หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow ประชาธิปไตย ในมือน้อย : ปานใจ ปิ่นจินดา
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 51 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ประชาธิปไตย ในมือน้อย : ปานใจ ปิ่นจินดา พิมพ์
Wednesday, 08 June 2011

Life Style

วันที่ 26 พฤษภาคม 2554

ประชาธิปไตย ในมือน้อย

โดย : ปานใจ ปิ่นจินดา

 

เกาะกระแสเลือกตั้งที่ปลูกฝังกันตั้งแต่หน้าเสาธง เรียนรู้ประชาธิปไตยในห้องเรียนผ่านสภากระดานดำ และ คณะรัฐมนตรีจิ๋ว(แต่ตัว)

ดูเหมือนว่าภาระบนบ่าน้อยจะใหญ่หลวงนัก เพราะอะไรๆ ก็ฝากไว้กับเด็กรุ่นนี้ อย่างที่ภาษิตโบราณว่าไว้ "ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก" เลยทำให้คนโต พ.ศ.นี้ เริ่มหันมามองความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมให้เจ้าตัวเล็กทั้งหลาย ให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ เป็น "พลเมือง" ที่ทำหน้าที่อันสมควรกระทำ ในฐานะพลเมืองของประเทศได้อย่างแท้จริง

ที่เห็นชัดๆ คือการนำเอา "วิชาหน้าที่พลเมือง" มาปัดฝุ่นเสียใหม่และบรรจุเข้าไว้ในกลุ่มสาระวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามแนวนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ซึ่งวางเป้าหมายพัฒนาระบบการศึกษาไทยในหลายๆ มิติ โดยหนึ่งในนั้นคือต้องการพัฒนาเด็กไทยให้ "เก่ง-ดี-มีสุข" ซึ่งการเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ และ ของโลก จัดอยู่ในกรอบการพัฒนาคุณภาพเด็กไทยตามแนวดังกล่าวด้วยเช่นเดียวกัน


พลเมือง "ศึกษา"

จากยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง พ.ศ.2553-2561 โดยกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (กนป.) ซึ่งวางแนวทางสาระสำคัญกำหนดคุณสมบัติของความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ไว้ทั้งสิ้น 6 อย่างด้วยกัน

ประกอบด้วย 1.ต้องมีอิสรภาพควบคู่ความรับผิดชอบ 2.เคารพสิทธิผู้อื่น 3.เคารพความแตกต่าง 4.เคารพความเสมอภาค 5.เคารพกติกา กฎหมาย ไม่ใช้กำลังแก้ปัญหาและยอมรับผลของการละเมิดกติกา และ 6.มีส่วนร่วมแก้ปัญหาโดยเริ่มต้นที่ตนเอง

เมื่อโร้ดแม็ปการศึกษาดังกล่าวเดินมาถึงหน่วยงานในภาคปฏิบัติอย่างสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งต้องทำหน้าที่ออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนนั้น ก็รับช่วงต่อโดยออกคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประชาธิปไตย ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้ง(กกต.)จัดทำ "คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประชาธิปไตย" ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ทั้ง 4 ช่วงชั้น สำหรับครูอาจารย์ฉบับใหม่ขึ้น

"การจัดทำคู่มือครั้งนี้ เราหารือกันว่า เนื้อแท้ของประชาธิปไตยมันต้องอยู่ในวิถีชีวิต การพัฒนาประชาธิปไตยถึงจะมีความยั่งยืน จึงทำออกมาในรูปของกิจกรรมที่ครูสามารถหยิบไปใช้สอนนักเรียน หรือจัดเป็นกิจกรรมสอดแทรกในวิชาอื่นๆ ได้ โดยเน้นไปที่การปลูกฝังประชาธิปไตยในวิถีชีวิตตั้งแต่เด็กเล็กระดับประถมศึกษา ไปถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย" วันเพ็ญ สุทธากาศ นักวิชาการศึกษา 8 ว.สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. ซึ่งรับผิดชอบดูแลเนื้อหาคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประชาธิปไตยฯ เอ่ย


ก่อนจะลงรายละเอียด โดย วีณา อัครธรรม ผู้อำนวยการ สพฐ. ที่อธิบายว่าหลักสูตรพลเมืองนั้นจะแตกต่างกันไปในระดับชั้น โดยในระดับชั้น ป.1-3 กิจกรรมที่นำมาให้เด็กปฏิบัติจะเน้นไปที่วิถีประชาธิปไตยในระดับครอบครัว โรงเรียน และ ชุมชน

เพราะในวัยนี้สถาบันที่มีบทบาทสำคัญที่สุดของเด็กได้แก่ สถาบันครอบครัว โรงเรียน และชุมชน ดังนั้น กิจกรรมที่ครูจะนำไปสอนจะทำให้เด็กได้เรียนรู้หน้าที่ของตนเองในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของสังคม โดยเฉพาะการปฏิบัติให้อยู่ในกฎระเบียบข้อตกลงร่วมกัน เช่น กฎระเบียบของห้องเรียน ที่สำคัญคือการปลูกฝังให้เด็กยอมรับความแตกต่างของคนในสังคม และการทำงานเป็นทีม หรือการสมมติบทบาทให้นักเรียนเป็นผู้นำ หรือสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัว

กิจกรรมที่ครูสามารถนำไปใช้กับเด็กนักเรียนในระดับชั้น ป.1-3 แบบง่ายๆ อาทิ สอนให้รู้จักการเข้าคิว ห้ามแซงคิว การจัดเวรทำความสะอาดห้องเรียน หรือการเลือกหัวหน้าชั้น เป็นต้น

ส่วนกิจกรรมการเรียนรู้ประชาธิปไตยระดับ ป.4-6 ซึ่งเป็นวัยที่ได้สัมผัสโลกภายนอกมากขึ้น กิจกรรมก็จะเน้นไปที่การสร้างคุณลักษณะบุคลิกประชาธิปไตยให้เกิดกับนักเรียน เพื่อให้เป็นพลเมืองที่ดี และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ภายใต้วัฒนธรรมอันดีงามของไทย ซึ่งจะมีเรื่องของสิทธิเสรีภาพ หน้าที่ของตนเองเข้ามาด้วย

เด็กในระดับชั้น ป.4-6 จะได้เรียนรู้เรื่องสิทธิเด็ก ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิเด็ก และกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิเด็ก โดยเด็กจะได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริง จากข่าว หรือภาพข่าวที่นำเสนอผ่านสื่อมวลชน โดยครูจะหยิบยกมาเป็นกรณีตัวอย่าง ให้เด็กได้คิดวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่ามีสาเหตุมาจากอะไร จะป้องกันเหตุซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ได้อย่างไร

"เจตนาของการเสริมกิจกรรมที่เกี่ยวกับหน้าที่พลเมืองนั้น ก็เพื่อให้เด็กได้รู้จัก เข้าใจการปฏิบัติตนในฐานะการเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ และ ของโลก โดยจริงๆ แล้วเรื่องแบบนี้ก็มีสอนในห้องเรียน แต่เนื่องจากเรามองว่าไม่พอ เพราะเรื่องการเป็นพลเมืองดี เข้าใจในประชาธิปไตยได้นั้น มันจะต้องปลูกฝัง ให้ซึมซับเข้าไป ไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง หรือมีสภานักเรียนเท่านั้น" อ.วีณา กล่าว

ที่สำคัญ คือ "ความต่อเนื่อง" ของการปลูกฝังที่ไม่ได้หยุดอยู่แค่รั้วการศึกษาแต่เพียงเท่านั้น เพราะการเป็นพลเมืองที่ดีนั้น เป็นกันทั้งชีวิต

ฉะนั้น การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองจะสัมฤทธิ์ผลได้นั้น จะต้องเป็นการศึกษาที่ครอบคลุมพลเมืองทุกวัยของประเทศ ไม่ได้อยู่เฉพาะในหลักสูตรของโรงเรียนแต่เพียงเท่านั้น


อนุบาลประชาธิปไตย

หนึ่งสัปดาห์ของการหาเสียงเลือกตั้งอย่างสนุกสนาน และนำมาสู่ตำแหน่ง "นายกรัฐมนตรีนักเรียน" ประจำปีการศึกษา 2553 ของ "ปลากริม" ด.ญ.อภิชญา ธานีรัตน์ นักเรียนชั้นประถม 6 แห่งโรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช ณ นครอุทิศ โรงเรียนประชาธิปไตยต้นแบบ จ.นครศรีธรรมราช

"ไอคิวดี อีคิวเด่น อนุบาลเก่ง เน้นคุณธรรม นำประชาธิปไตย" คือ สโลแกน ซึ่งปลากริม และเพื่อนๆ ร่วมพรรค "อนุบาลประชาธิปไตย" ใช้ในการหาเสียง พร้อมชูนโยบายโรงเรียนสะอาด นักเรียนมีวินัย อนุบาลพัฒนา เป็นหัวใจสำคัญในการเรียกคะแนนจากเด็กๆ โรงเรียนอนุบาลนครศรีฯ

โดยนอกจากนโยบายของปลากริมจะเป็นที่ถูกอกถูกใจแล้ว นายกฯ เด็กหญิงคนนี้ยังมีอีกหนึ่งกลยุทธ์ในการหาเสียงที่ได้ใจชาวอนุบาลนครศรีฯ ไปเต็มๆ คือ ลีลาบรรเลงดนตรีไทยของเธอ

ทำเอาปลากริม และ พรรคอนุบาลประชาธิปไตย กวาดเอาคะแนนโหวตจากเด็กๆ มาได้ 655 คะแนน ทิ้งห่างพรรคลำดับสองอยู่ 100 คะแนนพอดิบพอดี โดยปลากริม ถือเป็นนายกรัฐมนตรีนักเรียนคนแรกไปโดยปริยาย เพราะนั่นเป็นครั้งแรกของการเลือกตั้งที่จำลองจากสนามจริงทุกประการ ของ โรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช ณ นครอุทิศ

"ตอนหนูอยู่ป.4 หนูก็ทำหน้าที่เป็นอาสาคณะกรรมการนักเรียน แล้วพอขึ้นป.5 คุณครูบอกว่า โรงเรียนจะจัดระบบคณะกรรมการนักเรียนใหม่ โดยจะทำเหมือนกันกับสภาจริงๆ หนูก็สนใจอยากจะเป็นนายกรัฐมนตรี เลยเอาใบสมัครมากรอก แล้วก็รวบรวมสมาชิกพรรคได้มา 35 คนก็เอาไปส่งคุณครู" ปลากริมเล่าย้อนหลังไปถึงจุดเริ่มต้นสนามเลือกตั้งของเธอเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2553

จำนวนสมาชิกพรรคทั้งสิ้น 35 คนของปลากริมนั้น มีที่มาที่ไป เพราะการเลือกตั้งครั้งนั้น ต้องการ ส.ส. เข้ามาทำหน้าที่ในสภาทั้งสิ้น 35 คน เป็นส.ส.ระบบเขต 24 คน เป็นตัวแทนจากชั้นประถม 1-6 ชั้นละ 4 คน บวกเข้ากับ ส.ส.ระบบพรรค 11 คน ซึ่งไม่ต่างจากปาร์ตี้ลิสท์ที่หลังจากชนะการเลือกตั้ง ก็จะเข้ารับตำแหน่งฝ่ายบริหารงาน อาทิ นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีด้านการแต่งกาย รัฐมนตรีด้านการเข้าแถว รัฐมนตรีด้านความสะอาดและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีด้านมารยาทไทย รัฐมนตรีการเงินและเศรษฐกิจ รัฐมนตรีด้านอาคารเรียนและการเข้าห้องประชุม เลขานุการคณะรัฐมนตรีนักเรียน และโฆษกรัฐบาลนักเรียน รวมทั้งที่ปรึกษาสภา (จากหัวหน้าพรรคการเมืองที่ลงสมัครทั้งหมด)

นอกจากรูปแบบของสภาตลอดจนการวางตำแหน่งของฝ่ายบริหารแทบจะไม่ได้ต่างไปจากสภาจริงๆ ของผู้ใหญ่แล้วนั้น ที่เหมือนกันยิ่งกว่าคือระบบการลงคะแนนเลือกตั้งอิเล็กทรอนิกส์ ที่กกต.นครศรีธรรมราช นำมาให้เด็กๆ ได้ใช้เหมือนจริงทุกประการไม่ต่างจากการเลือกตั้งในระบบรัฐสภาของผู้ใหญ่เลย

"เดิมเราปลูกฝังประชาธิปไตยผ่านกิจกรรมอย่างสภานักเรียน มีการเลือกตั้งเหมือนกัน แต่เนื่องจากรูปแบบสภาแตกต่างไปจากสภาจริงๆ พอเด็กจบไปก็สับสน ทางโรงเรียนเลยร่วมมือกับ กกต.นครศรีธรรมราช จัดการเลือกตั้งใหม่ให้จำลองเหมือนจริงกับประชาธิปไตยในระดับชาติ โดยเราจะมีทั้งนายกรัฐมนตรี มีรัฐมนตรี มีส.ส. มีส.ว. แล้วก็มี กกต." อ.ศรศักดิ์ หนูรัตน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช ณ นคร อุทิศ เล่าถึงที่มาที่ไปของการจำลองการเลือกตั้งครั้งนี้

พร้อมอธิบายถึงสาเหตุของการได้รับเลือกให้เป็นโรงเรียนประชาธิปไตยต้นแบบ ของ จ.นครศรีธรรมราชด้วยว่า เนื่องจากความพร้อมของโรงเรียนเอง ซึ่งมีการปลูกฝังและส่งเสริมกิจกรรมเกี่ยวกับประชาธิปไตยอยู่แล้ว บวกเข้ากับความหลากหลายของนักเรียนในโรงเรียน ซึ่งมีตั้งแต่ระดับชั้นก่อนประถมศึกษา จนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 2,400 คนเศษ มีทั้งเด็กจน เด็กรวย คละกันไป ไม่ต่างจากสังคมจริงๆ

และแน่นอนว่า เป้าหมายของกิจกรรมดังกล่าวย่อมหนีไม่พ้นการปลูกฝังหัวใจประชาธิปไตยให้กับเด็กๆ โดยไม่ต้องรอให้โตเป็นผู้ใหญ่จนได้ใช้สิทธิใช้เสียงเลือกตั้งในฐานะพลเมืองดีเท่านั้น เอาแค่เฉพาะหน้า ถ้าเด็กๆ มีความรู้ความเข้าใจในระบอบเลือกตั้งได้อย่างไม่ผิดเพี้ยนแล้วนั้น เด็กก็จะสามารถนำความรู้นี้ไปบอกต่อแก่พ่อแม่ผู้ปกครองตลอดจนผู้ใหญ่ทั้งหลาย ที่อาจจะยังไม่เข้าใจระบบการเลือกตั้ง กระทั่งถึงระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงสักเท่าไหร่นัก

ว่าแล้ว ก็เลยลองไต่ถามถึงความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยกับ นายกฯนักเรียนหญิง แห่ง รร.อนุบาลนครศรีฯ กันสักหน่อย ว่า "เจ้าประชาธิปไตย" นี่ แท้จริงแล้วคืออะไร

"หนูได้ยินคนชอบพูดกันว่า บ้านเรายังไม่มีประชาธิปไตยๆ หนูก็เลยถามกับตัวเองเล่นๆ ว่าประชาธิปไตยมันคืออะไร ซึ่งหนูคิดว่า ประชาธิปไตย คือ การที่คนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ทุกคนมีสิทธิในการเลือกตั้ง แล้วบ้านเมืองก็มีความยุติธรรม" นั่นคือมุมมองของ น้องปลากริม เกี่ยวกับประชาธิปไตย ในความเห็นของเธอ

ซึ่งแม้ว่า คำตอบดังกล่าว อาจจะยังไม่ใช่ความเข้าใจในประชาธิปไตยอย่างถ่องแท้เสียทีเดียวก็ตามนั้น แต่เชื่อว่าอย่างน้อยเธอก็ยังเข้าใจคำว่า "ประชาธิปไตย" มากกว่าผู้ใหญ่หลายๆ คน

และที่สำคัญหากเราได้เห็นมุมมอง ทัศนคติ เกี่ยวกับประชาธิปไตย ที่มาจากความสนใจจริงๆ ของคนตัวเล็กเหล่านี้มากขึ้นเท่าไหร่ เราก็น่าจะหวังได้ใช่ไหมว่า...

สักวันหนึ่ง ข่าวจำพวกนักการเมืองหน้าใหม่เสนอตัวลงสนามการเมือง แต่เรื่องต้องพลิกล็อก ไม่ได้แม้กระทั่งลงสมัคร เพราะคุณสมบัติไม่พร้อม เนื่องจากไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง จะหายไปจากหน้าหนังสือพิมพ์เสียที

ที่มา...กรุงเทพธุรกิจ : http://www.bangkokbiznews.com


ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >