หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow โรงเรียนหนูถูกยุบ | ชัยณรงค์ กิตินารถอินทราณี
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 90 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โรงเรียนหนูถูกยุบ | ชัยณรงค์ กิตินารถอินทราณี พิมพ์
Wednesday, 25 May 2011

Life Style

วันที่ 5 พฤษภาคม 2554

โรงเรียนหนูถูกยุบ!!!

โดย : ชัยณรงค์ กิตินารถอินทราณี

 


 

สมการปฏิรูปการศึกษา ถูกแทนค่าด้วยการยุบ "โรงเรียนขนาดเล็ก" แต่ผลลัพธ์กลับไม่ได้มีแค่ป้ายชื่อโรงเรียนที่ถูกปลดทิ้งไป

ปลายปีที่แล้ว (พ.ศ. 2553) ยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบการเงินเพื่อการศึกษาของคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านทรัพยากรและการเงินเพื่อการศึกษามีข้อเสนอให้มีการ "ยุบ รวม เลิก" โรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 7,000 แห่งจาก 1.4 หมื่นโรงทั่วประเทศ ที่เข้าข่าย "หมดความจำเป็น" "มีต้นทุนในการจัดการศึกษาสูง และ "ด้อยประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ"

มาตรการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อให้เหลือโรงเรียนในจำนวนที่เหมาะสม และเกลี่ยงบประมาณให้แต่ละโรงเรียนได้มากขึ้น ทำให้ช่องว่างในด้านคุณภาพและมาตรฐานระหว่างโรงเรียนหดแคบลง

ทาง สมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ยืนยันว่าจะไม่ใช้วิธีบีบบังคับแต่จะปล่อยไปตามธรรมชาติด้วยการคมนาคมที่สะดวกขึ้น และโครงการโรงเรียนดีประจำตำบลที่กำลังจะดำเนินการในปีการศึกษา 2553 นี้จะเป็นทางเลือก และดึงดูดเด็กเข้ามาเรียน

ขณะที่ ชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการก็ออกมาย้ำถึงนโยบายในการประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 185 เขตทั่วประเทศ ร่วมกับนายกองค์การบริหารส่วนตำบลกว่า 100 ตำบลที่จะร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินโครงการโรงเรียนดีประจำตำบลเพื่อเป็น "ตัวแปร" ในเรื่องดังกล่าวด้วย

ทั้งหมด เป็นส่วนหนึ่งของการ "โหมโรง" ปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 จะดำเนินการตั้งแต่ปี 2553-2561

โรงเรียนเก่าเอามายุบใหม่

นับตั้งแต่ประกาศนโยบาย "ยุบ รวม เลิก" ออกมา จนถึงวันนี้ มีกว่า 137 โรงเรียนที่ถูกถอดป้ายชื่อ และย้ายเด็กนักเรียนไปอยู่โรงเรียนขนาดใหญ่ในพื้นที่ใกล้เคียง โดยรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานคนเดิมย้ำแนวทางปฏิบัติของกระทรวงศึกษาออกมาอย่างชัดเจนว่า จนถึงปี 2561 จะต้องยุบให้ได้ตามเป้า

"เราต้องสร้างคุณภาพของโรงรียนให้ทัดเทียมกัน" เขาบอก

ถึงอย่างนั้น ก็ไม่หมายความว่า บรรดาโรงเรียนที่ถูก "กาหัวกระดาษ" จะต้องถูกรื้อทิ้งไปเสียทีเดียว เพราะสิ่งที่แต่ละเขตพื้นที่การศึกษาต้องพิจารณาก็คือ บริบทของโรงเรียนในพื้นที่ แต่ข่าวลือถึงการนำเอาประเด็นเหล่านี้มาเป็นตัวชี้วัดความดีความชอบ ทำนอง "ยุบมาก" คือ "จัดการได้ดี" ก็สร้างความกังวลให้กับบุคลากรทางการศึกษาที่มีความเห็นยืนอยู่ฝั่งตรงข้ามกับนโยบายพอสมควร

ที่สำคัญ...นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่

"ก่อนหน้านี้ ช่วงปี 2536 - 2547 ก็มีการยุบโรงเรียนขนาดเล็กไป 3,000 แห่งแล้ว" ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ เลขาธิการสภาการศึกษาทางเลือกเล่าถึงการ "ยุบรอบแรก" ที่ผ่านมา ซึ่งครั้งนั้น ถือเป็นการยุบแบบ ไม่มีปี่มีขลุ่ย

แต่การขยายตัวของโรงเรียนขนาดเล็กก็ยังคงมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 2536 ที่มีอยู่ 10,741 แห่ง ก้าวกระโดดขึ้นมาเป็น 11,599 แห่งในปี 2547

ปัจจุบัน ตัวเลขของโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ในมือของเขามีราว 14,056 แห่ง คิดเป็น 44.78 เปอร์เซ็นต์ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่มีอยู่ 30,000 แห่งทั่วประเทศ

ยังไม่นับโรงเรียนชุมชมที่ผูกพันคู่ขนานกับท้องถิ่น ทั้งที่มีสถานะเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก และเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่แต่ละชุมชนร่วมกันสร้างขึ้นมา โดยผลวิจัยเรื่องโรงเรียนขนาดเล็กของสภาการศึกษาทางเลือกที่กำลังทำอยู่ตอนนี้ เบื้องต้นพบว่า มีหลายชุมชนที่ชุมชน ผู้ปกครอง เข้ามาร่วมกับโรงเรียนพัฒนาคุณภาพของเด็ก พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น มีกิจกรรมทั้งทางวัฒนธรรม ประเพณีที่เกิดขึ้นร่วมกันระหว่างโรงเรียนและชุมชนมาโดยตลอด

ไม่ใช่เรื่องใหม่อีกเหมือนกัน

เมื่อปี 2548 หลายครอบครัวในชุมชนท่าสะท้อน ต.ชะอวด อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช ต่างได้รับผลกระทบจากการที่ โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ถูกปิดลง ทำให้ลูกหลานในหมู่บ้านต้องเดินทางไปเรียนหนังสือยังท้องที่อื่นซึ่งห่างจากหมู่บ้านออกไปราว 5 กิโลเมตร ทำให้หลายบ้านต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นไปโดยปริยาย

จากผลเสียที่ชุมชนมองเห็นร่วมกัน กระบวนการจัดการศึกษาชุมชนจึงเกิดขึ้น เพื่อให้ลูกหลานได้มีที่เรียนใกล้บ้าน และพัฒนาหลักสูตรที่มีสาระของท้องถิ่นไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนไปพร้อมกัน โดยเนื้อหาการสอนเป็นหลักสูตรกลางร้อยละ 70 และหลักสูตรท้องถิ่นร้อยละ 30 อย่าง วัฒนธรรมท้องถิ่น ภูมิปัญญา และการประกอบอาชีพ

ด้วยการเห็นความสำคัญ และความร่วมมือของชุมชน ในที่สุดกระดานดำแผ่นเดิมก็ได้กลับมาใช้ใหม่อีกครั้งในปี 2551และกลายเป็นตัวอย่างของการจัดการศึกษาโดยชุมชนท้องถิ่น ที่มีผู้สนใจจากพื้นที่ต่างๆ เดินทางไปให้กำลังใจและศึกษาดูงานอยู่อย่างต่อเนื่อง

จนมาถึง "การปฏิรูปฯ รอบ 2" นี้ จำนวนนักเรียนเพียง 23 คน มีครูข้าราชการ 2 คน ครูอัตราจ้าง 2 คน ทำให้วัดท่าสะท้อน ตกอยู่ในกลุ่มเสี่ยง "ถูกยุบ" อีกครั้ง

"ขุมทรัพย์" นอกตำรา

ในคำนิยามของโรงเรียน หลายคนมักมองเห็นถึง โต๊ะ เก้าอี้ ในห้องสี่เหลี่ยม มีเด็กในชุดนักเรียน และคุณครูตรงหน้ากระดานดำ แต่ถ้าถามถึงโรงเรียนในความหมายของ ธีรดา นามให มันมีอะไรมากกว่านั้นเยอะ

โรงเรียนชุมชนชาวนาบ้านปลาบู่ ต.หนองแสง อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม ที่เธอนั่งเก้าอี้ผู้อำนวยการอยู่ "ป้าแล่ม" ของเด็กๆ ไม่ได้ปล่อยให้การเรียนรู้ถูกกักบริเวณเอาไว้แต่บนกระดานหน้าชั้น

ที่นี่ผนวกเอา "วิชาชีวิต" เข้ามาสร้างให้คันนา ลำห้วย และป่าหลังบ้าน กลายเป็นแบบฝึกหัดชั้นดี ที่มีไม่รู้หมด

"เพราะเราอยากให้ลูกหลานกลับบ้าน" สาวพัฒนาชุมชนให้เหตุผลง่ายๆ

ด้วยประสบการณ์ความรู้สึกที่ตัวเองได้สัมผัส หลังออกไปร่ำเรียน เดินทางอยู่หลายปี อะไรก็ไม่ดีเท่า "กลับมาอยู่บ้าน" และคงจะดีไม่น้อยหากทำให้คนรุ่นหลัง อยู่ติดชุมชน ใช้ท้องถิ่นเป็นแหล่งทำกินเลี้ยงชีพต่อไปได้ถึงลูกถึงหลาน

อีกส่วนหนึ่ง เป็นเพราะเมื่อ 15 ปีก่อน โรงเรียนที่บ้านปลาบู่หายไปโดยยังไม่ได้ทันฟังเสียงประชาชน ทำให้สภาพปัจจุบัน ผู้ปกครองต้องแบกรับภาระค่าเดินทางของบุตรหลานในการไปเรียนหนังสือจาก "ครูตู้" ในโรงเรียนที่ห่างออกไป 5 กิโลเมตร เด็กจึงไกลบ้าน และเรียนไม่รู้เรื่อง

"เด็กในชุมชนของเราไปเรียนชั้นป.5 ที่นั่นกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ยังอ่านไม่ออกเลย" เธอชี้หลักฐาน

แบบเรียนที่เกิดขึ้น จึงเป็นลักษณะของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนกลายๆ ทั้ง การจัดการความรู้ชุมชน จิตสำนึกท้องถิ่น งานวิจัยท้องถิ่น ศูนย์ดนตรีพื้นบ้าน หรือกลุ่มหัตถกรรมมัดย้อมซึ่งตอนนี้กำลังดูแนวทางการผูกปิ่นโตกับโรงเรียนขนาดเล็กอีกแห่งใกล้ๆ กันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน และนักเรียนด้วย

แนวคิดการเรียนรู้ในชุมชนทำนองนี้ที่ โรงเรียนบ้านเกาะแรต ต.ดอนสัก อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี ชุมชนประมงเชื้อสายจีนไหหลำ ก็ไม่ต่างกัน เริ่มต้นที่การพูดคุยระหว่างสถานศึกษากับชุมชน เพื่อหาแนวทางจัดการความรู้ที่เหมาะสมร่วมกัน โดยได้ตัวอย่างการจัดการศึกษามาจากโรงเรียนวัดท่าสะท้อน

"ครูบ้าน ครูวัด ครูโรงเรียน" คือแบบเรียนที่ชุมชน กับโรงเรียนช่วยกันสังเคราะห์ออกมา ทั้งเรื่องประวัติศาสตร์ อาชีพ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และกิจกรรมคุณธรรม ซึ่งได้รับความสนใจจากเด็กๆ และความร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างดี

"วันนี้ เราเริ่มมีการนำกระบวนการวิจัยท้องถิ่นมาช่วยเสริมศักยภาพของชุมชนและโรงเรียน ให้จัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น" นิวัตร์ โฮ้เต้กิ้ม ที่ปรึกษากลุ่มเยาวชนสร้างสรรค์สุราษฎร์ธานี หนึ่งในกลุ่มที่เข้ามาช่วยด้านการจัดการวิชาชีพท้องถิ่นเล่าถึงความก้าวหน้าที่เกิดขึ้น

ส่วน โรงเรียนบ้านมอวาคี (หนองมณฑา) ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ เพราะความต้องการให้เด็กในชุมชนได้เรียนหนังสือเหมือนกับเด็กทั่วไป จึงได้มีการนำหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนมาใช้สอนภายในห้องเรียน ขณะที่ทักษะชีวิตข้างนอกก็มีครูชาวบ้านคอยสอดผสาน ความรู้ท้องถิ่น ทั้งในเรื่องการดำรงชีวิต และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยยึดหลัก โรงเรียนเป็นของชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน

ทั้งหมด ล้วนอยู่ในคำจำกัดความของ โรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนชุมชนทั้งนั้น

ถ้า "ยุบ" ไม่ใช่คำตอบ

"ผู้ปกครองต้องเสียเงินมากขึ้น เพราะโรงเรียนไกลชุมชน"

"พ่อแม่ ผู้ปกครองเด็กเกิดความกังวล เพราะอยู่ไกลหูไกลตา"

"เด็กถูกดึงออกจากชุมชนมากขึ้น"

สิ่งเหล่านี้เป็นความกังวลหลักๆ ที่ชัชวาลย์นึกถึงหากเกิดเหตุการณ์ "ยุบ รวม เลิก" ขึ้นกับโรงเรียนขนาดเล็กทั้ง 7,000 แห่งตามแผนที่กระทรวงศึกษาวางเอาไว้ ถึงแม้ระดับผู้บริหารในกระทรวงอย่าง รองฯ สมเกียรติจะบอกว่า ให้ดูตามความจำเป็น และบริบทของพื้นที่ รวมทั้งเรื่องของการทำความเข้าใจให้ผู้คนในชุมชนหมดข้อสงสัยก็ตาม

"ทางกระทรวงไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ จริงๆ แล้วปริมาณโรงเรียนขนาดเล็กที่เพิ่มขึ้นคือความผิดพลาดของการบริหารที่กระทรวงไม่ได้แก้ไขมานานแล้ว การใช้การสอบแข่งขัน เน้นผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการเป็นที่ตั้ง ยิ่งทำให้โรงเรียนเหล่านี้ถูกละเลย และถูกมองในแง่ลบว่าไม่มีคุณภาพมากขึ้น แทนที่จะเข้ามาพัฒนาอย่างจริงจัง" เขาอธิบาย

ภาพสะท้อนถึงการเดินสวนทางระหว่างการพัฒนากับการศึกษาท้องถิ่นที่กลายเป็นคนละเรื่องเดียวกันของ กรณี สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เรียกคืนเงินสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศจนนำไปสู่การฟ้องร้องในเวลาต่อมาดูจะเป็นอีกคำตอบถึง "ความลักลั่น" ที่เกิดขึ้น

ธนาวุฒิ ถาวรพราหมณ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากพูน จ. นครศรีธรรมราช อ. เมือง จ. นครศรีธรรมราช และคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษาของสภาการศึกษาแห่งชาติ มองว่านี่คือทัศนคติของหน่วยงานราชการซึ่งขีดวงความหมายของถ้อยคำไว้แคบอย่างยิ่ง ทั้งเรื่อง "อำนาจ" "หน้าที่" "การส่งเสริม" "การสนับสนุน" สำคัญที่สุดคือความหมายของคำว่า "การศึกษา"

กรณีตัวอย่างของการส่งเสริมการศึกษาในระบบ เช่น มีสถานศึกษาที่อยู่กับชุมชนท้องถิ่น อบต. อาจจะส่งเสริมสถาบันการศึกษา เช่น ซื้อวัสดุ เครื่องไม้เครื่องมือ จัดการศึกษาเสริม จ้างครูพิเศษ นี่คือการส่งเสริมการศึกษาในระบบ กรณีการศึกษานอกระบบ ที่ผ่านมาหลายท้องถิ่นจัดการเรื่องงบมหาวิทยาลัยชีวิต หรือสนับสนุนการศึกษานอกโรงเรียน ซึ่งทุกวันนี้นักเรียนภายใต้การดูแลของกระทรวงศึกษาธิการยังขาดอยู่มาก

"ในห้องเราให้เรียนอย่างเดียว เป็นการศึกษาที่ทิ้งถิ่น ลืมไปแล้วว่าการกำจัดยุงในบ้านทำได้อย่างไร ก็นึกได้ว่า ห่านดินกินหญ้าห่านฟ้ากินยุง พอกลับไปดูภูมิปัญญาท้องถิ่น เขาปลูกตะไคร้หอม เลี้ยงปลาอะไรต่างๆ นี่คือวิถี แต่ถ้าใช้วิชาก็กลับไปใช้ดีดีที เรื่องแบบนี้คือตัวอย่าง หรือเด็กในบ้านเราที่ไปเรียนแพทย์ พอรักษางูสามเหลี่ยมหรืองูกะปะลายพรมกัดต้องตัดเนื้อเยื่อหรือตัดนิ้ว แต่ความรู้ท้องถิ่น หมองูท้องถิ่นที่ตำบลปากพูน รักษาคนโดนงูกะปะกัด ไม่ต้องตัดนิ้ว แผลหายสนิท มีแผลเป็นเล็กน้อยเรื่องแบบนี้ท้องถิ่นเห็นแต่คนที่กระทรวงไม่เห็น ไม่รู้ว่ามีสิ่งเหล่านี้อยู่ในท้องถิ่นซึ่งสามารถจัดการได้ ซึ่งไม่ใช่วิชาการ" เขาบอก

อดีตครูเกษียณอย่างนิวัตร์เอง ก็มีความเห็นแบบเดียวกันว่า เด็กๆ ควรจะได้เรียนรู้ในฐานสังคมวัฒนธรรมของถิ่นฐานบ้านเกิดอันถือเป็นหลักการพื้นฐาน

"การจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติได้เขียนเรื่องการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนไว้ชัดเลยว่าโรงเรียนต้องร่วมกับองค์กรอื่นๆ จัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาชุมชน การยุบโรงเรียนที่ทางกระทรวงอ้างว่าจะยุบในพื้นที่ที่ชุมชนไม่เข้มแข็ง ไม่มีความพร้อมหมายถึงทางกระทรวงศึกษาธิการปัดความรับผิดชอบในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาชุมชนดังกล่าวด้วย นอกเหนือจากการผลักไสให้เด็กๆ ห่างไกลออกไปจากชุมชนตนเอง ซึ่งกล่าวได้ว่ากระทรวงศึกษาธิการกำลังทำผิดกฏหมายนั่นเอง" เขาตั้งอีกข้อสังเกต

"แต่หากกระทรวงดำเนินตามขั้นตอน เราก็ไม่มีปัญหานะ" ชัชวาลย์เสนอจุดร่วม

"ตามขั้นตอน" ในความหมายของเขาก็คือ การลงพื้นที่อธิบาย-ทำความเข้าใจให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมว่าจะยังอยากให้มีโรงเรียนอยู่ในท้องที่หรือไม่ หรือ จะพัฒนาให้เป็นหลักสูตรทักษะชีวิต อีกบริบททางการศึกษาคู่ขนานไปกับการเรียนในเชิงวิชาการก็ถือเป็นแนวทางที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

"แค่ตั้งฐานวิธีคิดกับโรงเรียนขนาดเล็กแบบเดียวกับโรงเรียนเตรียมฯ นั่นก็ผิดแล้ว เพราะมันคนละบริบทกัน" เขาย้ำ

ไม่ว่า "การทำความเข้าใจ" ตามความหมายของกระทรวงจะเป็นอย่างเดียวกันกับคนในภาคการศึกษาท้องถิ่นหรือไม่ แต่การ "ยุบ รวม เลิก" ดูเหมือนจะเป็นโจทย์ที่ท้าทายกับนโยบายการเปิด "โอกาสทางการศึกษา" ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ของกระทรวงฯ ที่ออกอากาศบนหน้าจอโทรทัศน์ช่วงนี้อย่างยิ่ง

ที่มา...กรุงเทพธุรกิจ : http://www.bangkokbiznews.com

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >