หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 171 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


สาระสำคัญของสารวันสันติภาพสากล ปี 2000/2543 : สันติสุขในโลกแด่ผู้ที่พระเจ้าทรงรัก พิมพ์
Friday, 19 May 2006

สาระสำคัญของสารวันสันติภาพสากล
ของสมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น พอล ที่ 2
1 มกราคม 2000/2543
สันติสุขในโลกแด่ผู้ที่พระเจ้าทรงรัก

ปี 2000 ตามความเชื่อของคริสตชน คือการย่างก้าวเข้าสู่สหัสวรรษใหม่ หรือเป็นปี “ปีติมหาการุญ” โดยสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 ทรงกล่าวไว้ในตอนเริ่มของสารฉบับนี้ว่า “พระเจ้าทรงรักมนุษย์ทุกคนในโลกนี้ ทั้งชายและหญิง ทรงให้ความหวังถึงยุคใหม่ อันเป็นยุคแห่งสันติสุข ความรักของพระองค์ ซึ่งทรงแสดงออกมาอย่างสมบูรณ์โดยทางพระบุตรผู้ทรงบังเกิดเป็นมนุษย์นั้น เป็นรากฐานของสันติสุขสากล”

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 ทรงทราบดีว่ามีปัญหามากมายและสลับซับซ้อนที่ทำให้หนทางไปสู่สันติสุขเป็นไปด้วยความยากลำบาก และมักจะก่อให้เกิดความท้อแท้สิ้นหวัง แต่พระองค์ทรงมั่นใจว่าสันติสุขเป็นความต้องการที่หยั่งรากลึกอยู่ในจิตใจของมนุษย์แต่ละคน ดังนั้น พระองค์ทรงบอกว่า เราจะต้องไม่ปล่อยให้ความประสงค์ที่จะแสวงหาสันติสุขนั้นมลายหายไป

สารฉบับปี 2000 บอกไว้ว่า การแสวงหาสันติภาพ ต้องอยู่บนพื้นฐานของความสำนึกที่ว่า แม้มนุษยชาติจะตกต่ำเพราะบาป ความเกลียดชัง และความรุนแรง แต่พระเจ้าก็ทรงเรียกมนุษยชาติให้มารวมเป็นครอบครัวเดียวกัน เราจะต้องสำนึกถึงแผนการของพระเจ้า และปฏิบัติตามโดยการแสวงหาความสัมพันธ์อย่างกลมเกลียวกันระหว่างมนุษย์แต่ละคน และระหว่างประชาชาติ ในวัฒนธรรมที่ทุกคนเปิดใจยอมรับผู้สูงส่ง ส่งเสริมความเป็นมนุษย์ และเคารพโลกแห่งธรรมชาติ

และนี่คือสารแห่งวันคริสตสมภพ สารแห่งปี “ปีติมหาการุญ” และความหวังของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 ในวาระแรกเริ่มของสหัสวรรษใหม่

สารฉบับปี 2000 ระบุไว้ว่า ในศตวรรษที่กำลังจะผ่านพ้นไปนี้ มนุษยชาติถูกทดลองด้วยความเจ็บปวดจากผลของสงคราม ความขัดแย้ง การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และการ “ชำระสะสางทางเชื้อชาติ” ที่ต่อเนื่องไม่มีวันสิ้นสุด และโหดร้าย ซึ่งก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานที่ไม่สามารถกล่าวออกมาเป็นคำพูดได้ มีผู้เคราะห์ร้ายหลายล้านคน คอรบครัวแตกสลาย ประเทศมากมายถูกทำลาย คลื่นผู้ลี้ภัย ความทุกข์ยาก ความหิวโหย โรคภัย ความด้อยพัฒนา และความสูญเสียทรัพยากรจำนวนมหาศาล รากเหง้าของความทุกข์ยากใหญ่หลวงนี้ คือปรัชญาความใฝ่สูงเหนือผู้อื่น ซึ่งถูกโหมกระพือด้วยความปรารถนาที่จะครอบงำและเอาเปรียบผู้อื่น โดยความเพ้อฝันในอุดมการณ์อุบาทว์ของการรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ ด้วยลัทธิชาตินิยมอันบ้าคลั่ง หรือความเกลียดชังเผ่าพันธุ์แต่โบราณกาล

สารฉบับนี้กล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า “สงครามเป็นความพ่ายแพ้ของมนุษยชาติ” และมรดกที่ดีที่สุดของศตวรรษที่ 20 คือคำเตือนที่ว่า “สงครามมักเป็นสาเหตุของสงครามครั้งต่อไป” เพราะมันโหมกระพือความเกลียดชัง สร้างสถานการณ์แห่งความอยุติธรรม และเหยียบย่ำเกียรติและศักดิ์ศรีของประชาชน สงครามมักจะสร้างปัญหาไม่หยุดหย่อน และสงครามพิสูจน์แล้วว่าไม่มีประโยชน์อันใดนอกเหนือจากก่อให้เกิดความสูญเสียอันน่าสยดสยอง

แต่ถึงแม้จะมีสงครามในศตวรรษที่ 20 แต่ “เกียรติของมนุษยชาติยังคงได้รับการรักษาไว้โดยผู้ที่ทำงานเพื่อสันติภาพ”

แม้สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 จะทรงไม่แน่ใจว่า ศตวรรษใหม่จะเป็นศตวรรษแห่งสันติสุขและความสำนึกใหม่แห่งภราดรภาพระหว่างมนุษย์และประชาชาติหรือไม่ และพระองค์ทรงกล่าวไว้ว่า “เราไม่อาจทำนายอนาคตได้ แต่เราสามารถยึดหลักการหนึ่งได้ คือ “สันติสุขเกิดขึ้นได้ หากมนุษยชาติทั้งมวลค้นพบกระแสเรียกพื้นฐานของตนในการสร้างครอบครัวให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ครอบครัวที่เกียรติ ศักดิ์ศรีและสิทธิของมนุษย์แต่ละคน ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะ เชื้อชาติ หรือศาสนาใดก็ตาม ได้รับการยอมรับว่ามีความสำคัญ และอยู่เหนือความแตกต่าง และการแบ่งแยกใดๆ ทั้งสิ้น

สารฉบับปี 2000 ระบุไว้ว่า โลกยุคโลกาภิวัตน์ แม้จะเต็มไปด้วยความเสี่ยงมากมาย แต่กระบวนการโลกาภิวัตน์ก็ยังเกิดโอกาสพิเศษที่เปี่ยมด้วยความหวัง จุดมุ่งหมายที่จะช่วยให้มนุษยชาติเป็นครอบครัวเดียวกัน ซึ่งสร้างอยู่บนคุณค่าแห่งความยุติธรรม ความเสมอภาค และสมานฉันท์อย่างแน่นอน

และเพื่อให้เกิดสภาพของความเป็นครอบครัวเดียวกัน จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือจุดมุ่งหมายจะต้องไม่ใช่เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของชุมชนทางการเมือง เชื้อชาติ หรือวัฒนธรรมหนึ่งใดโดยเฉพาะ แต่ต้องเป็นจุดหมายเพื่อความดีของมนุษยชาติทั้งมวล

การสร้างสันติภาพต้องมีพื้นฐานอยู่บนหลักการที่ว่า “ทรัพยากรของโลกมีไว้เพื่อส่วนรวม” หลักการนี้มิได้ลดความชอบธรรมของทรัพย์สินส่วนตัว แต่เป็นการขยายความเข้าใจ ในการบริหารการจัดการทรัพย์สินส่วนตัว ซึ่งต้องหมายรวมถึงการจัดการเพื่อประโยชน์สุขส่วนรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อประโยชน์สุขของสมาชิกที่อ่อนแอที่สุดของสังคม

ซึ่งสารฉบับปี 2000 ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า หลักการพื้นฐานที่กล่าวถึงนี้คนส่วนใหญ่กลับเพิกเฉยและไม่ใส่ใจ ดังที่ปรากฏเป็นช่องว่างลักษณะต่างๆ ของสังคมโลก ซึ่งขยับห่างออกไปทุกที ประเทศทางซีกโลกภาคเหนือที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสินค้าและทรัพยากร และนับวันจะเต็มไปด้วยผู้สูงอายุ กับประเทศในซีกโลกภาคใต้ ซึ่งเป็นภูมิลำเนาปัจจุบันของประชาชนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นคนวัยหนุ่มสาว และยังไม่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจตามความจำเป็น

สารฉบับนี้ยังกล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า “ไม่ควรมีใครถูกหลอกให้เชื่อว่า การที่ไม่มีสงครามคือการมีสันติภาพที่ถาวร” เพราะสันติภาพที่แท้จริงจะไม่มีวันเกิดขึ้นได้หากปราศจากความเป็นธรรม สัจธรรม ความยุติธรรมและสมานฉันท์ แผนการต่างๆ จะต้องล้มเหลว หากแยกสิทธิ 2 ประการ ซึ่งต้องพึ่งพาอาศัยกันโดยไม่อาจแบ่งแยกได้ คือ สิทธิที่จะมีสันติภาพและสิทธิที่จะได้รับการพัฒนาทั้งครบ ซึ่งเกิดจากความสมานฉันท์

ในวาระเริ่มต้นศตวรรษใหม่นี้ ประเด็นหนึ่งที่ท้าทายมโนธรรมของมนุษย์และคริสตชนมากที่สุด คือ “ความยากจนของชายหญิงนับล้านคน” โดยสารฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่า ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในยุคนี้ มิได้เกิดขึ้นเพราะ “การขาดแคลนทรัพยากร” แต่เกิดจากข้อเท็จจริงที่ว่า “โครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในปัจจุบัน มีส่วนประกอบที่ไม่ดีจนไม่สามารถตอบสนองความต้องการของการพัฒนาที่แท้จริงได้

สิ่งสำคัญก็คือสารฉบับปี 2000 ระบุอย่างชัดเจนว่า “เราต้องไม่มองคนยากจนว่าเป็น “ตัวปัญหา” แต่ต้องมองว่าพวกเขาสามารถมีส่วนสำคัญในการสร้างอนาคตใหม่ที่มีความเป็นมนุษย์มากขึ้นสำหรับทุกคน”

และสารฉบับนี้ยังกล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า “ระบบเศรษฐกิจที่มิได้สนใจมิติทางด้านจริยธรรม และมิได้มุ่งตอบสนองประโยชน์สุขของมนุษย์ทุกคน และความเป็นมนุษย์ทั้งครบนั้น ไม่สามารถเรียกตัวเองว่าเป็น “เศรษฐกิจ” ได้”

ในช่วงเริ่มต้นศตวรรษที่ 21 นี้ ประชาชนมากกว่า 1,400 ล้านคน ต้องดำเนินชีวิตด้วยความยากจนข้นแค้น ซึ่งหมายความว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องทบทวนรูปแบบที่เป็นตัวกำหนดนโยบายการพัฒนา

สารฉบับปี 2000 เรียกร้องให้มีการทบทวนความร่วมมือระหว่างประเทศ ตามแนววัฒนธรรมใหม่แห่งความสมานฉันท์ โดยสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 กล่าวไว้ว่า “เมื่อเรามองความร่วมมือกันในฐานะที่เป็นการหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งสันติภาพแล้ว เราก็ต้องไม่มุ่งแต่แง่ของการให้เงินช่วยเหลือ หรือความช่วยเหลือด้านอื่นๆ โดยเฉพาะหากเป็นการให้ด้วยสายตาที่มุ่งรับผลประโยชน์กลับคืนในรูปแบบของทรัพยากร ตรงกันข้ามความร่วมมือจะต้องเป็นการแสดงออกถึงการอุทิศชีวิตเพื่อสมานฉันท์อย่างเป็นรูปธรรม และสามารถปฏิบัติได้ ซึ่งจะช่วยให้คนยากจนเป็นบุคคลหลักในการพัฒนาตนเอง ช่วยให้ประชาชนจำนวนมากสามารถแสดงความคิดสร้างสรรค์ ตามสภาพทางเศรษฐกิจและการเมืองของตน อันเป็นคุณลักษณะของความเป็นมนุษย์ และประเทศจะมั่งคั่งได้ก็ต้องอาศัยลักษณะดังกล่าวด้วย”

สิ่งที่น่าสนใจของสารฉบับปี 2000 อยู่ที่การเรียกร้องให้ทุกประเทศทั่วโลกหันกลับมาร่วมมือกัน และเนื้อหาในสารฉบับนี้กล่าวไว้ว่า “เป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนในปัจจุบันยิ่งกว่าในอดีต ที่จะต้องส่งเสริมความสำนึกในคุณค่าทางศีลธรรมสากล เพื่อเผชิญกับปัญหาที่ครอบคลุมระดับโลกมากขึ้นทุกวัน การส่งเสริมสันติภาพและสิทธิมนุษยชน การยุติความขัดแย้งด้วยกำลังอาวุธทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ การคุ้มครองชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์และผู้อพยพ การปกป้องสิ่งแวดล้อม การต่อสู้กับโรคร้ายต่างๆ การต่อสู้กับนักค้ายาเสพติดและนักค้าอาวุธ รวมทั้งการต่อสู้กับความฉ้อฉลทางการเมืองและเศรษฐกิจ สิ่งเหล่านี้เป็นประเด็นที่แต่ละประเทศไม่สามารถจัดการได้โดยลำพัง ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาร่วมของมนุษยชาติทั้งมวล ดังนั้น จึงต้องใช้ความพยายามร่วมมือกันในการเผชิญหน้าและแก้ไข”

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 ชี้ให้เห็นว่า “สำหรับคริสตชน การอุทิศตนสร้างสันติภาพและความยุติธรรม เป็นเรื่องสำคัญอันจำเป็นต้องปฏิบัติ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ที่จะทำก็ได้หรือไม่ทำก็ได้ การอุทิศตนจะต้องเกิดขึ้นด้วยความใจกว้างต่อพี่น้องชายหญิงของตนในพระศาสนจักรและประชาคม คริสตจักรอื่นๆ รวมทั้งผู้ที่นับถือศาสนาต่างๆ ผู้มีน้ำใจดีทั้งชายและหญิง รวมทั้งผู้ที่มีความห่วงใยต่อสันติภาพและความยุติธรรม”

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 ทรงบอกไว้ในสารฉบับนี้ว่า “แม้จะมีอุปสรรคลำบากมากมายเพียงใด สัญญาณแห่งความหวังของการริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ๆ เพื่อสันติภาพก็ยังคงเกิดขึ้นทุกวันอย่างต่อเนื่อง ด้วยความร่วมมือ ด้วยความใจกว้างจากประชาชนจำนวนมาก สันติภาพเป็นสิ่งที่จะต้องสร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา สันติภาพจึงเป็นเรื่องของคนทุกคนในโลกนี้”

ในช่วงท้ายของสารฉบับปี 2000 ดูเหมือนสมเด็จพระสันตะปาปาทรงเป็นห่วงและฝากความหวังไว้ที่บรรดาเยาวชน เพราะเยาวชนเป็นผู้ที่ได้รับพระพรล้ำค่าแห่งชีวิต และจะต้องไม่ทำให้พรนั้นสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ และพระองค์ทรงต้องการให้บรรดาเยาวชนมีสันติสุขในตัวเอง สันติสุขรอบๆ ตัว สันติสุขเสมอ สันติสุขกับทุกผู้คน และสันติสุขเพื่อทุกๆ คน

นอกจากนี้ สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 ทรงห่วงใยเยาวชนที่ได้รับประสบการณ์อันน่าเศร้าสลดจากสงคราม และผู้ที่ต้องแบกรับความรู้สึกจงเกลียดจงชัง และความแค้นใจ พระองค์ทรงวิงวอนให้ใช้ความพยายามทุกวิถีทางในการแสวงหาหนทางแห่งการคืนดีและการให้อภัย ซึ่งเป็นหนทางที่ยากลำบาก แต่ก็เป็นหนทางสายเดียวที่จะช่วยให้เธอก้าวไปสู่อนาคตด้วยความหวังสำหรับตนเอง ลูกหลาน ประเทศชาติ และมนุษย์ทั้งมวล

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >