หน้าหลัก arrow กิจกรรม ยส. arrow กิจกรรมย้อนหลัง arrow กิจกรรมของ ยส. 1/2007 (ม.ค.-มิ.ย.)
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 181 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

กิจกรรมของ ยส. 1/2007 (ม.ค.-มิ.ย.) พิมพ์
Wednesday, 29 August 2007


จดหมายข่าว ยส. ฉบับที่ 1 ปี 2550 



งานกรณีศึกษาชุมชน เรื่อง “นโยบายการพัฒนากระแสหลักที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาความเป็นมนุษย์บนจุดยืนของศาสนจักรฯ” 


 ประชุมร่วมกับผู้อำนวยการศูนย์สังคมพัฒนาฯ และที่ปรึกษาฯประชุมร่วมกับผู้อำนวยการศูนย์สังคมพัฒนาฯ และที่ปรึกษาฯ

หลังจากที่ ยส. ได้ประสานกับผู้อำนวยการศูนย์สังคมพัฒนาฯ  เพื่อเลือกชุมชนที่จะทำการศึกษา ได้แก่ ชุมชนบ้านโคกสะอาด อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร, ชุมชนบ้านขุนแปะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่, ชุมชนบ้านท่าผักชี อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว และชุมชนบ้านทุ่งมะพร้าว อ.กระบุรี จ.ระนอง เจ้าหน้าที่ ยส. ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลพื้นฐานทั้งด้านกายภาพ ประวัติศาสตร์ สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ศาสนา และวัฒนธรรม พร้อมทั้งข้อมูลสภาพปัญหาของหมู่บ้านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การเข้ามาทำงานของศูนย์สังคมพัฒนา ของหน่วยงานรัฐและเอกชน ตลอดจนผลกระทบจากโครงการพัฒนาต่างๆ หลังจากได้ข้อมูลทั้งหมดแล้ว ได้วิเคราะห์ถึงผลกระทบของนโยบายการพัฒนาของรัฐที่เข้าสู่หมู่บ้าน ชุมชน และส่งผลต่อความสัมพันธ์ภายในชุมชน เพื่อนำมาสรุปเป็นตัวอย่างบทเรียนต่อการทำงานพัฒนาสังคมของพระศาสนจักรให้แก่ชุมชนและศูนย์สังคมพัฒนา และใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา / ปรับปรุงการทำงานของศูนย์สังคมพัฒนาต่อไป

อาจารย์สุธี  ประศาสนเศรษฐ์ ที่ปรึกษากรณีศึกษาชุมชนพระสังฆราชบรรจง ไชยรา ประธานคณะกรรมาธิการฝ่ายสังคม


เสวนาระดมความคิดเห็นและความเข้าใจต่อร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี ๒๕๕๐  ต่อประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและเสรีภาพในการนับถือศาสนา

พระสังฆราชฯ พระสงฆ์ และฆราวาส ร่วมแสดงความคิดเห็นพระสังฆราชฯ พระสงฆ์ และฆราวาส ร่วมแสดงความคิดเห็น

จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ณ ห้องประชุม ชั้น ๑๐ อาคารสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย ช่องนนทรี กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาประกอบด้วย พระคุณเจ้าปัญญา กฤษเจริญ เลขาธิการ สภาพระสังฆราชฯ, พระคุณเจ้าบรรจง ไชยรา ประธานคณะกรรมาธิการฝ่ายสังคม, พระสงฆ์ และซิสเตอร์ ตลอดจนผู้รับผิดชอบในคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ของสภาพระสังฆราชฯ และฆราวาสคาทอลิกในวิชาชีพต่างๆ รวม ๒๔ ท่าน ซึ่งการเสวนาในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมเสวนาได้แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นการบรรจุพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ได้พูดคุยกันถึงการแสดงจุดยืนของคริสตชนต่อประเด็นนี้ นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอให้สมาชิกพระศาสนจักรควรมีบทบาทในการศึกษาเชิงวิเคราะห์ต่อประเด็นการร่างรัฐธรรมนูญ แต่เนื่องด้วยประเด็นศาสนา เป็นประเด็นที่อ่อนไหวต่อสถานการณ์การเมืองของประเทศไทยในขณะนั้น ผู้เข้าร่วมจึงประสงค์ไม่ให้เสนอข้อคิดเห็นจากที่ประชุมออกสู่สาธารณะ 

  


เสวนาร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี ๒๕๕๐

คุณไพโรจน์  พลเพชร วิทยากรรับเชิญสืบเนื่องจากมีการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ดำเนินการแล้วเสร็จจนได้ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับรับฟังความคิดเห็น และอยู่ในขั้นตอนให้ประชาชนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นที่มีต่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.) จึงเห็นว่า ควรมีการให้ข้อมูลพร้อมทั้งเปิดเวทีให้คริสตชนผู้มีความสนใจต่อประเด็นด้านการเมือง ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี ๒๕๕๐ นี้ จึงได้จัดเสวนาขึ้นเมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ณ ห้องประชุม ชั้น ๑๐ อาคารสภาพระสังฆราชฯ โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนา อาทิ พระคุณเจ้าบรรจง ไชยรา ประธานคณะกรรมาธิการฝ่ายสังคม, พระสงฆ์ผู้รับผิดชอบในคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ของสภาพระสังฆราชฯ, ซิสเตอร์จากคณะนักบวชต่างๆ, เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานสภาพระสังฆราชฯ, อาจารย์และนักศึกษาจากโรงเรียนในเครือคาทอลิก รวม ๒๕  ท่าน

ในการเสวนาครั้งนี้ ยส. ได้เชิญ คุณไพโรจน์ พลเพชร สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มาเป็นวิทยากร คุณไพโรจน์ได้นำเสนอให้เห็นภาพเปรียบเทียบระหว่างรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ กับ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ปี ๒๕๕๐ คุณไพโรจน์ได้ชี้ให้เห็นทั้งข้อดีและข้อด้อยของรัฐธรรมนูญปี ๕๐ เมื่อเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญปี ๔๐ ผู้เข้าร่วมเสวนาประกอบด้วย นักบวชชาย – หญิง และฆราวาสจากหน่วยงานสภาพระสังฆราชคาทอลิกโดยสรุปแล้วคือ เห็นว่าแม้ร่างรัฐธรรมนูญปี ๕๐ จะยังมีปัญหาในเรื่องที่มาของวุฒิสมาชิกและเรื่องระบบการเลือกตั้ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปัญหาโครงสร้างความขัดแย้งในระดับบน แต่เห็นว่าในเรื่องของการให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนโดยเฉพาะการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นมีมากขึ้น เช่น การให้ประชาชนในท้องถิ่นดูแลจัดการทรัพยากรในชุมชนของตน ลดอำนาจองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นลง  ถือได้ว่าเป็นการลดอำนาจส่วนกลางและกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นมากขึ้น และในระยะยาวจะเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น รวมทั้งในเรื่องสื่อสารมวลชน ซึ่งรัฐธรรมนูญปี ๕๐ ได้พยายามแก้ปัญหาการผูกขาดข้ามสื่อ ห้ามนักการเมืองถือหุ้นโดยตรงหรือโดยอ้อมเป็นเจ้าของในสื่อวิทยุโทรทัศน์ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการใช้สื่อวิทยุโทรทัศน์ที่มีการเอียงข้าง อันมีตัวอย่างจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมเสวนาได้แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นการร่างรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐  ทั้งเรื่องจริยธรรมของนักการเมือง การมีบทบาทของประชาชนต่อการเมือง และวิธีการให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นทั้งสิทธิและหน้าที่ที่ประชาชนจะต้องให้ความสำคัญ พร้อมกันนี้ยังได้มีข้อเสนอให้บุคลากรที่ทำงานในสถาบันการศึกษาทำหน้าที่ให้ความรู้แก่นักศึกษาในเรื่องรัฐธรรมนูญปี ๕๐ นี้ต่อไป  

  


ค่ายยุวสิทธิมนุษยชน ของ ยส. ครั้งที่ ๑

เยาวชนสัมผัสชีวิตที่ บ้านกาญจนาภิเษก สถานพินิจฯ ในโครงการนำร่องเพื่อแสวงหารูปแบบการจัดการแนวใหม่ที่เน้นการพัฒนาเยาวชนให้ตระหนักคุณค่าในศักยภาพเชิงบวกของตนเองและพร้อมกลับสู่สังคมจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๐ ที่บ้านสวนยอแซฟ อ.สามพราน จ.นครปฐม ผู้เข้าร่วมค่ายฯ ประกอบด้วย เยาวชนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ - ๕  จาก ๙ โรงเรียนในเขตกรุงเทพฯ ราชบุรี นครปฐม ศรีสะเกษ และปทุมธานี  รวมจำนวน ๑๖ คน ซึ่งการจัดค่ายในครั้งนี้เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนผ่านกิจกรรมสัมผัสชีวิตที่บ้านกาญจนาภิเษก และกิจกรรมฐานเส้นทางสู่สิทธิมนุษยชน ได้แก่ ฐานกล้วยของฉัน ซึ่งให้สาระว่า มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน เราไม่ควรมองและตัดสินคนจากรูปลักษณ์ภายนอก ฐานบันไดชีวิตสิทธิของฉัน ให้ความรู้เรื่องสิทธิด้านต่างๆ ของมนุษย์ ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ฐานจินตนาการของฉัน ให้สาระว่ามนุษย์ทุกคนมีความคิดมีจิตวิญญาณและมีจินตนาการติดตัวมาตั้งแต่เกิด ซึ่งถือเป็นสิ่งพิเศษที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์และพืช และจะมีใครมาแย่งชิงสิ่งนี้ไปจากเราไม่ได้ ฐานสีแห่งสามัคคี  สอนว่ามนุษย์เกิดมาเท่าเทียมกัน แม้จะมีความแตกต่างกัน แต่ก็ต้องอยู่ร่วมกัน จึงต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความสามัคคีกัน อีกทั้งให้เยาวชนได้เรียนรู้ถึงบทบาทการมีส่วนร่วมของตนเองต่อครอบครัว ชุมชน และสังคม และมีการทำความเข้าใจในเรื่องสิทธิเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก รวมทั้งการระดมความคิดเห็นต่อวิถีปฏิบัติสิทธิมนุษยชนที่เยาวชนสามารถปฏิบัติต่อกันในสังคม 

กิจกรรมฐานสิทธิมนุษยชนถ่ายภาพร่วมกันเป็นที่ระลึก

 


เยาวชนปกาเกอะญอกับกิจกรรมฐานสิทธิมนุษยชน

เกมบันไดชีวิต...สิทธิของฉันคุณอัจฉรา  สมแสงสรวง เลขาธิการ ยส. อธิบายให้เยาวชนปกาเกอะญอได้เข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน

เมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๐  ณ บ้านขุนแปะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีเยาวชนปกาเกอะญอเข้าร่วม ๘๕  คน เยาวชนได้เรียนรู้สิทธิด้านต่างๆ ผ่านกิจกรรมฐาน ได้แก่ ฐานสีแห่งสามัคคี ฐานชุมชนแห่งสิทธิ ฐานบันไดชีวิตสิทธิของฉัน ฐานกล้วยของฉัน  และฐานกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเปิดมิติใหม่ให้เยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ได้เรียนรู้และเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว ซึ่งเข้าใจได้ไม่ยาก และมีประโยชน์มากต่อพวกเขา เพื่อพวกเขาจะได้รู้จักรักษาสิทธิที่เขามีอยู่ ในฐานะที่เป็นชาติพันธุ์เช่นเดียวกับการไม่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น 

  


อบรมสิทธิมนุษยชนศึกษาให้แก่ครูโรงเรียนต่างๆ

คณะครูโรงเรียนดรุณากาญจน์ คณะครูโรงเรียนดรุณากาญจน์

ระหว่างวันที่  ๒๘ – ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๐ ณ โรงเรียนดรุณากาญจนบุรี จ.กาญจนบุรี ภายใต้การดูแลของนักบวชคณะผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมลของพระแม่มารีย์ การอบรมสิทธิมนุษยชนศึกษาครั้งนี้ ได้อบรมให้แก่ครูผู้สอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน ๗๒ คน ซึ่งช่วยให้ครูได้เข้าใจสาระสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง เช่น ปฏิญญา สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และสิทธิเด็ก นอกจากนี้ครูยังได้เขียนแผนการเรียนรู้ สิทธิมนุษยชนตามสาระวิชาและช่วงชั้นที่สอน 

ถ่ายภาพร่วมกับผู้บริหารและวิทยากรจาก ยส.ครูจากโรงเรียนเขต 6 เข้าร่วมกิจกรรมในการอบรมสิทธิมนุษยชนศึกษา

ระหว่างวันที่ ๒ – ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๐ อบรมครูจากโรงเรียนเขต ๖ ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพ  ณ โรงเรียนราษฎร์บำรุงศิลป์ จ.อยุธยา ภายใต้การดูแลของนักบวชคณะพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ ผู้เข้าอบรมได้แก่ครูผู้สอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาตอนต้น  จำนวน ๓๕ คน 

ครูร่วมกิจกรรมฐานสิทธิมนุษยชนคณะครูโรงเรียนอรุโณทัย ลำปาง

ระหว่างวันที่ ๙ – ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ อบรมครูโรงเรียนอรุโณทัย จ.ลำปาง ภายใต้การดูแลของนักบวชคณะพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ ครูผู้สอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน ๙๘ คน เข้ารับการอบรม ซึ่งครูได้เข้าใจสาระสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง เช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก และสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ พร้อมทั้งได้เขียนแผนการเรียนรู้ สิทธิมนุษยชนตามสาระวิชาและช่วงชั้นที่สอน การอบรมที่นี่ครูให้ความสนใจในเนื้อหาและร่วมกิจกรรม รวมทั้งแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมากทั้งนี้ การจัดอบรมครูทั้ง ๓ โรงเรียนนี้ ผู้บริหารซึ่งเป็นนักบวชหญิงเห็นความสำคัญของการสอนสิทธิมนุษยชน จึงสนับสนุนให้เกิดการจัดกิจกรรมอย่างเต็มที่ 



ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >