หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow ชีวิตพิเศษ ในวันธรรมดา : ณัฐสินี กิตติพีรพัฒน์
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 87 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ชีวิตพิเศษ ในวันธรรมดา : ณัฐสินี กิตติพีรพัฒน์ พิมพ์
Wednesday, 18 November 2009

ชีวิตพิเศษ ในวันธรรมดา

โดย : ณัฐสินี กิตติพีรพัฒน์

 

บันทึกประสบการณ์ของ ณัฐสินี กิตติพีรพัฒน์ นักเรียนชั้นมัธยมปลาย โรงเรียนปัญโญทัย ที่ใช้เวลาในช่วงปิดเทอม ฝึกงานที่สถาบันราชานุกูล

เมื่อเราพูดได้ เราก็ควรพูดให้ดี ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไร้สาระ

เมื่อเราสามารถฟังและรับรู้ได้ เราก็ควรจะตั้งใจฟังให้ดีๆ

เมื่อเราสามารถทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้

เราก็ควรจะพยายามทำความเข้าใจในเรื่องต่างๆ อย่างจริงจัง

และเมื่อเราสามารถคิดได้ แล้วเรายังมัวแต่คิดถึงอะไรอยู่เล่า...?

7.30 น. ท่ามกลางฝุ่นควันที่อบอวล และแสงแดดยามเช้าที่สาดส่องต้องแสงสีแดงของไฟท้ายรถที่ติดกันเป็นแพสู้ไฟจราจรกลางสี่แยกประชาสงเคราะห์ ฉันรู้สึกท้อใจอย่างกระทันหันจนอยากถามตัวเองว่า 'นี่เรามาทำอะไรแถวนี้?'

ฉันรู้สึกแปลกนิดๆ ว่าสถานที่ฝึกงานของฉันจะมาอยู่ในเมืองแบบนี้ ที่นี่เป็นสถานที่ดูแลเด็กพิเศษจริงหรือ? ฉันนึกในใจ อาจเป็นเพราะสี่แยกนี้คึกคักไปด้วยผู้คนและรถรา ทำให้ฉันไม่ทันเห็นในตอนแรกว่าตัวอาคารเบื้องหน้าคือ 'สถาบันราชานุกูล' ที่ฉันกำลังมองหาอยู่ ...

...

สถาบันราชานุกูลเป็นสถาบันที่ทำงานเกี่ยวกับเด็กพิเศษทั้งให้การบำบัดและทำการศึกษา เป้าหมายหนึ่งในการทำงานของสถาบัน คือการฝึกพัฒนาการในด้านต่างๆ เพื่อให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมภายนอก

โดยการทำงานของที่นี่จะแบ่งออกเป็น 7 แผนกด้วยกัน คือ 1. แพทย์ 2. พยาบาล 3. กายภาพบำบัด 4. กิจกรรมบำบัด 5. การฝึกพูด 6. จิตวิทยา และ 7. สังคมสงเคราะห์

ทุกแผนกจะทำงานในหน้าที่ของตัวเองให้กับเด็กแต่ละคน ซึ่งจะมีการประชุมร่วมกันเป็นระยะเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก จากนั้นก็จะวางแผนการฝึกพัฒนาการของเด็กคนนั้น โดยจะมีแพทย์เป็นผู้ตัดสิน และสรุปว่าเด็กคนนั้นๆ จะต้องได้รับการรักษาอย่างไร และด้านใดต่อไป

ส่วนแผนกพยาบาลรับผิดชอบเรื่องการฝึกพัฒนาการ คือสถานที่ๆ ฉันจะต้องไปฝึกงาน โดยแผนกพยาบาลนี้จะแยกเป็น 2 ตึก คือ 'ตึกเด็กเล็ก 1' ทำหน้าที่ดูแลเด็กอายุ 1-3 ปี หรือวัยเตาะแตะ จำนวน 14 คนและ 'ตึกเด็กเล็ก 2' ซึ่งดูแลเด็กก่อนวัยเรียนช่วงอายุ 3-6 ปี จำนวน 30 คน ฉันจะต้องเข้าไปช่วยงานที่ตึกเด็กเล็ก 1 ในช่วงเช้าของทุกวัน จากนั้นเมื่อกิจกรรมของตึกเด็กเล็ก 1 จบไป ในช่วงบ่ายฉันก็จะเข้าไปที่ตึกเด็กเล็ก 2
เช้าวันแรก ฉันถูกนำไปที่ตึกเด็กเล็ก 1 หลังจากที่ได้รู้จักกับพยาบาลทุกคนในที่ประชุมตอนเช้าแล้ว เมื่อเข็มนาฬิกาชี้ไปที่ 8 โมงตรงฉันก็เริ่มงาน
ขณะที่พยาบาลคนอื่นๆ พากันขึ้นลิฟต์ไปที่ห้องปฏิบัติงาน แต่ฉันเลือกที่จะเดินขึ้นบันไดไปด้วยตนเอง ทำให้ฉันมีเวลาสร้างความมั่นใจให้กับตัวเองเพิ่มขึ้น ฉันเดินขึ้นไปถึงชั้น 4 ตามที่หัวหน้าพยาบาลบอก เห็นพี่ๆ พยาบาลคนอื่นๆ มาถึงกันเรียบร้อย และกำลังเตรียมจะทำงาน

บนชั้นนี้มีห้องสี่เหลี่ยมเผชิญหน้ากันอยู่ 4 ห้อง ซึ่งแบ่งเป็นห้องเด็กเล่น และห้องสำหรับฝึกสอน ฉันจำไม่ได้แน่นักว่าอะไรที่ทำให้ฉันตัดสินใจเปิดประตูเข้าไปในห้องที่อยู่ใกล้ที่สุด เมื่อเดินเข้าไปฉันเห็นกระจกบานใหญ่ ตู้เก็บของเล่นและหนังสือ มีเด็ก 3-4 คนกำลังเล่นของเล่นกันอยู่ โดยมีผู้ปกครองของเด็กแต่ละคนเฝ้าดูอยู่ไม่ห่าง ฉันย่อตัวลงนั่งให้เท่าผู้ปกครองส่วนใหญ่ และยกมือไหว้สวัสดี

พี่พยาบาลหัวหน้าตึกที่เข้ามาในภายหลังได้แนะนำให้ผู้ปกครองรู้จักว่า 'นี่น้องพรรษา มาฝึกงานค่ะ' พร้อมทั้งอธิบายถึงตารางเวลาและกิจกรรมต่างๆ และช่วยนำฉันไปร่วมทำกิจกรรม แต่ฉันก็ยังคงงงอยู่ดี ว่าฉันมาทำอะไรกันแน่! เพราะสิ่งที่เป็นอยู่นั้น ไม่ใช่สิ่งที่ฉันเตรียมใจมาทำสักนิดเดียว!

...................

วันรุ่งขึ้น ฉันตัดสินใจว่าจะต้องไปคุยกับผู้ปกครองของน้องสักคนหนึ่งทั้งตึก 1 และ 2 เพื่อชี้แจงว่าฉันมาทำอะไร และจะขอช่วยดูแลน้องคนนั้นในระหว่างที่ฝึกงาน ซึ่งทุกอย่างก็เป็นไปด้วยดี

การฝึกสอนของทั้ง 2 ตึกจะอยู่ภายใต้หัวข้อเดียวกัน เพียงแต่ปรับให้เหมาะสมตามอายุของเด็ก กิจกรรมโดยทั่วไปก็จะคล้ายกัน แต่สำหรับตึก 2 ที่มีเด็กโตกว่าก็จะมีกิจกรรมเยอะกว่าและแตกต่างออกไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเด็กทุกคนที่นี่จะได้รับการเน้นย้ำความสำคัญที่จะให้เด็กๆ ได้รู้ว่าตัวเองเป็นเด็กหญิงหรือ เด็กชาย เพราะจะมีช่วงเวลาหนึ่งของทุกวันที่จะมีการนั่งล้อมวงกันให้เด็กแต่ละคนขึ้นไปแนะนำตัวเอง

"สวัสดีค่ะ หนูชื่อน้องดอกไม้ เป็นเด็กผู้หญิงค่ะ" จากนั้นก็จะให้เด็กหยิบรูปของตัวเองที่ครู (พยาบาล) เตรียมไว้ ไปเสียบในช่องบนกระดานที่แบ่งฝั่งไว้สำหรับเสียบรูปเด็กหญิงและเด็กชาย

ไม่ใช่เด็กทุกคนที่จะยินยอมก้าวออกมากลางวงล้อม บางคนถึงกับต้องลากกันออกมาก็มี และเสียงพูดแนะนำตัวนั้น ล้วนแต่เป็นเสียงของพยาบาลและผู้ปกครอง เด็กบางคนอาจพยายามขยับปากตามในบางคำ หรือมีปฏิกิริยาเล็กน้อย ขณะที่บางคนนั้นดูราวกับว่าไม่สามารถจะรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ได้เลย พี่พยาบาลจะคอยย้ำอยู่เสมอว่า ให้ทุกคนช่วยกันพูดแทนเด็ก ถึงแม้เขาอาจดูไม่รับรู้อะไรและพูดตามไม่ได้สักที แต่ต้องพูดให้เขาได้ยินบ่อยๆ

วันหนึ่งฉันได้มีโอกาสเฝ้าสังเกตการฝึกพูดของน้องคนหนึ่ง ในห้องของคุณหมอซึ่งจะคล้ายๆ กับห้องเด็กเล่นที่มีตะกร้าผลไม้ (ปลอม) กระดาน ก ไก่ ข ไข่ และของเล่นอื่นๆ อีก คุณหมอจะหยิบการ์ดหรือผลไม้ปลอมชูขึ้นให้เด็กดู และถามว่า 'นี่คืออะไร' พร้อมกับให้เด็กพยายามตอบ

มีอยู่ครั้งหนึ่งที่คุณหมอหยิบมะละกอขึ้นมาและถามว่า "นี่คืออะไร?" เด็กก็ตอบได้ถูกต้อง ครั้นคุณหมอหยิบการ์ดรูปมะละกอขึ้นมาถามว่า "นี่คือภาพอะไร ?" คราวนี้กลับไม่ได้รับคำตอบ ต่อเมื่อคุณหมอเปลี่ยนคำถามใหม่ว่า "นี่คืออะไร?" เด็กน้อยจึงตอบเบาๆ ว่า "...มะ ละ ตอ..."

คุณหมออธิบายให้ฟังว่า เด็กยังไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างมิติได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองจะต้องคอยกระตุ้นเขาอยู่เรื่อยๆ ไม่เช่นนั้นพัฒนาการของเขาก็จะถอยกลับมาสู่จุดเริ่มต้นได้ง่ายๆ พูดอีกอย่างก็คือ พวกเขาจะต้องได้รับการกระตุ้นตลอดทั้งชีวิต

สิ่งนี้ทำให้ฉันกลับมาคิดถึงตัวเองว่า เราโชคดีแค่ไหน ที่สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้โดยง่าย ตั้งแต่เล็กจนโต ทุกปีๆ เราจะดูแลตัวเองได้มากขึ้น เราสามารถพูด สื่อสาร คิดและเขียนได้อย่างคล่องแคล่ว โดยที่ไม่เคยคิดว่า หากเราไม่เคยมีหรือเสียความสามารถเหล่านั้นไป แล้วมันจะเป็นอย่างไร

เราอาจมองข้ามโชคอันนี้ไปจึงไม่รู้สึกปลาบปลื้มหรือสำนึกขอบคุณว่า ในเมื่อเรามีความสามารถอย่างนี้แล้ว ก็ควรที่เราจะใช้มันให้คุ้มค่าและถูกต้อง หากเราใช้มันอย่างเปล่าประโยชน์หรือไม่คุ้มค่าก็คงเสียทีที่ได้เกิดมา 'โชคดี' เช่นนี้

...

วันต่อมา ฉันได้มีโอกาสเข้าไปดูในห้องปฏิบัติการตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรม โดยในการตรวจจะต้องนำเลือดของบุคคลนั้นๆ มาเพาะเพื่อนำไปตรวจหาความผิดปรกติของโครโมโซม ก่อนจะมาวิจฉัยว่าเป็นโรคทางพันธุกรรมหรือไม่ ถ้าเป็น เป็นโรคอะไร

นอกจากของเหลวสีแดงๆ ที่บรรจุอยู่ในหลอดแก้ววางเรียงกันอยู่แล้ว ฉันยังเห็นของเหลวใสๆ บรรจุอยู่ในภาชนะอีกแบบ ไม่นานฉันก็ได้คำตอบว่า ของเหลวนั้นคือ 'น้ำคร่ำ' เป็นน้ำคร่ำของคุณแม่บางท่านที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงว่าลูกในท้องอาจมีความผิดปรกติทางพันธุกรรม ซึ่งคุณหมอจะแนะนำให้ตรวจก่อนคลอด และหากว่าพบความผิดปรกติจริงๆ หมอก็จะให้ผู้ปกครองพิจารณาและตัดสินใจว่าจะยุติการตั้งครรภ์หรือไม่...

เป็นครั้งแรกที่ฉันได้รู้ว่ามีอะไรแบบนี้ด้วย และเป็นครั้งเดียวกันที่ฉันเริ่มรู้สึกสงสัยว่า นี่เป็นการให้โอกาสการตัดสินใจที่ยุติธรรมหรือไม่

อาจมีผู้ให้เหตุผลว่า การตรวจหาความผิดปกติก่อนคลอดเพื่อว่า เด็กที่มีความผิดปรกติจะได้ไม่ต้องเกิดมามีปัญหาหรือเป็นปัญหา หรือผู้ปกครองจะได้ไม่ต้องผิดหวัง และอาจมีเหตุผลอีกหลายๆ อย่างติดตามมา

แต่หากเราลองคิดในอีกแง่หนึ่ง เราก็จะเห็นว่า ถึงอย่างไรเขาก็ได้เกิดมาแล้ว

ราวกับว่า เมื่อเราวาดภาพหนึ่งผิดไปจากที่ต้องการ ก็จะฉีกกระดาษแผ่นนั้นทิ้งเอาง่ายๆ ก็ใครเล่าที่สร้างสรรค์สิ่งนี้ขึ้นมา กระดาษแผ่นนั้นมีความผิดอะไรหรือ?

แล้วนี่ไม่ใช่เพียงกระดาษแผ่นหนึ่ง แต่เป็นชีวิตที่บริสุทธิ์ชีวิตหนึ่ง

ฉันคิดว่าการยุติการตั้งครรภ์ไม่ใช่การแก้ปัญหา กระทั่งยังอาจเป็นการที่ไม่ต้องแก้ไขสิ่งใดๆ เพราะจริงๆ แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นก็ 'ไม่ใช่ปัญหา' หรือ 'ความผิดพลาด' หากเป็นเพียงผลของเหตุอื่นที่มีมาก่อนหน้า...เท่านั้น

จากประสบการณ์ที่ฉันได้ไปสัมผัสกับเด็กเหล่านี้มา ฉันมีความเห็นว่าพวกเขานั้น 'มีค่า' และมีความพิเศษที่วิเศษ เป็นความพิเศษที่อธิบายได้ยากด้วยคำพูด พวกเขาจริงใจ ไม่เสแสร้ง ความน่ารักและหัวใจที่อาจจะไม่แข็งแรงแต่เปี่ยมด้วยความบริสุทธิ์ของพวกทำให้หัวใจฉันพองโต เต็มไปด้วยความสุข

เหมือนที่คุณพ่อท่านหนึ่งซึ่งเป็นผู้ปกครองพูดกับฉันว่า "เด็กพวกนี้ ไม่เคยทำให้สังคมเสียหายเลยสักนิด...เคยเห็นพวกเขาไปซิ่งมอเตอร์ไซค์ ก่อความเดือดร้อน หรือขายยา (เสพติด) บ้างไหม...?"

...จริงอย่างที่คุณพ่อท่านนั้นว่า พวกเขาไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับสังคม หรือทำร้ายใคร พวกเขาเป็นผู้ให้ความสุข เป็นผู้บริสุทธิ์ที่ต้องการกำลังใจ และความเข้าใจจากสังคมต่างหาก

ฝึกงานครั้งนี้ฉันได้เห็นและได้สัมผัสสิ่งต่างๆ มากมาย ถ้าจะให้เขียนบรรยายก็คงไม่จบลงง่ายๆ แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุดที่ฉันได้รับมาก็คือ การที่ฉันได้เริ่มตระหนักรู้และขอบคุณในชีวิตธรรมดาๆ ของฉัน ที่สำคัญฉันยังได้เห็นคุณค่าของชีวิตที่พิเศษของพวกเขา...เด็ก (ที่น่ารักเป็น) พิเศษ.


ที่มา www.bangkokbiznews.com - กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >