หน้าหลัก arrow กิจกรรม ยส. arrow กิจกรรมย้อนหลัง arrow กิจกรรมของ ยส. 2/2009 (ก.ค.-ธ.ค.)
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 613 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 124: เรียนรู้โลกยุคใหม่ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ชีวิต จิตวิญญาณ!?
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 124


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

กิจกรรมของ ยส. 2/2009 (ก.ค.-ธ.ค.) พิมพ์
Wednesday, 31 March 2010
กิจกรรม ยส.

(กรกฎาคม - ธันวาคม 2552)


จัดเสวนา "ความไม่เป็นธรรมในกระแสลดโลกร้อนและทางเลือกที่เราทำได้"

 คุณจักรชัย โฉมทองดี นักวิจัยโครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา (โฟกัส) และสมาชิกเครือข่ายลดโลกร้อนด้วยโลกที่เป็นธรรม

คุณกิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา รองผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี/เครือข่าย Slow Food Thailand (กินเปลี่ยนโลก)
 
 คุณชูเกียรติ โกแมน เกษตรกรผู้ทำฟาร์มผักปลอดสารพิษ และทำของใช้เองในบ้าน  ผู้เข้าร่วมฟังเสวนาให้ความสนใจในเนื้อหาที่วิทยากรนำเสนอ

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม 2552 ที่ห้องประชุมชั้น 10 ตึกสภาพระสังฆราชฯ ช่องนนทรี วิทยากรได้แก่ คุณจักรชัย โฉมทองดี นักวิจัยโครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา (โฟกัส) และสมาชิกเครือข่ายลดโลกร้อนด้วยโลกที่เป็นธรรม , คุณกิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา รองผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี/เครือข่าย Slow Food Thailand (กินเปลี่ยนโลก), คุณ ชูเกียรติ โกแมน เกษตรกรผู้ทำฟาร์มผักปลอดสารพิษ และทำของใช้เองในบ้าน โดยมี คุณ อัจฉรา สมแสงสรวง เป็นผู้ดำเนินการเสวนา ผู้เข้าฟังได้แก่ พระสงฆ์ ซิสเตอร์ ครู เจ้าหน้าที่สภาพระสังฆราชฯ ประชาชนที่สนใจ และสื่อมวลชนรวมทั้งสิ้น 46 ท่าน





ค่ายยุวสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 1- 4 ตุลาคม 2552 ที่บ้านเพชรสำราญ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์




 
 ลุงมนตรี พงษ์พาณิช ประธานชุมชนมาเล่าถึงสถานการณ์และผลกระทบจากการพัฒนาที่มีต่อชุมชนชาวประมง

มีเยาวชนเข้าร่วมจำนวน 34 คน (ชาย 19 คน หญิง 15 คน) จาก 8 โรงเรียน (ร.ร.คาทอลิก 4 แห่ง ร.ร.รัฐ 4 แห่ง) ได้แก่ ยอแซฟอุปถัมภ์ สารสิทธิ์พิทยาลัย อัสสัมชัญคอนแวนต์ อัสสัมชัญพาณิชยการกำแพงเพชรพิทยาคม พิบูลมังสาหาร อุบลฯ วรนารีเฉลิม สงขลา และมหาวชิราวุธ สงขลา ค่ายครั้งนี้มีกิจกรรมเรียนรู้สิทธิมนุษยชนอย่างหลากหลาย เช่น กิจกรรมฐานเส้นทางสู่สิทธิมนุษยชน เรียนรู้หลักการพื้นฐานสิทธิมนุษยชนในเรื่องความยุติธรรม การไม่เลือกปฏิบัติ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ฯลฯ ชมสารคดีเปิดปม เรื่องการคราดหอยลาย สถานการณ์การละเมิดสิทธิเด็ก เรียนรู้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน การสื่อสารอย่างสันติ กิจกรรมเรียนรู้เรื่องความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงทรัพยากร มีกิจกรรมลงพื้นที่ศึกษาปัญหาชุมชน ในประเด็นความขัดแย้งระหว่างเรือประมงขนาดใหญ่ ที่เข้ามาคราดหอยลายในอ่าวหัวหิน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำประมงของกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านเขาตะเกียบ มีการไตร่ตรองสิ่งที่ได้เรียนรู้ ทำให้เยาวชนเกิดความตระหนักในเรื่องสิทธิของชุมชนต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเกิดจิตสำนึกที่จะช่วยปกป้องทรัพยากรต่างๆ เท่าที่กำลังของตนจะทำได้



 
 

ในช่วงท้าย เยาวชนแต่ละโรงเรียนได้ร่วมกันเขียนโครงการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนเพื่อนำไป จัดกิจกรรมในโรงเรียนของตน เยาวชนที่เข้าร่วมมีความตื่นตัวในการเรียนรู้ทุกกิจกรรม ต่างแสดงความประสงค์ที่จะมาร่วมกิจกรรมที่ ยส.จัดอีก และจากการแบ่งปันความรู้สึกของเยาวชน ต่างบอกว่าค่ายนี้สนุก มีกิจกรรมที่หลากหลายไม่น่าเบื่อ ได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์มากมาย และจะนำความรู้ที่ได้รับกลับไปเผยแพร่ให้เพื่อนๆ และรุ่นน้องต่อไป นอกจากนี้ยังมีเยาวชนที่เคยผ่านการเข้าร่วมค่ายฯ ซึ่งปัจจุบันเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ได้มาช่วยในการทำบทบาทพี่เลี้ยง พิธีกรประจำวัน ผู้ช่วยสันทนาการ และแบ่งปันประสบการณ์และประโยชน์ที่ได้รับจากการมาเข้าร่วมค่ายฯ ตั้งแต่ปี 2550




จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ "การสื่อสารอย่างสันติ" ให้กับเจ้าหน้าที่ด้านสังคมของหน่วยงานพระศาสนจักรคาทอลิกในพื้นที่จังหวัด ระนอง วันที่ 6 - 7 ตุลาคม 2552

คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการพัฒนาสังคม แผนกความยุติธรรมและสันติ ร่วมกับ ศูนย์สังคมพัฒนาสุราษฎร์ธานี จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ "การสื่อสารอย่างสันติ" (Non - Violent Communication Workshop) ตามแนวทางของ Dr.Marshall B. Rosenberg โดยวิทยากรคือ คุณนริศ มณีขาว เมื่อวันที่ 6-7 ตุลาคม 2552 ที่ห้องประชุม Herritage Grand Hall ถ.ชลระอุ ต.เขานิเวศ อ.เมือง จ.ระนอง โดยมีผู้เข้ารับการอบรมจาก ศูนย์การศึกษามาริส มิชชั่น ระนอง, คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการอภิบาลสังคม แผนกผู้อพยพย้ายถิ่นและผู้ถูกคุมขัง พื้นที่ระนอง, ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตชายแดนไทย-พม่า มูลนิธิเจอาร์เอส พื้นที่ระนอง และหน่วยปฐมพยาบาล คามิลเลียน โซเชียล เซนเตอร์ ระนอง รวมผู้เข้ารับการอบรม 52 คน

กิจกรรม ฝึกการสื่อสารด้วยภาษายีราฟ และภาษาหมาป่า กิจกรรม ฝึกการสื่อสารด้วยภาษายีราฟ และภาษาหมาป่า

หัวใจของการสื่อสารอย่างสันติ คือ การหาความต้องการ และสิ่งสำคัญคือความเข้าใจ จากนั้นให้ผู้อบรม ฝึกการสื่อสารด้วย ภาษายีราฟ และ ภาษาหมาป่า ทั้งแบบหูเข้าและหูออก ภาษาหมาป่าคือคนที่พูดแบบตัดสิน ตำหนิกล่าวโทษ พูดแบบหมาป่าหูเข้าคือ ตัดสิน กล่าวโทษตัวเอง พูดแบบหมาป่าหูออกคือ กล่าวโทษด่าว่าคนอื่น ส่วนพูดแบบยีราฟหูเข้าคือ บอกความต้องการของเราให้คนอื่นทราบ พูดแบบยีราฟหูออกคือเข้าใจความต้องการของคนอื่น

ผลัดกันนวดผ่อนคลายให้กัน การสื่อสารอย่างสันติมีขั้นตอนสำคัญคือ observation - feeling - need - request

ในการสื่อสารอย่างสันติมีขั้นตอนสำคัญคือ สังเกต - รู้สึก - ต้องการ - ขอร้อง (observation - feeling - need - request) โดยต้องระวังว่าการขอร้องไม่ใช่การออกคำสั่งให้ทำ ถ้าเป็นคำสั่งคนจะต่อต้าน ไม่ทำตาม ส่วนการสังเกตแตกต่างจากการตัดสิน แต่มนุษย์เราเวลามองเห็นอะไรมีแนวโน้มที่จะตัดสินใช้อารมณ์ความรู้สึก มากกว่าที่จะสังเกตเฉยๆ โดยไม่ตัดสิน เราต้องแยกให้ออกระหว่างสิ่งที่เป็นการสังเกตกับตัดสิน นอกจากนี้มีการฝึกการเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นของ สองฝ่าย จากนั้นยกตัวอย่างกรณีความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจริง และสาธิตให้เห็นว่าเราจะสื่อสารอย่างไรให้เกิดสันติ โดยใช้การพูดทั้งสี่ขั้นตอน เช่น ตักเตือนรุ่นน้องที่ได้ยินมาว่ามีเพื่อนชายจะชวนไปดูอะโกโก้, ความขัดแย้งของน้องสาวกับพี่ชายกรณีที่น้องสาวไม่พอใจพยาบาลที่จ้างมาดูแล พ่อที่ป่วย, ความขัดแย้งของเพื่อนร่วมห้องที่เวลานอนไม่ตรงกัน คนหนึ่งนอนแต่หัวค่ำ แต่อีกคนชอบนอนดึก และเปิดวิทยุ ทีวีเสียงดัง และให้ผู้รับการอบรมได้ฝึกปฏิบัติจริง

ฝึกทักษะการเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นของสองฝ่าย
ฝึกทักษะการเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นของสองฝ่าย

ซึ่งผู้เข้ารับการอบรม ให้ความสนใจ ตั้งใจฟัง ตอบคำถามวิทยากร และฝึกปฏิบัติอย่างจริงจัง กระตือรือร้น จดคำบรรยายของวิทยากร และมีการสอบถามเพิ่มเติมจากวิทยากรด้วย โดยเฉพาะผู้รับการอบรมที่เป็นชาวพม่า ซึ่งมีจำนวนมากกว่าคนไทย มีความตั้งใจในการอบรมนี้เป็นอย่างมาก และบอกว่าจะนำแนวทางการอบรมครั้งนี้ไปใช้ในการทำงาน เช่น กับเพื่อนร่วมงานและการดำเนินชีวิต โดยการอบรมครั้งนี้ต้องมีชาวพม่าที่พูดภาษไทยคล่องเป็นล่ามแปลคำพูดวิทยากรเป็นภาษาพม่าด้วย แม้จะใช้เวลาไปบ้างแต่ก็ได้ผลดี และสื่อการอบรมบางอย่างก็ใช้เป็นภาษาพม่าด้วย เพื่อความเข้าใจของคนที่อ่านภาษาไทยยังไม่ได้





การศึกษาความจริงและร่วมชีวิต (Exposure - Immersion) ให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา วิทยาลัยแสงธรรม ระหว่างวันที่ 10-17 ตุลาคม 2552

กลุ่มลงพื้นที่ จ.ภูเก็ต สัมผัสชีวิตแรงงานพม่าในแคมป์ก่อสร้าง และลูกเรือประมง

กลุ่มลงพื้นที่ จ.ภูเก็ต สัมผัสชีวิตแรงงานพม่าในแคมป์ก่อสร้าง และลูกเรือประมง

กลุ่มลงพื้นที่ จ.ภูเก็ต สัมผัสชีวิตแรงงานพม่าในแคมป์ก่อสร้าง และลูกเรือประมง

กลุ่มลงพื้นที่ จ.ภูเก็ต สัมผัสชีวิตแรงงานพม่าในแคมป์ก่อสร้าง และลูกเรือประมง

กลุ่มลงพื้นที่ จ.ภูเก็ต สัมผัสชีวิตแรงงานพม่าในแคมป์ก่อสร้าง และลูกเรือประมง

ผู้เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา วิทยาลัยแสงธรรม จำนวน 29 คน การศึกษาความจริงและร่วมชีวิต (Exposure-Immersion) ประจำปี 2552 มุ่งทำความเข้าใจสภาพความเป็นจริงของกลุ่มคนต่างๆ ในพื้นที่การทำงานด้านสังคมของสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี ได้แก่ Marists Mission อ.เมือง จ.ระนอง (4 คน) เกาะเหลา จ.ระนอง (3 คน) หน่วยปฐมพยาบาลคามิลเลียนโซเชียน เซ็นเตอร์ อ.เมือง จ.ระนอง (6 คน) ชุมชนมอแกน เทพรัตน์ จ.พังงา (2 คน) ชุมชนพม่าคุรอด อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา (2 คน) ชุมชนมุสลิม บ้านบางด้ง (คลองเตย) อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา (2 คน) ชุมชนมุสลิม บ้านบางดิบ อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา (2 คน) กลุ่มแรงงานข้ามชาติพม่า (แคมป์ก่อสร้าง) อ.ป่าตอง จ.ภูเก็ต (2 คน) กลุ่มแรงงานข้ามชาติ (แคมป์ก่อสร้าง) อ.เมือง จ.ภูเก็ต (2 คน) และกลุ่มแรงงานข้ามชาติ (สะพานปลา) อ.เมือง จ.ภูเก็ต (4 คน)

ชาวบ้านชาวมอแกลน ออกมาช่วยรับสิ่งของที่เจ้าหน้าที่และนักศึกษานำมาให้

สภาพบ้านเรือนชาวมอแกลนบนเกาะเหลา

สภาพบ้านเรือนชาวมอแกลนบนเกาะเหลา

นักศึกษาวิทยาลัยแสงธรรมนำกิจกรรมสันทนาการให้เด็กๆ มอแกลนได้สนุกสนานกัน

ศูนย์เมอร์ซี่ - หนึ่งในพื้นที่การทำงานด้านสังคมของสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี กับการดูแลด้านโภชนาการให้เด็กๆ มอแกลนบนเกาะเหลา
ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกับชาวมอแกลนและป้ายที่นักศึกษาช่วยกันซ่อมแซมให้ชาวมอแกลน

โครงการนี้จัดขึ้นเพื่อให้กระบวนการศึกษาสำหรับผู้เตรียมตัวเป็นผู้อภิบาลที่ดี (Good Pastor) ได้บรรลุเป้าหมายอย่างแท้จริง จำเป็นต้องทำให้กระบวนการศึกษา มีความกลมกลืนและประสานสัมพันธ์อย่างดีระหว่างวิชาการที่ศึกษา และการปฏิบัติในชีวิตจริง วิทยาลัยแสงธรรมจึงเห็นว่า การศึกษาความเป็นจริงของสังคมและการร่วมชีวิตกับชุมชน (Exposure - Immersion) จะเป็นโอกาสหนึ่งที่ทำให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ จากการเข้าใจความจริงของสังคม การวิเคราะห์ และฝึกวางแผนในการทำงานร่วมกับชาวบ้าน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานอภิบาลที่สอดคล้องกับบริบทสังคมไทย

 

 

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการสิทธิมนุษยชนศึกษา

ให้ครูผู้สอนและบุคลากรของโรงเรียนธิดาแม่พระ จ.สุราษฎร์ธานี ที่บุญชูบางเบิดรีสอร์ท อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 21-22 ตุลาคม 2552


คณะครูโรงเรียนธิดาแม่พระ จ.สุราษฎร์ธานี

ครูช่วยกันเขียนแผนการเรียนรู้และนำเสนอ
ครูช่วยกันเขียนแผนการเรียนรู้และนำเสนอ

โรงเรียนธิดาแม่พระเป็นโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ ภายใต้การดูแลของนักบวชหญิง คณะผู้รับใช้ฯ เปิดสอนให้กับนักเรียนระดับอนุบาล - มัธยมศึกษาตอนปลาย มีนักเรียนจำนวน 5,000 คน ผู้เข้าอบรมเป็นครูผู้สอนจำนวน 170 คน เนื้อหาที่อบรมได้แก่ ความเป็นมาของหลักการพื้นฐานสิทธิมนุษยชน อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก สิทธิมนุษยชนในสถาบันการศึกษา หลักการบูรณาการสิทธิมนุษยชนเข้าสู่หลักสูตรการเรียนรู้ และการเขียนแผนการเรียนรู้ตามวิชาและช่วงชั้นที่สอน

รศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพชร ประธานโครงการสิทธิฯ ศึกษา
คณะครูและวิทยากรถ่ายรูปร่วมกัน

 

การอบรมครั้งนี้ ผู้บริหารเห็นความสำคัญในการเรียนรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนจึงอยู่ร่วมตลอดการอบรม และครูให้ความสนใจในการอบรมในระดับดี มีการซักถามพูดคุยพอสมควร แต่เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องเวลาในการอบรมเพียงหนึ่งวันครึ่งทำให้เนื้อหาที่ อบรมไม่เต็มกระบวนการ แต่ครูโดยส่วนใหญ่ก็สามารถบูรณาการสิทธิมนุษยชนเข้าสู่แผนการเรียนรู้ได้ดี ครูประเมินผลว่าได้รับความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนและได้เข้าใจในเรื่องสิทธิ ของเด็กมากขึ้น และมีความตั้งใจที่จะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปสอดแทรกในการเรียนการสอน และถ่ายทอดให้นักเรียนได้รับรู้ว่าเด็กมีสิทธิที่ได้รับความคุ้มครองอย่างไร บ้าง นอกจากนี้ผู้บริหารยังมีความตั้งใจที่จะส่งเสริมการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนใน โรงเรียน จึงขอรับการสนับสนุนภาพยนตร์และวีดีทัศน์จาก ยส. เพื่อใช้เป็นสื่อในการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนให้กับนักเรียน

------------------------------------------------------------


จัดอบรมเชิงปฏิบัติการสิทธิมนุษยชนศึกษาให้แก่ครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอเชียงดาว จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 3 - 4 ธันวาคม 2552 ณ เทศบาลตำบลปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

(ซ้าย) ผู้บริหารโรงเรียนเรยีนาฯ และคณะครูผู้สอน (ขวา) รศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพชร ประธานโครงการสิทธิฯ ศึกษา, คุณอัจฉรา  สมแสงสรวง ผู้อำนวยการ ยส. และเจ้าหน้าที่ ยส.

(ซ้าย) ผู้บริหารโรงเรียนเรยีนาฯ และคณะครูผู้สอน (ขวา) รศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพชร ประธานโครงการสิทธิฯ ศึกษา, คุณอัจฉรา  สมแสงสรวง ผู้อำนวยการ ยส. และเจ้าหน้าที่ ยส.

ครูช่วยกันเขียนแผนการเรียนรู้

กับเกมส์จับคู่บัตรคำ - กิจกรรมสิทธิมนุษยชน
(ซ้าย) คุณปฏิพัทธ์  ไผ่ตระกูลพงศ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสิทธิมนุษยชน และคุณนิติธร  ทองธีรกุล  เจ้าหน้าที่จาก Amnesty International Thailand  ให้ความรู้เรื่องปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

มีครูเข้ารับการอบรมจำนวน 36 คน การอบรมครั้งนี้ครูให้ความสนใจและมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมดีมาก สามารถทำแผนการเรียนรู้ได้ดี ครูประเมินผลว่ามีความเข้าใจในเรื่องสิทธิมนุษยชนมากขึ้น และจะนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้กับผู้เรียนและคนในชุมชนได้เข้าใจใน สิทธิของตนเองและผู้อื่น และเนื่องจาก กศน. ให้การศึกษากับคนชายขอบที่ไม่ได้รับการศึกษาในระบบ ซึ่งผู้เรียนมีปัญหาที่หลากหลาย เช่น เรื่องสัญชาติ ยาเสพติด สุขภาพ เอดส์ สิ่งแวดล้อม สิทธิสตรี แรงงานต่างด้าว ผู้อพยพ ครูจึงต้องการรับความรู้ในเรื่องเหล่านี้เพิ่มเติม เพื่อนำไปถ่ายทอดให้กับผู้เรียนของตนที่กำลังเผชิญปัญหาอยู่ มีครูสนใจอยากเข้าอบรมอย่างต่อเนื่องและต้องการให้ ยส.ไปจัดอบรมให้กับผู้เรียนและคนในชุมชนหลายแห่ง ครูมีความสนใจเรื่องกฎหมายและองค์กรที่คุ้มครองสิทธิจากการถูกละเมิด เพื่อที่จะสามารถช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสที่ถูกละเมิดสิทธิในกรณีต่างๆ ได้ จึงเป็นช่องทางที่ ยส. จะทำงานผ่านตัวกลาง ช่วยเหลือปัญหาสิทธิผู้ด้อยโอกาสที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์มากขึ้น

------------------------------------------------------------

 

ติดตามและประเมินผลการอบรม สิทธิมนุษยชนศึกษา

วันที่ 2 ธันวาคม 2552 ที่โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ได้รับความร่วมมือในการพูดคุย จากครู 4 คน ได้รับทราบผลการใช้แผนการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนในห้องเรียน โดยครูได้นำเรื่องสิทธิมนุษยชนไปบูรณาการลงในการเรียนการสอนแต่ละรายวิชาและ ทุกกิจกรรมของโรงเรียน และได้เห็นผลว่านักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิมนุษยชนและมีการ ปฏิบัติตนที่แสดงถึงการเคารพสิทธิของผู้อื่นมากขึ้น ในระดับโรงเรียน มีพัฒนาการในการส่งเสริมความเข้าใจ HRs โดยกำหนดให้เป็นหัวข้อรณรงค์ของโรงเรียน เช่น เรื่องการค้ามนุษย์ และมีการขยายผลไปสู่ผู้ปกครอง ครูได้สะท้อนว่าอุปสรรคอย่างหนึ่งของการสอน HRs คือการเลือกสื่อที่มีความเหมาะสมกับระดับของผู้เรียน ซึ่งหาได้ค่อนข้างยาก ครูได้พยายามแก้ปัญหาด้วยการหาจาก Internet ดังนั้นจึงต้องการการสนับสนุนสื่อและข้อมูลส่งเสริมความรู้สิทธิฯ ที่หลากหลาย จาก ยส. นอกจากนี้ครูได้ประเมินตนเองว่า วัฒนธรรมของโรงเรียนมีส่วนสำคัญต่อการปลูกฝังค่านิยม HRs ซึ่งต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพราะมีการหมุนเวียนนักเรียนที่เข้ามาใหม่แต่ละรุ่น

ครู กศน. กับกิจกรรมสิทธิมนุษยชน

คุณอัจฉรา  สมแสงสรวง ผู้อำนวยการ ยส. ให้ความรู้เรื่องอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก

 

และวันที่ 8 ธันวาคม 2552 ที่โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย (แผนกมัธยม) จ.เชียงใหม่

มีผู้บริหาร ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายอภิบาล ฝ่ายกิจการนักเรียน และครูผู้สอนสังคมและครูภาษาไทย เข้าร่วม 15 คน มีการบูรณาการ HRs ในการเรียนการสอนสาระสังคมและภาษาไทย มีการบูรณาการ HRs ในกิจกรรมของฝ่ายงานอภิบาล และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เช่น โครงการจิตอาสา ครูได้สะท้อนว่า มีครูใหม่ที่ยังไม่ได้รับการอบรม HRs จำนวนมาก แม้ว่าทางโรงเรียนจะพาครูเหล่านี้ออกไปสัมผัสชาวบ้านเพื่อให้เกิดความ ตระหนักรู้ แต่พวกเขายังไม่มีพื้นความรู้เรื่องสิทธิ จึงยากต่อการเข้าใจเรื่องศักดิ์ศรีและสิทธิของความเป็นมนุษย์ ไม่สามารถบูรณาการเข้าสู่การเรียนการสอนได้ จึงอยากให้ ยส. ไปจัดอบรมให้อีกครั้ง

 

 



เสวนาในหัวข้อ "ฉัน เขา เรา เธอ ...ต่างเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียม" เนื่องในโอกาสวันสิทธิมนุษยชนของพระศาสนจักรคาทอลิกแห่งประเทศไทย วันที่ 27 พฤศจิกายน 2552 เวลา 8.30 - 14.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 10 อาคารสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย

เพื่อแสดงจุดยืนของพระศาสนจักรคาทอลิกฯ ต่อการทำงานส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ และเพื่อให้ทุกคนรักและเคารพในความแตกต่าง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน และใช้หลักศาสนธรรมยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นแนวทางการดำเนินชีวิต เพื่อปฏิบัติกับทุกคนโดยเห็นความเป็นมนุษย์ที่มีอยู่ในตัวเขา

การเสวนาแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกเป็นการเสวนาในหัวข้อ "ฉัน เขา เรา เธอ ... ต่างเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียม" เป็นการบอกเล่าและแบ่งปันประสบการณ์การทำงานช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคมของหน่วยงานคาทอลิกที่ทำงานกับกลุ่มสตรี กลุ่มชาติพันธุ์ แรงงานข้ามชาติ และผู้ติดเชื้อเอชไอวี ดำเนินการเสวนาโดย คุณชื่นสุข อาศัยธรรมกุล

ซิสเตอร์สุภาภรณ์ จากศูนย์ธารชีวิตสตรี (พัทยา)

วิทยากรประกอบด้วย ซิสเตอร์สุภาภรณ์ โชติผล ผู้อำนวยการศูนย์ธารชีวิตเพื่อสตรีพัทยา ซิสเตอร์ได้ยกตัวอย่างจากประสบการณ์จริงในการทำงานซึ่งมีคำถามว่า ยังมีคนหรือผู้หญิงที่ถูกละเมิดสิทธิอย่างนี้ด้วยหรือ การยอมลดตัว ขายตัว เพื่อแลกหรือได้มาซึ่งอาหาร ที่อยู่อาศัย และมีชีวิต ศูนย์ธารชีวิตจึงทำงานพัฒนาทุกด้านดังวิสัยทัศน์ของศูนย์ฯ ที่ว่า "ต้านภัยสังคม อบรมช่วยเหลือ เกื้อกูลธรรมชาติ สามารถพึ่งตน และสร้างคนมีคุณธรรม"

คุณสมหวัง ดีบูชา ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ภาคตะวันออก   (ขวา) คุณชื่นสุข  อาศัยธรรมกุล ผู้ดำเนินการเสวนา

คุณสมหวัง ดีบูชา ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ภาคตะวันออก ได้มาเล่าประสบการณ์การเป็นผู้ติดเชื้อ การถูกกีดกันจากสังคม ถูกมองเป็นตัวเชื้อโรค คนไม่กล้าเข้าใกล้และไม่ยอมรับผู้ติดเชื้อ ไม่ได้รับการรักษา ถูกมองว่าหมดคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แต่คุณสมหวังและเพื่อนๆ ได้รวมตัวกันผลักดันต่อสู้เรียกร้องสิทธิของความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งการยอมรับในสังคม และยังแสวงหาโอกาสและทางออกที่ดีให้ผู้ติดเชื้ออื่นๆ สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างคนปกติ มีศักดิ์ศรีและมีสิทธิเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป
คุณลาก้วย บุญเจริญ จาก อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ครูคำสอนและมีอาชีพรับจ้าง ลาก้วยได้แบ่งปันประสบการณ์ถูกเลือกปฏิบัติจากรัฐเมื่อไม่มีบัตรประชาชน ไม่สามารถเดินทางออกนอกพื้นที่ได้ เขาจึงเรียกร้องสิทธิเพื่อให้ได้มาซึ่งบัตรประชาชนที่แสดงถึงความเป็นคนไทย และยังเป็นผู้นำช่วยเหลือเพื่อนบ้านที่ประสบปัญหาเช่นเขา

ผู้เข้าร่วมฟังการเสวนาให้ความสนใจและร่วมซักถาม
ผู้เข้าร่วมฟังการเสวนาให้ความสนใจและร่วมซักถาม

คุณสุมนา เพ็ชรงาม เจ้าหน้าที่ภาคสนามศูนย์สังคมพัฒนาสุราษฎร์ธานี ประจำจังหวัดภูเก็ต ซึ่งทำงานช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติชาวพม่าและมอญ ได้กล่าวถึงปัญหาหลักๆ ที่แรงงานข้ามชาติเหล่านี้ต้องประสบจากนโยบายของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ นายจ้าง และอคติของคนไทย จึงเป็นแรงกระตุ้นและแรงกดดันให้เธอมาทำงานเพื่อช่วยเหลือและฟื้นคืน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้แก่แรงงานเหล่านี้

จากซ้าย คุณวิโรจน์  นิตตะโย ผู้จัดการโครงการแรงงานอพยพ ศูนย์สังคมพัฒนาสุราษฎร์ธานี - คุณสุมนา เพ็ชรงาม เจ้าหน้าที่ภาคสนามศูนย์สังคมพัฒนาสุราษฎร์ธานี ประจำจังหวัดภูเก็ต -  คุณลาก้วย บุญเจริญ จาก อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี  และคุณชื่นสุข  อาศัยธรรมกุล

ทางด้านคุณวิโรจน์ นิตตะโย ผู้จัดการโครงการแรงงานอพยพ ศูนย์สังคมพัฒนาสุราษฎร์ธานี ได้สรุปว่า ควรประชาสัมพันธ์เชิงบวกของแรงงานข้ามชาติให้มากขึ้นเพื่อให้คนไทยได้รับรู้ แทนภาพด้านลบ และควรรณรงค์ผ่านสื่อต่างๆ เรื่องการผดุงคุณธรรม ความยุติธรรม และความเมตตาต่อคนต่างถิ่นที่มาประสบความยากลำบากอยู่ในประเทศไทยโดยนึกถึง ใจเขาใจเราให้มากขึ้น

ส่วนภาคบ่ายเป็นการ ไตร่ตรองทางเทววิทยา โดย พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ ท่านได้เน้นถึงหน้าที่และความเป็นคริสตชนว่า เมื่อเราเห็นอำนาจ การเอารัดเอาเปรียบต่างๆ อันมิชอบและการกระทำสิ่งผิด ในบริบทของมนุษย์ พระศาสนจักรสอนว่า เราจะไม่นิ่งดูดายต่อวิกฤติ อำนาจหรือสิ่งผิดเหล่านั้น เราเป็นคริสตัง ยิ่งต้องประกาศข่าวดี เสริมสร้างอาณาจักรของพระเป็นเจ้าในโลกนี้ และต้องช่วยกันพัฒนาสังคมไม่ใช่แค่ทำงานด้านสังคมสงเคราะห์เท่านั้น


ความคิดเห็น
"ความไม่เป็นธรรมในกระแสลดโลกร้อนและทางเ
เขียนโดย นายอนันต์ วิชัยดิษฐ์ เปิด 2011-07-22 12:24:35
น้องนกเห็นพี่เล็กยิ้มได้ก็สบายใจแล้วครับ สู้ๆๆต่อไปน้องนกเป็นกำลังใจให้ครับ แล้วเจอกันในค่ย ยส 10 นะครับ บายๆๆ

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >