หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow พลิกเปลี่ยนความขัดแย้งสู่สันติภาวะ : ปรีดา เรืองวิชาธร
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 170 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

พลิกเปลี่ยนความขัดแย้งสู่สันติภาวะ : ปรีดา เรืองวิชาธร พิมพ์
Wednesday, 09 December 2009

พลิกเปลี่ยนความขัดแย้งสู่สันติภาวะ

โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 20 กันยายน 2552

โลกเราในยามนี้ไม่ว่าจะเป็นมุมใดของโลก กำลังเต็มไปด้วยความขัดแย้งและใช้ความรุนแรงเข้าระงับความขัดแย้ง เสียงจากประชาชนทั่วทุกมุมโลกล้วนอยากให้สงครามน้อยใหญ่ยุติเสียที อยากให้ประเทศมหาอำนาจถอนกำลังทหารออกจากประเทศต่างๆ อยากให้บรรดาบรรษัทค้าอาวุธตระหนักถึงหายนะจากสงครามและเลิกค้าอาวุธเสียที น่าเศร้าที่ประชาชนส่วนใหญ่ต่างร่ำร้องถึงสันติภาพแต่ผู้นำประเทศกลับฝักใฝ่ สงครามและความรุนแรงเสียเอง เมื่อหันกลับมามองบ้านเรา ความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่รัฐอันเนื่องจากโครงการพัฒนาขนาด ใหญ่ของรัฐกับทุนซึ่งมีโครงสร้างสังคมที่ไม่เป็นธรรมเป็นตัวหนุนก็ยังมีให้ เห็นดาษดื่นจนผลิดอกออกผลมาเป็นความขัดแย้งร้าวลึกของกลุ่มคนสีต่างๆ ไม่จำต้องกล่าวถึงความขัดแย้งในองค์กร เครือข่าย ในชุมชนเดียวกันว่า บัดนี้ความขัดแย้งได้ปรากฏตัวครอบคลุมไปเกือบทุกแห่งหน

จริงๆแล้ว ลำพังความขัดแย้งมากมายที่เกิดขึ้นนั้น เป็นปรากฏการณ์ธรรมดาสามัญของมนุษย์ที่ต้องอยู่ร่วมกัน เพียงแต่เราทุกคนต้องเรียนรู้เพื่อที่จะอยู่กับมันอย่างปกติสุข ความขัดแย้งมันอาจจะไม่น่าสะพรึงกลัว หากเรามีเครื่องมือหรือกลไกในการระงับความขัดแย้งจนไม่นำไปสู่การใช้ความ รุนแรง ดังนั้นความขัดแย้งเกิดขึ้นได้แต่ก็สามารถทำให้สลายยุติลงได้ โดยไม่จำต้องสูญเสียเลือดเนื้อ หากทุกคนร่วมมือกันด้วยการขานรับเรียกร้องให้ใช้ปฏิบัติการสันติวิธีทุกรูป แบบเข้าระงับความขัดแย้ง วิธีการระงับความขัดแย้งที่ใช้ได้ผลวิธีหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระดับใดก็ตาม ก็คือ การใช้กระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง วิธีการนี้พระพุทธเจ้าทรงใช้บ่อยมากเวลามีข้อพิพาทในคณะสงฆ์ หรือเกิดข้อขัดแย้งระหว่างรัฐที่กำลังดำเนินไปสู่สงคราม

สาระสำคัญประการแรกของกระบวนการไกล่เกลี่ยความขัดแย้งอยู่ที่ ผู้ทำหน้าที่เจรจาไกล่เกลี่ย (ซึ่งมักจะเป็นกลาง มีความเที่ยงธรรม และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย) ต้องทำให้คู่ขัดแย้งมองเห็นประเด็นแห่งความขัดแย้งชัดเจน สามารถแยกแยะได้ว่า ประเด็นไหนเป็นความขัดแย้งหลักชั้นแรก ประเด็นไหนเป็นความขัดแย้งที่งอกเงยเกิดซ้อนขึ้นมาในชั้นหลัง และแต่ละประเด็นสัมพันธ์กันอย่างไร ในกรณีที่เป็นความขัดแย้งที่มีผลกระทบกว้างขวางกว่าระดับบุคคล เช่น ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มหรือระหว่าชาติ เป็นต้น ก็จำต้องให้ผู้อื่นหรือสังคมวงกว้างได้รับรู้ประเด็นขัดแย้งอย่างตรงไปตรงมา ด้วย ดังนั้นการทำให้ปมความขัดแย้งที่ซับซ้อนหลายประเด็นชัดเจนเข้าใจง่ายนั้น จึงเป็นภารกิจสำคัญที่ผู้ไกล่เกลี่ยต้องศึกษาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจึงนำมาสู่การแสวงหาข้อตกลงที่เหมาะสมยุติธรรมร่วมกันในท้ายที่สุด ทั้งนี้ข้อตกลงควรยืนบนหลักการที่ถูกต้องดีงาม ไม่ทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรู้สึกถูกเอารัดเอาเปรียบจนเกิดความทุกข์ยากเดือด ร้อน ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรม

ในแง่พุทธวิธีในการไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง ยังมีสาระสำคัญอีกข้อหนึ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันก็คือ กระบวนการไกล่เกลี่ยความขัดแย้งควรทำให้คู่ขัดแย้งและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มองเห็นรากเหง้าแห่งความขัดแย้งอย่างตระหนักรู้ ซึ่งพอจะแบ่งกว้าง ๆ ได้ ๒ ส่วนคือ ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก

รากเหง้าที่เป็นปัจจัยภายใน หมายถึง เหตุปัจจัยภายในของคู่ขัดแย้งที่ส่งผลให้เกิดความขัดแย้ง ไม่ลงตัว อาจหมายถึง ความต้องการหรือความเห็นที่แตกต่างกันเป็นธรรมดาอยู่แล้ว ซึ่งไม่น่าจะก่อปัญหาเป็นปมขัดแย้งร้ายแรงขึ้นมาได้ แต่หากความต้องการหรือความเห็นใด ๆ ถูกธรรมที่เป็นอกุศลเข้าครอบงำแล้วเกิดความยึดมั่นถือมั่นขึ้นเมื่อใดแล้ว จากความขัดแย้งธรรมดาก็สามารถกลับกลายเป็นความขัดแย้งที่รุนแรงลุกลามไปได้ อกุศลธรรมที่มักจะมีอำนาจในการปรุงแต่งความขัดแย้งให้ขยายตัวรุนแรงขึ้นมี หลายชุดหลายตัว แต่ที่สำคัญน่าสำเหนียกไว้ในใจเสมอ ได้แก่

๑) ความทะยานอยากทั้งหลายทั้งปวง (ตัณหา) ไม่ว่าจะเป็นความอยากได้อยากเอาในทางวัตถุหรือผลประโยชน์ที่นำมาสนองปรนเปรอ ตนเองอย่างเกินเลย จนทำให้ตนเองและผู้อื่นทุกข์ยากเดือดร้อน (กามตัณหา) ความทะยานอยากนี้รวมถึงความอยากเป็นนั่นเป็นนี่ หรือไม่อยากเป็นนั่นเป็นนี่อย่างเกินเลยเช่นกัน (ภวตัณหาและวิภวตัณหา) เช่น อยากเป็นมหาเศรษฐีที่มีชื่อเสียง หรือไม่อยากเป็นคนยากจน เป็นต้น

ดังนั้นหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย มีความทะยานอยากมากเกินควร ก็ย่อมนำไปสู่การขัดแย้งได้โดยง่าย

๒) ความถือตัว สำคัญตนว่าเหนือหรือด้อยกว่าผู้อื่น (มานะ) ความสำคัญตนที่ว่านี้ยังหมายถึง การติดยึดในสถานภาพทางสังคมหรือหัวโขนที่ตนเองสวมอยู่ อาการติดยึดในหัวโขนอย่างรุนแรงมักจะทำให้แต่ละฝ่ายไม่ยอมอ่อนข้อให้หรือยอม รับฟังกันอย่างลึกซึ้งไม่ได้ มานะหรือความถือตัวปรากฏให้เห็นได้ชัดเจน ดังเช่น เจ้านายสำคัญตนว่าเหนือกว่าลูกจ้าง เจ้าหน้าที่รัฐสำคัญตนว่ามีสถานภาพเหนือว่าชาวบ้าน หรือผู้นำประเทศมหาอำนาจสำคัญตนว่าประเทศตนเองมีศักดิ์ศรีเหนือกว่าประเทศ ด้อยพัฒนาทั้งหลาย ดังนั้นหากตนเองต้องพ่ายแพ้เพลี่ยงพล้ำในข้อพิพาทให้กับผู้ที่ตนเองรู้สึก ด้อยกว่าจึงถือเป็นการเสียหน้า เป็นต้น

๓) ความยึดมั่นถือมั่นในความเห็นความเชื่อของตน (ทิฏฐิ) เป็นอกุศลธรรมข้อหนึ่งที่ทำให้การฟังเสียงกันและกันมีข้อบกพร่อง ซึ่งย่อมทำให้ไม่สามารถเข้าใจในความรู้สึกนึกคิดซึ่งกันและกันได้อย่างลึก ซึ้ง และทำให้การแสวงหาข้อตกลงที่สร้างสรรค์เกิดขึ้นได้โดยยาก การยึดมั่นถือมั่นในความเห็นตนมักจะเป็นอุปสรรคสำคัญในการปิดกั้น การแสวงหาความจริง ความถูกต้องเหมาะสม ดังนั้น การเรียนรู้เติบโตของบุคคลจึงหยุดนิ่งอยู่กับที่ไปอย่างน่าเสียดาย

อกุศลธรรมทั้ง ๓ ข้อนี้ รวมเรียกว่า ปปัญจธรรม ๓ เป็นอกุศลธรรมที่เป็นตัวการทำให้เรื่องหรือประเด็นไขว้เขวออกไปจากความเป็น จริง เป็นอุปสรรคต่อระบบการสื่อสารที่สร้างสรรค์อย่างยิ่ง ซึ่งย่อมก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งรุนแรงตามมา ทั้งยังทำให้ไม่อาจแก้ปัญหาอย่างถูกทิศทางตรงไปตรงมาด้วย

รากเหง้าที่เป็นปัจจัยภายนอก หมายถึง กฎ กติกา เงื่อนไข โครงสร้างองค์กรหรือโครงสร้างสังคมที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งเปิดช่องเปิดโอกาสให้ผู้มีอำนาจเหนือกว่ากระทำการใด ๆ กับผู้ไร้อำนาจเพื่อตักตวงประโยชน์และสั่งสมความมั่งคั่งไว้ที่ตน ความอยุติธรรมจากเงื่อนไขหรือโครงสร้างต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ ย่อมนำไปสู่ความขัดแย้งได้ง่าย ตัวอย่างของปัจจัยภายนอก ได้แก่ กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมรวมถึงการใช้ช่องโหว่ของกฎหมายด้วย โครงสร้างองค์กรหรือโครงสร้างสังคมที่ไม่กระจายอำนาจ กฎกติกาขององค์กรที่กดขี่เอารัดเอาเปรียบ รวมถึงระบบการสื่อสารที่บกพร่องไร้ประสิทธิภาพ เป็นต้น นอกจากนี้ปัจจัยภายนอกยังรวมถึง ปัจจัยเสริมให้ความขัดแย้งลุกลามขยายตัว ทั้งในแง่ทำให้ประเด็นความขัดแย้งขยายตัวซับซ้อนขึ้น และในแง่ทำให้ขยายผลกระทบไปสู่วงที่กว้างขึ้น ตัวอย่างปัจจัยเสริมความขัดแย้งที่มองเห็นได้ง่าย ได้แก่ คนรอบข้างของคู่ขัดแย้งที่ไม่ปรารถนาดี ได้โหมกระพือความขัดแย้งโดยกล่าวความเท็จ หรือปารถนาดีแต่จับประเด็นผิดมาสื่อสาร สื่อมวลชนที่ไร้จริยธรรมบิดเบือนข้อเท็จจริง เป็นต้น

ด้วยเหตุที่กล่าวมานี้ ระหว่างการทำกระบวนการไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง หากผู้ไกล่เกลี่ยทำให้ทุกฝ่ายได้ตระหนักรู้ถึงกิเลสวาสนาอันเป็นปัจจัยภายใน พร้อมกับได้เรียนรู้ที่จะมีสติรู้เท่าทันกระบวนการเกิดขึ้นของกิเลส รวมถึงการประพฤติปฏิบัติเพื่อขัดเกลาอำนาจกิเลสวาสนาภายในให้ลดน้อยถอยลง ก็จะทำให้ความขัดแย้งที่มีอยู่เดิมบรรเทาเบาบางหรือระงับไปได้ ทั้งยังทำให้ความขัดแย้งใหม่ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็จักไม่เกิดขึ้นได้โดยง่าย ยิ่งหากได้สรุปบทเรียนจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้น แล้วเอื้อเฟื้อให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันแสวงหาทางออกเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกฎ กติกา หรือโครงสร้างสังคมให้เกิดความเป็นธรรม เกิดความสมานฉันท์ด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้ความขัดแย้งและการใช้ความรุนแรงไม่บังเกิดขึ้นมากมายอย่างที่ เห็นกันในขณะนี้ ทั้งนี้ก็เพราะการแก้ไขความขัดแย้งลงลึกไปถึงการแก้ไขระดับรากเหง้าทั้ง ปัจจัยภายในและภายนอก จึงจะทำให้ความขัดแย้งนั้นลดลงได้แท้จริง และหากทำได้ดังนี้ก็เท่ากับว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจะเป็นกระบวนการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งระดับบุคคลและสังคมด้วย ถือเป็นการพลิกเปลี่ยนพลังด้านลบให้เป็นพลังสร้างสรรค์ ในทางปฏิบัตินั้นกระบวนการไกล่เกลี่ยความขัดแย้งจะทำได้สมบูรณ์เต็มที่เพียง ใดนั้น ก็ขึ้นกับสถานการณ์และเงื่อนไขที่เปิดโอกาสให้ผู้ไกล่เกลี่ยและทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้องว่าจะร่วมมือกันทำได้มาน้อยเพียงใด

โดย... ปรีดา เรืองวิชาธร

ที่มา คอลัมน์ มองย้อนศร : http://www.budnet.org/


ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >