หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow อาสาสมัคร - เยาวชน สังฆมณฑลราชบุรี ร่วมอบรม "สิทธิมนุษยชน-สิทธิเด็ก"
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 1242 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

อาสาสมัคร - เยาวชน สังฆมณฑลราชบุรี ร่วมอบรม "สิทธิมนุษยชน-สิทธิเด็ก" พิมพ์
Thursday, 26 April 2012

อาสาสมัคร - เยาวชน สังฆมณฑลราชบุรี

ร่วมอบรม "สิทธิมนุษยชน-สิทธิเด็ก"

Image 

Imageคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการพัฒนาสังคม แผนกยุติธรรมและสันติ (ยส.) โดย คุณอัจฉรา สมแสงสรวง ผู้อำนวยการ ยส. และ คุณปฏิพัทธ์ ไผ่ตระกูลพงศ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสิทธิมนุษยชน เป็นวิทยากรอบรมเรื่อง "สิทธิมนุษยชนและสิทธิเด็ก" ให้กับอาสาสมัครโครงการคนสู้ชีวิตที่ดูแลผู้สูงอายุ สตรี และผู้พิการ และอาสาสมัครเยาวชนของ ศูนย์สังคมพัฒนา สังฆมณฑลราชบุรี เมื่อวันที่ 3 เมษายน ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมวัดนักบุญยอห์น บอสโก จ.ราชบุรี มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 28 คน จากหมู่บ้านต่างๆ ใน จ.กาญจนบุรี และ จ.ราชบุรี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาสาสมัครได้ตระหนักในการดูแลผู้สูงอายุ สตรี ผู้พิการ และเด็กๆ บนพื้นฐานการเคารพศักดิ์ศรีและความเท่าเทียมกันของมนุษย์ โดย คุณพ่อประสิทธิ์ รุจิรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์สังคมพัฒนา ราชบุรี ในฐานะผู้รับผิดชอบการจัดอบรมครั้งนี้ ได้กล่าวเปิดการอบรม

เนื้อหาการอบรมเป็นการสร้างความเข้าใจพื้นฐานในเรื่องสิทธิมนุษยชนและสิทธิเด็ก ได้แก่ ให้ดูภาพแล้วถามผู้ร่วมอบรมว่าเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนและสิทธิเด็กในเรื่องใดบ้าง, ให้ผู้เข้าอบรมเขียนถึงสิ่งที่จำเป็นในชีวิต 6 อย่าง และแบ่งกลุ่มย่อยเลือกสิ่งที่กลุ่มคิดว่าจำเป็น กิจกรรม "เรือมนุษย์" สมมุติสถานการณ์จำลองว่าถ้ามีคน 10 คนที่มีความแตกต่างกัน มาอยู่ในเรือลำเดียวกัน แล้วเรือไปชนหินโสโครกกำลังจะจมลง แต่ในเรือมีแพยางที่รับคนได้แค่ 9 คน จะแก้ปัญหาอย่างไร เพราะเหตุใด เป็นกิจกรรมที่สะท้อนว่าแม้มนุษย์ทุกคนจะมีความแตกต่างทาง เพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา อาชีพ ฐานะ ตำแหน่ง สถานะทางสังคม พฤติกรรม สุขภาพอนามัย แต่ทุกคนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ต่างต้องได้รับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน สิทธิที่จะมีชีวิตอยู่รอดเช่นเดียวกัน ไม่มีใครมีสิทธิที่จะตัดสินชีวิตของผู้อื่น ฉะนั้นทุกคนควรได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันโดยต้องไม่ถูกเลือกปฏิบัติ

สิทธิมนุษยชนไม่ใช่เรื่องของการออกมาเดินขบวนเรียกร้อง แต่สิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนพึงได้รับจากสังคม เมื่อเราได้รับสิทธิแล้ว คนอื่นก็จะต้องได้รับด้วย การปฏิบัติในเรื่องสิทธิคือเราต้องเคารพในความแตกต่างของกันและกัน เราจะเลือกปฏิบัติกับคนอื่นโดยอคติที่เรามีไม่ได้ อคติเป็นเหตุสำคัญต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน หลักการในเรื่องสิทธิมนุษยชนอยู่ในคำสอนของทุกศาสนาอยู่แล้ว เช่นใน ศีล 5 หลักพรหมวิหาร 4 ของพุทธศาสนา บัญญัติ 10 ประการในคริสต์ศาสนา

ImageImage 

ImageImage 

ความเป็นมาของสิทธิมนุษยชนเริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 ที่ประเทศอังกฤษ มีความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับผู้ปกครองที่เป็นกษัตริย์ ซึ่งใช้อำนาจเกินขอบเขต ประชาชนเริ่มใช้สิทธิตามธรรมชาติ ค่อยๆ รวมตัวกันเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลง จนเกิดเป็นกฎหมายฉบับแรกที่เน้นว่าบุคคลควรได้รับสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นทางการเมือง สามารถวิพากษ์วิจารณ์ผู้ปกครองประเทศได้ อีก 500 ปีต่อมา เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสเริ่มในปี 1789 จากความเหลื่อมล้ำในสังคม และสงครามโลกครั้งที่สองที่กินเวลาหกปี สิ้นสุดปีพ.ศ. 2488 (ค.ศ.1945) ประเทศต่างๆ ที่บอบช้ำจากสงคราม รวมตัวกันจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ ร่วมกันสร้างแผนแม่บทที่จะคุ้มครองสิทธิมนุษยชน จนเกิดเป็นหลัก ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน 30 ข้อ มีลักษณะสำคัญสี่ข้อ คือ หนึ่ง สิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด สอง เป็นสิทธิที่เป็นสากลเป็นของทุกคน สาม เป็นสิทธิที่ไม่อาจถ่ายโอนได้ สี่ เป็นสิทธิที่ไม่อาจแยกขาดออกจากกัน หลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เป็นแผนแม่บทที่ประเทศต่างๆ ใช้เป็นแนวทางในการร่างรัฐธรรมนูญของประเทศ

ImageImage

สำหรับเรื่องสิทธิเด็กเนื่องจากเด็กไม่สามารถคุ้มครองดูแลสิทธิของตนเองได้ จำเป็นที่ผู้ใหญ่ต้องดูแลเด็ก มีกฎหมายระหว่างประเทศที่เรียกว่า อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ครอบคลุมชีวิตเด็กคนหนึ่งตั้งแต่เกิดจนเขาเติบโตขึ้นว่า เขาควรจะมีสิทธิอะไรบ้าง ในการคุ้มครองสิทธิเด็กในประเทศไทย มีกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2550 ในมาตรา 52 ระบุว่า เด็กมีสิทธิที่จะอยู่รอดและได้รับการพัฒนาทางร่างกาย สติปัญญาตามศักยภาพ และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม กฎหมายหลักในการคุ้มครองเด็กของไทยคือ พรบ.คุ้มครองเด็กปี 2546 ที่บังคับใช้เมื่อเดือนมีนาคม 2547 หัวใจหลักของ พรบ.ระบุว่า ผู้ปกครองต้องให้การอุปการะ เลี้ยงดู อบรมสั่งสอนและพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนตามสมควรกับขนบธรรมเนียม ประเพณีท้องถิ่น โดยไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง เช่นในเรื่องสุขภาพอนามัย ไม่ละทิ้งเด็ก ห้ามจงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งที่จำเป็นกับเด็กจนทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายหรือจิตใจ การปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่ากรณีใดๆ ให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ

Image 

ImageImage

กล่าวโดยสรุป สิทธิมนุษยชนเป็นการปฏิบัติที่เราควรมีต่อกัน โดยพื้นฐานความเข้าใจที่ว่ามนุษย์แต่ละคนมีความแตกต่างกันในเรื่องต่างๆ แต่สิ่งที่เรามีเหมือนกันคือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ กฎทองของสิทธิมนุษยชนซึ่งมีอยู่แล้วในวัฒนธรรมไทยก็คือ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา เมื่อเรารับรู้ว่าเราเดือดร้อนทุกข์ยาก เจ็บปวด ในเรื่องใด เราก็จะไม่ทำสิ่งนี้กับคนอื่น นี่คือการปฏิบัติสิทธิมนุษยชน พูดง่ายๆ คือเราต้องเคารพกันและกัน และไม่ทำร้ายกันจากที่เขาแตกต่างจากเราหรือเพราะเขาไม่ใช่พวกเรา

ภูมินทร์ พงษ์ไกรกิตติ : รายงาน

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >