หน้าหลัก arrow หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 49 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ประวัติศาสตร์การรณรงค์จิตตารมณ์มหาพรต : พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ พิมพ์
Friday, 24 December 2010

ประวัติศาสตร์การรณรงค์จิตตารมณ์มหาพรต

พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์


ประวัติศาสตร์ของการรณรงค์จิตตารมณ์มหาพรต มีรากฐานมาจากพระคัมภีร์ คำสอนในพระธรรมเก่า กล่าวถึงชีวิตมนุษย์ที่มาจากพระเจ้า ชีวิตของเราและชีวิตของทุกสิ่งเป็นสิ่งประเสริฐ เราจะทำอะไรกับชีวิตโดยไม่มีสติไม่ได้ เราจะเอาทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่รอบๆตัวเรามาใช้เป็นสมบัติส่วนตัวของเราคนเดียวไม่ได้ ชีวิตมนุษย์เป็นชีวิตที่ประเสริฐ ในพระคัมภีร์บรรยายอย่างละเอียดถึงการสร้าง พระเจ้าทรงให้ลมปราณชีวิตแก่มนุษย์ ชีวิตมนุษย์ประเสริฐเพราะพระเป็นเจ้าได้ทรงส่งพระบุตรของพระองค์เองลงมา เพื่อช่วยไถ่กู้ชีวิตมนุษย์ที่หันหลังให้พระองค์ เพื่อจะได้มีชีวิตใหม่

ในคำสอนของพระศาสนจักรเน้นให้เห็นความมีศักดิ์ศรีและความศักดิ์สิทธิ์ของชีวิตมนุษย์ พระคัมภีร์ยังสั่งสอนเราเริ่มตั้งแต่พระธรรมเก่า มนุษย์ในบทปฐมกาลบทที่ 4 ให้บทสอนแก่เราเป็นรากฐานของการรณรงค์เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน "กาอินชวนอาแบลไปเดินเล่น ขณะที่อยู่ในทุ่งนา กาอินก็ฆ่าน้องชาย พระเจ้ารับสั่งถามกาอินว่า...น้องชายเจ้าอยู่ไหน...ข้าพเจ้าไม่ทราบ ข้าพเจ้าเป็นผู้ดูแลน้องชายหรือ..." เมื่อเราไม่สนใจเพื่อนพี่น้องที่ตกทุกข์ได้ยาก เมื่อเราไม่สนใจเพื่อนพี่น้องของเราที่ติมอร์ตะวันออกที่ถูกฆ่าไปแล้วมากมาย เราต้องไปรับผิดชอบด้วยหรือ ในพระคัมภีร์พระองค์ทรงสำแดงตนว่าสนใจและอยู่ฝ่ายคนที่เป็นเหยื่อ คนที่ถูกเบียดเบียน คนที่ถูกเขากระทำเสมอ ในกรณีที่กล่าวมาแล้วพระเป็นเจ้าอยู่ฝ่ายอาแบล

ในพระธรรมใหม่ จากบทพระวรสารเรื่องคนโรคเรื้อนสิบคน สมัยนั้นในสังคมชาวยิว ใครที่เป็นโรคนี้ต้องออกไปจากสังคม ไม่สามารถดำเนินชีวิตอยู่กับพี่น้องได้ ต้องออกไปอยู่ตามป่าเขา หรือตามป่าช้า เป็นคนที่อยู่ขอบสังคม สังคมรังเกียจ ถ้าเราอ่านพระวรสารดีๆ พระเยซูเจ้าทรงอยู่ข้างคนเหล่านี้เสมอ พระองค์สงสารเขา คนโรคเรื้อนคนใดที่หายจากโรคต้องไปหาพระสงฆ์ ให้พระสงฆ์อนุญาตและประกาศให้เข้ามาอยู่ในสังคม ในกิจการอัครสาวกลูกศิษย์ของพระเยซูเจ้าในสมัยแรกๆ ก็แสดงออกถึงความสนใจความห่วงใยซึ่งกันและกัน มีการเรี่ยไรเงินช่วยเหลือกัน ขายที่นาเอาเงินไปให้อัครสาวกไปแจกจ่ายให้คนยากจน คนขัดสน

ตามคำสอนในพระคัมภีร์ ผู้ที่รักพระเป็นเจ้า ผู้ที่แสดงตนเป็นศิษย์ของพระเป็นเจ้า ก็พยายามที่จะกระทำตนเหมือนกับพระเป็นเจ้าที่ทรงอยู่ข้างคนที่เป็นเหยื่อของความอยุติธรรม เป็นเหยื่อของความโหดร้าย หรือเป็นเหยื่อของโรคร้ายร้ายต่างๆ ที่สังคมรังเกียจ ความสนใจห่วงใยพี่น้องในภาษาอังกฤษใช้คำว่า God who acts on the side of the victim คำสมัยใหม่คือ option for the poor พระเป็นเจ้าทรงเลือกที่จะอยู่ข้างคนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ คนที่เป็นเหยื่อของสังคมในด้านต่างๆ

การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมของพระศาสนจักร เป็นที่ทราบกันดีว่าพระศาสนจักรเป็นเครื่องหมายและเครื่องมือแห่งความรอด ที่พระเยซูทรงตั้งขึ้นเพื่อสืบทอดพันธกิจประกาศข่าวดีเพื่อให้โลกมีชีวิตใหม่ เรารู้ได้จากการอ่านประวัติพระศาสนจักร เพราะในระยะเวลาประมาณ 2000 ปี พระศาสนจักรได้ทำงานเพื่อช่วยเหลือคนที่อยู่ชายขอบของสังคม คนที่ถูกสังคมรังเกียจ คนที่เป็นเหยื่อของสังคม ชีวิตและการงานของนักบุญหลายองค์ที่ทำงานช่วยเหลือมนุษย์ เช่น นักบุญคามิลโลได้ตั้งคณะคามิลเลียนเพื่อช่วยเหลือผู้ที่สังคมรังเกียจ ที่พระศาสนจักรสามารถช่วยเหลือคนเหล่านี้ได้ เพราะถือตามเจตนารมณ์ของพระเยซูคริสตเจ้า

เราทราบดีว่าพระเยซูเจ้าเป็นพระบุตรองค์เดียวของพระบิดาที่ได้ทรงส่งลงมาบังเกิดเป็นมนุษย์ในโลกนี้ ให้พระบุตรของพระองค์มาดำเนินชีวิตเยี่ยงมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง เพื่อพระบุตรของพระองค์จะได้มีประสบการณ์และชีวิตของมนุษย์ พระบุตรของพระองค์จะได้เป็นเครื่องมือของพระองค์ช่วยให้มนุษย์หลุดพ้นจากบาป และกลับไปหาพระบิดา กลับไปหาพระองค์ พระศาสนจักรที่พระเยซูเจ้าได้ทรงตั้งขึ้นเพื่อสืบทอดภารกิจของพระองค์นี้ก็ทำแบบพระเยซูเจ้า นั่นคือเดินทางไปด้วยกันกับมนุษย์ พระศาสนจักรมิใช่เป็นมหาวิหารที่สวยงาม วิหารที่แท้จริงคือ มนุษย์ เพราะพระเยซูเจ้าตรัสว่า ต่อแต่นี้ไปเราจะไม่ไปนมัสการพระเป็นเจ้าที่มหาวิหารใด แต่เราจะนมัสการพระเป็นเจ้าในจิตและในความจริง แล้วพระองค์ทรงยืนยันอีกครั้งหนึ่ง เมื่อมีคนมาถามพระองค์ว่า พระองค์ทำอัศจรรย์ในการเทศน์สอนนี้ด้วยฤทธิ์อำนาจของใคร พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า พระวิหารจะถูกทำลายและเราจะสร้างขึ้นใหม่ พระวิหารนั้นก็หมายถึงร่างกายของพระองค์เอง

ในความคิดและคำสอนของพระเยซูเจ้า มนุษย์แต่ละคนเป็นวิหารของพระเจ้า เพราะว่าในมนุษย์แต่ละคนมีชีวิตของพระเจ้าและพระเจ้าอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคน โดยเฉพาะมนุษย์ที่ถูกเขาเหยียบย่ำ เป็นเหยื่อที่ถูกเขารังเกียจ พระเจ้าอยู่ที่นั่นเป็นพิเศษ ที่พระศาสนจักรสนใจในชีวิตของผู้ที่เป็นเหยื่อของสังคม เพราะถือตามเจตนารมณ์ของพระเยซูเจ้า เดินไปพร้อมกับมนุษย์ มีชีวิตอยู่ด้วยกันกับมนุษย์จึงมีประสบการณ์ในความทุกข์ยากลำบากของมนุษย์ ของประชากรของพระเป็นเจ้าที่กำลังเดินไปสู่ชีวิตนิรันดร เดินอยู่ในโลกนี้ ผ่านความร้อนหนาว ความหิวโหยเหนื่อยยาก พระเยซูทรงทราบและสำนึกถึงพันธกิจที่ได้รับที่จะต้องช่วยเหลือมนุษย์

ในสมัยใหม่ ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม สังคมเกิดบาดแผลใหญ่มากมาย นั่นคือ ในการปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดมีปัญหาเรื่องคนงานที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ถูกเอารัดเอาเปรียบ จนกระทั่งพระสันตะปาปาต้องออกพระสมณสาสน์ที่กล่าวถึงเรื่องสิทธิของคนงาน สิทธิและเสรีภาพของคนงานที่จะต้องรวมตัวกันเพื่อช่วยเหลือกันและกันได้ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มีคนล้มตายเป็นจำนวนมาก ต่อมามีโรคระบาด พระศาสนจักรช่วยเหลือคนเหล่านี้ โดยได้วัตถุปัจจัยมาจากสัตบุรุษที่เข้าใจและให้ความช่วยเหลือ ที่พูดถึงพระศาสนจักรก็หมายถึงพวกเราทุกคน ทั้งฆราวาส นักบวชชายหญิงที่แต่ละคณะตั้งขึ้นมา ช่วยให้งานด้านเมตตาสงเคราะห์ขยายมากขึ้นในศตวรรษที่ผ่านมา เป็นโอกาสให้พระศาสนจักรเผยแพร่ศาสนาออกไปตามที่ต่างๆ ได้นำเอาจิตตารมณ์แห่งความรักและความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ที่อยู่ชายขอบสังคม ที่ถูกสังคมรังเกียจ งานช่วยเหลือมนุษย์ก็แผ่ขยายไป รวมถึงเรื่องของการประสบภัยธรรมชาติต่างๆ และภัยที่เกิดจากกการกระทำของมนุษย์ด้วยกันด้วย ซึ่งที่ผ่านมาเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆในประเทศไทยเราก็ส่งปัจจัยไปช่วยเหลือด้วย

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1945 โลกของเราเกิดการแบ่งแยกออกเป็นสองค่ายใหญ่ๆ คือ ค่ายตะวันออกและตะวันตก และมีการก่อตั้ง Catholic Charities ใน USA ซึ่งเป็นองค์กรเมตตาธรรม ตามแบบคาทอลิก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสงเคราะห์ผู้ที่ประสบภัยจากสงคราม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้คนในประเทศที่แพ้สงคราม ในส่วนของกรุงโรมก็มีองค์กร Pontificia Opera di Assistenza ซึ่งเป็นองค์กรแห่งสันตะสำนักเพื่อการเมตตาสงเคราะห์ ต่อมาอีกราว 5 ปี องค์การสหประชาชาติได้ถูกจัดตั้งขึ้นมา และบรรดาองค์กรคาทอลิกต่างๆที่มีอยู่ก่อนแล้ว ทั้งในสหรัฐและในยุโรปก็เข้าไปช่วยเหลือองค์กรสหประชาชาติ ในส่วนของการช่วยเหลือเมตตาสงเคราะห์ด้วย ความเชื่อมต่อของประวัติศาสตร์ที่กล่าวมานี้ เพื่อชี้ให้เราเห็นว่า โลกของเราเรียนรู้จากความเจ็บปวดของสงครามที่ทำลายชีวิตมนุษย์ เมื่อได้รับการเรียนรู้แล้วก็มีการรวมตัวในระดับโลกเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และน่าสังเกตว่าการรวมตัวนี้มีจิตตารมณ์ของคริสตังแฝงอยู่ และจิตตารมณ์คริสตังนี้ไม่ได้เพิ่งเกิดในสมัยสงคราม แต่มีอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งเป็นจิตตารมณ์ที่ผลักดันให้เกิดการอดออม เกิดองค์กรเมตตาสงเคราะห์ต่างๆนี้

ต่อมาในปี ค.ศ.1950-1970 มีเหตุการณ์หลายอย่างเกิดขึ้นในพระศาสนจักร คือ ประการแรกมีการรวมตัวของประเทศในยุโรปเกิดองค์กรที่เรียกว่า Caritas ทั้งนี้เนื่องจากยุโรปฟื้นตัวเร็ว และพัฒนาทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีไปมากกว่าภูมิภาคอื่น ประการที่สอง ช่วงนี้ยังมีการรวมตัวกันของพระศาสนจักรสากล และที่สำคัญที่สุด คือ มีการประชุมสังคายนาวาติกันที่สอง โดยพระสันตะปาปา ยอห์นที่ 23 ประกาศเรียกประชุมเมื่อปี ค.ศ. 1958 จากนั้นมีการเตรียมประเด็นเนื้อหาที่จะประชุมเป็นเวลาถึง 4 ปี เริ่มประชุมครั้งแรกปี ค.ศ. 1962 จากนั้นไม่นานพระองค์ก็สิ้นพระชนม์ พระสันตะปาปา ปอล ที่ 6 จึงเป็นผู้ที่สานต่อเพื่อให้การประชุมสำเร็จ ผลจากการประชุมครั้งนั้น ช่วยให้พระศาสนจักรตระหนักและเข้าใจพันธกิจของตนเอง เข้าใจว่าพระศาสนจักรเป็นอะไร ควรจะทำอะไร ทำพันธกิจอะไรเพื่อให้โลกมีชีวิตใหม่ โลกหลังจากสงครามมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก เป็นบุญหนักหนาที่พระศาสนจักรมีการประชุมสังคายนาวาติกันครั้งที่สอง ที่พูดเช่นนี้เพราะเกี่ยวข้องกับการรณรงค์ในเทศกาลมหาพรตค่อนข้างมาก นั่นคือในปี 1950 หลายประเทศในยุโรปเริ่มฟื้นตัวได้เร็ว พระศาสนจักรเองก็เริ่มตั้งตัวเหมือนกัน ปัจจัยต่างๆที่นำไปช่วยเหลือคนที่ตกทุกข์ได้ยากจึงมีจำนวนมากขึ้น เมื่อบรรดาพระสังฆราชมาประชุมสังคายนาก็เป็นโอกาสดีในการพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ส่วนในระดับสากลที่มีองค์การสหประชาชาติเป็นแกนนำนั้นได้มีการตั้งกองทุนต่างๆ ขึ้นมา เช่น องค์การยูเนสโก (UNESCO) ที่ช่วยเรื่องการศึกษา หรือองค์กรยูนิเซฟ (UNICEF) ที่ช่วยเรื่องเด็กๆ เป็นต้น หลังจากพระสังฆราชที่อยู่ในยุโรปมีการแลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์ร่วมกันแล้ว มีความเห็นตรงกันว่าพระสังฆราชน่าจะมีการรวมตัวกันเพื่อจะได้ช่วยเหลือสังคม แก้ปัญหาความยากจน และเห็นว่าองค์กร Caritas ที่มีอยู่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองนั้น หลังสงครามองค์กร Caritas มีการฟื้นตัวเข้มแข็งขึ้นมาก ให้ความช่วยเหลือได้อย่างกว้างขวาง จึงปรึกษาหารือกันในระหว่างการสังคายนาฯ ผลจากการประชุมจึงมีเอกสารฉบับหนึ่งที่ออกมาเกี่ยวกับพระศาสนจักรในโลกสมัยนี้คือ Gaudium et Spes เป็นเอกสารสำคัญที่ชี้นำพระศาสนจักรว่าจะต้องทำงานแพร่ธรรมไปในทิศทางใด (Gaudium แปลว่าความยินดี Spes แปลว่า ความหวัง) เป็นความยินดีและความหวังของมนุษย์ในโลกนี้ เพราะพระศาสนจักรต้องเดินทางไปด้วยกันกับมนุษย์ในโลกปัจจุบัน ซึ่งมีทั้งความยินดี ความเศร้าโศก ความสมหวังและความไม่สมหวังอย่างไร พระศาสนจักรต้องให้ความสนใจ

จากเอกสารฉบับนี้ พระศาสนจักรได้จุดประกายความคิดใหม่ว่า การแพร่ธรรมในปัจจุบันนี้ควรเน้นงานในสังคมโลก และต่อมาอีก 2 ปี คือ ปี ค.ศ. 1967 พระสันตะปาปา ปอล ที่ 6 ได้ออกเอกสารอีกฉบับหนึ่ง คือ สมณสาสน์การพัฒนาประชาชาติ (Populorum Progressio) ถือว่าเป็นเอกสารที่สำคัญ ซึ่งสืบเนื่องมาจากสมณสาสน์ Gaudium et Spes ประกอบกับในช่วงปี ค.ศ. 1960-1970 เรียกว่าเป็นทศวรรษแห่งการพัฒนา องค์การสหประชาชาติเป็นผู้ปลุกเร้าให้เกิดการพัฒนาประเทศต่างๆ เราคงจำได้ในประเทศไทยของเราสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตช์ เอาแนวคิดแบบเสรีนิยมเข้ามาเริ่มใช้ในประเทศไทย โดยที่ประชาชนยังไม่ได้รับการเตรียมความพร้อม คติพจน์ในสมัยนั้น คือ งานคือเงิน เงินคืองานบันดาลสุข และน้ำไหลไฟสว่าง ทางสะดวก โดยการพัฒนามุ่งเน้นความเจริญทางด้านวัตถุเป็นสำคัญ ซึ่งยังไม่ใช่การพัฒนาที่ครบ เพราะขาดการพัฒนาด้านจิตใจ

ในเนื้อหาของสมณสาสน์การพัฒนาประชาชาติ พระศาสนจักรสอนว่า "การพัฒนาที่แท้ต้องพัฒนาครบทุกด้าน" เดิมเราไม่รู้ว่าจะใช้คำแปลอย่างไรดี เราใช้คำว่าการพัฒนาคนทั้งครบ ในปัจจุบันนี้เขาใช้คำว่า "พัฒนามนุษย์แบบบูรณาการ" ซึ่งการพัฒนาแบบนี้จะต้องมีปัจจัยมาสนับสนุน บรรดาพระสังฆราชจึงตกลงกันว่าน่าจะตั้งองค์กรขึ้นเพื่อให้การสนับสนุนทางด้านปัจจัยในงานพัฒนา โดยมี Caritas Internationalis ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่กรุงโรม และเป็นสหพันธ์ของ Caritas ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมทุนไปช่วยประเทศที่กำลังพัฒนา หรือช่วยเพื่อนมนุษย์ที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก ซึ่งเมื่อก่อนเราเรียกว่า กิจเมตตาสงเคราะห์

นอกจากองค์กร Caritas ที่เป็นองค์กรของคาทอลิกล้วนๆ แล้ว พระสังฆราชบางองค์เห็นว่า ถ้าเราตั้งองค์กรของคาทอลิกโดยเฉพาะแบบนี้ อาจจะมีรัฐบาลบางประเทศที่จะไม่ให้การสนับสนุน ดังนั้น พระสังฆราชในเยอรมัน ฝรั่งเศส ฮอลแลนด์ เบลเยี่ยม คานาดา อังกฤษ สหรัฐฯ จึงได้ออกมารวมกันตั้งเป็นองค์กรคาทอลิกขึ้นมา แต่ไม่ใช้ชื่อ Caritas หากแต่ใช้ชื่อว่า CIDSE เป็นตัวย่อจากอักษรตัวแรกของภาษาฝรั่งเศส Cooperation Internationale pour le Developpement et la Solidarite หมายความว่า เป็นองค์กรที่ร่วมมือกันเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม กองทุนนี้มีแหล่งเงินทุนมาจาก 2 แหล่ง คือ ทุนส่วนหนึ่งได้มาจากทางด้านศาสนา และอีกส่วนหนึ่งมาจากรัฐบาล เราคงทราบแล้วว่า บางประเทศในยุโรป รัฐบาลเก็บภาษีทางศาสนา รู้ได้โดยการระบุไว้ในบัตรประชาชน เขาจึงเรียกเก็บภาษีเป็นเปอร์เซ็นต์จากรายได้ เพื่อรัฐบาลจะได้เอาไปช่วยเหลือ กิจกรรมการสงเคราะห์และพัฒนาทางฝ่ายคาทอลิก อาทิเช่น ประเทศฝรั่งเศส เยอรมัน เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ฉะนั้นให้เราผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานสังคมพัฒนาสังเกตดูให้ดีว่า นอกจากมีองค์กรทุนของ Caritas แล้ว ยังมีกองทุน CIDSE อยู่ด้วย

ถ้าถามว่าทางศาสนจักรเอาทุนมาจากไหน ก็ได้มาจากการเรี่ยไรการทำบุญเพื่อช่วยเหลือกัน มีกล่องทำบุญเล็กๆน้อยๆมากมาย และเมื่อคำนึงถึงเรื่องของการระดมเพื่อให้เกิดกองทุนจำนวนมากๆ ไว้ช่วยเหลือผู้ที่ประสบความทุกข์ยาก ก็เกิดมาจากความคิดเรื่องการรณรงค์ Lenten campaign ในเทศกาลมหาพรต โดยมีการเสนอให้ระดมทุนในเทศกาลมหาพรต เพราะถือเป็นการเสียสละและแบ่งปันเพื่อช่วยเหลือเพื่อนที่ตกทุกข์ได้ยาก และต่อมามีการเผยแพร่ความคิดในการระดมทุนนี้ออกไปอย่างแพร่หลาย

แนวคิดและกิจกรรมพัฒนาสังคมของพระศาสนจักรในทวีปเอเชีย เราจะเห็นว่าตามประวัติทุนที่ได้มาจากการรณรงค์ เป็นเรื่องสืบเนื่องมาจากความคิดที่จะพัฒนาสังคม ซึ่งพระศาสนจักรจะต้องสนใจอันเนื่องมาจากความเข้าใจใหม่ สืบเนื่องมาจากสาระสำคัญจากพระสมณสาสน์ Gaudium et Spes และพระสมณสาสน์ Populorum Progressio จากสองความคิดหลักๆนี้ ทำให้เกิดแนวคิดรณรงค์มหาพรต หรือ Lenten Campaign ขึ้น ก่อนที่จะมีการรณรงค์เทศกาลมหาพรตในทวีปเอเชีย เราต้องย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ในปี ค.ศ. 1965 นั่นคือ มีการสัมมนาอบรมบรรดาพระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวชที่ฮ่องกงในชื่อว่า PISA ย่อมาจาก Priests' Institute for Social Action ซึ่งจัดโดยคณะสงฆ์เยสุอิต เพื่อเตรียมต้อนรับและทำความเข้าใจเอกสารสำคัญจากสังคายนาวาติกันครั้งที่สอง นั่นคือ Gaudium et Spes ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ เอกสารนี้เตือนให้พระศาสนจักรต้องสนใจ ให้ความสำคัญกับความเป็นจริงของสังคม

ในการสัมมนาครั้งนั้นเราได้เรียนและรับรู้ว่าพระศาสนจักรต้องสนใจสังคม โดยหันไปอยู่เคียงข้างผู้ยากจน ผู้ที่ถูกเบียดเบียน ผู้ที่ถูกผลักให้ออกไปอยู่ชายขอบของสังคม ซึ่งวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ประชาชนเหล่านั้นมาสนใจ รวมตัวเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จึงมีการพูดถึงเรื่องสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน สหกรณ์ผู้ใช้แรงงาน สหกรณ์การค้า เป็นการช่วยเหลือกันและกันตามจิตตารมณ์ของสหกรณ์ นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ทั้งนี้เพราะจิตตารมณ์ของสหกรณ์ก็เป็นจิตตารมณ์ที่เอามาจากพระวรสาร ซึ่งได้แก่ การสนใจ ห่วงใย แบ่งปัน ซื่อสัตย์ต่อกันและกัน คุณธรรมเหล่านี้ล้วนมีอยู่ในหลักธรรมทางศาสนาของเรา เมื่อเรียนรู้มาแล้วเราก็เริ่มปฏิบัติในช่วงปี ค.ศ. 1965-1970

ต่อมาในปี ค.ศ. 1970 มีการก่อตั้งสหพันธ์พระสังฆราชแห่งทวีปเอเชีย หรือที่เรียกว่า FABC (ย่อมาจาก Federation of Asian Bishops' Conferences) แต่ทว่ายังไม่เป็นทางการ เป็นเพียงแต่การเรียกบรรดาพระสังฆราชมาสอบถามความคิดเห็นกันก่อน ประกอบกับในเดือนธันวาคมปีนั้น พระสันตะปาปา ปอลที่ 6 เสด็จเยือนกรุงมนิลา พระองค์ได้ประกาศสนับสนุน FABC แล้วจึงมีการก่อตั้งเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 1972 เมื่อได้รับธรรมนูญที่พระสันตะปาปาประกาศรับรองเป็นทางการจากสำนักวาติกันแล้ว ปี ค.ศ. 1971-1972 FABC มีสำนักงานแห่งแรกเพื่อทำงานด้านพัฒนาใช้ชื่อว่า OHD (ย่อมาจาก Office for Human Development) เป็นที่น่าสังเกตว่าในทวีปเอเชียสมัยทศวรรษที่ 60-70 เริ่มมีความเคลื่อนไหวที่จะพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม นำโดยญี่ปุ่นและเกาหลี เมื่อมีสำนักงานพัฒนาสังคมเกิดขึ้น สิ่งแรกที่ได้จัดทำคือ การสัมมนา BISA (ย่อมาจาก Bishops' Institute for Social Action ) ครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่มนิลา ฟิลิปปินส์ และในปี ค.ศ. 1972 จัดครั้งที่ 2 ที่ญี่ปุ่น ในการสัมมนานี้เป็นการย้ำถึง PISA เรื่องการพัฒนาสังคมตามคำสอนของพระศาสนจักร นั่นก็คือ ตามคำสอนของ Gaudium et Spes และ Populorum Progressio ในการสัมมนาทั้งสองครั้งเน้นย้ำเรื่องเดียวกัน

แนวคิดและกิจกรรมพัฒาสังคมของพระศาสนจักรในประเทศไทย ย้อนไปกล่าวถึงสำนักงานพัฒนาสังคม หรือ OHD ที่จัดอบรมเฉพาะบรรดาพระสังฆราชให้รู้เรื่องสังคม และต้องเป็นผู้ที่ให้คำแนะนำกิจกรรมพัฒนาในสังฆมณฑลของตนด้วย กิจกรรมหนึ่งซึ่งเราได้พูดกันใน BISA คือ การปลุกจิตสำนึกให้สัตบุรุษตระหนักถึงบทบาทของตนเองในภารกิจการประกาศข่าวดีของพระศาสนจักรในเพื่อนพี่น้องของเรา จากบทเรียนที่เราได้รับรู้มาจาก BISA และPISA และจากประสบการณ์ที่ได้จากการแบ่งปัน รวมถึงจากการที่เราได้เยี่ยมเยียนในประเทศอื่นๆ ในปีค.ศ. 1971-1972 คุณพ่อญัณนี และผู้พูดเองได้เดินทางไปประเทศเยอรมันนีและประเทศอื่นๆ ไปเรียนรู้วิธีการของเขา ได้เกิดความคิดว่า เราน่าจะเริ่มต้นรณรงค์เทศกาลมหาพรต จึงรวบรวมเอกสารจากประเทศฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เป็นเอกสารต้นแบบที่เราใช้มากที่สุด เพื่อเป็นพื้นฐานในการรณรงค์เทศกาลมหาพรตในประเทศไทย

การรณรงค์เทศกาลมหาพรตของพระศาสนจักรในประเทศไทย หลังจากที่ได้รวบรวมประสบการณ์และเอกสารต่างๆ แล้วได้เข้าไปเรียนให้ท่านฯ ยวง นิตโย ทราบว่า สคทพ. จะเริ่มต้นทำการรณรงค์เทศกาลมหาพรตตามแบบอย่างประเทศเพื่อนบ้านของเรา เพื่อที่จะได้รวบรวมปัจจัยมาช่วยสนับสนุนงานพัฒนาของเรา หลังจากท่านฯ อนุญาต เราก็เริ่มลงมือทำ อันดับแรกคือ แปลเอกสารของพระสันตะปาปา ที่เพิ่งเริ่มออกมาเป็นปีแรกๆ และเตรียมบทเทศน์ให้กับพระสงฆ์เพื่อใช้เทศน์ในช่วงเทศกาลมหาพรต เมื่อเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้วได้จัดส่งไปตามวัดต่างๆ ปรากฎว่าปีแรกที่ทำการรณรงค์ได้ปัจจัยมามากพอสมควร ต่อมาปืที่สองเราทำแบบเดียวกัน แต่ไม่ค่อยได้ผลเท่าที่ควร โดยเฉพาะในช่วงปีค.ศ. 1975-1977 แทบจะหยุดชะงักเลยทีเดียว

เราได้หันมาพิจารณไตร่ตรองร่วมกันว่าทำไมจึงเป็นเช่นนี้ เราจึงพบว่าสิ่งที่เราทำนั้นเป็นการปฏิบัติตามทฤษฎี Top Down คือ ทำจากข้างบนลงเบื้องล่าง สัตบุรุษไม่สู้จะเข้าใจและรับรู้นักเห็นเป็นเรื่องใหม่ๆ ก็ให้ความสนใจ ถือว่าเป็นการช่วยทำบุญ แต่ไม่เคยรู้ว่า สิ่งที่รณรงค์ได้มาแล้วนั้นไปใช้ทำอะไร เกิดประโยชน์กับใคร พอปีต่อๆ มาก็เลยไม่ค่อยให้ความร่วมมือ ซึ่งเป็นเรื่องที่เราไม่ได้ทำความเข้าใจกับบรรดาพระสงฆ์และสัตบุรุษ ว่าการรณรงค์เทศกาลมหาพรตนี้มีความหมายว่าอย่างไร เพื่ออะไร เพราะการรณรงค์นี้ไม่ใช่เรื่องของการเก็บรวบรวมปัจจัยเป็นสำคัญ ยิ่งกว่านั้น คือ เราขาดประสบการณ์ในการเตรียมในเรื่องต่างๆ ข้อคิดที่เราให้ไปในบทเทศน์นั้นก้าวหน้าเกินไป พระสงฆ์และสัตบุรุษรับไม่ได้ ไม่เข้าใจงาน เลยชะงักไป

นอกจากนั้นเงินที่เราได้มา เราเอามาใช้จ่ายค่าสมาชิกของ Caritas Internationalis ที่กรุงโรม ซึ่ง สคทพ. เป็นสมาชิกอยู่ เมื่อเป็นสมาชิกแล้วหากเกิดเหตุเภทภัยต่างๆ ไม่ว่าที่ไหนเราก็ต้องสมทบเงินไปช่วยเหลือ แต่ไม่ได้รายงานให้ทุกคนรับรู้ และการเก็บรวบรวมเงินเป็นมาอย่างไรเราก็ไม่รู้ เมื่อเป็นเช่นนี้เราได้ทราบว่า มีหลายประเทศที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกับเรา ฉะนั้นเราจึงขอให้สำนักงานพัฒนาสังคม (OHD) จัดสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องของการรณรงค์เทศกาลมหาพรตว่า เราควรทำอย่างไร เพื่อให้การรณรงค์นี้แพร่หลายไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้จัดขึ้นในปี ค.ศ. 1980 ที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย

หลังจากที่ผู้แทนของเราได้ไปเข้าร่วมงานสัมมนา ได้รับความรู้และประสบการณ์มาทำการฟื้นฟูการรณรงค์ในประเทศไทย มุ่งปลูกจิตสำนึกของบรรดาคริสตชนว่าต่อแต่นี้ไป จะแก้บาปรับศีลอย่างเดียวคงไม่พอ เราต้องลงมือทำอะไรอย่างอื่นเพื่อเพื่อนพี่น้องของเราด้วย โดยเราให้ความร่วมมือในการรณรงค์อย่างจริงใจ มีการจัดระบบการณรงค์ใหม่ เผยแพร่ออกไปนอกแวดวงของพระศาสนจักร คือ เราเข้าใจชัดเจนแล้วว่า การรณรงค์นี้ต้องมีการปลุกจิตสำนึก สอนให้ประชาชนรู้ปัญหา และที่มาของปัญหา พร้อมทั้งเสนอวิธีการแก้ปัญหานั้น โดยการรวบรวมประชาชนเข้าเป็นกลุ่ม ร่วมกันคิดร่วมกันทำ อาศัยสหกรณ์ออมทรัพย์ (เครดิตยูเนี่ยน) เป็นเครื่องมือที่เราใช้มาเกือบ 30 ปี และเครื่องมือนี้ปรากฎผลในช่วงนี้ที่กำลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ หลายคนหันมาให้ความสนใจเรื่องของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนกันมากขึ้น

การเผยแพร่ออกจากแวดวงของพระศาสนจักร คงทราบว่า ชาวพุทธที่มาติดต่อกับเรา เขาสนใจเรื่องของการรณรงค์ในเทศกาลมหาพรต เขาอยากมาเรียนรู้ว่าอะไรทำให้เกิดการร่วมมือ ร่วมจิตร่วมใจกันเป็นอย่างดี ซึ่งจุดนี้ก็คือ เรื่องของจิตตารมณ์มหาพรตนั่นเอง ต่อมาการรณรงค์ก็เผยแพร่ออกสู่แวดวงองค์กรคาทอลิกอื่นๆ เช่น โรงเรียน กลุ่มกิจศรัทธาอื่นๆ จนกระทั่งขณะนี้บางแห่งได้ทำการรณรงค์ทั้งในและนอกเทศกาล ในเทศกาลคือ ช่วงเวลา 40 วัน นอกเทศกาล คือ การรณรงค์ในโรงเรียนในช่วงของเทศกาลเตรียมรับเสด็จ และต่อมาเป็นการขยายการรณรงค์ตลอดปี โดยการสอดแทรกจิตตารมณ์มหาพรตเข้าไปในโครงการ กิจกรรมต่างๆของหน่วยงานหรือองค์กร

บทเรียนและข้อเสนอแนะ จากบทเรียนที่เราได้รับดังได้กล่าวไว้ข้างต้น เราตระหนักว่า :

1. การเตรียมประชาชนให้เกิดความรู้ความเข้าใจเป็นเรื่องสำคัญประการแรก ซึ่งเราจะละเว้นเสียไม่ได้

2. การเริ่มต้นทำงานจากล่างขึ้นบน เป็นวิธีการที่จะก่อให้เกิดความสำเร็จ ยั่งยืนถาวร

3. การมุ่งเน้นในเรื่องของการให้การศึกษาอบรม เพื่อปลุกจิตสำนึกเป็นเรื่องสำคัญ ให้เขารู้และเข้าใจ เห็นความสำคัญของการปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวัน

4. การยอมรับและเรียนรู้จากเพื่อนร่วมอุดมการณ์ของเรา ทั้งจากภายในประเทศและจากต่างประเทศ เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับการทำงานของเรา (ตัวอย่างของการเรียนรู้การรณรงค์ในเทศกาลมหาพรต ที่บันดุง เราได้เรียนรู้วิธีการรณรงค์และเทคนิคในการแบ่งปัจจัยที่รวบรวมมาว่า ต้องแบ่งไปทำอะไรบ้าง ที่สำคัญคือ เทคนิคซึ่งให้การศึกษาอบรม ปลุกจิตสำนึกให้คริสตังของเราเข้าใจเรื่องของการรณรงค์ในเทศกาลมหาพรต สิ่งเหล่านี้เป็นความรู้และประสบการณ์ที่เราได้รับมาจาก Partners ของเรา)

5.เทคนิคการจัดการเรื่องปัจจัย (เงินตรา) อย่างโปร่งใส และเป็นระบบ เป็นสิ่งที่จะขาดเสียมิได้


ข้อเสนอต่อการทำงาน ในการทำงานเพื่อรณรงค์ปลุกจิตสำนึก

1. แรงบันดาลใจเป็นสิ่งที่จะขาดเสียมิได้ ซึ่งมาจากการเรียบเรียงความรู้และความเข้าใจ แรงบันดาลใจของเราเป็นแรงบันดาลใจทางศาสนา ที่เรียกร้องให้เรามาทำการรณรงค์ ในเทศกาลมหาพรต ซึ่งตามหลักคำสอนทางศาสนา ก็มุ่งที่จะให้สัตบุรุษได้เสียสละความสุขส่วนตัว ทำการพลีกรรม เพื่อระลึกถึงพระเยซูเจ้าเป็นพิเศษ

2. ให้ใช้โอกาสที่เราทำการรณรงค์ฯ ทั้งในและนอกเทศกาลมหาพรต เป็นการให้คำสอนเกี่ยวกับปัญหาสังคม เพราะเราทราบดีว่าในพระศาสนจักรมีคำสอน มีบทเรียนเกี่ยวกับเรื่องปัญหาสังคม และแนวทางในการแก้ปัญหาสังคมและเศรษฐกิจ สมณสาสน์ต่างๆ ที่เขียนโดยพระสันตะปาปา เอกสารของการประชุมสังคายนา การประชุมสังฆราชต่างๆ หรือเอกสารที่ผู้เชี่ยวชาญทางศาสนาได้เขียนบอกไว้ เป็นบทสอนบทเรียนเกี่ยวกับปัญหาสังคม ซึ่งเราน่าจะใช้โอกาสในการรณรงค์เทศกาลมหาพรต นำเอาคำสอนเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้โดยพิจารณาให้เหมาะกับสถานการณ์สังคมขณะนั้น เช่น ในการเขียนสารของพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ในเทศกาลมหาพรตแต่ละปี พระองค์มักจะนำเอาสถานการณ์ที่ทางสหประชาชาติกล่าวถึงมาพูดในปีนั้นๆ หรือเอาเหตุการณ์สำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในโลก มาเขียนเป็นสารเพื่อให้เราร่วมใจกันรณรงค์ฯ เราน่าจะถือโอกาสนั้นไปค้นดูว่า คำสอนของพระศาสนจักรที่พูดเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ มีอะไรบ้าง เป็นต้น หรือหน่วยงานคณะกรรมการยุติธรรมและสันติฯ และ Caritas ตั้งใจจะร่วมมือกันเขียนคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักรคาทอลิกให้ทันเป็นของขวัญสำหรับปี ค.ศ. 2000 โดยตั้งเป้าหมายในเดือนพฤษภาคมจะทำให้เสร็จเรียบร้อย เราคงจะทำการศึกษาจากเอกสารที่จะออกมานั้นง่ายขึ้น

3. พยายามให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องนั้นมีความชัดเจนและน่าเชื่อถือ เช่น ถ้าเรากล่าวถึงหนี้สินของเกษตรกรที่มี มีมากน้อยเพียงใด เราน่าจะให้ข้อมูลที่ชัดเจนในเรื่องนี้ เพื่อการรณรงค์ ของเราจะได้เกิดผลอย่างจริงจัง แหล่งข้อมูลของเราจะมาจากการประสานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานภายในแวดวงของพระศาสนจักร หน่วยงานของรัฐ องค์กรพัฒนาเอกชนอื่นๆ ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับปัญหานั้นๆ ควรที่จะเอาข้อมูลเหล่านั้นมาเผยแพร่ให้ทุกคนได้รับรู้ จะได้เป็นการปลุกจิตสำนึก เรียนรู้และเข้าใจ พร้อมที่จะเสียสละและให้ความช่วยเหลือแก่กันและกันมากขึ้น

----------------------------------

ที่มา : คู่มือ "การรณรงค์จิตตารมณ์มหาพรต" สำนักเลขาธิการ คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการพัฒนา (คพน.) 2545

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >