หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow จาริกในใจ | ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 91 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

จาริกในใจ | ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ พิมพ์
Wednesday, 01 June 2011

จาริกในใจ

ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ

มีคนเคยถามผมว่าการเป็น "นักบวช" กับ "ฆราวาส" ต่างกันตรงไหน?

สำหรับผมแล้ว คำถามในข้างต้นค่อนข้างยากและมีนัยบางอย่างต่อความรู้สึกของผู้คนค่อนข้างมาก คนจำนวนหนึ่งมักตั้งคำถามธรรมในเชิงเล่นโวหารว่า หากนักบวชต่างกับฆราวาสเพียงแค่เครื่องนุ่งห่ม ทรงผม หรือความสามารถในการท่องจำบทสวดมนต์ เราจะนำแรงศรัทธาของคนไว้ที่ใด ในทางกลับกัน หากฆราวาสชื่นชอบแต่การแข่งขันสร้างเจดีย์หรือบริจาคเงินเข้าวัด หน้าที่ของนักบวชคงทำได้เพียงสวดมนต์

ทว่า... จนแล้วจนรอดผมก็ยังนึกไม่ออกเสียทีว่า นักบวชกับฆราวาสต่างกันตรงไหน?

หลายเดือนก่อน ระหว่างที่ผมขับรถลัดเลาะอยู่กลางหุบเขาแห่งหนึ่งในภาคเหนือ ท่ามกลางอากาศที่ร้อนระอุในช่วงเวลาบ่ายโมงเศษ สายตาของผมเหลือบไปเห็นพระรูปหนึ่งยืนโบกรถอยู่ไกลๆ แต่จนแล้วจนรอดรถยนต์ที่นำหน้าเราไปแต่ละคันกลับพุ่งทะยานไปข้างหน้าอย่างไม่สนใจ บางคันชะลอความเร็วลงช้าๆ ตรงบริเวณที่พระรูปนั้นยืนอยู่และเลยผ่านไป ผมมองหน้ากับภรรยาที่นั่งมาด้วยกันด้วยอาการงงๆ

"เอาไงดี รับไม๊..." ผมถามภรรยา ขณะที่ในใจกระหวัดนึกถึงบางเรื่องราวที่ชวนสงสัย อาทิ กลางป่ากลางเขาแบบนี้ ทำไมมีพระมาเดินกลางถนนร้อนๆ เราจะเชื่อได้อย่างไรว่าเป็นพระจริงไม่ใช่พระเก๊มาขออาศัยแล้วจี้เราระหว่างทาง ในถุงย่ามนั่นมีอะไรอยู่ ทำไมรถหลายคันข้างหน้าไม่มีใครรับ "เอาไงดี" ผมทบทวนข้อมูลข่าวสารในแง่ดีเกี่ยวกับพระสงฆ์ในปัจจุบันเท่าที่จะนึกได้

"ก็แล้วแต่พี่ตัดสินใจสิ เรามากันสองคนคงไม่เป็นไร" ภรรยาของผมเอ่ยขึ้น จากนั้นไม่นาน รถของเราจอดลงห่างจากจุดที่พระยืนโบกรถประมาณสองร้อยเมตร ผมรีบลงจากรถเพื่อเก็บข้าวของที่เบาะท้ายรถให้เรียบร้อย ระหว่างที่กำลังเก็บของบางส่วน สายตาของผมก็เหลือบไปเห็นพระรูปนั้นเดินเข้ามาใกล้เรื่อยๆ ผมจึงรีบเดินไปหาพระรูปนั้นทันที และเมื่อระยะทางของเราใกล้จนเห็นสีหน้าท่าทาง ตลอดจนสัมภาระต่างๆ ความรู้สึกละอายใจจึงเกิดขึ้นกับผมราวโดนหมัดน็อกของนักมวย

"ไม่ได้ขอขึ้นรถ...โยม ขอน้ำ..." พระวัยกลางคนเอ่ยขึ้นด้วยริมฝีปากที่แห้งผากและแตก ใบหน้าของท่านซึ่งมีร่องรอยแดดเผา ซีดและชุ่มไปด้วยเหงื่อ ผมจึงรีบวิ่งกลับไปที่รถเพื่อจัดแจงธุระให้ตามคำขออย่างเร่งด่วน หลังจากที่ท่านฉันน้ำเป็นที่เรียบร้อย ผมจึงทราบว่า ท่านเป็นพระธุดงค์จริงๆ เดินมาตั้งแต่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย โดยตั้งใจจะไปจำพรรษาที่ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

"แล้วระหว่างทางมีคนจอดรถรับบ้างไหมครับ" ผมจำได้ว่าจากต้นทางมาถึงจุดที่เราพบกันนั้นมีระยะทางอย่างน้อยประมาณสามร้อยกว่ากิโลเมตรเห็นจะได้

"ไม่มีโยม โยมเป็นคนแรก อาตมาคงแย่ถ้าไม่มีน้ำขวดนี้ มาๆ รับพรก่อน เดี๋ยวค่อยแยกย้าย" จากนั้น ผมกับภรรยาก็นั่งรับพรด้วยกัน ระหว่างที่ท่านสวด สายตาผมเหลือบไปเห็นเท้าที่เปลือยเปล่าของพระรูปนั้น มันหนาและพองเพราะเดินบนพื้นยางมะตอยมานาน ซอกเล็บของบางนิ้วมีเลือดซึมออกมาบางๆ ผมคะยั้นคะยอให้ท่านนั่งรถไปกับผมเพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนและย่นระยะทาง แต่ท่านปฏิเสธด้วยแววตาที่มุ่งมั่นบางอย่าง

หลังจากที่เราแยกย้ายกัน บรรยากาศในรถของผมค่อนข้างเงียบคล้ายทบทวนและจดจำเหตุการณ์เมื่อครู่อย่างละเอียด ระยะห่างสองร้อยเมตรจากจุดจอดรถของผมกับพระรูปนั้นบรรจุไปด้วยสิ่งที่ไม่อาจบรรยายได้แจ่มชัดนัก มันมีทั้งความกังวลเรื่องพระจริงหรือแก็งค์มิจฉาชีพ ความรู้สึกไม่แน่ใจในมนุษย์ เรื่องเล่าของการดักปล้นระหว่างทาง รวมไปถึงความรู้สึกเสียดายที่ในรถผมไม่มีอุปกรณ์อันใดเลยที่จะใช้เป็นอาวุธป้องกันตนเองและภรรยายามฉุกเฉิน ทว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ระยะห่างของเราใกล้กันเรื่อยๆ มิใช่ผมแต่เป็นพระรูปนั้นที่เริ่มเดินเข้ามาหาผมก่อน

"อาตมาเดินธุดงค์เพราะมีเหตุต้องเดิน นั่งรถไม่ได้ โยมไปเถอะ หากวันไหนขับรถผ่านพระธุดงค์ก็อย่าลืมแวะทัก แวะคุย หาน้ำให้ท่านบ้าง" เสียงของพระรูปนั้นยังคงดังอยู่ในหูของผมตลอดการเดินทางในครั้งนั้น บางทีการออกธุดงค์ของพระรูปนั้นหรือพระรูปอื่นๆ คงเป็นการเดินทางซึ่งใช้ฝ่าเท้าที่ย่ำผ่านภูมิประเทศต่างๆ เปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ในใจ ผมไม่คาดหวังว่าพระทุกรูปที่ปฏิบัติเช่นนี้ จะบรรลุอรหันต์หรือแม้กระทั่งโสดาบัน แต่นี่กระมัง คือความต่างประการหนึ่งระหว่างนักบวชกับฆราวาสโดยมิต้องยึดติดกับเครื่องแบบและทรงผม

ไม่กี่อาทิตย์ที่ผ่านมานี้ ผมขับรถออกมาเติมน้ำมันที่ปั้มใกล้บ้านเพื่อเตรียม "จาริก" (?) ในแบบของผมบ้าง สายตาเจ้ากรรมดันไปเห็นพระรูปหนึ่งมีท่วงทีลักษณะคล้ายพระธุดงค์ทุกประการกำลังยืนบิณฑบาตอยู่บริเวณหน้าร้านสะดวกซื้อขนาดใหญ่ คาดว่าท่านคงยืนมาได้สักพักแล้ว สังเกตจากถุงขนมและน้ำผลไม้จำนวนหนึ่งที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ

"พระรูปนี้คงวางแผนการเดินทางมาดี..." ผมบอกกับตัวเอง

------------

จาก หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ : จุดประกาย ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >