หน้าหลัก arrow กิจกรรม ยส. arrow กิจกรรมย้อนหลัง arrow กิจกรรมของ ยส. 1/2009 (ม.ค.-มิ.ย.)
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 111 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

กิจกรรมของ ยส. 1/2009 (ม.ค.-มิ.ย.) พิมพ์
Tuesday, 28 July 2009

จดหมายข่าว ยส.

มกราคม - มิถุนายน 2552


ระหว่างปี 2551-2553 การทำงานของ ยส. มุ่งเน้นการทำงานร่วมกับสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการทำงานให้กับองค์กรเครือข่ายด้านสังคมของสังฆมณฑลดังกล่าว ภายใต้แผนงานส่งเสริมการสร้างสันติภาพ เนื่องจากพื้นที่ภาคใต้ เผชิญกับความรุนแรง 2 เรื่องใหญ่ๆ คือความรุนแรงอันเป็นผลจากการเมืองการปกครองภายในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และความรุนแรงจากแรงงานข้ามชาติชาวพม่า ซึ่งทั้ง 2 ประเด็นส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้คนทั้งในทางสังคมและเศรษฐกิจ และเป็นประเด็นที่พระศาสนจักรท้องถิ่นภาคใต้ ให้ความสนใจที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับกิจกรรมส่งเสริมสิทธิและสันติภาพเพื่อเป็นเครื่องมือในการทำงานด้านสังคมให้แก่บุคลากรในสังฆมณฑลต่อไป ดังนี้ กิจกรรมที่ ยส. ดำเนินการร่วมกับเครือข่ายด้านสังคมของสังฆมณฑลสุราษฎร์ฯ จึงถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของ ยส. ด้วยเช่นกัน

 

กิจกรรม ยส.

โครงการสิทธิมนุษยชนศึกษา ยส. เยี่ยมและให้กำลังใจ โรงเรียนที่รับเด็กพม่าเข้าเรียนร่วมกับเด็กไทย ในเขตพื้นที่ อ.เมือง จ.ระนอง

 

ระหว่างวันที่ 20 - 22 มกราคม 2552 โครงการสิทธิมนุษยชนศึกษา ยส. ประสานงานกับศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตชายแดนไทย-พม่า จ.ระนอง และเดินทางไปเยี่ยมเยียน ดูการทำงาน ร่วมพูดคุย และให้กำลังใจแก่คณะครูโรงเรียนรัฐบาลในระดับประถมศึกษาที่รับเด็กพม่าเข้าเรียนร่วมกับเด็กไทย ซึ่งถือเป็นตัวอย่างที่ดีของการปฏิบัติสิทธิมนุษยชนในการให้การศึกษาแก่เด็กทุกคนโดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติและสัญชาติ ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก

  รับฟังปัญหาจากครูและผู้บริหารโรงเรียนบ้านบางกลาง

ครูกำลังสอนภาษาไทยให้ทั้งเด็กไทยและเด็กพม่า (โรงเรียนบ้านบางกลาง ) คณะครูโรงเรียนระนองพัฒนามิตรภาพที่ 60

จากการลงพื้นที่เยี่ยมศูนย์การเรียนรู้ของ JRS (Jesuit Refugee Service) ซึ่งให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษาแก่เด็กพม่าใน จ.ระนอง คณะของ ยส. ประกอบด้วย รศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพชร ประธานโครงการสิทธิมนุษยชนศึกษา ยส. คุณอัจฉรา สมแสงสรวง เลขาธิการ ยส. และเจ้าหน้าที่ ยส. ได้เข้าเยี่ยมศูนย์เด็กเล็ก Learning Center ที่คณะอุร์สุลินดูแลอยู่ 4 แห่ง ช่วยให้เด็กพม่าได้รับโอกาสทางการศึกษาประมาณ 400 คน และเมื่อทราบว่ามีโรงเรียนของรัฐบาล 12 แห่งที่ยินดีรับเด็กพม่าที่พูดภาษาไทยและสามารถปรับตัวได้เข้าเรียนร่วมกับเด็กไทย จึงประสานเข้าเยี่ยมโรงเรียน 4 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านบางกลาง เปิดสอนชั้นอนุบาล - ประถมปีที่ 6 มีนักเรียน 108 คน ครู 6 คน / เด็กพม่าประมาณ 80 คน ครูพม่า 2 คน โรงเรียนระนองพัฒนามิตรภาพที่ 60 เปิดสอนชั้นอนุบาล - ประถมปีที่ 6 มีนักเรียน 400 กว่าคน ครู 24 คน มีเด็กพม่า/คนไทยพลัดถิ่นประมาณ 50 คน เด็กมุสลิม 130 คน โรงเรียนบ้านทุ่งหงาว เปิดสอนชั้นอนุบาล 1 - ม.3 นักเรียน 823 คน ครู 30 คน โดยมีเด็กพม่า 85 คน เป็นเด็กที่เรียนในระบบ 31 คน และโรงเรียนเอกศิลป์ราษฎร์พัฒนา เปิดสอนชั้นอนุบาล - ประถมปีที่ 6 มีนักเรียน 142 คน ครู 6 คน เป็นเด็กพม่าประมาณ 80 คน

รศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพชร และซิสเตอร์ประภัสสร ศรีวรกุล จากองค์การเยสุอิตสงเคราะห์ผู้ลี้ภัย (JRS) จังหวัดระนอง พูดคุยกับครูท่านหนึ่ง นักเรียนพม่าช่วยสอนภาษาพม่าให้เพื่อนๆ

นักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งหงาว คณะครูโรงเรียนเอกศิลป์ราษฎร์พัฒนา

การไปเยี่ยมเยียนพูดคุยกับครูทั้ง 4 โรงเรียน ช่วยให้ครูได้ตระหนักว่าการช่วยให้เด็กพม่ามีโอกาสเข้าถึงการศึกษาเป็นแบบอย่างของการปฏิบัติสิทธิมนุษยชนที่เป็นรูปธรรม ครูมีความรู้สึกภูมิใจที่มีคนเห็นคุณค่าในสิ่งที่เขาทำ และมีกำลังใจในการทำงานต่อไป นอกจากนี้ยังได้รับทราบข้อมูลและความรู้สึกของครูในเรื่องต่างๆ อาทิ ครูได้รับความกดดันจากผู้ปกครองของเด็กไทย และชุมชนรอบโรงเรียน ที่มองว่าเป็นโรงเรียนของคนพม่า จึงไม่อยากให้ลูกหลานของตน (คนไทยในพื้นที่) เรียนร่วมกับเด็กพม่า ทำให้จำนวนนักเรียนน้อยลง ผลกระทบคือโรงเรียนได้รับงบประมาณน้อยลง นำไปสู่ความยากลำบากในการทำงานของครูในโรงเรียนรัฐระดับเล็ก ซึ่งเผชิญปัญหาบุคลากรและงบประมาณ ขาดแคลนทั้งอาคาร สถานที่ และอุปกรณ์การเรียนอยู่แล้ว ครูจึงเสนอว่าอยากให้โรงเรียนใหญ่ๆ ที่มีความพร้อม มาให้ความช่วยเหลือโรงเรียนเล็กๆ ที่ขาดแคลนด้วย

Learning Center ของ JRS Learning Center ของ JRS

Learning Center ของ JRS Learning Center ของ JRS

นอกจากนี้ยังได้รับทราบถึงอคติของคนไทยและภาครัฐที่มีต่อคนพม่า ที่มองว่าชาวพม่ามาอยู่เต็มบ้านเมือง ต่อไป จ.ระนอง จะกลายเป็นของชาวพม่า ครูบางคนก็ยังมีอคติต่อเด็กพม่า เพราะคิดว่าควรจะให้การศึกษาแก่เด็กไทยให้เต็มที่ก่อน อีกด้านหนึ่งทำให้ได้รับรู้ว่าในขณะที่องค์กรต่างๆ มุ่งช่วยเหลือเด็กพม่า แต่กลับมีเด็กไทยจำนวนมากที่ขาดโอกาส จึงมีข้อเสนอว่าควรให้ความช่วยเหลือแก่เด็กไทยให้เท่าเทียมกับเด็กพม่าไม่เช่นนั้นจะทำให้เกิดการเปรียบ เทียบ และเกิดอคติต่อชาวพม่ามากขึ้น




เดินทางสำรวจข้อมูลเรื่องสันติภาพ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับศูนย์สังคมพัฒนาสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี ระหว่างวันที่ 10 - 13 กุมภาพันธ์ 2552

คุยกับ ดร.สุกรี  หลังปูเต๊ะ คณบดีคณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลาม ยะลา

คุยกับ ดร.สุกรี  หลังปูเต๊ะ คณบดีคณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลาม ยะลา ผศ.ดร.อิบรอฮีม ณรงค์รักษาเขต หัวหน้าภาควิชาอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ในแผนงานส่งเสริมการสร้างสันติภาพในพื้นที่ภาคใต้ ยส. และศูนย์สังคมพัฒนาสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี ได้เดินทางไปพูดคุย และรับทราบประสบการณ์การทำงานจากนักวิชาการมุสลิม ได้แก่ ดร.สุกรี หลังปูเต๊ะ คณบดีคณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลาม ยะลา ผศ.ดร.อิบรอฮีม ณรงค์รักษาเขต หัวหน้าภาควิชาอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ดร.มัสลัน มาหะมะ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยอิสลามยะลาและคุณกัลยา เอี่ยวสกุล นักพัฒนาสังคม กลุ่มเครือข่ายภาคประชาชน ในจังหวัดปัตตานี ข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับฟังช่วยให้เราเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นในสามจังหวัดชายแดนใต้มากขึ้น ทั้งนี้ประโยชน์ที่ได้รับนอกเหนือจากการการเรียนรู้ข้อมูลเบื้องต้นนี้ คือเกิดเครือข่ายการทำงานระหว่าง ยส. สังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี กับนักวิชาการและเครือข่ายชาวมุสลิม ซึ่งนำไปสู่การริเริ่มกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรของพระศาสนจักรท้องถิ่นมีความมั่นใจในการทำงานท่ามกลางความแตกต่างด้านวัฒนธรรม ความเชื่อ และความขัดแย้งทางการเมืองมากขึ้น

ดร.มัสลัน  มาหะมะ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา คุยกับ คุณกัลยา เอี่ยวสกุล นักพัฒนาสังคม เครือข่ายภาคประชาชนในจังหวัดปัตตานี




สัมมนาศึกษาสาสน์วันสันติภาพสากลของสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 หัวข้อ "ขจัดความยากจนเพื่อสร้างสันติภาพ" เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2552 ที่ห้องประชุมศูนย์พัฒนาบุคลากรอัสสัมชัญ ซอยทองหล่อ 25 สุขุมวิท กรุงเทพฯ

จากผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปลายปี 2551 ได้กลายเป็นประเด็นที่สังคมไทยให้ความสนใจต่อคนกลุ่มต่างๆ ที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากในการดำรงชีวิตมากขึ้น เช่น เกษตรกร คนงานในภาคอุตสาหกรรมส่งออก และคนระดับล่างในสังคมเมืองใหญ่ ซึ่งสภาพความเป็นจริงนี้สอดคล้องกับความห่วงใยของพระศาสนจักรสากลที่มีต่อเรื่องความยากจน อันเป็นผลมาจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจระดับโลกที่ละเลยต่อภาคสังคม

คุณพ่อวินัย บุญลือ,เอส.เจ  นำศึกษาสาสน์ฯ หัวข้อ ขจัดความยากจนเพื่อสร้างสันติภาพ คุณจักรชัย  โฉมทองดี นักวิจัยโครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ

คุณไพโรจน์ พลเพชร ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนการจัดสัมมนาเพื่อไตร่ตรองสารวันสันติสากล ประจำปี 2552 ยส. จึงได้นำประเด็นความยากจนในสังคมไทยปัจจุบันมาศึกษา และไตร่ตรอง โดยเฉพาะความยากจนเชิงโครงสร้างจากนโยบายที่เป็นผลจากการบริหารประเทศแบบเศรษฐกิจนำการเมือง ความยากจนในมิติสิทธิมนุษยชน และมิติความมั่นคงทางสังคม ความยากจนในมิติพัฒนาในเรื่องการขาดโอกาสการเข้าถึงการศึกษา และการเข้าถึงด้านสวัสดิการสุขภาพอย่างเท่าเทียมกัน

การสัมมนา เริ่มจาก คุณพ่อวินัย บุญลือ,เอส.เจ เป็นผู้นำศึกษาสาสน์ฯ หัวข้อ "ขจัดความยากจนเพื่อสร้างสันติภาพ" และต่อด้วยเสวนาหัวข้อ "ถอดรหัสความยากจน : จนเองหรือถูกทำให้จน?" วิทยากรคือ คุณไพโรจน์ พลเพชร ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน และคุณจักรชัย โฉมทองดี นักวิจัยโครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ ร่วมพูดคุยในประเด็นสถานการณ์ความยากจนทั้งในระดับประเทศและจากกระแสโลกาภิวัตน์ที่ส่งผลต่อสังคมไทย ปัญหาทางโครงสร้างที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน และร่วมกันหาแนวทางช่วยกันสร้างสังคมที่มีสันติสุข โดยเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงที่ตัวเอง เปลี่ยนวิธีคิด และการบริโภค

ผู้เข้าร่วมสัมมนา

ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมศึกษาสาสน์ฯ จำนวน 21 คน ประกอบด้วย คุณพ่อ /ภราดา /ซิสเตอร์ /เจ้าหน้าที่ฝ่ายการศึกษากรุงเทพฯ, สมาคมสตรีคาทอลิก คริสตชนที่สนใจ และสื่อมวลชน




ค่ายยุวสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 10 - 13 มีนาคม 2552 ที่บ้านสวนสวย รีสอร์ท อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี

กิจกรรมเรียนรู้เรื่องสิทธิเด็ก โดยให้เยาวชนปั้นดินน้ำมันเพื่อสื่อถึงปัญหาเยาวชนที่เห็นในสังคมปัจจุบัน กิจกรรมชุมชนในฝัน

โดยมีเยาวชนระดับมัธยมปลายจากสถานศึกษาในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด (สงขลา ภูเก็ต พิษณุโลก)) เข้าร่วมจำนวน 23 คน ค่ายยุวสิทธิมนุษยชนให้เยาวชนเรียนรู้เรื่องสิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และสิทธิเด็กในสถานการณ์ปัจจุบัน เยาวชนยังได้เรียนรู้สถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อม จากสมาชิกชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่งคอย ซึ่งมาพูดคุยถึงผลกระทบต่อชาวบ้านในพื้นที่อันเนื่องมาจากปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมใน จ.สระบุรี ทำให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมและเห็นใจต่อชุมชนที่ประสบปัญหา เยาวชนตระหนักถึงความจำเป็นที่ตนเองจะต้องมีส่วนร่วมในการช่วยลดปัญหาดังกล่าว ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การประหยัดน้ำและไฟฟ้า ใช้โทรศัพท์ให้น้อยลง ฯลฯ

การสื่อสารอย่างสันติ วิทยากร โดย คุณนริศ  มณีขาว

การสื่อสารอย่างสันติ วิทยากร โดย คุณนริศ  มณีขาว กับกิจกรรม ภาษาแห่งความกรุณา  ให้เยาวชนสวมหัวหมาป่าและหัวยีราฟ   : หัวหมาป่า เป็นภาษาที่มุ่งตำหนิตัดสินคนอื่น  หัวยีราฟ เป็นภาษาที่เข้าใจความรู้สึกและความต้องการของตนเองและผู้อื่น

นอกจากนี้ เยาวชนยังได้เรียนรู้วิธีการสื่อสารกับผู้อื่นและแสดงความต้องการของตนอย่างสันติ ผ่านกิจกรรม "การสื่อสารด้วยสันติ" ในช่วงท้าย เยาวชนได้ร่วมคิดกิจกรรมส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ผ่านโครงการบำเพ็ญประโยชน์ต่างๆ เพื่อนำกลับไปดำเนินการได้จริงที่โรงเรียนของตน จากการเข้าร่วมค่าย ยส. ครั้งนี้ เยาวชนได้สะท้อนว่า การมาร่วมกิจกรรมค่ายทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวเอง ทั้งด้านทัศนคติที่มีต่อคนรอบข้าง ครอบครัว และสังคม และจะนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตของตน และถ่ายทอดให้กับเพื่อนๆ และรุ่นน้องต่อไป

ตัวแทนจากชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่งคอย จ.สระบุรี พูดถึงปัญหามลพิษในชุมชนอันเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม ค่ายยุวสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 5

 

 

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการสิทธิมนุษยชนศึกษา ให้แก่ครูและบุคลากรในสถานศึกษาคาทอลิก ในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของนักบวชหญิงคณะผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมลฯ

งานอบรมเชิงปฏิบัติการสิทธิมนุษยชนแก่ครูโรงเรียนคาทอลิก ในช่วงครึ่งปีแรกนี้ ยส. ได้มีโอกาสเข้าถึงโรงเรียนคาทอลิกในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้สุด ที่ จ.ปัตตานี และ จ.ยะลา ถือเป็นการอบรมให้ความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนแก่ครูในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงเรื่องความรุนแรง ระหว่างศาสนา และเชื้อชาติ 


วันที่ 25 -26 มีนาคม 2552
อบรมให้แก่โรงเรียนดรุณศึกษา อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช

คณะครูโรงเรียนดรุณศึกษา  จ.นครศรีธรรมราช

คณะครูโรงเรียนดรุณศึกษา  จ.นครศรีธรรมราช คณะครูโรงเรียนดรุณศึกษา  จ.นครศรีธรรมราช

ผู้เข้าอบรมประกอบด้วย คณะครูและผู้บริหารจาก 4 โรงเรียน จำนวน 84 คน (ร.ร.ดรุณศึกษา 55 คน ร.ร.ดอนบอสโกพัฒนา 7 คน ร.ร.มารีย์พิทักษ์ศึกษา 8 คน และ ร.ร. อนุบาลธิดาเมตตาธรรม 14 คน) การจัดครั้งนี้ ผู้บริหารเห็นความสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนในโรงเรียน จึงสนับสนุนการจัดกิจกรรมอย่างเต็มที่ ส่วนครูผู้เข้าร่วมอบรมได้เรียนรู้สาระสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง เช่น ความเป็นมาของสิทธิมนุษยชน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และสิทธิมนุษยชนในสถาบันการศึกษา จากการอบรม ครูได้ทบทวนพฤติกรรมของตนที่เคยกระทำและถูกกระทำจากบุคคลอื่น ทั้งในส่วนที่เป็นการละเมิดสิทธิและส่งเสริมสิทธิ ครูหลายคนได้สะท้อนว่าตนก็เคยปฏิบัติต่อนักเรียนโดยใช้ความรุนแรงทั้งการกระทำและวาจา ซึ่งทำให้เรียนรู้ว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นการละเมิดสิทธิของเด็ก และได้เรียนรู้ถึงการปฏิบัติในการเคารพ ศักดิ์ศรีต่อเพื่อนครูด้วยกัน


วันที่ 3 - 5 พฤษภาคม 2552
อบรมให้แก่โรงเรียนเจริญศรีศึกษา อ.เมือง จ.ปัตตานี

คณะครูโรงเรียนเจริญศรีศึกษา จ.ปัตตานี

คณะครูโรงเรียนเจริญศรีศึกษา จ.ปัตตานี คณะครูโรงเรียนเจริญศรีศึกษา จ.ปัตตานี

มีครูเข้าร่วมการอบรมจำนวน 34 คน ผู้บริหารเห็นความสำคัญของส่งเสริมการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนในโรงเรียน จึงสนับสนุนการจัดกิจกรรมอย่างเต็มที่ ครูให้ความสนใจในการอบรมและมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมดีมาก และสามารถทำแผนการเรียนรู้ได้ดี ครูตระหนักถึงความสำคัญในการเอาใจใส่ดูแล ให้ความรักและความเข้าใจต่อนักเรียน ครูมีความสนใจเรื่องกฎหมายและองค์กรที่คุ้มครองสิทธิจากการถูกละเมิดในกรณีต่างๆ ครูและผู้บริหารสนใจขอรับการสนับสนุนภาพยนตร์และวิดีทัศน์ จาก ยส. เพื่อใช้เป็นสื่อในการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนให้กับนักเรียน 


วันที่ 6 - 7 พฤษภาคม 2552 อบรมให้แก่โรงเรียนถนอมศรีศึกษา อ.เบตง จ.ยะลา

คณะครูโรงเรียนถนอมศรีศึกษา จ.ยะลา

คณะครูโรงเรียนถนอมศรีศึกษา จ.ยะลา คณะครูโรงเรียนถนอมศรีศึกษา จ.ยะลา

มีครูเข้าร่วมการอบรมจำนวน 43 คน ผู้บริหารให้ความสำคัญในการเรียนรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างมาก โดยอยู่ร่วมตลอดการอบรม ครูให้ความสนใจในการอบรมและมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมดีมาก และสามารถทำแผนการเรียนรู้ได้ดี ครูมีความสนใจเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในประเด็นต่างๆ เช่น สิทธิแรงงาน สิทธิสตรี สิทธิในครอบครัว และสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ครูสะท้อนว่า ได้รับความรู้ดีมาก อยากให้มีการจัดอบรมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความรู้ด้านอื่นๆ ด้วย และจะนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ ให้กับเด็กและคนรอบข้างในครอบครัวและชุมชนต่อไป ครูได้ตระหนักถึงสิทธิที่เด็กจะต้องได้รับมากขึ้น การไม่ลงโทษเด็กด้วยความรุนแรงทั้งทางกายและทางวาจา การเอาใจใส่เด็กรวมไปถึงความเป็นอยู่ในครอบครัว และการคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็ก

มีสิ่งที่น่าประทับใจคือ ครูยอมรับข้ออ่อนแอในเรื่องทัศนคติ และพฤติกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความรุนแรงต่อเด็ก อคติที่มีต่อเด็กมุสลิม หรือต่อเพื่อนบ้านชาวมุสลิม ซึ่งถึงแม้ว่า การอบรมเพียงครั้งเดียว จะไม่สามารถก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเรื่องอคติได้ แต่อย่างน้อย ครูได้มีเวลาส่วนหนึ่งในการไตร่ตรองเรื่องชีวิตและบทบาทของความเป็นครูที่มีต่อเด็ก

 

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >