หน้าหลัก arrow กิจกรรม ยส. arrow กิจกรรมย้อนหลัง arrow กิจกรรมของ ยส. 2/2008 (ก.ค.-ธ.ค.)
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 107 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

กิจกรรมของ ยส. 2/2008 (ก.ค.-ธ.ค.) พิมพ์
Friday, 17 April 2009

จดหมายข่าว ยส. 2/2551
(กรกฎาคม - ธันวาคม)


สถานการณ์ในประเทศไทย แม้เราจะได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่ชื่อ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แต่สังคมไทยก็ยังคงอยู่ในวังวนความขัดแย้งแบ่งขั้วเลือกข้าง ระหว่างสีเหลืองและสีแดงอย่างชัดเจน

กิจกรรมของ ยส.ที่จัดขึ้นทั้งหมดตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน ถึงธันวาคม 2008 ที่เรานำมาบอกกล่าวเล่าให้กันฟัง นี้ คงพอจะช่วยให้ผู้อ่านได้เห็นถึงจุดยืนการทำงานเพื่อสิทธิมนุษยชน ความยุติธรรม และสันติภาพอย่างต่อเนื่องของเรามาโดยตลอดเช่นกันค่ะ


กิจกรรมของ ยส.

จัดเสวนา "ก้าวผ่านความรุนแรงด้วยศาสนธรรม" เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2551 ณ ห้องประชุม ชั้น 10 อาคารสภาพระสังฆราชฯ

สถานการณ์สังคมไทยอันเนื่องมาจากปัญหาวิกฤติการเมือง มีการแบ่งขั้วเลือกข้างของประชาชนซึ่งแบ่งเป็นฝ่ายเหลืองและฝ่ายแดง ความขัดแย้งและความเกลียดชังเพิ่มระดับความรุนแรงขึ้นจนถึงขั้นทำร้ายร่างกายกันจนได้รับบาดเจ็บและมีผู้เสียชีวิต เพียงเพราะมีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกันจนเกิดความแตกแยกขึ้นในสังคมไทย ซึ่งนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น

(ซ้าย) คุณพ่อวรยุทธ  กิจบำรุง ผู้ดำเนินรายการ และ (ขวา) อ.ประมวล เพ็งจันทร์ วิทยากร

คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.) จึงได้จัดเสวนาหัวข้อ "ก้าวผ่านความรุนแรงด้วยศาสนธรรม" เพื่อให้ทุกคนกลับมาฉุกคิดและพิจารณาสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วยใจที่สงบ เคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างโดยใช้หลักศาสนธรรมในการยึดเหนี่ยวจิตใจ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการยุติความขัดแย้งและสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยมีวิทยากร คือ อ.ประมวล เพ็งจันทร์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ใช้เวลา 66 วัน กับการเดินทางกว่า 1,000 กิโลเมตร จากเชียงใหม่สู่เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี อันเป็นบ้านเกิด จนเป็นที่มาของหนังสือ "เดินสู่อิสรภาพ" ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวระหว่างการออกเดินทางไกลเพื่อค้นหาสิ่งล้ำค่าที่ถูกกลืนหายไปในกระแสสังคมปัจจุบัน อาจารย์ประมวลใช้วิธีที่คนอื่นไม่เคยทำ คือ ไม่ร้องขออาหารและที่พักจากใครถ้าเป็นการเบียดเบียนผู้อื่น ไม่พกเงิน ไม่ใช้เงิน ไม่พึ่งพาอำนาจเงินตรา แม้จะตกอยู่ในภาวะหิวโหยจนแทบหายใจต่อไปไม่ไหว เขาก็ยังก้าวเดินต่อไปด้วยความรู้สึกอ่อนโยน เบิกบานเดินไปค้นหาบางสิ่งที่งดงามที่ไม่สามารถสัมผัสได้ในชีวิตสะดวกซื้ออย่างทุกวันนี้

ผู้เข้าร่วมฟังเสวนา ซิสเตอร์ และเจ้าหน้าที่จากสภาพระสังฆราชคาทอลิก ให้ความสนใจและร่วมซักถามวิทยากร

ในการเสวนานี้อาจารย์ประมวล ได้แบ่งปันประสบการณ์ในชีวิตที่ได้ประสบกับเหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆ ทำให้อาจารย์ได้ค้นพบความสุขที่แท้จริง จากการใช้หลักธรรมและความเชื่อเป็นเครื่องมือในการหาคำตอบ และคลี่คลายความรุนแรงที่เกิดขึ้นในจิตใจ โดยเฉพาะการตระหนักรู้ว่า ความรุนแรงในสังคม การแตกแยกเป็นฝ่ายต่างๆ มาจากความกลัวและหวาดระแวงภายในจิตใจของปัจเจก ที่นำไปสู่ความเกลียดชังที่แต่ละฝ่ายมีต่อกัน หลากหลายเรื่องราวของอาจารย์ประมวลทำให้เราได้ไตร่ตรองถึงวิถีแห่งความสงบ และสันติภาพซึ่งต้องเริ่มจากภายในจิตใจของเราแต่ละคนก่อนจึงจะขยายไปสู่ผู้อื่น

จ้าหน้าที่จากสภาพระสังฆราชคาทอลิก ให้ความสนใจและร่วมซักถามวิทยากร จ้าหน้าที่จากสภาพระสังฆราชคาทอลิก ให้ความสนใจและร่วมซักถามวิทยากร

ทั้งนี้ในการเสวนามีผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังทั้งสิ้น 52 คน จากคณะนักบวชชาย - หญิง เจ้าหน้าที่หน่วยงานในพระศาสนจักรคาทอลิก และโรงเรียนคาทอลิก ซึ่งต่างก็ได้รับประโยชน์จากเรื่องราวที่วิทยากรนำมาเล่าให้ฟัง และให้การตอบรับครั้งนี้เป็นอย่างดียิ่ง

 


ร่วมกับองค์กร Ecumenical Coalition on Tourism (ECOT) จัดประชุม เรื่อง Responding to Climate Change : The Challenge of adaptation and mitigation for Thai Tourism

วิทยากร - คุณธารา  บัวคำศรี จาก กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

คุณรุ่งโรจน์  ตั้งสุรกิจ (คนที่ 3 จากซ้าย) จาก Ecumenical coalition on Tourism (ECOT) ผู้จัดงานประชุม ผู้เข้าร่วมประชุม

ในวันที่ 25 กันยายน 2551 ณ ศูนย์พัฒนาบุคคลอัสสัมชัญ มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล เพื่อทำความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก โดยเฉพาะภาวะโลกร้อนที่มีสาเหตุมาจากธุรกิจการท่องเที่ยว และส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมอื่นๆ อาทิ ความอุดมสมบูรณ์ของทะเลและมหาสมุทร การพังทลายของดิน การเคลื่อนย้ายและการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต และอื่นๆ รวมทั้งเสนอแนวทางการปรับปรุงแก้ไขการท่องเที่ยวให้มีสัมพันธภาพที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม และส่งผ่านข้อมูลดังกล่าวสู่สังคม เนื่องในโอกาสวันท่องเที่ยวโลก วันที่ 27 กันยายน 2551 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 22 คน จากองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนที่ทำงานด้านการท่องเที่ยว

 

 


สำรวจพื้นที่ภาคใต้ 8 - 10 กรกฏาคม 2551 (จ.ระนอง พังงา และภูเก็ต)

ร่วมพูดคุยกับองค์กรที่ทำงานช่วยเหลือแรงงานพม่า : ศูนย์ฯ ของคณะรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ ดูแลโดย คุณพ่อศุภวุฒิ  โสภาคะยัง ร่วมพูดคุยกับองค์กรที่ทำงานช่วยเหลือแรงงานพม่า : Marist Mission Ranong

เด็กๆ ชาวพม่า ในศูนย์การเรียนรู้ของ JRS เด็กๆ ชาวพม่า ในศูนย์การเรียนรู้ของ JRS

ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการที่ประสานกับศูนย์สังคมพัฒนา สังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี เพื่อดูพื้นที่การทำงานขององค์กรต่างๆ ที่ทำงานช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ จัดศูนย์การเรียนรู้สำหรับเด็กลูกหลานแรงงานข้ามชาติ ที่ประกอบอาชีพประมง ก่อสร้าง สวนยางพารา และคนไทยมุสลิมที่ได้รับผลกระทบจากภัยสึนามิ จากการพูดคุยทำให้มองเห็นกิจกรรมที่สามารถทำร่วมกันได้ คือ การจัดอบรมความรู้เรื่องสิทธิของผู้ใช้แรงงานให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ เพื่อนำไปถ่ายทอดต่อให้กับแรงงานพม่าซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีบัตรอนุญาตทำงาน การหาอาสาสมัคร อาทิ เด็กจากค่าย ยุวสิทธิฯ ที่สนใจ จัดกิจกรรมให้กับเด็กในศูนย์การเรียนรู้ จัดเป็นพื้นที่สัมผัสชีวิตให้เณรปี 4 วิทยาลัยแสงธรรม จัดกิจกรรมเสวนากับครูในโรงเรียนที่มีการรับเด็กพม่าเข้าเรียนหนังสือ ซึ่งกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้จะต้องมีการวางแผนงานร่วมกันกับศูนย์สังคมพัฒนาฯ สุราษฎร์ธานีอีกครั้งหนึ่ง

ลงพื้นที่ชุมชนชาวพม่าที่ จ.ระนอง เยี่ยมหมู่บ้านชาวประมง และศูนย์ท่ากลาง อ.สุขสำราญ จ.ระนอง

 

 

 


ค่ายยุวสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 1 - 4 ตุลาคม 2551 ที่อาศรมพลังงาน อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

เยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมของอาศรมพลังงาน  การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว หัดทำน้ำยาล้างจานจากพืชธรรมชาติ

มีเยาวชนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 และ ปวช.ปี 1 จากสถานศึกษาในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด จำนวน 15 โรงเรียน (ร.ร.คาทอลิก 6 แห่ง ร.ร.รัฐบาล 9 แห่ง) รวม 36 คน ในการจัดค่ายยุวสิทธิฯ ที่อาศรมพลังงานนี้ เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องศักดิ์ศรีและสิทธิของความเป็นมนุษย์ สิทธิของเด็ก จากหลากหลายกิจกรรม เช่น กิจกรรมความจำเป็น/ความต้องการ กิจกรรมฐานเส้นทางสู่สิทธิมนุษยชน กิจกรรมสัมผัสชีวิต - เยาวชนได้เรียนรู้และร่วมกิจกรรมกับอาศรมพลังงาน เช่น เรียนรู้กระบวนการเผาถ่านให้ได้ประสิทธิภาพสูงด้วยเตา 200 ลิตร การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว การทำน้ำยาล้างจานจากพืชธรรมชาติ ศึกษาวิธีการทำงานของเครื่องทำความร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ เรียนรู้เกี่ยวกับการประหยัดพลังงานภายในอาคาร และได้เรียนรู้ถึงบทบาทของตนในการมีส่วนร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับสังคม

ร่วมกันทำแปลงปลูกผัก ถ่ายรูปร่วมกันเป็นที่ระลึก

ผลจากการจัดค่ายครั้งนี้ เยาวชนมีความเข้าใจในเรื่องสิทธิมนุษยชน และสิทธิเด็กในระดับที่น่าพอใจ เห็นได้จากการทำกิจกรรมกลุ่มย่อย และการนำเสนอในแต่ละช่วงกิจกรรม การให้ความสนใจและมีส่วนร่วมของเยาวชนต่อกิจกรรมต่างๆ อยู่ในระดับดี และเยาวชนได้สะท้อนโดยตรงว่า มีความประทับใจและได้รับความรู้จากค่ายนี้มาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวเองหลายประการ ทั้งแนวคิดที่มีต่อคนรอบข้าง เพื่อน ครอบครัว และสังคม โดยจะนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนี้ไปใช้ในชีวิตของตนและขยายไปสู่สังคมต่อไป


ค่ายสิทธิมนุษยชนเยาวชนชาติพันธุ์ ระหว่างวันที่ 26 - 28 กันยายน 2551 ที่บ้านดอนบอสโกเชียงใหม่ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่

เยาวชนร่วมกิจกรรมฐานสิทธิมนุษยชนเป็นสากล เยาวชนร่วมกิจกรรมฐานสิทธิมนุษยชนเป็นสากล

จัดให้แก่เยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ 6 เผ่า จำนวน 47 คน (ปกาเกอะญอ อาข่า ลาหู่ ม้ง เมี่ยน ลั้วะ) และเยาวชนพื้นราบในการดูแลของบ้านดอนบอสโกเชียงใหม่ โดยมูลนิธิคณะซาเลเซียนแห่งประเทศไทย เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องศักดิ์ศรีและสิทธิของความเป็นมนุษย์จากหลากหลายกิจกรรม เช่น กิจกรรมความจำเป็น/ความต้องการ กิจกรรมฐานเส้นทางสู่สิทธิมนุษยชน ได้เรียนรู้สิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง ได้เรียนรู้ถึงความรับผิดชอบที่ต้องมาคู่กับสิทธิในฐานะที่มนุษย์ทุกคนต่างก็มีสิทธิของตนและต้องปฏิบัติความรับผิดชอบเพื่อให้คนอื่นได้รับสิทธิต่างๆ นั้นเช่นกัน นอกจากนี้ยังต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมและคนรอบข้างด้วย ซึ่งเยาวชนสามารถนำเสนอได้อย่างดี เช่น ความรับผิดชอบที่มาคู่กับสิทธิในการเลือกคู่ครองและสร้างครอบครัว คือการต้องรักเดียวใจเดียว เมื่อมีสิทธิในการศึกษาก็ต้องมีความรับผิดชอบในการตั้งใจศึกษาเล่าเรียนและเชื่อฟังพ่อแม่ เมื่อมีสิทธิในความเป็นส่วนตัวก็ต้องไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น เป็นต้น ในการจัดค่ายครั้งนี้เยาวชนที่เข้าร่วมให้ความสนใจและมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรม ทั้งการทำกิจกรรมกลุ่มย่อยและนำเสนอต่อกลุ่มใหญ่ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจต่อสิ่งที่ได้เรียนรู้ และการตระหนักถึงความรับผิดชอบที่ต้องมี

กิจกรรมฐานภาพลวงตา กิจกรรมฐานภาพลวงตา

 


อบรมสิทธิมนุษยชนศึกษา โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา วันที่ 14 กันยายน 2551

รศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพชร ประธานโครงการสิทธิมนุษยชนศึกษา ยส. บรรยายในหัวข้อ สิทธิมนุษยชนในสถาบันการศึกษา

คุณพิทักษ์  เกิดหอม วิทยากร บรรยายในหัวข้อ หลักการพื้นฐานสิทธิมนุษยชน คุณพิทักษ์  เกิดหอม วิทยากร บรรยายในหัวข้อ หลักการพื้นฐานสิทธิมนุษยชน

สืบเนื่องจากผู้บริหารโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชาซึ่งเป็นโรงเรียนภายใต้การดูแลของนักบวชคณะเซนต์คาเบรียล เล็งเห็นความสำคัญของการสอนสิทธิมนุษยชน จึงสนับสนุนให้เกิดการจัดอบรมสิทธิมนุษยชนศึกษาให้แก่ครูผู้สอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล - มัธยมศึกษาตอนปลาย รวมทั้งเจ้าหน้าที่และพี่เลี้ยงที่ทำงานในโรงเรียน จำนวน 290 คน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและจิตสำนึกในเรื่องสิทธิมนุษยชน และเกิดการเคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ในสถาบันการศึกษา ซึ่งครูผู้เข้ารับการอบรมได้เข้าใจสาระสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง เช่น ความเป็นมาของสิทธิมนุษยชน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก และสิทธิมนุษยชนในสถาบันการศึกษา

ผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชากล่าวเปิดการอบรม คุณณัฐวุฒิ  บัวประทุม วิทยากรจากมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก


จัดโครงการฝึกปฏิบัติด้านสังคม : การศึกษาปัญหาสังคมและการอภิบาล การศึกษาความจริงและร่วมชีวิต (Exposure - Immersion) ให้แก่สามเณรชั้นปีที่ 4 และนักบวชหญิง วิทยาลัยแสงธรรม ระหว่างวันที่ 12-18 ตุลาคม 2551

บราเดอร์กลุ่มนี้ลงพื้นที่ชุมชนชาวมอแกลน โดยช่วยชาวบ้านตัดไม้ทำฟืน

ซิสเตอร์ร่วมสัมผัสชีวิตชุมชนมุสลิมซึ่งประกอบอาชีพทำประมง อีกกลุ่มกับอาชีพแรงงานในแพปลา

ยส.ได้จัดการศึกษาความจริงและร่วมชีวิต (Exposure-Immersion) ประจำปี 2551 ให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา วิทยาลัยแสงธรรม จำนวน 46 คน ประกอบด้วยนักศึกษาชาย (สามเณร) 38 คน และนักบวชหญิง (ซิสเตอร์) 8 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสศึกษาทำความเข้าใจสภาพความเป็นจริงของสังคมปัจจุบันมากขึ้น เพื่อให้เกิดความสำนึกรู้ต่อปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม (Social Awareness) อันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและงานอภิบาลในอนาคต และเพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสประยุกต์ความรู้ที่ได้ศึกษามาแล้ว มาเป็นแนวคิดและสามารถนำหลักคำสอนทางด้านสังคมของพระศาสนจักรมาอธิบายปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจที่ชัดเจนและมีแนวปฏิบัติมากขึ้น
การจัดครั้งนี้มีศูนย์สังคมพัฒนา (ศูนย์อภิบาลด้านสังคม) สังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา เป็นหน่วยงานสนับสนุนในพื้นที่ภาคใต้ สำหรับกระบวนการจัดกิจกรรมได้แบ่งกลุ่มนักศึกษาเข้าร่วมใช้ชีวิตอยู่กับชุมชนแรงงานข้ามชาติพม่า ซึ่งทำอาชีพประมงทะเล เป็นแรงงานในสวนยางพารา เป็นแรงงานก่อสร้าง ชุมชนของคนไทยพลัดถิ่น ชุมชนมุสลิม และชาวมอแกลน ในจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน และร่วมกันไตร่ตรองประสบการณ์ที่ได้รับอีก 1 วัน

บราเดอร์ได้สัมผัสความเหน็ดเหนื่อยกับอาชีพกรรมกรก่อสร้าง บราเดอร์ได้สัมผัสความเหน็ดเหนื่อยกับอาชีพกรรมกรก่อสร้าง

พระสังฆราชบุญเลื่อน  หมั้นทรัพย์  บรรยาย แสวงหา และประยุกต์ สู่การปฏิบัติในชีวิต ถ่ายภาพร่วมกันกับทีมงาน ยส.และมิสซังฯ สุราษฎร์ธานี

ทั้งนี้เมื่อนักศึกษาผ่านประสบการณ์ศึกษาความจริงและร่วมชีวิตกับกลุ่มแรงงานข้ามชาติและกลุ่มชาติพันธุ์แล้ว ทั้งสามเณรและนักบวชหญิง ต่างสะท้อนว่าการค้นพบความทุกข์ยาก และการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีในความทุกข์ยากของพี่น้องแรงงานชาวพม่า เป็นการยืนยันกระแสเรียกของชีวิตนักบวชอย่างเข้มแข็ง สามารถเอาความรู้ความเข้าใจคำสอนด้านสังคมในชั้นเรียนมาเป็นพื้นฐานและใช้ไตร่ตรองในช่วงเวลาลงชุมชนเพื่อศึกษาความจริงของชาวบ้าน และปัญหาที่ชาวบ้านประสบได้อย่างดียิ่ง


จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ‘Building Sustainable Peace: Our Approach to Learning' ร่วมกับ Caritas Italiana และ DISAC สุราษฎร์ธานี ระหว่างวันที่ 18-21 พฤศจิกายน 2551

Mrs.Julie  Morgan วิทยากรในการอบรม

ซึ่งจัดให้แก่ บุคลากรของ ยส. และ DISAC สุราษฎร์ธานี ของสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี อันประกอบด้วย พระสงฆ์ ซิสเตอร์ และฆราวาส รวมทั้งอาสาสมัครต่างชาติที่ทำงานในภาคใต้ เข้าร่วมอบรมรวมจำนวน 22 คน โดยมีวิทยากรในการอบรมคือ คุณจูลี่ มอร์แกน จาก Franciscan International และมีคุณกัทลี สิขรางกูร จาก ACPP ช่วยเป็นล่ามแปลเป็นภาษาไทยให้ตลอดกระบวนการ

คุณกัทลี  สิขรางกูร (เสื้อดำใส่แว่น) จาก ACPP ช่วยเป็นล่ามแปลภาษาให้ผู้เข้าร่วมอบรม เจ้าหน้าที่ ยส. และมิสซังฯ สุราษฎร์ กับกิจกรรมในกระบวนการอบรม

สำหรับการอบรมครั้งนี้ ช่วยให้ผู้เข้าร่วมฯ ได้เรียนรู้ทักษะเบื้องต้นสำหรับการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างสันติภาพ ได้รับแนวคิดทางศาสนาที่เป็นพื้นฐานของการอบรมเรื่องการสร้างสันติภาพ และการเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง ในการอบรม ผู้เข้าร่วมแต่ละคนได้แบ่งปันว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องวิธีคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมที่มีต่อความขัดแย้ง ซึ่งเป็นพื้นฐานต่อการเข้าถึงสันติภาพในตัวบุคคล ทั้งยังได้พัฒนาทักษะเพื่อเป็นแนวทางการทำงานกับเครือข่ายด้านสิทธิฯ และสันติภาพในโอกาสต่อๆ ไป

เจ้าหน้าที่ ยส. และมิสซังฯ สุราษฎร์ กับกิจกรรมในกระบวนการอบรม ถ่ายรูปร่วมกันเป็นที่ระลึก


ร่วมภาวนาเพื่อสันติสุขในประเทศไทยกับพี่น้องศาสนิกชน พุทธ มุสลิม คริสต์ ที่ลานหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ สี่แยกปทุมวัน

เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551 พี่น้องศาสนิกชน พุทธ มุสลิม และคริสต์ ได้แก่ พระสงฆ์คณะ เยสุอิต ตัวแทนซิสเตอร์จากคณะอุร์สุลิน เจ้าหน้าที่คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.) และคริสตชนผู้รักสันติ ตลอดจนประชาชนทั่วไป จำนวนประมาณ 150 คน ได้ร่วมกันภาวนาเพื่อสันติสุขในประเทศไทย ซึ่งจัดขึ้น โดย "เครือข่ายประชาชนร่วมหยุดสงครามกลางเมือง" โดยใช้สถานที่คือ ลานหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ สี่แยกปทุมวัน

 

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี  พระนักเทศน์ชื่อดังของไทย  เทศนาในหัวข้อ คนไทยล้วนเป็นพี่น้องกันงานครั้งนี้เริ่มด้วย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วัชรเมธี) เทศนาธรรมในหัวข้อ "คนไทยล้วนเป็นพี่น้องกัน" กล่าวว่า ที่จริงแล้วมนุษย์มีศักยภาพที่จะรักคนได้ทั้งโลก แต่ไปยึดมั่นถือมั่นกับสังกัด อุดมการณ์ ลัทธิการเมือง ศาสนา ว่าคนที่เห็นต่างจากตัวเองไม่ใช่พวกฉัน ไม่ใช่สังกัดฉัน จึงเป็นอุปสรรคทำให้คนรักกันไม่ได้ ทั้งๆ ที่เรามีความเป็นมนุษย์เหมือนกัน หายใจโดยใช้อากาศเดียวกัน และมีพื้นฐานเดียวกันคือรักสุข เกลียดทุกข์ สิ่งสำคัญอยู่ที่ใจคน สูงที่สุด ต่ำที่สุด ใจแคบ ใจกว้าง ล้วนอยู่ที่ใจเรา พวกเราคนไทยต้องเปิดใจให้กว้าง มองกว้าง นึกให้ไกล ยอมรับฟังความคิดเห็นที่ต่างจากเรา เชื่อต่างจากเรา แล้วอยู่ด้วยกันได้อย่างสันติ อย่าให้ความรุนแรงจากใจที่หลงผิดจนกลายมาเป็นวัฒนธรรม ใจที่หลงผิดคือแค่เห็นเขาต่างจากเราก็คิดว่าไม่ใช่พวกเราแล้ว ให้เราคิดอย่างสันติ พูดอย่างสันติ ทำอย่างสันติ และเชื่อมั่นในสันติวิธี ปฏิเสธความรุนแรงที่จะก่อให้เกิดแต่การบาดเจ็บล้มตาย

 

คุณอังคณา  นีละไพจิตร ภรรยาคุณสมชาย  นีละไพจิตร ทนายนักสิทธิมนุษยชนซึ่งถูกอุ้มหายสาบสูญไปคุณอังคณา นีละไพจิตร ภรรยาของทนายสมชาย นีละไพจิตร (นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนซึ่งหายตัวไปโดยไร้ร่องรอย) เป็นตัวแทนของศาสนาอิสลาม กล่าวให้ข้อคิดว่า ทุกคนต่างนับถือศาสนาและทุกศาสนาก็มีบทบัญญัติอยู่แล้วในเรื่องของการละเมิดสิทธิในร่างกาย ชีวิตและทรัพย์สินของคน ถ้าทุกคนเชื่อมั่น ศรัทธาในศาสนา ก็ต้องปฏิบัติตามคำสอนของศาสนา ทุกศาสนาพูดถึงสันติอยู่แล้ว แต่จะด้วยอวิชชา ความไม่รู้ ความไม่เข้าใจ ความโกรธ หรืออะไรก็แล้วแต่ ทำให้คนขาดสติ ปล่อยให้สิ่งไม่ดีเข้ามาครอบงำ ทำอย่างไรที่จะทำให้คนเราตั้งสติกลับมาใหม่ ศึกษาธรรมะที่มีอยู่แล้วในทุกศาสนาแล้วปฏิบัติ เพราะขณะนี้ทุกคนมีสภาพเดียวกันคือเป็นเหยื่อของความรุนแรง ไม่ว่าจะอยู่ในกลุ่มไหนก็ตาม และทุกครั้งที่เผชิญกับความรุนแรงต้องมีท่าทีที่คัดค้าน ต่อต้าน ไม่เห็นด้วยอย่างชัดเจน ศาสนิกชนต้องมีบทบาทตรงนี้ ช่วยกันเปิดพื้นที่สันติให้มีมากขึ้นเรื่อยๆ การเป็นศาสนิกชนจะภาวนาอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องแสดงจุดยืนที่จริงจัง และสุดท้ายก็ต้องภาวนาร่วมกันเพื่อได้พื้นที่สันติคืนมา

พระสงฆ์คณะเยสุอิต ซิสเตอร์คณะอุร์สุลิน และเจ้าหน้าที่ ยส. ร่วมกันภาวนาเพื่อสันติสุขในประเทศไทย นักสันติวิธี และประชาชน ร่วมกันจุดเทียนภาวนาขอให้เกิดสันติสุขในสังคมไทย

นักสันติวิธี และประชาชน ร่วมกันจุดเทียนภาวนาขอให้เกิดสันติสุขในสังคมไทย"สำหรับตัวเองได้รับผลกระทบจากความรุนแรง ทุกวันนี้ก็มีชีวิตอยู่อย่างรู้สึกไม่ปลอดภัย ไม่มั่นคงในชีวิต แต่เราต้องดำเนินชีวิตต่อไป โดยยึดหลักธรรมต้องหนักแน่นมั่นคง ไม่เป็นเครื่องมือให้ใคร สำหรับเรื่องการให้อภัย ต้องยึดหลักความถูกต้องชอบธรรม จึงจะนำมาสู่การให้อภัย เพราะการโกรธแค้นอาฆาต เข่นฆ่ากัน สุดท้ายก็นำมาสู่ความรุนแรงที่ไม่สิ้นสุดและยุติไม่ได้ และผลของความรุนแรงจะกลับมาสู่ครอบครัว ชุมชนและสังคมของเรา จนทุกคนก็หาความสงบสุขไม่ได้"

หลังจากนั้นผู้รักสันติได้ร่วมกันจุดเทียนเพื่อขอให้เกิดสันติสุขในสังคมไทย เรียกร้องความเสียสละจากทุกฝ่ายให้ถอยคนละก้าว ไม่ใช้ความรุนแรงต่อกัน สงครามกลางเมืองจะได้ไม่เกิดขึ้น และขอให้รัฐบาลยุบสภา คืนอำนาจให้ประชาชน เพื่อประเทศจะได้มีสันติสุขกลับคืนมา

 

 

 


 

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >