หน้าหลัก arrow อยู่กับปวงประชา arrow PASTORALE D' ENSEMBLE : พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 502 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 124: เรียนรู้โลกยุคใหม่ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ชีวิต จิตวิญญาณ!?
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 124


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


PASTORALE D' ENSEMBLE : พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ พิมพ์
Wednesday, 22 December 2010
PASTORALE D' ENSEMBLE

 

พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์

1. คำว่า Holistic นี้ หากเราจะใช้อีกคำหนึ่งซึ่งเหมาะสมเช่นกัน ก็คือคำว่า Harmony โดยมีรากฐานตามความเชื่อของคริสตชนมาจากความเข้าใจเรื่องพระตรีเอกภาพ (Trinity) ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ St.Thomas ได้พยายามอรรถาธิบาย โดยอาศัยเรื่องความสัมพันธ์เป็นหลัก (Relatio in, Relatio ad) จึงทำให้ผมได้ความคิดว่า การที่พระคริสต์ได้มาบังเกิดเป็นมนุษย์นั้น ก็เป็นการเชื่อมขั้ว 2 ขั้ว ให้เข้ากันได้ คือ พระผู้สร้าง และสิ่งสร้างของพระองค์ แต่การที่มนุษย์แยกออกจากพระเจ้านี่ ก็เป็นเพราะบาปของมนุษย์เอง รวมทั้งสรรพสิ่งสรรพสัตว์ซึ่งเป็นสิ่งสร้างด้วยเช่นกัน ที่ได้แยกตัวออกจากพระเจ้า

อย่างไรก็ตาม ขั้วที่อยู่ห่างกันนี้ ก็สามารถประสานกันได้โดยอาศัยน้ำพระทัยดีของพระบิดา ที่ได้ส่งพระบุตรมาเป็นมนุษย์ และจุดนี้เองที่ผมใคร่นำมาเป็นที่พิจารณาไตร่ตรองร่วมกัน (Reflection) และสำหรับเราการพิจารณาไตร่ตรอง (Reflection) มีความหมายกว้างและลึกกว่าที่คนทั่วๆ ไปเขาใช้กันอยู่ มิใช่เป็นเพียงการประเมินผล (Evaluation) และทบทวนดูว่ากิจกรรมในงานโครงการที่ได้ทำไปแล้ว มีปัญหา-อุปสรรคอย่างไร เพื่อที่จะได้วางแผนงานต่อไปเท่านั้น แต่ในความหมายของเรานี้ การพิจารณาไตร่ตรอง (Reflection) ต้องการปัญญา สมาธิ (Contemplation) เพื่อช่วยเราให้สามารถมีใจสงบถึงขั้นการรำพึงภาวนาได้ (Contemplation = Deep Reflection)

หากเราได้ทำการพิจารณาไตร่ตรองดู เป็นต้นในกระบวนการของการประสานนั้น เราจักต้องประสานกันอย่างไร เพื่อให้สอดคล้องกันและกัน และจะต้องมีวิธีการอย่างไรในเรื่องนี้ โดยเฉพาะในชีวิตส่วนตัวของเรา ในการทำงานพัฒนานี้ จะต้องให้มีความสมดุล (Harmony) คือในส่วนของกิจกรรม (Action) การพิจารณาไตร่ตรอง (Reflection) และการภาวนา (prayer) ตัวอย่างเช่น...ในงานของพระศาสนจักร งานส่งเสริม ปกป้องความยุติธรรม ก็เป็นส่วนหนึ่งของงานพัฒนา ซึ่งเป็นการเสริมกันและกันให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

1.1 ความยุติธรรม (justice) และการกุศล (การสงเคราะห์) (charity) แม้ว่าดูเหมือนจะอยู่คนละขั้ว แต่ก็มีความเกี่ยวข้องกัน เมื่อเราพิจารณาคำสอนของพระคริสต์ พระองค์มิได้แยกระหว่างคนที่มีความยุติธรรม และคนที่มีความรัก เพราะความยุติธรรมของพระองค์นั้น ก็คือ การที่มนุษย์ปฏิบัติต่อกันฉันพี่น้อง

1.2 สำหรับพระคริสต์ พระองค์ได้ทำให้ความรุนแรง (Violence) และสันติสุข (Peace) ประสานกันได้ และวิธีการของพระองค์ก็คือ การมาเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นกระบวนการจนถึงธรรมล้ำลึกแห่งปาสกา พระองค์เองได้เป็นแบบอย่างให้กับเราในเรื่องนี้ว่า การที่จะได้มาซึ่งสันติสุขนั้น ต้องใช้วิธีการแบบไร้ความรุนแรง (Non-violence) และในความขัดแย้ง (Conflict) นั้น จำเป็นต้องอาศัยการกลับใจ (conversion) เพื่อที่จะได้มาซึ่งสันติสุข

1.3 การเสวนา (Dialogue) แม้ว่ามนุษย์จะแยกตัวออกจากพระเจ้า เพราะบาปของ Adam กระนั้นก็ตาม พระเจ้าได้เป็นผู้เริ่มต้นก่อนที่จะเสวนากับมนุษย์ และจุดนี้เองจึงก่อให้เกิดการคืนดี (Reconciliation) โดยพระองค์เป็นผู้ไขแสดง (Reveal) น้ำพระทัยดีของพระองค์ให้มนุษย์ได้ประจักษ์ ส่วนมนุษย์นี้ก็ได้ตอบสนองด้วยการกลับใจ (conversion)


2. สืบเนื่องจากความคิดเรื่อง Holistic หรือ Harmony ในด้านสถาบัน ทุกคนคงเข้าใจดีว่า งานของพระศาสนจักรนั้น มีอยู่มากมายหลายด้าน แต่เราจะทำอย่างไร เพื่อให้ทุกกิจกรรมที่ทำนั้น ประสานสอดคล้องกันและกัน มิใช่ต่างฝ่ายต่างทำ เนื่องเพราะงานทุกอย่างของพระศาสนจักรนั้นเป็นภารกิจเดียวกันนั่นเอง ซึ่งเราสามารถจะเข้าใจได้ใน 2 ด้าน เกี่ยวกับเรื่องนี้คือ (เรื่อง pastorale d' ensemble)

2.1 ด้าน Subjective หมายถึงบุคลากรผู้ทำงานในพระศาสนจักร ไม่ว่าจะเป็น พระสงฆ์ นักบวช หญิง-ชาย และฆราวาส ทุกคน แต่ละคนมีหน้าที่ มีบทบาทในพระศาสนจักร ดังนั้น จึงต้องทำความเข้าใจร่วมกัน เพื่อที่จะได้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างประสานสอดคล้องกัน แม้ว่า ภูมิหลังชีวิต กรอบความคิดและท่าทีของจิตใจ จะมีความแตกต่างกันก็ตาม

2.2 ด้าน Objective เนื่องเพราะ เนื้องานแท้ๆ นั้น เป็นการทำงานกับ "คน" เราจึงจำเป็นต้องเข้าใจ "คน" ในทุกๆ มิติของชีวิต และเพื่อให้การทำงานในพระศาสนจักร บรรลุเป้าหมายในภารกิจเดียวกันนี้ การวางแผนงานร่วมกันเป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อจะได้สามารถประสานงานกันได้อย่างสอดคล้องกันและกัน


3. ในทศวรรษนี้ เรากำลังให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่อง "การพัฒนาแนววัฒนธรรม" และทำให้เราได้พยายามศึกษา ค้นหาคุณค่าที่ดีงามในชุมชน โดยเฉพาะชุมชนที่ยากไร้ และพยายามพัฒนาคุณค่าที่ดีนั้น ตามแนวทางของพระวรสารของพระคริสต์ แต่เรื่องที่อยากขอเน้นก็คือ วัฒนธรรมมีบทบาทและอิทธิพลต่อการแสดงออกในรูปแบบต่างๆ ของพิธีกรรม เนื่องเพราะพิธีกรรมเป็นการแสดงออกมาภายนอกให้เห็นได้ ของคุณค่าที่ดีที่มีอยู่ภายในจิตใจของแต่ละคน ดังนั้น เราจึงต้องพินิจพิเคราะห์ว่า พิธีกรรมที่เราพบในชุมชนนั้นๆ เป็นการแสดงออกของคุณค่าอะไร ทำไมจึงพัฒนามาเป็นพิธีกรรมในรูปแบบนั้น และเราควรที่จะทำความเข้าใจกับประวัติศาสตร์ของพิธีกรรมนั้นๆ ด้วย เพื่อว่าด้วยความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้ จะเป็นช่องทางที่เหมาะสม ให้เราพยายามศึกษาและเข้าใจเกี่ยวกับ process of Incarnation - Theology of the Cross - Paschal mystery อย่างต่อเนื่องต่อไป โดยอาศัยการทำงานพัฒนาแนววัฒนธรรมนี้เอง


คำอภิปราย :

เมื่อพูดถึงภารกิจของพระศาสนจักร ที่จะต้องเป็นการทำงานร่วมกัน (pastorale d' ensemble) ผมคิดว่า จุดนี้เป็นเรื่องที่ยากลำบาก เพราะว่า :

1. ภาพที่เป็นจริงของสังคม ที่มีอยู่ในความคิดของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน

2. เมื่อฐานความคิดในการเข้าใจสังคมแตกต่างกัน ย่อมทำให้มีความแปลกแยกในการตีความหมาย

3. ยังมีความเข้าใจว่างานของศาสนจักรแต่ละงานต้องแยกออกจากกัน เช่น งานพัฒนาแยกออกจากงานแพร่ธรรม งานแพร่ธรรมแยกออกจากงานด้านเยาวชน งานเยาวชนไม่เกี่ยวข้องกับงานอภิบาล ซึ่งความเข้าใจนี้ไม่ถูกต้อง

4.เราต้องยอมรับว่า รูปแบบในการปฏิบัติงาน มีความแตกต่างกันอยู่ ดังนั้น เพื่อที่จะสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างประสานสอดคล้องนั้น (pastorale d' ensemble) จำเป็นต้องมีเครื่องมือช่วยให้อุดมการณ์ในการทำงานนี้ เป็นจริงเป็นจังในการปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม กับสภาพความเป็นจริงที่ดำรงอยู่เช่นนี้ เราจำเป็นต้องค้นหาต่อไปอีกว่า

4.1 จะทำอย่างไรเพื่อช่วยให้ผู้ปฏิบัติงาน มองเห็นภาพความเป็นจริงทั้งหมดร่วมกันได้

4.2 ให้มีความเข้าใจถึงเป้าหมายของการปฏิบัติร่วมกัน

4.3 ถือว่างานของแต่ละฝ่ายงานเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันในองค์รวมนี้ และสิ่งสำคัญตรงจุดก็คือ การวิเคราะห์ภาพรวมของความจริงในแต่ละงานต้องชัดเจน ทุกคนต้องเข้าใจและยอมรับความจริงร่วมกันว่าเป็นอย่างไร คืออะไร แบบไหน เพื่อให้การตอบสนองต่อความจริงนี้สอดคล้องกัน

ที่สุด เราคงต้องตระหนัก และไม่ลืมว่าใน process of becoming นั้น ทุกอย่างต้องค่อยเป็นค่อยไป เพื่อการบรรลุความครบครันในชีวิต

ที่มา : รายงานการสัมมนากลุ่ม SAT
26-30 กันยายน 2531 ณ ทวีชัยแลนด์ อ.แม่สอด จ.ตาก,
สภาคาทอลิก แห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา, หน้า 39-42

 


ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >