หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow ฤาชีวิตพวกเขามีค่าเพียงครึ่งเดียว : ภัทรุตม์ พันธุ์โอสถ
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 1208 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ฤาชีวิตพวกเขามีค่าเพียงครึ่งเดียว : ภัทรุตม์ พันธุ์โอสถ พิมพ์
Wednesday, 02 December 2009

ฤาชีวิตพวกเขามีค่าเพียงครึ่งเดียว

โดย : ภัทรุตม์ พันธุ์โอสถ

 

 




ข้อเขียนจากประสบการณ์ฝึกงาน ที่สถานสงเคราะห์บ้านกึ่งวิถีชาย ในช่วงปิดเทอมของนักเรียนชั้นมัธยมปลาย โรงเรียนปัญโญทัย

ชีวิตของคนหนึ่งคน บางคนอาจเกิดมาไม่ครบถ้วนสมบูรณ์พร้อม แล้วค่อยๆ เติมให้เต็มในภายหลัง หากยังมีอีกหลายคน ที่เกิดมามีครบหนึ่งชีวิต แต่กลับค่อยๆ ลดลง เหลือเพียงเสี้ยวหนึ่งของชีวิตที่ยังคงหายใจอยู่

...

ณ บ้านกึ่งวิถี คลอง 6 ธัญญบุรี

20:16น. ตุลาคม พศ.2551

ผมนั่งอยู่คนเดียวในห้องพัก เสียงต่างๆ จากภายนอกค่อยๆ จางหายไปกับความมืด ผู้คนต่างเข้านอนกันหมดแล้ว ผมเปิดประตูเดินออกไปที่ระเบียง มองฝ่าไปในความมืด แล้วก็เดินกลับเข้ามา ผมนั่งลงเปิดสมุดบันทึกออกมาแล้วเริ่มถ่ายทอดสิ่งที่พบพานลงไป

และแล้ว...เรื่องราวต่างๆ ในห้วงความทรงจำของผมก็พรั่งพรูออกมาดุจสายธารที่ไหลเชี่ยวกรากไม่ขาดตอน

...

เมื่อ 3-4 วันก่อนผมเพิ่งจะมาถึงที่นี่ เพื่อฝึกงานตามโครงการของโรงเรียน ผมยังจำได้ ด่านแรกจะเป็นอาคารที่ทำการ เมื่อเดินเข้าไป จะมีเจ้าหน้าที่มอบซองเอกสารสำหรับบันทึกเรื่องต่างๆ และเอกสารแนะนำหน่วยงาน จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้นำผมเข้าไปภายในเขตที่อยู่ของคนไข้โรคจิตทุเลา คนไข้มีจำนวนมาก บ้างนอนกับพื้น บ้างปัสสาวะรดต้นไม้ บ้างเดินไปมาขวักไขว่ แต่เห็นบางคนก็พูดจารู้เรื่อง และมีอัธยาศัยดี

มาทราบทีหลังว่าคนไข้แบ่งเป็นสามระดับ เอ บีและซี กลุ่มเอจะสามารถดูแลตนเองได้เช่นคนทั่วไปและยังสามารถดูแลกลุ่มอื่นได้ ทำหน้าที่ช่วยพ่อบ้านหรือผู้ดูแลซึ่งมีจำนวนน้อยนิด กลุ่มบีพอดูแลตนเองได้แต่ไม่ดีเท่าใดนัก พูดจารู้เรื่องบ้าง งงบ้าง กลุ่มซีไม่สามารถดูแลตนเองได้ ไม่ค่อยรู้สึกตัว แม้แต่กินข้าวอิ่มหรือยังก็ไม่ทราบ

เจ้าหน้าที่ยังกำชับให้ผมอยู่กับเจ้าหน้าที่ตลอดเวลา เพราะอาจเกิดอันตรายได้หากคนไข้มีอาการทางจิตกำเริบ

...

วันต่อมามีการจัดกิจกรรมหรือที่เรียกกันว่าทำกลุ่ม กิจกรรมเหล่านี้ได้แก่การพัฒนาทักษะทางสังคมคือ การร้องเพลง เล่นกีฬา และทักษะการดูแลตนเอง เช่น การอาบน้ำสระผม กินข้าว กวาดบ้าน แปรงฟัน ซึ่งคนไข้ระดับเกรด บี, ซี สูญเสียทักษะเหล่านี้ไป ไม่สามารถดูแลตัวเองได้แม้ในเรื่องพื้นๆเหล่านี้

ผมนั่งมองพ่อบ้าน (เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ดูแลปกครองคนไข้) เรียกเหล่าคนไข้มารวมตัวกันแล้วเหนื่อยแทน พ่อบ้าน 12 คนต่อคนไข้ 480 กว่าคน บางคนมาแล้ว ยืนรออยู่พักหนึ่งก็เดินออกไป พออีกคนมาถึงก็ต้องไปหาคนแรก พอเจอตัวแล้วคนที่สองก็หายไปอีก แบบนี้เป็นชั่วโมง การทำกลุ่มก็เต็มไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากการสื่อสารไม่รู้เรื่อง ทางเดียวที่จะทำได้คือ ย้ำๆๆๆ

ณ 'กลุ่ม ผมของผม'

พ่อบ้าน "นาย ก. เมื่อวานป๋าสอนว่าไง ขั้นตอนการสระผมน่ะ เริ่มยังไง"

"เอาน้ำลาด" ตอบเสียงแผ่วจนแทบไม่ได้ยิน พร้อมทำท่าทำทางประกอบ (จริง ๆ คงหมายถึง..เอาน้ำราด)

พ่อบ้าน "เอ้อ...เอ้อใช่ แล้วไงต่อ"

"ถู..สะ..บู่" (ก็ถูสบู่นั่นแหละ)

พ่อบ้าน "ก็ถูกแหละ แต่เอาตอนสระผมน่ะ"

(คำตอบที่ถูกคือเอายาสระผมชะโลมหนังศีรษะ)

"....."

ผมไม่แน่ใจว่าคนไข้จะเข้าใจมากน้อยแค่ไหน แต่วันต่อๆ มาก็เห็นคนไข้มีพัฒนาการขึ้นมาเล็กน้อย ก็ไม่รู้ว่าหลังจบคอร์สแล้วพวกเขาจะลืมหรือเปล่า เพราะนี่เป็นครั้งแรกของการทำกลุ่ม

...

ณ เรือนนอน 11

พ่อบ้าน "เนี่ย แทบทั้งเรือนนี่นะเล่นกัญชากันมาก่อน ไหนนายข.บอกน้องหน่อยซิ"

"โอ้ย... มีหมด กัญชา ฝิ่น ม้า ผงด้วย แต่ก่อนติดเพื่อน ไม่ฟังพ่อแม่ เป็นคนใช้ไม่ได้ เป็นคนดีมันติ๋ม"

ค่านิยมแบบดั้งเดิม ผู้ชายต้องกินเหล้าสูบบุหรี่ถึงจะแมน หนักหน่อยก็มีเมียหลายคนแบบพระอภัยมณี พ่นพิษ ออกมาให้เห็น แล้ววิธีแก้ปัญหาสังคมล่ะ?

เกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้ ผมก็ไม่รู้สิ จะว่ารัฐให้งบน้อยอย่างเดียวก็ไม่ใช่ เพราะต้นเหตุไม่ใช่ที่กึ่งวิถี ต้นเหตุอยู่ที่สังคมทั้งนั้น คนไข้โรคจิตแทบทั้งหมดเกิดจากการเสพยาเสพติด คนไข้เหล่านี้เป็นเพียงผลผลิตทางสังคมขั้นสุดท้ายที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้อีก และถูกนำมากักเก็บเท่านั้น

...

"เปรียบกับพี่เป็นแค่ขอนไม้ ต่อให้รักเจ้ามากเพียงไหน ผุพังไปพึ่งพาเกาะได้ไม่นาน...."เสียงเพลงลูกทุ่งแหบพร่าแหกคีย์ เคล้าเสียงกีตาร์ไม้อัดทำให้ผมกลั้นหัวเราะแทบไม่อยู่ ผมหันหน้าหลบไปอีกทาง เตือนตัวเองว่าผมหัวเราะออกมาไม่ได้ ถึงเสียงเพลงอาจเพี้ยนไปบ้าง กีตาร์คลาสสิคใส่สายลวดอาจฟังน่าขัน แต่มันเป็นสิ่งเดียวที่คนเหล่านี้จะมอบให้แก่เพื่อนมนุษย์คนอื่นได้ และที่สำคัญก็คือ มันมาจากใจจริงของพวกเขา

"น้องเตย รู้จากเพลงไหนอีก?" พี่อลงกฏถามพลางพลิกหน้าหนังสือเพลงไปเรื่อยๆ "โฮ้ย...ทำไมไม่หัดฟังเพลงเพื่อชีวิตมั่ง" พี่อลงกฏหัวเราะเมื่อผมบอกไม่รู้จักสักเพลง

2-3 วันหลังผมใช้เวลานั่งคุยกับพี่อลงกฎ (ความจริงอายุ 40 กว่าแล้ว แต่เรียกพี่เพื่อให้ดูสนิทสนมหน่อย) เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งทำให้ผมเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของพวกเขามากขึ้น ความจริงก็ไม่ได้พูดอะไรมากหรอก แต่ฟังพี่เขาระบายความในใจเหมือนไม่ค่อยเคยมีใครฟังพี่พูดมาก่อน เพราะคนไข้ระดับเอมีน้อยและอยู่กันค่อนข้างกระจัดกระจายตามอาคารนอนต่างๆ

"แต่ก่อนพี่เรียนรามฯ เรียนรัฐศาสตร์ เพราะมีรุ่นพี่เรียนจบไปเป็นนายอำเภอแล้วทิ้งหนังสือไว้ให้ เลยเป็นแรงบันดาลใจให้อยากเอาดีทางด้านนี้บ้าง"

ชีวิตของคนไข้โรคจิตส่วนใหญ่เริ่มต้นไม่ต่างจากคนธรรมดาทั่วไป บางคนเรียนจบนายร้อย บ้างก็จบปริญญา บ้างก็มีบ้านรวยเป็นสิบล้านร้อยล้าน จนกระทั่งวันหนึ่ง มรสุมชีวิตก็พัดผ่านเข้ามา มันไม่ใช่แค่ลมที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป แต่เป็นมรสุมที่พร้อมจะพลิกเปลี่ยนชีวิต จากหน้ามือเป็นหลังมือ หากเราไม่รับมือกับมันอย่างถูกวิธี

ในกรณีพี่อลงกฎก็เช่นกัน เพราะพี่เคยมีแฟนสมัยเรียนรามฯ

"ตอนอยู่ด้วยกันก็ไม่ได้คิดอะไร แต่พอเขาจากไปก็คิดมาก คิดจนเพี้ยน" พี่พูดไปยิ้มไป ทางออกที่พี่อลงกฎเลือกก็คือ 'ดนตรีกับกัญชา'

พี่อลงกฎถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลจิตเวช หลังจากผ่านการบำบัดก็ถูกส่งตัวมาอยู่ที่บ้านกึ่งวิถี เนื่องจากญาติที่มีอยู่เพียงคนเดียวซึ่งก็คือพี่สาวของพี่อลงกฎนั้นก็แต่งงานมีครอบครัวแล้ว

ชีวิตของพี่ที่กึ่งวิถีผ่านไปวันๆ อย่างไร้จุดหมาย...

"ความจริงพี่ก็อยากออกไปข้างนอกเหมือนกัน (หมายถึงออกไปใช้ชีวิตข้างนอกเช่นมนุษย์ปุถุชนคนธรรมดา เพราะคนไข้เกรด เอ สามารถออกไปข้างนอกได้บ้าง) แต่เอกสารไม่ครบ พอไปเดินเรื่องทีค่ารถก็ร่วม 200 บาท เงินก็ไม่พอ"

"อีกอย่าง พอเราออกไป คนข้างนอกรู้ว่าเราผ่านการรักษาจากโรงพยาบาลจิตเวช ก็จะรังเกียจเรา" หยุดพูดไปครู่หนึ่ง ราวกับกำลังคิดอะไรบางอย่าง

"พี่ก็คงตายในนี้แหละ" พูดทิ้งท้าย

น้ำเสียงราบเรียบราวกับเป็นเรื่องธรรมดาๆ แต่ผมสะอึก อะไรกันที่ทำให้พี่หมดอาลัยตายอยากขนาดนี้ ชีวิตมีอะไรตั้งมากมาย

"ความจริงอยู่ในนี้ก็ดี อยู่กับพวกเดียวกัน เข้าใจกัน สบายใจกว่า"

"..........."

"นี่ไง รู้จักเพลงนี้" ผมเปิดหนังสือมาหน้าที่มีเพลงทะเลใจ

"ไหน เพลงนี้เหรอ" รอยยิ้มแผ่ซ่านบนใบหน้าอีกครา ก่อนนิ้วมือเริ่มบรรจงกรีดสายกีตาร์เริ่มเพลงใหม่

...

เย็นวันนั้นเป็นวันสุดท้ายของการฝึกงาน ระหว่างเดินออกมาผมอดสงสัยไม่ได้ ทำไมคนเหล่านี้ถึงไม่สามารถออกมาใช้ชีวิตเช่นคนทั่วไปได้ ทั้งๆ ที่รักษาหายแล้ว เนื่องจากผมรับรู้มาว่าคนไข้เกือบทั้งหมดอยู่ที่นี่ไปจนตาย บางคนอยู่นาน 30 ปี นานแข่งกับพ่อบ้านเลยทีเดียว ส่วนใหญ่ของคนที่ออกไปก็ล้วนแต่หลบหนีออกไปทั้งนั้น

ก่อนจะถึงตึกธุรการผมพบกับพ่อบ้านอีกคนซึ่งเล่าให้ผมฟังว่า สาเหตุที่คนไข้ไม่สามารถออกไปอยู่ข้างนอกได้มีอยู่หลายประการ เช่น พอกลับบ้านไปก็กลับไปมีพฤติกรรมแบบเดิมๆ กล่าวคือ ไม่ยอมกินยาทำให้อาการกำเริบกลับไปเป็นอย่างเก่า แต่สิ่งที่เป็นอุปสรรคมากที่สุดก็คือ การที่สังคมภายนอกไม่ยอมรับพวกเขา รังเกียจและดูถูกพวกเขา

"บางคนนี่พอเราพาเขากลับไปเยี่ยมบ้าน พ่อแม่ก็ล็อคประตูหน้าแล้วหนีออกทางประตูหลังเลยก็มี ส่วนคนนี้น่ะเคยไปทำงานที่ตลาด" พลางชี้ไปที่คนไข้คนหนึ่ง "ล้มลุกคลุกคลานมาหลายรอบ ถูกคนเรียกเป็นไอ้บ้ามั่งเป็นอะไรมั่ง มันเสียดแทงจิตใจเขาน่ะ" ใช่สิ แล้วอย่างนี้จะให้คนเหล่านี้ออกไปอยู่ข้างนอกได้อย่างไร "เราต้องเรียกแบบ เฮ้ยสุดหล่อ อะไรอย่างนี้" ชั่วขณะหนึ่งผมนึกไปถึงคำพูดของพี่อลงกฎ "พอออกไปข้างนอกคนก็รังเกียจ"

ผมหยิบสมุดบันทึกออกมา จดถ้อยคำของพ่อบ้านลงไป

'คำพูดดูถูกแค่ไม่กี่คำอาจกลายเป็นรั้วลวดหนามที่ล้อมรอบกักขังพวกเขาไว้จากโลกภายนอก และกลายเป็นกำแพงที่ปิดกั้นความไว้เนื้อเชื่อใจของพวกเขาที่มีต่อผู้คนภายนอก'

...

เย็นแล้ว ผมยืนรอรถเมล์อยู่ที่ป้าย ท้องฟ้าสีเทาตัดกับแสงสีส้มของอาทิตย์ยามสนธยา ดูไปแล้วชวนให้ใจหมองเศร้าชอบกล ผมหลับตา สูดลมหายใจเข้าลึกๆ ผมไม่คิดว่าตัวเองจะได้กลับมาที่นี่อีก ส่วนหนึ่งก็คงจะเป็นเพราะจะว่าไปที่นี่ไม่ใช่สถานที่ที่น่าพิสมัยเท่าใดนัก แต่ก็ไม่แน่เหมือนกันนะ ผมก็อยากทำอะไรเพื่อที่นี่บ้าง ผมอยากทำอะไรให้กับพวกเขาเหล่านั้น ผมอยากทำอะไรให้กับ 'บ้านกึ่งวิถี' บ้านของคนที่ดูเหมือนชีวิตจะถูกตีค่าให้เพียงกึ่งเดียวเมื่อเทียบกับผู้คนทั้งหลาย

แต่จะเป็นอะไรนั้น อนาคตคงจะบอกผมเอง...

  • สถานสงเคราะห์บ้านกึ่งวิถีชาย 130 ถนนรังสิต-นครนายก ต.รังสิต อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12110
    โทรศัพท์ 02- 577-1864

 

ที่มา www.bangkokbiznews.com - กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์


ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >