หน้าหลัก arrow หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 83 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

Global Market Meltdown : A Moral Audit : พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ พิมพ์
Saturday, 25 December 2010

Global Market Meltdown : A Moral Audit 1

พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์

            บทความนี้เป็นการสำรวจเชิงไตร่ตรองเพื่อทำความเข้าใจภาวะเศรษฐกิจโลกที่ กำลังพังทลายในปัจจุบันจากจุดยืนของคริสตศาสนา และชี้ให้เห็นถึงความรุ่มรวยของวิวัฒนาการคำสอนด้านสังคมของคาทอลิกที่เป็น หลักในการให้แนวทางป้องกันวิกฤติเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นต่อไป  การแบ่งปันเนื้อหาในบทความนี้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. Global Market Meltdown : A Moral Audit I และ 2. Global Market Meltdown : A Moral Audit II

Global Market Meltdown : A Moral Audit I

            เริ่มต้นด้วยการรับรู้ถึงการพังทลายของตลาด และการผันผวนของตลาดการเงินโลก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ตรงกันข้ามกับการยืนยันโดยฝ่ายรัฐและผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดทั้งหลายที่ว่าวิกฤติเศรษฐกิจจะไม่รุนแรง แต่ถึงขณะนี้พวกเราตกอยู่ในช่วงเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะฟื้นตัว ผลของวิกฤติครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดความกังวล ความกลัวต่อมนุษยชาติในทุกส่วนของโลก

            วิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้เริ่มจากหนี้ในภาคการเคหะในสหรัฐอเมริกา และได้ขยายตัวออกไปยังภาคการเงินในที่สุดได้ทำให้เศรษฐกิจถดถอยในระดับโลกครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจในทศวรรษที่ 1930 การพังทลายของตลาดโลกครั้งนี้ยังทำให้ได้รู้ถึงภาวะถดถอยของโลกในด้านอื่นๆ ด้วย เช่น ความบกพร่องในระบบและโครงสร้างเศรษฐกิจโลก มีช่องว่างของกฎและบรรทัดฐานการดำเนินงานต่างๆ จนทำให้ไม่สามารถที่จะจัดการกับผลที่เกิดโดยไม่คาดคิด และยังส่งผลถึงความอยู่รอดและอัตลักษณ์ของระบบในสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นด้วย  ดังนั้นจึงเกิดเป็นวาระในการพูดคุยและระดมสมองในการแก้ไขข้อบกพร่องนี้ในหลายระดับ ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระหว่างประเทศ โดยการศึกษากลับไปถึงรากฐานของความบกพร่อง และหาทางควบคุมเพื่อให้โลกสามารถดำเนินไปได้ท่ามกลางความสับสนและปั่นป่วนจากวิกฤตินี้

            พระศาสนจักรไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมแข่งขันในการเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิคอย่างสถาบันเศรษฐกิจในระดับต่างๆ แต่พระศาสนจักรมีหน้าที่ต่อมนุษยชาติ การทำงานของพระศาสนจักรต้องเป็นกิจการเพื่อมนุษย์ พระศาสนจักรต้องเข้ามาร่วมในวิกฤติครั้งนี้ในฐานะผู้กำหนดและชี้ให้เกิดการตระหนักว่าสาเหตุที่อยู่เบื้องหลังของวิกฤติ  คือ วิถีดำเนินเศรษฐกิจโลกที่ขาดคุณธรรมจริยธรรม และจะต้องนำเทวศาสตร์ ภูมิปัญญาและคำสอนทางสังคมที่ได้สั่งสมไว้ตั้งแต่อดีตมาใช้ในการแก้วิกฤติ

             ขณะที่การแก้วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทำไปในลักษณะของการเยียวยารักษาเฉพาะหน้าจนอาจจะละเลยการสืบค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดวิกฤติ ระบอบเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นใหม่เรียกร้องให้มีการเยียวยาและแก้ไขในระดับรากของปัญหา  ระบบการเงินและภาคเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมีคุณลักษณะที่คล้ายคลึงกับชีวิตมนุษย์และอวัยวะอื่นๆในร่างกายทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในโครงสร้างและการจัดการต่างๆที่ ปฏิบัติการไม่ว่าจะทำไปอย่างไรจะส่งผลต่อระบบและโครงสร้างส่วนอื่นๆ ด้วยเสมอ

            อย่างไรก็ตาม ระบบร่างกายมนุษย์และระบบเศรษฐกิจก็แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ  มนุษย์แสดงลักษณะต่างๆ ที่เป็นที่สังเกตและสามารถตรวจวัดได้อย่างชัดเจน ทั้งอาการปกติ หรืออาการผิดปกติ หรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น  ขณะที่ระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่มีความซับซ้อน มีความเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ  ทำให้ไม่สามารถที่จะเชื่อถือไว้วางใจและคาดการณ์ความเป็นไปของระบบนี้ได้

            การให้ข้อมูล การทำนายทายทักต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการชี้ให้เห็นตัวเลือกหรือแนวโน้มที่จะเป็นไปได้ของบรรดาผู้เชี่ยวชาญ นักวิเคราะห์และผู้กำหนดนโยบายทั้งหลาย มันมีความเป็นไปได้น้อยมากในความเป็นจริงที่จะคาดการณ์การเกิดวิกฤติได้อย่างแน่ชัด  แต่ความไม่แน่ชัดของระบบเศรษฐกิจแบบนี้กลับเป็นตัวกำหนดธรรมชาติของระบบเศรษฐกิจโลก และแนวทางพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในตลาดที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน

             การแก้วิกฤติเศรษฐกิจตามสภาพการณ์เฉพาะหน้าที่ปฏิบัติกันอยู่คือ  รัฐหรือธนาคารให้การช่วยเหลือด้านการเงิน (Bailout package) เพื่อกอบกู้และพยุงฐานะของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ เหล็กกล้า และสิ่งทอของสหรัฐอเมริกา แต่มาตรการเหล่านี้ไม่สามารถที่จะแก้ไขวิกฤติได้ จึงทำให้เกิดการขยายตัวของวิกฤติจากประเทศพัฒนาไปสู่ประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเฉพาะอินเดียและจีน

            นอกจากการแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยวิธีการใส่เงินลงไปในระบบแล้วยังมีการทบทวนและเปรียบเทียบวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้กับวิกฤติที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ.1929 ด้วย และพบความแตกต่างระหว่างสองวิกฤติ คือ ปัจจุบันวิกฤตินี้ได้ส่งผลกระทบทั่วทั้งโลก เนื่องจากโลกปัจจุบันมีสถานะเหมือนเป็นชุมชนหรือหมู่บ้านในระดับโลกจากการเชื่อมต่อสัมพันธ์กันเป็นเครือข่ายที่รวดเร็ว (โลกาภิวัตน์) ยังรวมถึงกฎระเบียบต่างๆ ที่ควบคุมระบบเศรษฐกิจทั้งธุรกิจ การเงินและการค้าในปัจจุบันที่เกิดจากวิวัฒนาการหลังเศรษฐกิจถดถอยปี ค.ศ.1929 ทำให้กฎระเบียบเหล่านี้ไม่สามารถที่จะใช้แก้วิกฤติในปัจจุบัน เห็นได้จากมาตรการที่ใช้แก้ไขวิกฤติในปัจจุบันทั้งระดับภายในและระหว่างประเทศที่แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน  ด้วยเหตุนี้ในการจะแก้วิกฤตินี้จึงต้องกลับมาทบทวน และมีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถออกแบบระบบเศรษฐกิจใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการป้องกันและหลีกเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้

            เมื่อได้มีการรวบรวมข้อถกเถียงและการวิเคราะห์แง่มุมต่างๆ ของการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้พบกับความหวังที่มีเหตุผล คือ การนำศีลธรรมมาเป็นแนวทางพิเศษที่ใช้ในการแก้ไขวิกฤติ ศีลธรรมดังกล่าวนี้ได้แก่ ความซื่อสัตย์ การยึดมั่นในคุณธรรมความถูกต้อง ซึ่งสิ่งเหล่านี้กำลังเสี่ยงต่อการถูกลดทอนให้เป็นเพียงค่านิยมในเชิงอนุรักษ์ที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับโลกสมัยใหม่ และได้มีผลทำให้แรงกระตุ้นทางศีลธรรมภายในจิตใจของมนุษย์ถูกคุกคามจากความโลภ และความต้องการเรื่องการเงิน ซึ่งเป็นค่านิยมที่มาพร้อมกับโลกสมัยใหม่  นอกจากนี้ความเป็นสมัยใหม่ยังได้ผลักเรื่องจริยธรรมในการทำธุรกิจ ศีลธรรมในการค้าและตลาดเป็นเพียงแต่หลักสูตรการจัดการธุรกิจในแง่ของวิชาการเท่านั้น

            การพังทลายของระบบการเงินที่เป็นสาเหตุสำคัญของวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ได้มีความเห็นพ้องต้องกันของหลายฝ่ายว่าเกิดจากความสะเพร่า การไม่เคารพกฎระเบียบ และความไม่รับผิดชอบของผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลระบบการเงิน  ดังนั้นหากจะแก้ไขวิกฤติการปฏิรูปโครงสร้าง และระบบไม่เพียงพอ เพราะสาเหตุที่สำคัญของวิกฤติคือ การขาดศีลธรรมและจริยธรรมของคนที่ทำงานในโครงสร้างและระบบเศรษฐกิจในปัจจุบันด้วย  ซึ่งก่อให้เกิดการเก็งกำไร ความไม่รอบคอบ ความโลภ ความหยิ่งยโส การรวบอำนาจการตัดสินใจให้อยู่แต่กับกลุ่มพวกพ้องของตน  และการกอบโกยกำไรที่มากเกินไป  นอกจากปัญหาเรื่องศีลธรรมของคนทำงานแล้ว ยังมีเรื่องของการขาดมาตรการที่จะทำให้คนทำงานมีความรับผิดชอบได้อย่างแท้จริง ซึ่งเรื่องนี้จำเป็นต้องมีการปฏิรูปอย่างเร่งด่วน

            วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นนี้ทำให้มีการย้อนกลับไปวิเคราะห์ระบบทุนนิยมตามแนวทางต่างๆ แนวทางหนึ่งคือ พวกการเมืองฝ่ายซ้ายที่ได้กล่าวย้ำแล้วย้ำอีกว่า ทุนนิยมก็คือ ความโลภของคนรวยที่ทำการย่ำยีคนงานยากจนอย่างไร้ความเมตตา  และมีการวิเคราะห์จากกลุ่ม Marxian ที่คาดการณ์วิกฤติเศรษฐกิจนั้นต้องเกิดขึ้น เนื่องจากภายในระบบทุนนิยมมีความอ่อนแอเปราะบาง และความผันผวน วิกฤติที่เกิดขึ้นที่เห็นได้ชัดในขณะนี้คือ การไล่คนงานออก การปิดโรงงาน การระงับการผลิตสินค้า และความตึงเครียดที่ก่อให้เกิดการฆ่าตัวตาย

            อย่างไรก็ตามได้มีการทักท้วงว่า ระบบทุนนิยมโดยตัวมันเองแล้วไม่ได้มีความเลวร้าย แต่เพราะมีปัจจัยภายนอกต่างหากที่ทำให้ระบบทุนนิยมเกิดความบิดเบี้ยวจนกลายเป็นวิกฤติ ระบบทุนนิยมได้ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ มากมายที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจ และปลดปล่อยพลังความสามารถของมนุษย์ รวมทั้งยังมีการชี้ให้เห็นว่าผู้นำและผู้ปกครองของสหภาพโซเวียตและจีนยังได้เลือกระบบทุนนิยมเป็นแนวทางการบริหารและพัฒนาประเทศโดยมีมาตรการควบคุมอย่างดี ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่ระบบทุนนิยมขาดการควบคุมทั้งในด้านของนโยบาย กฎระเบียบ  และการตรวจสอบประเมิน หรือมีกลไกควบคุมที่ด้อยประสิทธิภาพเมื่อนั้นวิกฤติเศรษฐกิจจะเกิดขึ้น

            นอกจากเรื่องนโยบายและการควบคุมให้ระบบเศรษฐกิจให้เป็นไปตามกฎระเบียบแล้ว ยังมีเรื่องที่สำคัญในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจอีก คือ การตัดสินใจ ซึ่งแต่เดิมจะจำกัดอยู่แต่ผู้ที่มีตำแหน่งอำนาจ ซึ่งเป็นผู้ที่ทำการวิเคราะห์เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเกี่ยวข้องกับความรอบคอบในการเผยแพร่ข้อมูล ข้อมูลที่เผยแพร่จากระบบเก่านี้ส่วนมากเป็นศัพท์เฉพาะ หรือศัพท์ทางเทคนิคที่ไม่ได้มีการอธิบายให้คนทั่วไปเข้าใจถึงสภาพทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น และยังทำให้เศรษฐกิจกลายเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากขึ้น  ดังนั้นหากจะปฏิรูปต้องให้มีการเปิดเผยข้อมูล และให้ผู้ทำงานด้านอื่นๆ ที่ไม่ใช่ผู้นำ เช่น ผู้ปฏิบัติงาน ผู้มีหน้าที่เผยแพร่ ฯลฯ ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และหาคำบรรยายและอธิบายความเป็นไปและแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นของตลาดที่คนทั่วไปสามารถเข้าใจได้โดยง่าย 

           และถ้าหากเศรษฐกิจโลกจะต้องฟื้นฟูขึ้นมาจากวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ชุมชนทั่วโลกควรที่จะค้นหาบทเรียนที่เกิดขึ้นในวิกฤติและเรียนรู้แนวทางใหม่ของการดำรงชีวิตและปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในชุมชนทั่วโลก ซึ่งไม่สามารถที่จะอยู่ในรูปของธุรกิจที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่ควรจะทำให้กลไกตลาดมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และเป็นตัวแทนแสดงออกซึ่งความต้องการและความจำเป็นต่างๆของชุมชนทั้งหมดในโลก  กฎระเบียบต่างๆ ควรที่จะส่งเสริมให้เกิดความยุติธรรมและกติกาที่เป็นธรรม ด้วยการทำให้ทุกคนมีส่วนที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมได้  รวมถึงการนำศีลธรรมและสามัญสำนึกร่วมกันที่มีอยู่เดิมนั้นกลับมาสู่ตลาด เพื่อชี้นำการตัดสินใจทางเศรษฐกิจและเป็นทางเลือกให้แก่มนุษย์


Global Market Meltdown : A Moral Audit II

            ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจที่โลกกำลังเผชิญอยู่นี้ แม้ว่าพระศาสนจักรจะไม่ได้มีอำนาจในการสั่งการแก้ไขสถานการณ์ที่เป็นอยู่ แต่ในฐานะที่พระศาสนจักรมีหน้าที่ในการสั่งสอนคำสอนด้านสังคมมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 จึงไม่อาจจะนิ่งเฉยได้ในวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ พระศาสนจักรสามารถที่จะวิเคราะห์ความเป็นจริงทางสังคมต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในแง่ของระดับปัจเจกบุคคล ชุมชน ระดับประเทศ และระหว่างประเทศจากการสั่งสมภูมิปัญญาและประสบการณ์ด้านสังคมที่มีพื้นฐานมาตั้งแต่พระสมณสาสน์ RERUM NOVARUM และเทวศาสตร์มาใช้ในการชี้แนะแนวทางการตัดสินใจของฝ่ายต่างๆ ในการแก้ปัญหา โดยที่พระศาสนจักรจะต้องไม่อวดอ้างถึงความถูกต้องชอบธรรมของตน ขณะเดียวกันก็ไม่ประณามผู้ที่กระทำผิด

            จุดยืนของพระศาสนจักรในเรื่องเศรษฐกิจแบบระบบตลาด คือ ไม่ยกย่องและไม่ประณาม พระศาสนจักรไม่ได้มีหน้าที่เสนอตัวแบบที่สมบูรณ์ เพราะตัวแบบที่จะสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้จริงจะต้องเกิดขึ้นภายในสภาพการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกันของแต่ละพื้นที่ แต่พระศาสนจักรมีหน้าที่เสนอคำสอนด้านสังคมในฐานะคำแนะนำและการอบรมที่มีคุณค่า คำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักรได้รับรองถึงคุณค่าด้านดีในตลาดและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และเศรษฐกิจที่เป็นไปอย่างเสรี ซึ่งต้องอยู่ในการควบคุมและจำกัดของกฎหมายที่มีไว้เพื่อตอบสนองเสรีภาพของมนุษย์และความผาสุกของสังคมโดยรวม

            เศรษฐกิจแบบเสรี หรือทุนนิยมก่อให้เกิดความแปลกแยก คือ การละเมิดเกียรติศักดิ์ศรีและกระแสเรียกในตัวมนุษย์โดยอาศัยเครื่องมือที่มีพลังมากนั่นคือ บริโภคนิยม  ซึ่งทำให้คนในสังคมตกหลุมพรางด้วยการทำให้เกิดความพอใจขึ้นอย่างผิวเผินเมื่อได้ทำการบริโภค และการทำให้คนงานกลายเป็นเครื่องจักรในการผลิตเพื่อการแข่งขัน พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ได้ตระหนักถึงสภาวการณ์นี้และได้ให้ความสำคัญกับการเสนอให้มีองค์กรระหว่างประเทศในการควบคุมและกำหนดทิศทางระบบเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นภารกิจที่ต้องกระทำอย่างเร่งดวนเพื่อความผาสุกของมนุษยชาติ แต่องค์กรนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้

           ดังนั้น  พระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 จึงได้เตือนให้เห็นความจำเป็นอีกครั้งที่ต้องมีการเพิ่มการประสานความร่วมมือกันระหว่างประเทศมหาอำนาจเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในการเป็นตัวแทนของมนุษยชาติ และพระศาสนจักรยังเรียกร้องให้เกิดการปฏิรูประบอบระหว่างประเทศผ่านการเสวนาในด้านจิตใจและความเป็นปึกแผ่นร่วมกันในประชาคมโลก นอกจากนี้คำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักรได้มอบหมายให้รัฐมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจ โดยการจัดสวัสดิการให้สังคม ขณะเดียวกันก็ไม่ให้รัฐเข้าไปควบคุมการผลิตอย่างเบ็ดเสร็จ  และต้องมีการวิพากษ์ให้เห็นถึงการแยกภาคเศรษฐกิจออกจากผลประโยชน์และการกระทำของรัฐ  รัฐควรจะอนุญาตและเคารพในความชอบธรรมของการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นอิสระจากรัฐ  แต่ก็ควรที่จะกระทำอย่างมีความรับผิดชอบและเป็นไปตามกรอบกฎหมาย  รวมถึงทำให้ทุกฝ่ายสามารถเข้าร่วมดำเนินการด้านเศรษฐกิจได้อย่างเท่าเทียมกันให้สมกับเป็นเศรษฐกิจเสรีที่แท้จริง

            คำสอนด้านสังคมยังเรียกร้องให้รัฐมีความรับผิดชอบในหน้าที่ ได้แก่ การอำนวยความสะดวก การรับประกันและการส่งเสริมให้เกิดสังคมที่คนทำงาน  และธุรกิจสามารถมีส่วนร่วมได้อย่างเสรี  ซึ่งสังคมแบบนี้จำเป็นต่อการพัฒนาคนให้เป็นคนสมบูรณ์อย่างแท้จริง  และเพื่อไปให้ถึงจุดหมายดังกล่าวนี้จำเป็นที่ต้องมีการควบคุมเศรษฐกิจโดยพลังทางสังคมและรัฐเพื่อเป็นหลักประกันว่า ความจำเป็นพื้นฐานของสังคมทั้งหมดจะได้รับการตอบสนอง  พระศาสนจักรยังคาดหวังให้รัฐมีหน้าที่เป็นตัวแทนในการประกันความมั่นคง และให้การคุ้มครองทางด้านเศรษฐกิจในยามเกิดวิกฤติด้วย

           หลักการพื้นฐานสำหรับรัฐในการใช้ตรวจสอบและดูแลให้ความคุ้มครองทางด้านเศรษฐกิจ คือ  ความผาสุกส่วนรวมและความเป็นปึกแผ่น (Common Good and Solidarity) โดยการเพิ่มคุณค่าด้านศีลธรรมและความเป็นมนุษย์ให้เป็นหลักในการดำเนินเศรษฐกิจการตลาด และสังคม นอกเหนือจากการให้ความสำคัญกับกำไร ความผาสุกและความเป็นปึกแผ่นของส่วนรวมนั้นต้องครอบคลุมคนทุกกลุ่มด้วย

          ความคิดเรื่องความผาสุกส่วนรวมนั้นได้ถูกตัดทิ้งออกจากการศึกษาปรัชญาที่แพร่หลายในตะวันตก เนื่องจากเกิดความคิดเห็นที่ไม่ลงรอยกันในเรื่องการให้ความหมายของชีวิตที่ดีที่เกิดขึ้นในช่วงต้นของความเป็นสมัยใหม่ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ความคิดเรื่องความผาสุกส่วนรวมได้กลายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากในช่วงเวลาสมัยใหม่ที่ยึดถือในเรื่องของความก้าวหน้าและการพัฒนา  หรือบางครั้งความผาสุกส่วนรวมก็ถูกทำให้เงียบหายไปท่ามกลางตลาด  เพราะมีความกังวลว่าความผาสุกส่วนรวมของมนุษยชาติจะทำให้เกิดความสำนึกเรื่องความรับผิดชอบ แม้จะเป็นเพียงเล็กน้อยกับผู้ควบคุมจัดการโครงการพัฒนาต่างๆ ระดับโลก แต่จะมีผลในการสร้างข้อจำกัดในการไปสู่ความก้าวหน้าและเสรีภาพของมนุษย์

            การเติบโตของเครือข่ายการปฏิสัมพันธ์ในวงการธุรกิจในยุคโลกาภิวัตน์ทำให้เกิดการตระหนักว่า ความเป็นอยู่ที่ดีและความมั่งมีของปัจเจกบุคคลและประเทศชาตินั้นไม่สามารถแยกขาดออกจากความเป็นอยู่และความรุ่งเรืองของส่วนอื่นๆ ของโลก การตระหนักในเรื่องนี้ทำให้ความกังวลเรื่องความผาสุกส่วนรวมที่จะเป็นข้อจำกัดของความก้าวหน้าและเสรีภาพของมนุษยชาตินั้นต้องล้มเลิกไป และต้องหันมายอมรับว่า มนุษย์มีความต้องการและจุดมุ่งหมายที่อยากจะไปให้ถึงความสมบูรณ์ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างของสภาพพื้นที่ ซึ่งทำให้มนุษย์ต้องแยกออกจากกัน  ดังนั้นมนุษย์จึงสามารถที่จะสร้างความผาสุก ความเป็นอยู่ที่ดี และความเป็นปึกแผ่นร่วมกันได้โดยไม่จำเป็นจะต้องถูกจำกัดด้วยมาตรฐานการวัดค่าด้านเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว  แต่มาจากฐานของวัฒนธรรม คุณค่าศาสนาที่มนุษย์มีอยู่ร่วมกัน

            พระศาสนจักรได้ไตร่ตรองถึงเรื่องความผาสุกส่วนรวมและความเป็นปึกแผ่นในระดับโลกมาเป็นเวลาหลายทศวรรษแล้ว โดยเฉพาะในส่วนของการทำความเข้าใจในพันธกิจของการประกาศข่าวดีในบริบทโลกสมัยใหม่ ซึ่งพระศาสนจักรได้เสนอเรื่องความผาสุกส่วนรวมในฐานะบรรทัดฐานที่ใช้ปฏิบัติได้จริง เพื่อกล่อมเกลาและควบคุมตลาดและธุรกิจ  พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ได้ทบทวนความสัมพันธ์ในระบบเศรษฐกิจระหว่างปัจเจกบุคคล หรือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน กับเป้าหมายของความมั่งคั่งรุ่งเรืองทางวัตถุ และพระองค์ได้สอนว่า กิจกรรมที่เกี่ยวกับการผลิตในสังคมควรจะนำมาซึ่งการพัฒนาตัวตนภายในของปัจเจก เพราะการทำงานอย่างสร้างสรรค์และมีอิสระเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้มนุษย์และเพื่อนได้พัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์มากขึ้น ดังนั้นพระสันตะปาปาจึงได้กล่าวย้ำว่า ความผาสุกร่วมกันของมนุษย์จะเกิดขึ้นได้ต้องตระหนักถึงการสร้างความเป็นปึกแผ่นของมนุษยชาติ ซึ่งจะเป็นหลักประกันของการเติบโตและพัฒนามนุษย์อย่างแท้จริง

          ความคิดเรื่องความเป็นปึกแผ่นไม่ได้เป็นเรื่องเดียวกับความรู้สึกสงสาร ความเห็นใจ และไม่ใช่การปล่อยให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นตามยถากรรม  แต่ความเป็นปึกแผ่นนั้นเป็นคุณธรรมอย่างหนึ่งที่ก่อตัวจากศีลธรรมและความสำนึกที่มีต่อสังคม ซึ่งเกิดขึ้นในฐานะการตอบสนองร่วมกันของมนุษย์ที่พึ่งพาอาศัยกัน  และการพึ่งพาอาศัยกันนี้จะต้องทำให้เกิดเป็นระบบที่กำหนดความสัมพันธ์ของโลกปัจจุบันทั้งเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การเมืองและศาสนาที่จะต้องยอมรับการกำกับโดยศีลธรรม การพึ่งพาอาศัยกันจะต้องถูกเปลี่ยนให้เป็นความเป็นปึกแผ่นรวมกันบนพื้นฐานของหลักการที่ว่าสิ่งสร้างต่างๆ ที่ดีและเป็นสิ่งที่มีความหมายกับมนุษย์ทุกคน 

            การตระหนักและยอมรับสถานะความเป็นคนของคนอื่นเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้เกิดความเป็นปึกแผ่นในสังคม  ผู้มีอิทธิพลและอำนาจควรจะรับผิดชอบต่อผู้ที่อ่อนแอ โดยการสร้างความเข้มแข็งแก่ผู้อ่อนแอให้สามารถดูแลและพัฒนาตนเองได้จากความสามารถของตนเอง  สำหรับผู้อ่อนแอก็ควรที่จะเรียนรู้ถึงสิทธิอันชอบธรรมในการมีส่วนอยู่ในความผาสุกส่วนรวม  และกลุ่มคนแต่ละกลุ่มควรที่จะเคารพผลประโยชน์ระหว่างกัน  พระศาสนจักรยืนยันว่าความเป็นปึกแผ่นและความเป็นอยู่ที่ดีในระดับโลกจะเกิดขึ้นได้จากความยุติธรรมที่ต้องเข้าไปมีส่วนในการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน

            พระสันตะปาปาได้กล่าวว่า การสร้างสันติภาพไม่ได้อยู่ไกลเกินเอื้อม หรือเป็นเรื่องในจินตนาการ ถ้าบรรดาผู้นำของโลกได้ละทิ้งการกีดกันทางการเมือง  ความหวาดระแวงที่มีต่อกัน และยอมรับความสำคัญของการพึ่งพาอาศัยกัน รวมถึงการเสียสละด้านเศรษฐกิจ การทหารเพื่อไปสู่การยึดหลักความเป็นปึกแผ่น ความผาสุกร่วมกัน

            การตรวจสอบกิจกรรมด้านเศรษฐกิจอย่างมีความรับผิดชอบ (responsible oversight) และการอุดหนุนช่วยเหลือ (the principle of subsidiarity)เป็นคำสอนด้านสังคมที่พระศาสนจักรได้กล่าวย้ำเตือนอยู่หลายครั้ง  พระศาสนจักรได้มอบบทบาทที่เป็นเอกภาพไม่สามารถแยกออกจากกันได้แก่ปัจเจกและผู้มีอำนาจรัฐคือ การริเริ่มกิจกรรมเศรษฐกิจของปัจเจก และการดูแลคุ้มครองจากเจ้าหน้าที่รัฐ  บทบาทของทั้งสองฝ่ายนี้จะนำมาซึ่งความผาสุกร่วมกัน ความสำเร็จและระเบียบสังคมที่ดี แต่ปราศจากซึ่งการตกลงร่วมกันในเรื่องการรับผิดชอบ และการมีบทบาทในด้านอื่น ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องมีการตกลงร่วมกัน

             หลักการอุดหนุนและช่วยเหลือด้านสังคมได้รับการกระตุ้นจากการทบทวนกิจการด้านสังคมของอัครสาวก และคำถามถึงบทบาทของพระศาสนจักรที่มีต่อคนจนว่า พระศาสนจักรจะเลือกอยู่ข้างคนจนโดยให้การช่วยเหลือ (option for the poor) หรือพระศาสนจักรจะเข้าไปร่วมทำงานกับคนจนโดยเข้าไปดูว่าคนจนมีทางเลือก หรือวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร (option of the poor)  หลักการอุดหนุนช่วยเหลือกันนี้จะทำให้เกิดการกำหนดและออกกฎเพื่อดูแลรักษาและตรวจสอบการทำหน้าที่ของรัฐภายในขอบเขตของรัฐชาติและควรที่จะขยายผลไปยังสถาบันระหว่างประเทศและในความสัมพันธ์ของปัจเจกบุคคลด้วย

            ความเป็นปึกแผ่นของมนุษย์ที่พระศาสนจักรเสนอนั้นไม่ได้หมายถึงการจัดสวัสดิการตามแนวคิดทุนนิยมและสังคมนิยม  แต่ความเป็นปึกแผ่นนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับธรรมชาติ เกียรติและศักดิ์ศรีของมนุษย์   ความเป็นปึกแผ่นดังกล่าวนี้ไม่ใช่ความมั่งมี หรือกำไรที่เพิ่มมากขึ้น แต่หมายถึงวิถีการดำเนินชีวิตที่เหมาะสมกับการพัฒนาภายในจิตใจของมนุษย์ ความเป็นปึกแผ่นและการพัฒนามนุษย์เป็นหน้าที่ของมนุษย์ทุกคน และการพัฒนาที่แท้จริงควรจะเป็นการพัฒนาที่ยกระดับให้มนุษย์เข้าถึงความเป็นมนุษย์ที่สอดคล้องกับธรรมชาติและบริบทแวดล้อมที่มนุษย์อยู่

            การสร้างความเป็นปึกแผ่นเกี่ยวข้องกับความยุติธรรม และความยุติธรรมที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องไม่เป็นเพียงการให้สิ่งของที่เหลือกินเหลือใช้แก่ผู้อื่น  แต่เป็นการช่วยคนทั้งหมดที่ถูกขับออกจากขอบเขตของการพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจและความเป็นมนุษย์ ซึ่งทำให้คนเหล่านั้นกลายเป็นคนชายขอบของสังคมไป รวมถึงการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่เกี่ยวกับการผลิตและการบริโภค และต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจในปัจจุบันด้วย  ความยุติธรรมต้องการการควบคุมจัดการและทำให้เศรษฐกิจเป็นเรื่องความร่วมมือระหว่างประเทศมากขึ้น เพื่อให้สามารถกำหนดแนวทางการสร้างความผาสุกส่วนรวม และยังต้องการสร้างการประสานงานกันระหว่างประเทศมหาอำนาจ  และสร้างให้แต่ละประเทศมีสิทธิและเสียงที่เท่าเทียมกัน ในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทั้งระดับ ประเทศ และระหว่างประเทศ รวมถึงต้องเรียกร้องให้มีการนำศีลธรรม และคุณค่าทางศาสนาที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงจิตใจและพฤติกรรมของคนเข้ามาอยู่ในโครงสร้างด้วย

            พระศาสนจักรได้เสนอแนวทางการอภิบาลเพื่อตอบสนองสถานการณ์วิกฤติที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน คือ พระศาสนจักรต้องร่วมเผชิญหน้ากับความทุกข์ยาก และสภาพการณ์ที่มนุษย์ถูกทอดทิ้ง เช่น การถูกลอยแพจากการปิดโรงงาน การเสี่ยงที่จะตกงาน  เป็นต้น พระศาสนจักรในแต่ละที่ต้องทำการสำรวจเพื่อหาวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สามารถตอบสนองปัญหาของสัตบุรุษได้ อย่างไรก็ตามแนวทางการอภิบาลหนึ่งที่ได้รับการแนะนำก็คือ  การสร้างความเป็นปึกแผ่นและการเกื้อกูลกันในกลุ่มของคริสตชนตามวัดต่างๆ ที่มีความตั้งใจดี มีทรัพยากรต่างๆ และเป็นกลุ่มที่ทำงานกันอยู่แล้ว เช่น กลุ่มครอบครัว กลุ่มออมทรัพย์  จากโครงสร้างดำเนินงานของกลุ่มเหล่านี้น่าจะสามารถนำมาปรับเปลี่ยนให้มาทำงานด้านการพัฒนาได้

            แม้ว่าคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักรถูกมองว่าเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของพันธกิจการประกาศข่าวดี แต่คำสอนด้านสังคมนี้ก็ได้รับการยอมรับและพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่นำมาใช้ได้โดยเฉพาะพระสมณสาสน์ด้านสังคมของสมเด็จพระสันตะปาปาที่สามารถทำความเข้าใจและนำไปใช้ได้ทั้งในระดับชุมชน ชาติ และระหว่างประเทศ  รวมถึงการหาแนวทางในการขยายการศึกษาสมณสาสน์ด้านสังคมให้แพร่หลายออกไปโดยเฉพาะในหมู่เยาวชนภายในโรงเรียนคาทอลิก  และตามพื้นที่ที่เป็นจุดศูนย์กลางอื่นๆ พระศาสนจักรควรที่จะส่งเสริมในการสร้างความเข้าใจ ความรู้และการสร้างจิตสำนึกที่จำเป็นต่อการพัฒนาสมัยนี้

            การพัฒนาที่เกิดขึ้นตามแนวทางของทุนนิยมได้ก่อกำเนิดการบริโภคนิยม ซึ่งเป็นสิ่งที่กัดกร่อนชีวิตและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  โดยการสร้างทัศนคติและวิถีชีวิตที่เป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์  เช่น  วัฒนธรรมการใช้แล้วทิ้ง คือ การทำให้สินค้าต่างๆ กลายเป็นสิ่งที่ล้าสมัย เป็นแฟชั่นที่ต้องทิ้งเมื่อมีสินค้าใหม่เข้ามาแทนที่  แต่การแก้ไขหรือการพัฒนาใหม่ที่จะเกิดขึ้นนี้ต้องส่งเสริมให้คนทำงานร่วมกันด้วยความรัก และเคารพศักดิ์ศรีของมนุษย์ รวมถึงทำให้มนุษย์สามารถพัฒนาวุฒิภาวะของตนได้อย่างแท้จริง อาศัยช่องทางการศึกษาและวัฒนธรรมที่จะทำให้ผู้ผลิต ผู้บริโภค และสื่อมวลชนมีความรับผิดชอบร่วมกัน 

            เรื่องที่สำคัญสำหรับการพัฒนา และการอภิบาลของพระศาสนจักรคือ ต้องมีการปรับเปลี่ยนค่านิยมเดิมที่มุ่งให้คนมีมากกว่าเป็นคน  การเป็นคน หมายถึง การสร้างวิถีชีวิตอยู่บนความจริง ความดีงาม  ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเพื่อเป็นหลักในการสร้างความผาสุกและความเป็นปึกแผ่นร่วมกัน ให้วิถีชีวิตแบบนี้เป็นหลักในการกำหนดตัวเลือกในการบริโภค การออม และการลงทุน รวมถึงเรื่องอื่นในชีวิตด้วย  ดังนั้นการอภิบาลที่แท้จริงคือ  ความเข้าใจสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการปฏิบัติ แก้ไข และป้องกันการเกิดวิกฤติ รวมถึงหน้าที่ในการเป็นหลักยึดให้กับโลกปัจจุบันที่สับสนโดยอาศัยการเผยแสดงคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร เพื่อให้คนสามารถนำมาใช้คิดสร้างสรรค์ระบบและสิ่งใหม่เพื่อความผาสุก ความเป็นปึกแผ่นด้วยความเกื้อกูลกัน


--------------------------------------          

ที่มา : แบ่งปันในการเสวนากลุ่มเทวศาสตร์ในงานพัฒนา (Social Action Theology Study Group)
วันที่ 24-26 พฤศจิกายน 2552  ที่บ้าน Stella Marist  จ.ระยอง


1 เป็นบทความของ Raphael KAREKATT, MSFS ได้จาก VidyajYoti of Theological Reflection, Vol. 73/5 May 2009.

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >