หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 61 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


สาระสำคัญของสารวันสันติภาพสากล ปี 1998/2541 : แต่ละคนปฏิบัติยุติธรรม ก็จะนำสันติมาสู่ทุกคน พิมพ์
Friday, 19 May 2006
สาระสำคัญของสารวันสันติภาพสากล
ของสมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น พอล ที่ 2
1 มกราคม 1998/2541
แต่ละคนปฏิบัติยุติธรรม ก็จะนำสันติมาสู่ทุกคน
สารปี 1998 เริ่มต้นด้วยคำกล่าวที่ว่า “ความยุติธรรมอยู่คู่กับสันติ” แต่เมื่อความยุติธรรมหรือสันติ อย่างใดอย่างหนึ่งถูกคุกคาม ทั้งสองประการก็จะได้รับผลกระทบกระเทือน และเมื่อความยุติธรรมถูกละเมิด สันติก็จะตกอยู่ในอันตรายด้วย

สารฉบับนี้บอกไว้ว่า “ความยุติธรรมและสันติ มิใช่แนวคิดนามธรรม หรืออุดมคติสุดเอื้อม ทั้งสองเป็นคุณค่าอันเป็นมรดกร่วมที่อยู่ในหัวใจของมนุษย์แต่ละคน และมนุษย์แต่ละคน ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ ทั้งหมดได้รับเสียงเรียกร้องให้ดำเนินชีวิตด้วยความยุติธรรม และทำงานเพื่อสร้างสรรค์สันติ ไม่มีใครสามารถหลบเลี่ยงความรับผิดชอบนี้ได้”

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 ยังทรงคิดถึงผู้ที่ถูกกีดกัน คนยากจน และเหยื่อของการเอารัดเอาเปรียบในทุกรูปแบบด้วย พระองค์กล่าวว่า พวกเขาเหล่านี้กำลังประสบความเจ็บปวดกับสภาพที่ “ไร้สันติภาพ” และต้องได้รับผลกระทบอันโหดร้ายจาก “ความอยุติธรรม” มีใครบ้างที่นิ่งเฉยดูดายต่อความทุกข์ยากลำบากของเพื่อนมนุษย์ได้ ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของเราแต่ละคน ที่จะต้องสร้างหลักประกันว่า พวกเขาจะสามารถบรรลุถึงความปรารถนาของตนได้ ความยุติธรรมไม่อาจสมบูรณ์ได้ นอกเสียจากเราแต่ละคนจะมีส่วนร่วมด้วยอย่างเท่าเทียมกัน

สารฉบับปี 1998 ตั้งคำถามที่น่าสนใจไว้ว่า ในปัจจุบัน โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจและการเงินเกิดเป็นความจริงขึ้นมาแล้ว และนับวัน เราก็ยิ่งตระหนักชัดเจนขึ้น ถึงผลของความเจริญก้าวหน้าที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เรากำลังก้าวย่างสู่ยุคใหม่ ซึ่งเปี่ยมไปด้วยความหวังอันยิ่งใหญ่ และทำให้เกิดคำถามที่รบกวนใจว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้จะก่อให้เกิดผลอะไรบ้าง “มนุษย์แต่ละคน” จะสามารถได้รับประโยชน์จากตลาดโลกหรือไม่? ในที่สุด “มนุษย์แต่ละคน” จะมีโอกาสชื่นชมสันติภาพได้หรือไม่? ความเสมอภาคระหว่างประเทศจะมีความเสมอภาคกันมากยิ่งขึ้นหรือไม่? หรือว่าการแข่งขันทางเศรษฐกิจและความเป็นศัตรูกันระหว่างประชาชนและประเทศต่างๆ จะนำมนุษยชาติไปสู่สถานการณ์ที่มีความไม่มั่นคงเพิ่มมากขึ้น?

สารฉบับนี้ยังกล่าวไว้อีกว่า สิ่งที่ท้าทายโลกในปัจจุบันคือ การสร้างหลักประกันให้โลกาภิวัตน์ดำเนินไปในความสมานฉันท์ โลภาภิวัตน์ที่ “ปราศจากการกีดกัน” นี่คือหน้าที่ที่เด่นชัดในความยุติธรรมอันมีข้อผูกพันเข้มงวดที่จะต้องจัดวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมืองของประเทศต่างๆ

สารฉบับนี้มีเนื้อหาที่บ่งแสดงถึงความห่วงใยประเทศต่างๆ และภูมิภาคทั้งมวลในโลกที่ต้องเสี่ยงกับการถูกกีดกันออกจากระบบเศรษฐกิจโลกไร้พรมแดน เนื่องจากมีศักยภาพอันบอบบางทางการเงินหรือทางเศรษฐกิจ และบอกไว้ว่า โลกาภิวัตน์จะต้องสัมพันธ์กับความสมานฉันท์ และจะต้องยื่นมือให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เพื่อให้ประเทศต่างๆ ที่ไม่สามารถเอาชนะสถานการณ์ที่เสียเปรียบในปัจจุบันของตนได้ ซึ่งความช่วยเหลือนี้ต้องได้รับตามความยุติธรรมที่แท้จริง ไม่มีประเทศใดที่อาจถูกกีดกันออกไปได้ ในทางตรงกันข้าม ประเทศที่อ่อนแอที่สุด เปราะบางที่สุด จะต้องได้รับการสนับสนุน เพื่อประเทศเหล่านี้จะได้สามารถพัฒนาศักยภาพของตนได้อย่างเต็มเปี่ยมด้วยเช่นกัน

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 สะท้อนไว้ในสารฉบับนี้ว่า “ข้าพเจ้าคิดถึงความยากลำบากที่สุดประการหนึ่ง ที่ประเทศยากจนทั้งหลายจะต้องเผชิญในปัจจุบัน ข้าพเจ้าหมายถึงภาระ “หนี้สินต่างประเทศ” อันหนักหน่วง ซึ่งเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจของประชาชนทั้งมวล และขัดขวางความก้าวหน้าทางสังคมและการเมืองของตน ปัญหาหนี้สินเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาที่กว้างใหญ่กว่านั้น กล่าวคือความยืดเยื้อของความยากจน ซึ่งบางครั้งเป็นความยากจนข้นแค้นที่สุด และการเกิดขึ้นของความไม่เท่าเทียมกันในรูปใหม่ ซึ่งเป็นผลมากับกระบวนการโลกาภิวัตน์

และสารฉบับนี้ระบุอย่างชัดเจนว่า หากเรามีเป้าหมายเป็นโลกาภิวัตน์โดย “ไม่มีการกีดกัน” เราก็ไม่สามารถยอมรับโลกที่มีคนร่ำรวยล้นฟ้า อยู่ร่วมกับคนยากจนข้นแค้นแสนสาหัสได้อีกต่อไป คนที่ไม่มีกลับถูกกีดกันแม้กระทั่งจากปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ในขณะที่คนบางคนใช้สอยสิ่งของที่ผู้อื่นจำเป็นต้องใช้อย่างฟุ่มเฟือย โดยไม่คิดถึงความแตกต่างดังกล่าว เป็นการละเมิดศักดิ์ศรีของมนุษย์

สารฉบับนี้กล่าวถึง “ความอยุติธรรมในรูปแบบที่ก้าวร้าวเป็นพิเศษ” ไว้ว่า การไม่สามารถมีโอกาสได้รับสินเชื่ออย่างยุติธรรม คนยากจนมักจะต้องอยู่รอบนอกระบบการเงินปกติหรือต้องตกไปอยู่ในมือของนายทุนเงินกู้ไร้ธรรมะ ซึ่งคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ขูดรีด ผลสุดท้ายคือคนจนตกอยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้ายยิ่งกว่าเดิม

นอกจากนั้น สารยังได้กล่าวไว้อย่างน่าเป็นห่วงเกี่ยวกับความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้นต่อสตรีและเด็ก ซึ่งสารฉบับนี้ได้บอกไว้ว่า นี่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ขยายวงกว้างมากที่สุดและได้กลายเป็นกลยุทธอันโหดร้ายไปแล้ว โดยมีผู้หญิงถูกจับเป็นตัวประกัน เด็กถูกฆ่าอย่างป่าเถื่อน และยังมีการเอารัดเอาเปรียบเด็กในที่ทำงานที่มีสภาพเยี่ยงทาสอย่างแท้จริง

ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินขั้นตอนต่างๆ ในทางปฏิบัติเพื่อพยายามหยุดยั้งการแพร่ขยายความรุนแรงรูปแบบเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเป็นจะต้องมีมาตรการทางกฎหมายทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ และองค์ประกอบหนึ่งที่จะขาดไม่ได้คือการตระหนักว่า มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน

สำหรับคริสตชน สารฉบับนี้ระบุอย่างชัดเจนว่า “เครื่องหมายสำคัญของการเป็นคริสตชนในปัจจุบันยิ่งกว่าสมัยใดๆ นั้น จะต้องเป็นการรักคนยากจน คนอ่อนแอ และผู้ตกทุกข์ได้ยาก”

ซึ่งการจะปฏิบัติตามพันธะที่จำเป็นนี้ เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงค่านิยมที่ไม่ถูกต้องทั้งหมด ซึ่งเป็นค่านิยมที่ทำให้คนแสวงหาเพียงแค่ประโยชน์ส่วนตน คือ อำนาจ ความพอใจ การสะสมความมั่งคั่งโดยปราศจากความละอายใจ โดยศิษย์ของพระคริสต์ได้รับกระแสเรียกให้มีการกลับใจแบบถอนรากถอนโคนด้วย

โดยสังคมที่สมานฉันท์ที่แท้จริงจะสามารถเกิดขึ้นได้ หากมีการช่วยเหลือคนยากจน แต่สิ่งที่ควรคำนึงไว้ให้ดีก็คือการคิดบริจาคสิ่งของ นั้นไม่เป็นการเพียงพอ สิ่งที่จำเป็น คือจิตตารมณ์ของการแบ่งปัน เพื่อเราจะได้ถือว่าเป็นเกียรติ ที่เราสามารถเอาใจใส่ดูแล ตอบสนองความต้องการของพี่น้องของเรา ผู้กำลังประสบความทุกข์ยากลำบาก

ในช่วงท้ายของสารฉบับนี้ สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 ทรงระบุไว้ว่า ตามความเชื่อของคาทอลิก พระจิตแห่งความหวังทรงทำงานในโลก พระองค์ทรงประทับอยู่ในงานรับใช้ของผู้ที่ทำงานอุทิศตนให้กับผู้ที่ถูกทอดทิ้งและผู้ตกทุกข์ได้ยาก ผู้ที่ต้อนรับผู้อพยพลี้ภัย ผู้ที่กล้ายอมรับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่แตกต่างกับตนทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม หรือศาสนา พระจิตจะทรงประทับอยู่อย่างมั่นคงในกิจการที่เปี่ยมด้วยน้ำใจของทุกคน ที่ยังคงเพียรพยายามส่งเสริมสันติภาพ และการคืนดีระหว่างประชาชนที่เคยเป็นอริและศัตรูกัน

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >