัครไว้โดยบอกความสามารถที่มี เมื่อทางนี้ตอบรับเธอจึงเดินทางมาเป็นอาสาสมัคร...  มดแดง เป็นแม่บ้านเคยลงมาช่วยครั้งหนึ่งแล้วหลังเหตุการณ์ใหม่ๆ พอมีเวลาจึงลงมาอีกครั้ง เธอบอกว่าแฟนไม่ได้ห้ามอะไรที่ลงมา กลับชอบด้วยซ้ำที่เธอได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์...  สุและปุ้ม นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยบูรพา  พอปุ้มชวนสุ สุก็ใจง่ายลงมาด้วยทั้งๆ ที่กำลังมุงานวิทยานิพนธ์อยู่ แต่ความอยากช่วยมีมากกว่า พอมาแล้วก็ยิ่งอยากช่วยทำอะไรให้เป็นชิ้นเป็นอันมากกว่านี้ นี่ว่ากลับไปเที่ยวนี้จะไปร่างโครงการเพื่อช่วยในด้านการศึกษาให้เด็กๆ ที่นี่ตามที่ตัวเองเรียนมา  แล้วจะกลับลงมาช่วยคนให้เต็มที่กว่านี้... นัน - ทำนิตยสารด้านวิทยาศาสตร์ เคยลงมาช่วยหลังเกิดเหตุใหม่ๆ เช่นกัน เธอบอกว่า พอรู้ข่าวแล้วรู้สึกว่าต้องลงมาช่วยทำอะไรสักอย่าง มันอยู่เฉยไม่ได้ นันถนัดด้านงานเขียนเธอจึงช่วยเขียนบางแง่มุมของอาสาสมัครลงในเว็บไซท์ของศูนย์อาสาสมัครสึนามิ มาคราวนี้ก็ช่วยงานทำแผนที่สำหรับแจกผู้เข้าร่วมงานและงานเชิงเทคนิคที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์

เขาหลักเนเจอร์รีสอร์ทของครูแก้วซึ่งยกให้เป็นที่ทำการศูนย์อาสาสมัครฯไดแอน  กอนซาลเวส วิศวกรสาวทำงานอยู่บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา เธอบอกว่า หลังเหตุการณ์สึนามิ เธอพยายามหาข้อมูลว่ามีองค์กรใดประเทศไหนรับอาสาสมัครบ้าง จังหวะพอดีกับเพื่อนซึ่งมาเมืองไทยมองเห็นป้ายข้อความ Tsunami Volunteer Center จึงโทรบอกเธอว่าที่เมืองไทยมีงานอาสาสมัครให้เธอช่วยแล้ว หลังจากเคลียร์งานต่างๆ แล้ว เธอจึงลาพักร้อนมากับสามีเพื่อเป็นอาสาสมัครที่นี่ ไดแอนเพิ่งได้รับบาดเจ็บที่เท้าเนื่องจากกองไม้ล้มทับขณะไปช่วยสร้างบ้านให้ผู้ประสบภัยที่บางม่วง แต่แม้เธอจะเดินกะโผลกกะเผลก แต่ฉันเห็นเธอทำงานไม่หยุดเลย นี่ก็บอกว่าเท้าหายเจ็บเมื่อไรจะกลับไปช่วยสร้างบ้านอีก เธอชอบ!

ช่วงบ่ายแก่ๆ เราติดรถของศูนย์ฯ ไปที่หาดบางเนียง มองแต่ไกลจากบนท้ายรถปิ๊กอัพ ฉันเห็นพี่ช้างยิ้มร่าหน้าเกรียมแดดผิดจากวันที่เจอกันที่กรุงเทพฯ วันนั้นหน้ายังขาวใสดูอ่อนกว่าวัย แดดที่นี่เหมาะแก่การตากผ้าเป็นอย่างยิ่งเพราะแสงอุลตร้าไวโอเล็ตคงทะลุทะลวงฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ที่ฝังตัวอยู่ในผืนผ้าให้สลายเป็นจุลได้อย่างดี แต่สำหรับผิวกายของมนุษย์คงไม่อาจทานทนได้ เพราะแต่ละคนที่มาช่วยงานกลางแจ้ง ทำเวทีสำหรับการแสดงดนตรี แบกไม้ไผ่มาตอกทำเสาสำหรับขึงป้ายผ้างาน 100 วันสึนามิ ก่อกองทรายสัญลักษณ์งานฯ และงานอื่นๆ ที่ค่อนข้างต้องใช้แรงกาย นี่หากไม่ใช่น้ำใจแล้ว ใครกันจะมุ่งมั่นทำอะไรกลางแดดที่แผดจ้าเกินกว่า 40 องศาเซลเซียส ได้เช่นนี้

ไดแอน ผู้ขยันขันแข็งอาสาสมัคร กับงานทาสีเฟอร์นิเจอร์ที่ทำอย่างตั้งใจ

ที่นี่... ฉันได้พบกับกลุ่มอาสาสมัครเพิ่งมาจากกรุงเทพฯ อีกหลายคน

ปิยนุช และบุญฑริก  พลาชีวิน คู่สามีภรรยาใหม่หมาด ..นี่คงเป็นการมาดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ที่ฉันว่าเข้าท่าอย่างยิ่ง เมื่อเทียบกับการดำน้ำลงไปทำพิธีใต้สมุทร หรือปีนหน้าผาสูงขึ้นไปสวมแหวนให้กันและกัน แต่นั่นคงแล้วแต่มุมมองความคิดของแต่ละคน ฉันเผลอใช้บรรทัดฐานของตัวเองตัดสินคนอื่นอีกแล้ว กลับมาที่สามีภรรยาคู่นี้ ฝ่ายชายบอกว่า "ตอนแรกกะว่าจะมาเที่ยวกัน แต่พี่สาวตั้งใจจะมาช่วยงาน 100 วันสึนามิ เลยเปลี่ยนแผนมาช่วยเป็นอาสาสมัครด้วย มาถึงก็ได้ช่วยปักธง สานปลาตะเพียน ช่วยงานเล็กงานน้อยที่มี ถึงแม้มาครั้งนี้จะช่วยอะไรได้ไม่มากนัก แต่ต่อไปคงได้ช่วยงานกันอีกถึงจะไม่ใช่เรื่องสึนามิก็ตาม เพราะพอมาแล้วปลื้มใจเห็นคนไทยช่วยกัน ยิ่งฝรั่งต่างชาตินี่ โอ้โห ! เขามุมานะมากเลย"

ชุติมา ชื่นชูผล เธอเป็นนางฟ้าประจำสายการบินประเทศดูไบ หรือสหรัฐอาหรับเอมิเรต  เธอบอกว่า "ช่วงที่เกิดสึนามิเห็นข่าวแล้วก็อยากจะมาช่วยตั้งแต่ตอนนั้น แต่ไม่สามารถลางานได้ พอมีช่วงลาพักร้อนจึงชวนเพื่อนมา ตั้งใจมาช่วยงาน 100 วันสึนามิ ไม่เคยเป็นอาสาสมัครมาก่อนเลย  พอมาทำแล้วชอบ ถ้ามีโอกาสจะทำอีกเพราะพอได้ช่วยแล้วรู้สึกดีใจว่าตัวเองก็ทำประโยชน์ให้สังคม"

มดแดง และคริสคุณปิยนุช และคุณบุญฑริกคุณชุติมา แอร์โฮสเตสคนสวย
คุณกบอาสาช่วยขายของที่ระลึก

คุณกบ - อาภัสสร  อินทอักษร ผู้จัดการโครงการหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าฯ คุณกบเป็นอาสาสมัครสึนามิรุ่นแรกที่ลงมาช่วยผู้ประสบภัยหลังเหตุการณ์ฯ ไม่นานนัก ครั้งแรกเธอตั้งใจลงมาช่วยทำศิลปะบำบัดให้แก่เด็กๆ เพราะเธอมีความถนัดทางด้านศิลปะ แต่พอมาแล้วกลับได้ช่วยงานด้านการพิสูจน์เอกลักษณ์ของศพโดยใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิกมาตกแต่งภาพเพื่อหาศพที่จำสภาพไม่ได้ ระหว่างช่วยงานพิศูจน์ศพ เธอสลับกับการไปช่วยทำศิลปะบำบัดให้เด็กๆ ที่บางม่วงด้วย ชวนเด็กวาดรูปเพื่อระบายความรู้สึก สำหรับการลงมาครั้งนี้เธอชวนเพื่อนๆ ซึ่งทำงานด้านศิลปะ มาช่วยกันจัดเตรียมงาน 100 วันสึนามิ นำงานศิลปะมาร่วมจัดแสดงและขายเพื่อนำเงินบริจาคเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่นี่ด้วย

แล้วในขณะที่แดดยามบ่ายแก่ๆ แผดรังสีร้อนแรงอยู่ดีๆ เมฆก้อนสีเทาจางๆ ที่ก่อตัวหนาขึ้นและสีเข้มขึ้น ก็เริ่มเข้ามาบดบังแสงอันแรงกล้านั้น พร้อมหอบลมพายุมาเตือนรอบหนึ่งว่า ฉันจะก่อฝนให้ตกลงมาแล้วนะ พวกเจ้าจงเตรียมตัวกันให้ดี คนทำงานทั้งหลายเริ่มชะลอการงานที่ต่างก็ลงมือลงแรงไว้ เตรียมหาที่กำบัง... แล้วสายฝนเม็ดใหญ่ๆ ก็พรั่งพรูหล่นจากฟ้าราวกับอัดอั้นมาแสนนาน เป็นอันว่างานกลางแจ้งทั้งหมดต้องยุติลงด้วยเวลาเพียงเท่านี้


ร่วมให้ความหวัง...ปันกำลังใจ

บนหลังอานของเจ้าสองล้อ ถูกนำพามาด้วยหยาดเหงื่อและแรงกายของบรรดาสมาชิกชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย เกือบ 100 ชีวิต ของขบวนจักรยานทางไกล กรุงเทพฯ - พังงา ระยะทาง 800 กิโลเมตร กับช่วงเวลา 6 วันบนอานจักรยาน ฝ่าระอุไอแดดเดือนเมษาฯ  พวกเขาขี่จักรยานเพื่อมาร่วมเป็นกำลังใจให้แก่ผู้ประสบภัยสึนามิอย่างที่เรียกได้ว่า ใจเกินร้อยจริงๆ

ฉันเดินเคียงมากับคุณลุงพีระโชติ  อินทร์นเรศ ชายวัย 70 ผู้นี้ยังดูแข็งแรงและหนุ่มกว่าวัย คุณลุงบอกว่า "เราเห็นความเดือดร้อนของชาวบ้านเขา รู้ว่าเกิดอุบัติเหตุแบบนี้ เราก็ยิ่งต้องมาช่วยเขาเต็มที่ เห็นคนไทยด้วยกันหรือเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกเกิดความเดือดร้อน เราก็ต้องมาช่วยเหลือ นี่ก็นำเงินที่สมาชิกชมรมฯ สมทบกันมาร่วมบริจาคด้วย"

คุณลุงพีระโชติ (กลาง)คุณจารุกัญญา กับรอยยิ้มสดใสขบวนรถจักรยานทางไกลจอดรอพิธีเปิดงาน

ฉันมองใบหน้าเกรียมแดดของคุณลุง ไม่พบร่องรอยความเหน็ดเหนื่อยใดๆ ปรากฏให้เห็นแม้แต่น้อย ใบหน้าเปื้อนยิ้มฉายแววเปี่ยมสุขจากสิ่งที่ได้กระทำ

และท่ามกลางวงล้อมของชายหนุ่มทั้งหนุ่มเล็กและหนุ่มใหญ่ ฉันเห็นหญิงสาวคนหนึ่งร่วมขบวนมากับทีมจักรยานทางไกลนี้ จึงต้องเดินเข้าไปทักทายถามไถ่ เธอชื่อ จารุกัญญา  ราชศิริ สมาชิกชมรมจักรยานฯ ที่หลงเสน่ห์การเดินทางบนหลังอานอีกคนหนึ่ง "ปกติสมาชิกชมรมจักรยานฯ จะมีกิจกรรมเกี่ยวกับสังคมเยอะอยู่แล้ว แต่ครั้งนี้ อันดับแรกเลยคือมาด้วยใจ เรามีใจที่จะช่วยบรรเทา อย่างน้อยๆ คนที่ประสบภัยเห็นพวกเรามีใจให้ เขาจะได้ชื่นใจ แล้วอีกอย่างเราอยากช่วยประชาสัมพันธ์ส่งข่าวให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบและกระตุ้นเตือนให้เขาได้คิดถึงเหตุการณ์นี้ว่าคนเดือดร้อนมีอยู่เยอะ และยังต้องการความช่วยเหลืออีกหลายด้าน จะได้คิดถึงและมาช่วยกัน"

นอกจากขบวนจักรยานทางไกลแล้ว ยังมีขบวนพาเหรดนำโดยเด็กๆ จากชุมชนผู้ประสบภัยสึนามิ อาทิ ชุมชนบ้านน้ำเค็ม บ้านบางม่วง คุระบุรี ตามด้วยชาวมอร์แกนจากบ้านทับตะวัน เด็กๆ แต่งตัวสวยงามเพื่อร่วมกิจกรรมการแสดงซึ่งตั้งใจนำมามอบเป็นดังของขวัญขอบคุณผู้มีน้ำใจดีทั้งหลายที่ให้ความช่วยเหลือพวกเขา ท้ายขบวนยังมีบรรดาอาสาสมัครต่างชาติหญิงชายหลายคนเดินถือร่มลวดลายดอกทานตะวันตามมาด้วย ขบวนต่างๆ เคลื่อนมาสู่บริเวณชายหาดบางเนียง สถานที่ใช้จัดงานรำลึกร้อยวันสึนามิซึ่งกำลังจะเริ่มขึ้นแล้ว

ก่อนพิธีเปิดจะเริ่ม ...อาสาสมัครต่างชาติถือร่มดอกทานตะวัน ยืนกระจายออกไปเป็นจุดๆ มีเด็กๆ จากแต่ละชุมชนอยู่ภายใต้ร่มเงานั้น เสมือนต้องการสื่อความหมายว่า ชีวิตของเด็กๆ เหล่านี้ก็เช่นกัน ด้วยกำลังใจและความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ใจดีที่คอยโอบอุ้มดูแล จะช่วยให้พวกเขาเติบโตขึ้นอย่างสง่างาม เฉกเช่นดอกทานตะวันที่บานชูช่อรับอรุณแดดท้าทายแสงอันแรงกล้าได้อย่างมั่นคง

ขบวนพาเหรดตั้งแถว ก่อนเดินสู่บริเวณจัดงานขบวนพาเหรดตั้งแถว ก่อนเดินสู่บริเวณจัดงานเด็กผู้ประสบภัยฯ กับอาสาสมัคร ภายใต้ร่มทานตะวันสีสันสดใส

แล้วพิธีเปิดงานก็เริ่มขึ้น หลังจากคบไฟถูกจุดลงบนไฟโคมสัญลักษณ์ของงาน โดยนายอนุวัฒน์  เมธีวิบูลวุฒิ ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ธงลูกลมซึ่งทำจากไม้ไผ่หมุนติ้วด้วยแรงลม สัญลักษณ์ ดิน น้ำ ลม ไฟ ถูกใช้สื่อความหมาย ถึงพลังแห่งชีวิตซึ่งดำเนินไปเป็นวัฏจักรของโลก งานที่ต้องการสื่อถึงการร่วมสร้างชีวิตใหม่ให้กับผู้คนและชุมชนด้วยความหวังและความมุ่งมั่นของผู้คนที่ยังคงอยู่ในผืนแผ่นดินเดิม

ภายในงานมีนิทรรศการภาพถ่ายรำลึกความสูญเสียจากเหตุการณ์สึนามิ มูลนิธิและองค์กรภาครัฐและเอกชนซึ่งลงมาให้ความช่วยเหลือในการสร้างบ้านพักและช่วยฟื้นฟูอาชีพให้ผู้ประสบภัย ต่างก็นำผลงานของผู้ประสบภัยมาจัดแสดง อาทิ มูลนิธิศุภนิมิต มูลนิธิมายาโคตมี มูลนิธิดวงประทีป ฯลฯ มูลนิธิสิกขาเอเชียนำรถหนังสือเคลื่อนที่มาให้เด็กๆ อ่านกัน บ้านปากเตรียม อ.คุระบุรี ก็นำผลงานผ้ามัดย้อมของกลุ่มแม่บ้านมาให้ดู ส่วนวัดสามัคคีธรรม เกาะพระทอง นำผลงานของชาวมอร์แกนมาร่วมด้วย และยังมีโครงการซ่อมและต่อเรือประมงที่ชาวบ้านนำเรือมาตอกมาทำให้ดูกันชัดๆ  มีการสอนทำอาหารทั้งไทยและเทศให้ผู้สนใจ อีกทั้งนิทรรศการภาพศิลปะของศิลปินจากกรุงเทพฯ และยามเย็นย่ำเป็นต้นไปยังมีดนตรีทั้งแจ๊ส เรกเก้ อะคูสติก จากวงดนตรีทั้งไทยและสากล มาร่วมบรรเลงกันอย่างรื่นรมย์

กลุ่มผู้สูงอายุจากกรุงเทพฯ มาทำอาหารแจกในงานกลุ่มผู้สูงอายุจากกรุงเทพฯ มาทำอาหารแจกในงาน

มีเต๊นท์หนึ่งที่ประทับใจฉันเสียจริง กลุ่มผู้สูงอายุทั้งชายและหญิง แต่ละคนอายุเกิน 50 ปีขึ้นไปทั้งนั้น เธอและเขามาจากกรุงเทพฯ พวกเขาขนอาหารสดผักสดหลากหลายชนิด หม้อ กระทะ ถังแก๊ส เครื่องปรุง วัตถุดิบต่างๆ ใส่รถปิ๊กอัพบรรทุกมาเมื่อตอนค่ำ ครั้นถึงพังงาเมื่อรุ่งเช้า พวกเขาก็มุ่งมายังที่นี่  เพื่อมาปรุงมาทำกันสดๆ และเมื่อปรุงเสร็จแล้ว ทั้งก๋วยเตี๋ยวหลอด ข้าวกะเพราไก่ หอยลายผัดน้ำมันหอย ผัดคะน้าปลาเค็ม ส่วนขนมหวานคือ ขนมปังสังขยา ก็พร้อมให้ผู้มาร่วมงานนำไปรับประทานฟรี เพราะนี่คือหนึ่งน้ำใจที่พวกเขาตั้งใจนำมามอบให้กับผู้ประสบภัยและอาสาสมัครที่นี่


กำลังใจ... จากใจ...สู่ใจ

ท่ามกลางซากปรักหักพังและร่องรอยที่มหันตภัยสึนามิฝากไว้ รอบบริเวณหาดบางเนียง บรรยากาศของความสูญเสียยังคงอบอวลอยู่รายรอบ ขณะเดินออกจากบริเวณงาน 100 วันสึนามิ ฉันสะดุดตากับร่างของหญิงสูงอายุร่างท้วมคนหนึ่ง เธอตะโกนเรียกรถปิ๊กอัพคันหนึ่งซึ่งวิ่งแซงหน้าเธอไปจอดไกลเกือบกิโลฯ เธอค่อยเดินกะโผลกกะเผลกอย่างเชื่องช้าไปข้างหน้า ร้องไห้และพูดพึมพำอยู่คนเดียว ฉันเดินเข้าไปถาม "ป้าจะไปไหนคะ" เธอพูดเสียงเครือสำเนียงจีนปนไทยจับใจความได้ว่า เธอมาร่วมงานเพื่อรำลึกถึงลูกหลานซึ่งเสียชีวิตในเหตุการณ์สึนามิ ซึ่งลูกและหลานของเธอทำงานอยู่แถวนี้ในวันนั้น "นี่ไง ตรงนี้แหละ ตายหมดเลย"  เธอชี้ไปยังซากปรักหักพังของกองอิฐข้างทางไม่ไกลจากจุดที่เรายืนนัก เธอคร่ำครวญต่อไปว่า "หลานชายขับรถมาให้ แล้วดูซิมันขับไปนู่นแล้ว มันแกล้งฉัน มันจะให้ฉันเดินไป มันก็รู้ว่าขาฉันไม่ดี"  ฉันช่วยพยุงแกเดินและเรียกรถที่ขับผ่านมาให้ช่วยไปส่งยังรถของหลานชาย ฉันหวังว่าสิ่งที่ได้ทำไปคงช่วยลบเลือนรอยเศร้าของเธอได้บ้าง สักเพียงน้อยนิดก็คงดี

นิทรรศการภายในงานธงลูกลมสัญลักษณ์ของงานศิลปะจัดวาง


ปล่อยทุกข์...ทิ้งโศก... ลงเรือ ...ไปลอยทะเล

สายวันนี้มีกิจกรรม "ลอยเรือ" เรือจำลองซึ่งถูกตกแต่งอย่างสวยงาม 3 ลำ ลำที่ 1 เป็นดังเรือแห่งความหวัง - "HOPE" เรือลำที่ 2 คือเรือแห่งกำลังใจ - "SPIRIT" และเรือลำที่ 3 เรือแห่งการฟื้นฟู - "RENEWAL" ตามความเชื่อของชาวมอร์แกน การลอยเรือจะทำเพื่อเป็นการส่งวิญญาณผู้ล่วงลับให้ไปสู่สุคติ และสำหรับผู้ยังมีชีวิตอยู่ การลอยเรือยังเป็นการลอยทุกข์ลอยโศกและโรคภัย โดยการตัดเส้นผม เศษเล็บมือเล็บเท้า เศษชิ้นส่วนจากเสื้อผ้าที่สวมใส่ และเศษสตางค์ รวมกันใส่ห่อแล้วนำวางลงในเรือจำลองซึ่งจะนำไปลอยทะเล ผู้ร่วมงานหลายคนทั้งไทยและฝรั่ง รวมทั้งฉัน ต่างก็ร่วมทำพิธีนั้นอย่างตั้งอกตั้งใจ 

ชาวมอร์แกนร้องเพลงในพิธีเรือจำลองเตรียมพร้อมทำพิธี "ลอยเรือ"Image

แล้วพิธีลอยเรือก็เริ่มขึ้นโดยอาสาสมัครที่เป็นชาย ช่วยกันยกเรือจำลองทั้ง 3 ลำขึ้นบนบ่า มุ่งหน้าเดินลงสู่ทะเล พวกเขาจะต้องนำเรือทั้งสามขึ้นไปยังเรือที่ลอยลำรออยู่ไม่ห่างจากฝั่งมากนัก เพื่อให้เรือใหญ่นำพาเรือทั้งสามลำไปลอยกลางทะเลลึก ไกลออกไป

อาสาสมัครช่วยกันแบกเรือลงทะเลImage


ความหวัง กำลังใจ และการฟื้นฟู ภารกิจของเราทั้งมวล

กะลามะพร้าวใส่ดอกไม้หลากสีสันแต่ละใบถูกแจกจ่ายให้กันและกัน ทั้งอาสาสมัครและชาวบ้านที่มาร่วมงาน ทุกคนร่วมกันรำลึกถึงดวงวิญญาณของผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์  สึนามิ ขอให้ดวงวิญญาณของเขาทั้งหลายเหล่านั้นไปสู่สุคติ ไปสู่ดินแดนอันสงบสุข ณ ฟากฝั่งอันไกลโพ้น ที่ซึ่ง ณ วันหนึ่งเราทุกคนต่างก็ต้องกลับไปสู่บ้านแห่งนั้น แต่ ณ วันนี้ วันที่เรายืนอยู่ตรงนี้ ร่วมเป็นกำลังใจให้กับผู้ยังอยู่ ภารกิจของอาสาสมัครยังต้องดำเนินต่อไป ยังมีงานฟื้นฟูมากมายรอคอยพวกเขาและพวกเราที่จะเข้าร่วมเป็นกองหนุนกองกำลังเสริม เพราะภารกิจนี้ยังต้องใช้เวลาอีกยาวนานนัก...

ร่วมกันรำลึกถึงผู้จากไปกะลาใส่ดอกไม้หลากสีสัน

ImageImageImage

ทุกเพศทุกวัย ไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา

เขียนความคิดเห็น (0 ความคิดเห็น)
ปั๊กส์คริสตีเรียกร้องให้ยุติความรุนแรงในตะวันออกกลาง พิมพ์
Wednesday, 26 July 2006

ปั๊กส์คริสตีเรียกร้องให้ยุติความรุนแรงในตะวันออกกลาง


ปั๊กส์คริสตีขอให้ทั้งสองฝ่ายเคารพในกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยมนุษยธรรม (International Humanitarian Law) ซึ่งมีข้อผูกพันให้หลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อประชาชนทั้งในชีวิตและที่อยู่อาศัย ตลอดจนถนนหนทาง สะพาน สนามบิน สถานีรถไฟ โรงพยาบาล และโรงเรียน เป็นต้น


ข้อเรียกร้องต่างๆ รวมถึงการหยุดยิงและการหันหน้ามาเจรจากันอย่างสร้างสรรค์

อ่าน Pax Christi International on War in Lebanon, Israel and Palestine ได้ใน ME.59.E.06  หรือคลิกไปที่ www.paxchristi.net

เขียนความคิดเห็น (0 ความคิดเห็น)
SECURITY / INTERNATIONAL COOPERATION; Thailand to push landmine ban (THAILAND) พิมพ์
Wednesday, 26 July 2006

SECURITY / INTERNATIONAL COOPERATION; Thailand to push landmine ban (THAILAND)

BANGKOK, Thailand, 26 May 2006 (Bangkok Post)

By ACHARA ASHAYAGACHAT

Thailand will push for the elimination of landmines at the eighth ministerial meeting of the Human Security Network (HSN) in Bangkok next week, a senior Foreign Ministry official said yesterday.

Foreign Minister Kantathi Suphamongkhon will host the annual meeting before handing over the one-year chairmanship of the HSN to Slovenia, said Peerasak Chantavarin, deputy director-general of the Department of International Organisation.

Some state parties to the Ottawa Landmines Treaty, including Thailand, are not on course to meet their Article 5 deadlines for the elimination of landmines by 2009.

"Cooperation within the Human Security Network, with core countries from the middle-ranged major powers, could help the HSN members and also those parties to the landmine treaty to meet the deadlines," Mr Peerasak said.

Forty countries, with a combined stockpile of around 160 million anti-personnel mines, remain outside the treaty.

These include three of the five permanent members of the UN Security Council - China, Russia and the US - most of the Middle East, most of the former Soviet republics, and many Asian states.

Other HSN members include Austria, Canada, Chile, Costa Rica, Greece, Ireland, Jordan, Mali, the Netherlands, Norway, Switzerland and South Africa as an observer.

The June 1-2 ministerial meeting will review activities and future strategies.

A May 30-31 symposium on 'Building and Synergising Partnerships for Global Human Security and Development' will be a fine-tuning session. It will focus on partnership in areas such as small arms, light weapons and landmines, environmental security - in particular challenges from man-made and natural disasters - and health security, including issues such as HIV/Aids, Sars, and avian flu.

เขียนความคิดเห็น (0 ความคิดเห็น)
Young elephants continue to fall victims to anti-personnel landmines in Burma/Myanmar พิมพ์
Wednesday, 26 July 2006

Young elephants continue to fall victims to anti-personnel landmines in Burma/Myanmar


Author(s): Yeshua Moser-Puangsuwan < > . Monday 03 July 2006

In the landmine infested forests along the border between Burma/Myanmar and Thailand, the casualty count includes elephants used for timber extraction.

On 9 June 2006 Mosha, a seven-month old calf was injured by a landmine while accompanying her mother who

Mosha, a seven-month old calf who lost her right foot to a anti-personnel landmine in Burma on 9 June 2006. Copyright Friends of the Asian Elephant Thailand.

was being used in logging activities. The incident happened across the border from Tha Song Yang, Thailand. The incident took place in forests contested by the Karen National Liberation Army, the Democratic Karen Buddhist Army, and forces of the ruling military junta. Dozens of civilians and combatants have been involved in landmine incidents in the area. It is unknown who laid the mine which injured the elephant, but some armed groups are known to surround their timber concessions with landmines to protect their resource base from attacks by military rivals.

Mosha receives medical care for her mine injury at the Friends of the Asian Elephant hospital in Lampang, Thailand. Copyright Friends of the Asian Elephant Thailand.

Mosha lost up to three inches of her right front foot due to the blast of the anti-personnel landmine. Her left front leg also received minor shrapnel injuries. It took two days before the elephant calf could reach the Friends of the Asian Elephant (FAE) Hospital, a unique veterinary hospital for elephants in Lampang, northern Thailand. Despite her severe injury, Mosha continues to nurse from her mother.

Mosha nurses from her mother, while receiving treatment for her mine injury at the Friends of the Asian Elephant hospital in Lampang, Thailand. Copyright Friends of the Asian Elephant Thailand.

Anti-biotics and pain relief medication are administered orally by crushing the medicine into powder and mixing it with fruit jam. The stump has been treated with anti-infection medicines.

Elephant landmine victims from Burma's landmine infested forests close to the Thai border have been reported by the Landmine Monitor report almost every year since 1999. While cross border transportation of timber is questionably legal, cutting of the forest in the border areas of Burma has consistently taken place for the past two decades. Elephants trained in timber extraction in Thailand work in the forests across the border, and some are injured or killed by anti-personnel landmines.

เขียนความคิดเห็น (0 ความคิดเห็น)
FOCUS / BURMA : Minorities fear being dammed and damned พิมพ์
Wednesday, 26 July 2006


FOCUS / BURMA

Minorities fear being dammed and damned

The Salween, Southeast Asia's longest undammed waterway, is fast becoming a front line in one of the world's longest-running conflicts

http://www.bangkokpost.com/News/20Jun2006_news21.php

By ED CROPLEY

Burma-Thai border _ From the ice fields of the Himalayas to the azure waters of the Andaman Sea, the Salween flows undisturbed through some of the most outwardly tranquil territory on earth. But the 2,800km river, Southeast Asia's longest undammed waterway, is fast becoming a front line in one of the world's longest-running conflicts _ the war between Burma's military junta and the region's ethnic Karen people.

The predominantly Christian Karen, who have been fighting for independence for more than 50 years, believe plans by Rangoon's State Peace and Development Council (SPDC), as the junta is officially known, to dam the Salween are designed to destroy their jungle homeland and culture.

The Karen and environmentalists also accuse Thailand _ whose state power producer, the Elecriticy Generating Authority of Thailand (Egat), has signed a deal with Rangoon to build the dams _ of turning a blind eye to the plight of the Karen in a quest for cheap hydro-electricity.

''The dams are one of the weapons the SPDC is using to clear us out,'' said Nay Tha Blay, 33, of Karen Rivers Watch, a pressure group operating out of a bamboo hut in a secret valley in rebel-held territory near the Salween.

''If soldiers burn the village, the flowers can still blossom in the forest. If the village is flooded, the flowers will have nowhere to grow,'' he said, quoting a popular Karen folk song.

On both the Burma and Thai sides of the river, dozens of villages are home to men, women and children forced out of the eastern Karen State by SPDC raids.

At one makeshift refugee camp, new arrivals spoke of neighbours murdered and communities burnt to the ground. Some used the word myo dong. In Karen, it means genocide.

Sandwiched between the SPDC troops and Thailand _ which already has 120,000 long-term Burma refugees and is loathe to take more _ they see the Salween as a final hiding place. If the waters rise, they have nowhere to go.

''We will have to abandon our homes, our land, our lives, everything,'' said Sein Win, a 56-year-old captain in the Karen National Liberation Army (KNLA), one of the many ethnic militias in eastern Burma opposed to Rangoon.

''If they build the dams, the KNLA will have to fight,'' he said.

As with most things involving Burma, one of the world's most secretive regimes, information is scarce and villagers have been told nothing by governments on either side of the river.

However, Nay Tha Blay, who has to use British colonial-era maps from 1927 to sketch out potential flood areas, says survey teams have been spotted up and down the river.

Egat engineers began a feasibility study on a proposed 1,000-megawatt (MW) dam at Hutgyi, 50km inside Burma, but Egat refuses to discuss details, citing a confidentiality clause in its deal with Rangoon.

The study was suspended at Burma's request last month after an engineer was killed in a landmine blast at the site, where Karen rights groups say ethnic minority people are victims of forced labour at the hands of the Burman-dominated SPDC _ an allegation Egat denies.

''If we want them to work, we hire them. They are not forced to work for us,'' said Nipon Pienpucta, head of Egat's hydropower engineering division.

Upstream of Hutgyi is the site of the planned Upper Salween dam _ 168 metres (550 feet) high, according to green groups who fear it will form a lake stretching 380km through valleys controlled largely by rebel Karen, Karenni and Shan militias. China's Three Gorges dam is 185m high.

During the dry season, as the river subsides 10 metres (33-ft) or more, concrete Egat markers are visible on rocks and a road has been cut through the forest on the Thai side to within a few hundred metres of the dam site.

Mr Nipon denied any work was under way, but said the proposed 4-5,000MW dam could be even higher than many already fear.

''The upper one will be very high, if built,'' he said.

His only apparent concern was that the reservoir could affect the Pai river, a Salween tributary that flows out of northwest Thailand more than 240km upstream.

He refused to discuss any potential impact on rivers or communities inside Burma, or compensation for displaced people.

''We will study the impact,'' he said. ''If it is going to Pai, it will cause a lot of trouble. Okay, we can move people, but it's going to be difficult.''

Burma's government did not respond to requests for comment.

According to the confidential agreement between Egat and the junta, a copy of which was obtained by Reuters, Thailand will receive a ''certain percentage of free power'' for building Hutgyi, the first of the planned hydropower projects.

However, environmentalists and rights workers worry that the eletricity company is blithely ignoring the human cost of the dams, in particular to the Karen, who number about seven million, or just over 10% of Burma's population.

Thailand's Senator Tuenjai Deetes, who has been pushing Egat to come clean on its plans, fears they could create another 100,000 Burma refugees in northern Thailand.

''Their main idea is to make electricity for the lowest cost, and dams outside Thailand are the cheapest investment,'' Ms Tuenjai said.

''Egat has never been interested in human rights, especially those of our ethnic friends in Burma.''REUTERS

 

เขียนความคิดเห็น (0 ความคิดเห็น)
<< หน้าแรก < ย้อนกลับ 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 หน้าถัดไป > หน้าสุดท้าย >>

ผลลัพธ์ 730 - 738 จาก 847