หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 88 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


สาระสำคัญของสารวันสันติภาพสากล ปี 1999/2542 : พึงเคารพสิทธิมนุษยชน เป็นเคล็ดลับแห่งสันติที่แท้จริง พิมพ์
Friday, 19 May 2006

สาระสำคัญของสารวันสันติภาพสากล
ของสมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น พอล ที่ 2
1 มกราคม 1999/2542
พึงเคารพสิทธิมนุษยชน เป็นเคล็ดลับแห่งสันติที่แท้จริง

ปี 1999 เป็นปีสุดท้ายก่อนการเฉลิมฉลองปี “ปีติมหาการุญ” หรือปี 2000 สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 ออกสารฉบับนี้ เพื่อชี้ให้เห็นว่า เมื่อเราส่งเสริมศักดิ์ศรีของมนุษย์เป็นหลัก และแสวงหาความดีส่วนรวมเป็นหน้าที่ ก็หมายความว่า เราได้วางพื้นฐานที่มั่นคงและถาวร สำหรับการสร้างสรรค์สันติภาพ

แต่หากสิทธิมนุษยชนถูกละเลย ถูกปฏิเสธ และตราบใดที่ถือว่าการแสวงหาประโยชน์ส่วนตน อย่างอยุติธรรมสำคัญกว่าความดีส่วนรวม ตราบนั้นก็เท่ากับว่าเราได้หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความไม่มั่นคง การกบฏ และความรุนแรง ไว้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สารฉบับปี 1999 พาเราย้อนกลับไปมองประวัติศาสตร์ของยุคสมัยที่ผ่านมา และแสดงให้เราเห็นถึงอันตรายซึ่งเป็นผลมาจากการหลงลืมสัจธรรมเกี่ยวกับมนุษย์ และเราได้เห็นผลของอุดมการณ์ต่างๆ เช่น มาร์กซิสต์ นาซี และเผด็จการ รวมทั้งความหลงเชื่องมงายต่างๆ เช่น ความเป็นเลิศของเผ่าพันธุ์ ความเป็นชาตินิยม และกีดกันทางเชื้อชาติ และที่ร้ายกาจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน คือผลกระทบของลัทธิบริโภคนิยมทางวัตถุ ซึ่งการยกย่องตัวบุคคล และการทำตามความใฝ่ฝันของมนุษย์แบบเห็นแก่ตัว กลายเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิต ในลักษณะเช่นนี้ ผลด้านลบต่อผู้อื่นถือว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสิ้นเชิง

ซึ่งการละเมิดศักดิ์ศรีของมนุษย์ ไม่สามารถมองข้ามไปได้ ไม่ว่าจะมาจากแหล่งใด รูปแบบไหน และไม่ว่าจะเกิดที่ใดก็ตาม

สารฉบับปี 1999 ย้อนถึงความสำคัญของปี 1998 ซึ่งเป็นปีที่ครบรอบ 50 ปี ของการรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปฏิญญาดังกล่าวมีเจตนาที่จะเชื่อมโยงกับกฎบัตรสหประชาชาติ เนื่องจากมีความใฝ่ฝันร่วมกัน บนพื้นฐานเดียวกันนี้ ปฏิญญาได้ยืนยันว่า การยอมรับศักดิ์ศรีโดยกำเนิดของสมาชิกทั้งมวลในครอบครัวมนุษยชาติ รวมทั้งความเสมอภาค และการไม่สามารถโอนสิทธิเหล่านี้ของพวกเขาให้แก่กันได้นั้น เป็นพื้นฐานของเสรีภาพ ความยุติธรรม และสันติภาพในโลก เอกสารระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่มีการรับรองในกาลต่อมา ก็ได้การประกาศสัจธรรมนี้อีก โดยยอมรับและยืนยันว่า สิทธิมนุษยชนเกิดมาจากศักดิ์ศรีและคุณค่าโดยกำเนิดของมนุษย์

สารฉบับนี้ระบุอย่างชัดเจนว่า สิทธิประการแรกของมนุษย์ คือสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะมีชีวิต ซึ่งชีวิตมนุษย์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และไม่อาจล่วงละเมิดได้ นับตั้งแต่การปฏิสนธิ จนถึงวาระสุดท้ายตามธรรมชาติ

การพัฒนาทางด้านพันธุวิศวกรรมก่อให้เกิดการท้าทายที่น่ากังวลอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในด้านนี้สามารถรับใช้มนุษย์ได้ การวิจัยนั้นๆ จะต้องมีการไตร่ตรองทางจริยธรรมอย่างระมัดระวังในทุกขั้นตอน ซึ่งจะก่อให้เกิดบรรทัดฐานทางกฎหมายอย่างเพียงพอในอันที่จะคุ้มครองบูรณภาพของชีวิตมนุษย์ ซึ่งสารฉบับนี้บอกไว้ว่า “ชีวิตไม่อาจถูกลดค่าลงให้เป็นเพียงแค่วัตถุเท่านั้น”

นอกจากนี้ สารยังกล่าวไว้อีกว่า การเลือกชีวิต หมายถึงการปฏิเสธความรุนแรงในทุกรูปแบบ คือความรุนแรงที่สืบเนื่องมาจากความยากจนและความหิวโหย ซึ่งสร้างความทุกข์ทรมานให้แก่มนุษย์จำนวนมาก ความรุนแรงของการต่อสู้ด้วยอาวุธ ความรุนแรงของอาชญากรรมจากการค้ายาเสพติด และการค้าอาวุธ ความรุนแรงจากการทำลายสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างไม่ยั้งคิด ในทุกสถานการณ์นั้น สิทธิในการมีชีวิตจะต้องได้รับการส่งเสริม และคุ้มครองด้วยหลักประกันทางกฎหมาย และการเมืองที่เหมาะสม เหตุว่าการละเมิดใดๆ ต่อสิทธิในการมีชีวิตและการละเมิดต่อศักดิ์ศรีของมนุษย์แต่ละคน ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก

สารฉบับนี้กล่าวไว้ว่า เสรีภาพในการนับถือศาสนา เป็นหัวใจของสิทธิมนุษยชน และศาสนาแสดงออกถึงความใฝ่ฝันของมนุษย์ที่ลึกซึ้งที่สุด ศาสนาให้คำตอบต่อคำถามเกี่ยวกับความหมายที่แท้จริงของชีวิต ทั้งในแง่ส่วนตัวและส่วนรวม ดังนั้น เสรีภาพในการนับถือศาสนาจึงเป็นหัวใจของสิทธิมนุษยชน ประชาชนมีสิทธิแม้กระทั่งจะเปลี่ยนศาสนาก็ได้หากมโนธรรมเรียกร้อง ประชาชนมีพันธะที่จะต้องทำตามมโนธรรมของตนในทุกสถานการณ์ และไม่สามารถถูกบีบบังคับให้ปฏิบัติตรงกันข้ามกับมโนธรรมของตนได้

ส่วนการใช้ความรุนแรงไม่สามารถหาความชอบธรรมทางศาสนาได้ และไม่สามารถส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกทางศาสนาที่แท้จริงได้

สารฉบับนี้ยังระบุไว้อีกว่า พลเมืองทุกคนมีสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในชีวิตของชุมชนของตน แต่สิทธินี้จะไม่มีความหมายหากกระบวนการประชาธิปไตยล้มเหลวเพราะการฉ้อราษฎร์บังหลวง และการเล่นพรรคเล่นพวก ซึ่งไม่เพียงขัดขวางการมีส่วนร่วมอย่างชอบธรรมในการใช้อำนาจของประชาชนเท่านั้น แต่ยังปิดกั้นมิให้ได้รับประโยชน์จากทรัพย์สิน และบริการของชุมชนอย่างเท่าเทียมกัน

สารฉบับนี้ยังกล่าวถึงเรื่องการเลือกปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อย ไว้ว่า เป็นการเลือกปฏิบัติที่ร้ายแรงมากรูปแบบหนึ่ง คือการปฏิเสธสิทธิขั้นพื้นฐานของชนพื้นเมือง และชนกลุ่มน้อยของประเทศที่จะดำรงตนเป็นชนพื้นเมืองหรือชนกลุ่มน้อยตามเดิม การเลือกปฏิบัตินี้กระทำโดยการปราบปรามพวกเขาหรือใช้กำลังอย่างโหดร้ายในการผลักดันพวกเขาให้อพยพโยกย้าย หรือโดยการพยายามทำให้ชนพื้นเมืองสูญเสียเอกลักษณ์ของตน ไปจนกระทั่งไม่สามารถระบุความแตกต่างได้อีกต่อไป

เราจะนิ่งเงียบมองดูอาชญากรรมอันร้ายแรงต่อมนุษยชาติได้ต่อไปอีกหรือ?

สารฉบับนี้เป็นห่วงและกังวลถึงอนาคตของเด็กจำนวนนับไม่ถ้วนที่มีชีวิตอยู่ท่ามกลางหมอกควันแห่งสงคราม โดยกล่าวว่า มีเด็กจำนวนมากถูกอบรมให้ฆ่า และถูกบังคับให้ฆ่า ซึ่งเด็กๆ ต้องการสันติภาพ และพวกเขามีสิทธิที่จะมีสันติภาพ

แต่ในความเป็นจริง ยังมีเด็กที่เป็นเหยื่อของกับระเบิดและอาวุธสงคราม แม้ว่ารัฐบาลและประชาชาติต่างๆ จะแสดงเจตจำนงออกมาอย่างชัดแจ้งที่จะขจัดอาวุธอันร้ายกาจเหล่านี้ แต่ก็ยังมีการวางกับระเบิดอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้แต่ในพื้นที่ที่มีการกำจัดกับระเบิดไปก่อนหน้านี้แล้วก็ตาม

มีข้อความหลายประโยคในสารฉบับนี้ ที่ควรนำมาพิจารณาและไตร่ตรอง เช่น “ไม่มีสิทธิมนุษยชนใดจะปลอดภัย หากเราไม่อุทิศตนปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทั้งหมด” “เมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน โดยปราศจากปฏิกิริยาต่อต้าน สิทธิอื่นๆ ทั้งปวงก็จะตกอยู่ในอันตรายด้วย” “ในทางปฏิบัติ จะมีสงครามได้อย่างไร หากสิทธิมนุษย์ชนทุกประการได้รับการเคารพ” เป็นต้น

สำหรับคริสตชน สารฉบับนี้บอกกับเราว่า เราจะต้องจำพระคริสต์ได้ในตัวคนยากจนที่สุด และถูกทอดทิ้งมากที่สุด ซึ่งเป็นผู้ที่ศีลมหาสนิท อันเป็นสายสัมพันธ์ในพระกายและพระโลหิตของพระคริสต์ที่ทรงมอบแก่เรานั้น ผูกพันให้เราต้องรับใช้

เพราฉะนั้น “ในความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงระหว่างเศรษฐีผู้ไม่อนาทรร้อนใจ และคนยากจนที่เดือดร้อนทุกสิ่งทุกอย่างนั้น พระเป็นเจ้าทรงอยู่ข้างฝ่ายหลัง” และเราเองก็จะต้องอยู่ฝ่ายเดียวกันนี้ด้วย

สารปี 1999 เป็นการตั้งความหวังในรอบพันปีใหม่ที่กำลังย่างใกล้เข้ามา โดยมีสรุปไว้ในย่อหน้าสุดท้ายของสารว่า “ความรัก คือหนทางสู่การเคารพสิทธิของชายและหญิงแต่ละคน เมื่อถึงอรุณรุ่งของรอบพันปีใหม่ เราก็จะพร้อมสร้างสันติภาพร่วมกันมากยิ่งขึ้น”

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >