หน้าหลัก arrow สื่อสิ่งพิมพ์ ยส. arrow สารวันสันติสากล arrow ไร่หมุนเวียน กับบทบาทการรักษาพันธุ์พืชและความมั่นคงทางด้านอาหาร
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 491 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ไร่หมุนเวียน กับบทบาทการรักษาพันธุ์พืชและความมั่นคงทางด้านอาหาร พิมพ์
Tuesday, 23 January 2024

Image
วารสารผู้ไถ่

ปีที่ ๔๔ ฉบับที่ ๑๒๓ ก.ย. - ธ.ค. ๒๕๖๖


ไร่หมุนเวียน
กับบทบาทการรักษาพันธุ์พืช
และความมั่นคงทางด้านอาหาร

บือพอ...ถาวร กัมพลกูล 

 


Image

ท่ามกลางกระแสการพัฒนาตามแนวทางทุนนิยมและบริโภคนิยม รัฐบาลได้มุ่งเน้นให้ประเทศพัฒนาไปสู่ความเป็นเมืองและอุตสาหกรรมเป็นหลัก ในขณะที่ได้ละเลยการให้ความสนใจภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะเกษตรพื้นบ้านที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของความมั่นคงด้านอาหารของสังคมไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้บทบาทของเกษตรพื้นบ้านในชุมชนท้องถิ่นเริ่มสั่นคลอน หากเป็นเช่นนี้ก็จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางด้านอาหารของสังคมไทยในอนาคตอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

ไร่หมุนเวียน คือรูปแบบการเกษตรพื้นบ้านอย่างหนึ่งในชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ นับเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับทางออกแห่งการดำรงไว้ซึ่งความมั่นคงทางด้านอาหาร สั่งสมองค์ความรู้ด้านการดำรงรักษาพันธุ์พืชพื้นเมืองหลากหลายชนิด ซึ่งหมายถึงความสามารถในการดำรงรักษาความมั่นคงทางด้านอาหารนั่นเอง จากการสำรวจเก็บข้อมูลของผู้เขียนในชุมชนปกาเกอะญอบ้านแม่จอกหลวง หมู่ ๘ ต.ป่าแป๋ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ พบว่ามีการปลูกพันธุ์พืช ๖๐ ชนิด ๑๓๐ สายพันธุ์

การที่ไร่หมุนเวียนมีความสามารถที่รองรับการปลูกพันธุ์พืชหลากหลายชนิดเช่นนี้ เนื่องจากภูมินิเวศเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะแก่การเกษตรผสมผสาน เพราะพันธุ์พืชแต่ละชนิดมีคุณลักษณะของการเจริญเติบโตและความต้องการในด้านต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน ซึ่งสภาพพื้นที่ไร่หมุนเวียนสามารถเอื้ออำนวยให้หมด ทั้งผ่านทางการจัดการทางธรรมชาติและการจัดการโดยมนุษย์

พืชที่ต้องการร้าน เช่น ถั่ว มัน มะระ บวบ น้ำเต้า ขณะถางไร่มีการเก็บร้านไว้ให้ โดยจะละเว้นการตัดต้นไม้บางต้นที่เห็นว่าเหมาะแก่การทำร้าน เรียกต้นไม้นี้ว่า "เส่เตอะเร" หรือไปปลูกไว้ริมไร่ใกล้กับรั้ว พืชก็อาศัยรั้วเป็นร้าน

พืชบางอย่างต้องการธาตุอาหารมาก เช่น เผือก ก็จะปลูกลงในกองขี้เถ้าที่เรียกกันว่า "ยุ" หรือปลูกใต้ต้นไม้ลิดกิ่งที่มีขี้เถ้ามากกว่าที่อื่น เพราะการลิดกิ่งเป็นการลดขนาดของไม้ลง เมื่อขนาดลดลง การทับถมกันแน่นหนามากกว่า การเผาไหม้จะดีกว่า จึงได้ขี้เถ้ามากกว่า หรือปลูกลงในขอนไม้ผุที่ถูกเผาไหม้เหลือเพียงเถ้าถ่าน 

พืชบางอย่างขึ้นได้ดีในพื้นที่ดินเหนียวก็จะปลูกลงบนจอมปลวก เช่น พริก มะเขือ

พืชบางอย่างต้องการความชื้นสูงก็จะปลูกลงในริมลำห้วย ลำธาร เช่น ฟักทอง ผักกาด ผักจีน

พืชบางอย่างจะเจริญเติบโตได้ดีเมื่อปลูกแซมกับข้าว ได้แก่ แตงกวา บวบแคระ หากปลูกแยกจากข้าวจะงอกไม่ดีเท่า และจะสูญพันธุ์ไปในที่สุด

พืชบางอย่างเจริญเติบโตได้ดีต้องอาศัยการเผาไหม้ เช่น ผักห่อวอ หากปลูกในพื้นที่ที่ไม่มีการเผาไหม้ของเศษไม้จะงอกไม่ดีเท่า และจะสูญพันธุ์ไปในที่สุดเช่นเดียวกัน

จะเห็นได้ว่าไร่หมุนเวียนเป็นพื้นที่ที่เอื้ออำนวยและช่วยก่อให้เกิดพันธุ์พืชพื้นเมืองที่หลากหลาย และความหลากหลายทางพันธุ์พืชเหล่านี้นี่เอง ทำให้ชุมชนมีความสามารถในการพึ่งตนเองและมีความมั่นคงทางอาหารอย่างแท้จริง

แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าการเกษตรรูปแบบไร่หมุนเวียนกลับได้รับการปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงจากสังคมภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากรัฐ รัฐพยายามผลักระบบนี้ออกไป และนำเอาระบบใหม่เข้ามาแทนที่ คือรูปแบบการเกษตรที่ใช้ที่ดินซ้ำอยู่กับที่และปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อการพาณิชย์ ซึ่งรูปแบบนี้ได้ตัดตอนความมั่นคงทางด้านอาหารอย่างสิ้นเชิง ส่งผลให้ความมั่นคงทางด้านอาหารในชุมชนปกาเกอะญอที่มีรูปแบบการเกษตรไร่หมุนเวียนมีความสั่นคลอน

ถึงเวลาแล้วหรือยังที่รัฐต้องให้การยอมรับและสนใจในการฟื้นฟูและพัฒนารูปแบบการเกษตรที่ใช้องค์ความรู้ท้องถิ่น รวมถึงการเกษตรรูปแบบไร่หมุนเวียน ซึ่งเป็นระบบที่เสริมสร้างความเป็นมิตรระหว่างคนกับธรรมชาติ อันเป็นเงื่อนไขที่ช่วยทำให้ชีวิตคนและธรรมชาติดำรงอยู่ด้วยกันได้อย่างยั่งยืน และที่สำคัญเป็นรูปแบบการเกษตรที่ก่อให้เกิดการรักษาพันธุ์พืชพื้นเมืองและความมั่นคงทางด้านอาหารของชุมชนท้องถิ่น เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ชุมชนได้ใช้องค์ความรู้ท้องถิ่นในการพัฒนารูปแบบการเกษตรของตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การมีทางเลือกที่หลากหลาย และเกิดกระบวนการเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารอย่างยั่งยืน

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

ถัดไป >