หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow ผ้าทอชีวิต : แขนง
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 150 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ผ้าทอชีวิต : แขนง พิมพ์
Wednesday, 02 May 2012
ผ้าทอชีวิต

โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 29 เมษายน 2555


เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้เจอหนุ่มสาวกลุ่มหนึ่ง พวกเขาเป็นนักเดินทาง

ใช่ครับ "นักเดินทาง"

ผมเรียกเหมาเอาว่าอย่างนั้น อาจจะด้วยระยะทางตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงจุดหมายปลายทาง เป็นช่วงระยะที่ห่างไกลหลายพันกิโลเมตรจากเหนือจรดใต้ หรืออาจจะเป็นเพราะความมุ่งมาดปรารถนาในการเรียนรู้ ตลอดการเดินทางของพวกเขาเหล่านั้นก็ได้ จึงทำให้ผมมั่นใจอย่างยิ่งว่าพวกเขาคือนักเดินทาง

หนุ่มสาวที่ผมกำลังจะพูดถึงแท้จริงแล้วคือน้องๆ เผ่าปกาเกอะญอ จากอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ดั้นด้นเดินทางจากดอยสูงมุ่งหน้าไปสู่หาดทราย ชายทะเล จังหวัดภูเก็ต แล้วลัดเลาะกลับมาผ่านจังหวัดระนอง หยุดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทางเป็นระยะ ภายใต้ชื่อโครงการจากยอดดอยสูงสู่ท้องทะเลอันดามัน ตอนนี้พวกเขาวนเส้นทางกลับมาถึงกรุงเทพฯอีกครั้ง และปักหลักหยุดพักยาวที่ริมคลองลัดมะยม แขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน ด้วยคาดหวังจะได้เรียนรู้อะไรดีๆ จากวิถีชีวิตคนคลอง คนสวน ซึ่งเป็นวิถีดั้งเดิมของคนกรุงเทพฯในอดีต และตอนที่ผมพบกับพวกเขาเข้านั้น น้องๆ เขากำลังช่วยกันจัดนิทรรศการ และสาธิตกิจกรรมอยู่ที่หอจดหมายเหตุท่านพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์กรุงเทพฯ)

การเดินทางของพวกเขาในครั้งนี้ มีแนวความคิดหลักๆ คือ การเรียนรู้เพื่อแสวงหาทางเลือกในการจัดการตนเอง โดยเริ่มต้น จากการทบทวนองค์ความรู้ภูมิปัญญาเดิมในชุมชน เพื่อกำหนดทางเลือกที่เหมาะสม กับกระแสความเปลี่ยนแปลงในสังคมปัจจุบัน ซึ่งการเรียนรู้ดังกล่าวส่งผลให้พวกเขาเกิดความภาคภูมิใจ มั่นใจในวิถีการดำเนินชีวิตตามภูมิปัญญาที่สั่งสม สืบทอด กันมาของชุมชน และสามารถพัฒนายกระดับองค์ความรู้ของชุมชนของตน ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยได้อย่างเท่าทัน ทั้งหมดทั้งมวลนี้เกิดขึ้นได้ด้วยความสนับสนุนจากสถาบันปัญญาปีติ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ที่คอยทำหน้าที่สร้างโอกาสให้เกิดการเรียนรู้กับเด็กเยาวชนและคนหนุ่มสาวในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน

ผ้าทอชีวิต ชื่อนี้อาจจะฟังดูเหมือนชื่อละครซีรี่ยอดฮิต แต่แท้จริงแล้วเป็นชื่อกิจกรรมหนึ่งที่น้องๆ กลุ่มนี้ให้ความสนใจ โดยมีความคิดว่าถึงแม้ปัจจุบันเสื้อผ้าตามสมัยนิยม จะมีให้เลือกใส่ไม่ซ้ำแต่ละวัน แต่หากวันหนึ่งผ้าทอหายไป ประเพณีวัฒนธรรมก็หายไป หมู่บ้านที่เคยใส่ชุดประจำ เผ่ากะเหรี่ยงก็หายไป คนปกาเกอะญอก็จะหายไป กลายเป็นหมู่บ้านใหม่และไม่มีเผ่าปกาเกอะญอ ทำให้จังหวัดแม่ฮ่องสอนที่เคยมีหลายเผ่าพันธุ์ก็จะหายไปอย่างสิ้นเชิง ด้วยความคิดเช่นนี้ พวกเขาจึงเลือกหยิบเรื่องผ้าทอขึ้นมาเป็นหนึ่งในกิจกรรมเรียนรู้ เพื่อที่จะสืบทอดวิถีวัฒนธรรมของชุมชนของตนเอง จากชื่อกิจกรรมก็ชวนให้เกิดความสงสัยใคร่รู้ สำหรับคนพื้นราบหรือคนเมืองอย่างผมเสียเหลือเกิน กับที่มาของชื่อกิจกรรม ผ้าทอชีวิต ด้วยเหตุผลที่ผมเองก็เป็นแฟนละครซีรี่จีนเรื่องนี้อยู่ด้วย จึงอดที่จะถามไถ่ความเป็นมาของชื่อนี้เสียไม่ได้

เด็กสาวดวงตาสดใส มีรอยยิ้มกว้างเต็มใบหน้า รูปร่างท้วมในชุดสีขาวประจำเผ่า เธอแนะนำตัวเป็นภาษาไทยกลางติดสำเนียงชนเผ่าด้วยความมั่นใจว่าเธอชื่อเจ๊ะ ผู้ที่จะอาสามาคลี่คลายความสงสัยของผม ถึงที่มาและความหมายของชื่อกิจกรรมผ้าทอชีวิตของพวกเธอ แต่ก่อนเข้าเรื่องคำถามของผมนั้น เธอขอเล่าความรู้สึกที่มีต่อผ้าทอให้ผมฟังก่อน เหมือนเป็นหนังตัวอย่าง

"ตอนแรกๆ หนูก็ไม่อยากทำสักเท่าไรหรอกค่ะ มองดูเป็นเรื่องไร้สาระ แต่แม่ก็คอยย้ำอยู่ตลอดและโดนแม่ดุเกือบทุกวัน แม่หรือญาติพี่น้องหรือคนสูงอายุก็ตามจะบอกเสมอว่าถ้าเจอเนื้อคู่ขึ้นมา ตอนแต่งงานก็ต้องใช้ มันจำเป็นสำหรับผู้หญิง ผู้หญิงทุกคนก็ต้องทำให้ได้ ถ้าทำผ้าได้น้อยเมื่อแต่งงานจะเอาอะไรมาปิดเนื้อปิดตัวและมันเป็นวิถีชีวิตของเราเป็นประเพณีที่ทำกันมาตั้งแต่ยุคไหนแล้ว ตั้งแต่ปู่ย่าตายายและเป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่า อยากให้อนุรักษ์ไว้อย่าให้ลืม ถ้าเราลืม เผ่ากะเหรี่ยงจะไม่มีประเพณีวัฒนธรรม และจะนำสิ่งใหม่เข้ามาในหมู่บ้าน ทำให้คนรุ่นหลังก็เปลี่ยนไป พอได้ฟังอย่างนั้นหนูก็เลยคิดว่า เมื่อก่อนกับตอนนี้สภาพมันเปลี่ยนไปมาก เมื่อคนเปลี่ยน (วิถีชีวิตเปลี่ยน) ป่าไม้ที่เขียวขจีก็เปลี่ยนแปลงหายไปทุกวัน อากาศก็เปลี่ยน เปลี่ยนทุกอย่าง มุ่งหาแต่สิ่งใหม่ๆ ลืมสิ่งดีงามในหมู่บ้านที่เคยงดงาม

สิ่งใหม่ๆ ไม่ใช่ว่าไม่สำคัญ ทั้งสิ่งใหม่และสิ่งเก่า สำคัญทั้งสองอย่าง สิ่งใหม่ๆ เข้ามาเยอะเราก็เรียนให้เต็มที่ แต่อย่าลืมประเพณีของบ้านเรา ที่เคยมีมาแต่ก่อน เยาวชนในหมู่บ้านควรหันมาสนใจเรื่องนี้และตอนนี้แทบจะไม่มีเลย เพราะคนส่วนใหญ่ไปทำงานในเมืองกันหมด บ้างก็เรียนหนังสือในชุมชนไม่มีคนหนุ่มสาวเลย

พอหนูได้ฟังจากแม่ คนในชุมชนที่เขาเล่ามา เขาเล่าให้ฟังจากใจเขาจริง เขาอยากให้เราอนุรักษ์ไว้ ถ้าไม่ดีจริงเขาคงไม่ย้ำทุกวัน ดูๆ ไปเด็กบางคนอายุประมาณ 15-16 ก็แต่งงาน พอแต่งงานไปไม่มีชุดที่จะใส่ ต้องซื้อ หาซื้อก็ยาก ราคาก็แพง มิหนำซ้ำยังโดนคนในบ้านนินทาอีก หาว่าเป็นคนขี้เกียจ ทำอะไรไม่เป็นสักอย่างแต่อยากมีคู่ ฟังแล้วก็เครียดอีก ถึงจะแต่งแบบไหนก็ตามชุดชนเผ่าของชาวปกาเกอะญอ ก็ต้องใส่เหมือนเดิม เลยคิดว่าทำผ้าทอก็ดี ไหนๆ ก็อยู่บ้านไม่ได้ไปไหน พอทำเราก็ได้รับความชื่นชมว่าเด็กที่ไม่ลืมประเพณีวัฒนธรรม..."

นี่คือบทสนทนาเริ่มต้นของผมกับเจ๊ะ แต่ดูเหมือนคู่สนทนาของผมจะคุยเก่งจนทำเอาผมถึงกับอึ้ง ผมลืมไปเลยว่ากำลังพูดคุยอยู่กับเด็กชนเผ่าที่มาจากดอย ความรู้สึกเหมือนกับกำลังคุยอยู่กับผู้รู้หรือปราชญ์ชุมชนมากกว่า เจ๊ะหยุดการสนทนาในจังหวะที่ผมอึ้งอยู่นั้นและเธอหันหยิบชุดชนเผ่าที่แขวนโชว์ไว้ข้างๆ ยื่นให้ผมดู แล้วเธอก็เริ่มเล่าต่อ

"ผ้าทอเกี่ยวข้องกับเราตั้งแต่ตอนเกิดเลยค่ะ ในชุมชนของเรา พอมีเด็กเกิดอายุยังไม่ถึง 1 ขวบ ไม่ว่าหญิงหรือชาย ถ้าจะทอเสื้อผ้าให้ใส่ ต้องทอให้เสร็จภายใน 3 วัน ถ้าไม่เสร็จก็ไม่ให้ใส่ การทำฝ้ายและการทอผ้าเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตหลายอย่างของพวกเรา อย่างเช่น ประเพณีของบ้านดอย ประเพณีการแต่งงาน งานศพ ถ้าไม่มีฝ้ายที่ทำเอง งานก็จะไม่สำเร็จด้วยดี ไม่สมบูรณ์ อย่างพิธีกรรมมัดมือ เวลามัดมือก็จะใช้ผ้ายดิบที่ทำเอง ถ้าไม่ใช้ก็เหมือนกับว่าการมัดมือจะล้มเหลว และทำให้การงานที่ทำออกมาไม่ดี งานแต่งงานก็เหมือนกัน ผู้ชายต้องเตรียมผ้าคลุมหัวหนึ่งผืนต้องเป็นฝ้ายที่มาจากธรรมชาติหรือฝ้ายที่ทำเอง ผ้าคลุมหัวจะเป็นสีขาว หมายถึง รักสดใส ผ้าสีขาวนี้จะมอบให้ผู้ที่เป็นเฒ่าแก่เจ้าสาว แม่เจ้าบ่าวก็ต้องเตรียมไว้ให้ลูกสะใภ้ 1 ชุด ผ้าถุงกับเสื้อปักลูกเดือย คนที่มีลูกชายก็ต้องทำได้ทุกคน มีลูกกี่คนก็ต้องทำให้ครบ ส่วนฝ่ายหญิงก็ต้องเตรียมผ้าถุงกับเสื้อที่ปักกับลูกเดือย 2 ชิ้น จะต้องเป็นผ้าฝ้ายที่ทำมาเอง เพื่อเอาไว้มอบให้แม่เจ้าบ่าวหรือต้องแลกเปลี่ยนกัน ถ้าไม่ทำก็จะไม่มีบุตร หรือถ้ามีบุตรก็จะเป็นไข้ไม่สบาย ทำอะไรก็ล้มเหลว ไม่เจริญก้าวหน้า การทอผ้าเป็นเรื่องที่ดีสำหรับผู้หญิงทุกคนทำแล้วมีความสุข เห็นคนใส่ก็ดูดี ดูเรียบร้อย ดูเป็นชาวปกาเกอะญอ เป็นชุดประจำเผ่าของพวกเรา ชุดประจำเผ่ามีหลายรูปแบบและดูออกง่ายว่าใครมีครอบครัวและไม่มีครอบครัว ผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว สามารถสังเกตได้จากผ้าถุงกับเสื้อ ผ้าถุงจะเป็นสีแดงชมพู ส่วนเสื้อจะเป็นสีดำ ส่วนผู้หญิงที่ยังไม่แต่งงานจะใส่ชุดสีขาว สิ่งเหล่านี้เป็นประเพณีที่สืบต่อกันมานาน เป็นเรื่องผ้าทอกับชีวิตของพวกเราชาวปกาเกอะญอค่ะ..."

ผมนั่งคุยกับเจ๊ะอยู่นาน นานจนผมได้ฟังเรื่องราวการทอผ้าฝ้ายของพวกเธอจนละเอียดครบถ้วนกระบวนความ มันเรื่องผ้าทอชีวิตจริงๆ ถึงแม้เรื่องของเจ๊ะจะไม่ได้สนุกคลุกเคล้าน้ำตา เหมือนผ้าทอชีวิตในละครซีรี่ที่ผมชื่นชอบ แต่เรื่องของเจ๊ะกลับทำให้ผมคิดถึงบ้าน คิดถึงรากเง้าของตนเอง คิดถึงซิ่นไหมและผ้าขาวม้า

ถ้าสมมุติว่ามีคนถามผมว่าทำไมคนอีสานถึงต้องนุ่งผ้าซิ่น ผ้าโสร่งหรือทำไมต้องมีผ้าขาวม้า
ผมจะตอบเขาว่าอย่างไร....

โดย...แขนง

ที่มา คอลัมน์ มองย้อนศร : http://www.budnet.org/

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >