หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow ข้าแต่พระบิดา (ตอนที่ 4) โดย บาทหลวงชัยยะ กิจสวัสดิ์
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 1269 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ข้าแต่พระบิดา (ตอนที่ 4) โดย บาทหลวงชัยยะ กิจสวัสดิ์ พิมพ์
Wednesday, 14 January 2009

           กลับไปอ่าน  ตอนที่ 1 "ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย 

                               ตอนที่ 2  พระองค์สถิตในสวรรค์ พระนามพระองค์จงเป็นที่สักการะ

                               ตอนที่ 3  พระอาณาจักรจงมาถึง พระประสงค์จงสำเร็จในแผ่นดินเหมือนในสวรรค์..." 


------------------------------------------

 


โปรดประทานอาหารประจำวันแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายในวันนี้
(มธ 6:11)

Image          ต้นฉบับใช้คำ "ปัง" แทน "อาหาร" ซึ่งมีผู้ให้ความหมายไว้ต่าง ๆ กัน เช่น 

          1.       หมายถึง "ปัง" ในอาหารค่ำครั้งสุดท้ายซึ่งเรารื้อฟื้นทุกครั้งเวลาถวายบูชามิสซา  คำภาวนานี้จึงเป็นการวอนขอให้ได้รับ "ศีลมหาสนิท" ทุกวัน

          2.       หมายถึงอาหารฝ่ายวิญญาณซึ่งได้แก่ "พระวาจาของพระเจ้า" ดังที่ทรงตรัสว่า "มนุษย์มิได้ดำรงชีวิตด้วยอาหารเท่านั้น แต่ดำรงชีวิตด้วยพระวาจาทุกคำที่ออกจากพระโอษฐ์ของพระเจ้า" (มธ 4:4)

          3.       หมายถึง "พระเยซูเจ้า" เอง เพราะพระองค์ตรัสว่า "เราเป็นปังแห่งชีวิต ผู้ที่มาหาเราจะไม่หิว และผู้ที่เชื่อในเราจะไม่กระหายอีกเลย" (ยน 6:34)

          4.       หมายถึง "งานเลี้ยงในอาณาจักรสวรรค์" หรือ messianic banquet  คำภาวนานี้จึงเป็นการวอนขอพระเจ้าโปรดประทานที่นั่งในงานเลี้ยงบนสวรรค์

          สาเหตุที่ผู้คนสมัยก่อนเน้นการอธิบายความหมายของคำ "ปัง" เป็นเพราะพวกเขาไม่เข้าใจความหมายของคำกรีก epiousios (เอปีอูซีออส) ซึ่งพบการใช้เพียงครั้งเดียว จนออริยิน (Origen) ซึ่งเป็นปิตาจารย์ของพระศาสนจักรเชื่อว่ามัทธิวประดิษฐ์คำนี้ขึ้นมาเอง

          จวบจนไม่นานมานี้เองที่เราพบคำ "เอปีอูซีออส" ปรากฏอยู่ในรายการสั่งซื้อสิ่งของที่จำเป็น "สำหรับวันนี้" ของหญิงผู้หนึ่ง

          ความหมายของคำภาวนาประการนี้จึงอธิบายได้ง่าย ๆ ว่า โปรดประทานทุกสิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิตวันนี้

           ในเมื่อพระเยซูเจ้าทรงสอนให้เราวอนขอทุกสิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิตเช่นนี้  ความคิดที่ตามมาคือ

          1.       พระเจ้าทรงเอาพระทัยใส่ร่างกายของเราด้วย  ความรอดจึงเป็นเรื่องของบุคคลทั้งครบ ไม่ใช่เรื่องของวิญญาณเพียงอย่างเดียว

          2.       ให้เราวอนขอเฉพาะสิ่งที่จำเป็นสำหรับวันนี้เท่านั้น  อย่าวิตกกังวลถึงอนาคตที่ยังมาไม่ถึง จงดูเรื่องมานนาในที่เปลี่ยวเป็นตัวอย่าง (อพย 16:1-21)

          3.       เราต้องวอนขอทุกสิ่งเพราะ "ทุกสิ่งเป็นของประทานจากพระเจ้า"  บางคนอาจแย้งว่าพืชผลในไร่นาเป็นผลพวงจากน้ำพักน้ำแรงของตนเอง  แต่อย่าลืมว่าลำพังตัวเราอาจเพาะปลูกพืชผลได้ แต่เป็นพระเจ้าที่ทรงทำให้มันเจริญเติบโต (1 คร 3:6)  ปราศจากพระองค์เราไม่อาจทำอะไรได้เลย

          4.       เราต้องร่วมมือกับพระเจ้า เพราะหากเราวอนขออาหาร แล้วนั่งงอมืองอเท้ารอให้อาหารลอยลงมาจากสวรรค์ เราคงต้องอดตายแน่

                   เราจึงต้องจดจำหลักการสำคัญนี้ไว้เสมอคือ "ปราศจากพระเจ้าเราทำอะไรไม่ได้ฉันใด  ปราศจากความพยายามและความร่วมมือของเรา พระองค์ก็ช่วยอะไรเราไม่ได้ฉันนั้น" หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ Prayer without deeds is dead.

          5.       เราต้อง "แบ่งปัน" ซึ่งกันและกัน เพราะพระองค์ทรงสอนให้เราภาวนาว่า "give us" ไม่ใช่ "give me"   การแบ่งปันซึ่งกันและกันจึงเป็นการช่วยพระเจ้าแจกจ่ายสิ่งที่จำเป็นแก่ผู้วอนขอ

                   คำภาวนาข้อนี้จึงไม่ใช่การวอนขอสิ่งที่ต้องการเพียงด้านเดียว แต่ยังเป็นการวอนขอให้เราสามารถแบ่งปันสิ่งที่มีแก่ผู้ขัดสนหรือด้อยโอกาสกว่าอีกด้วย


Image

Imageติดตามอ่าน ตอนที่ 5 ...โปรดประทานอภัยแก่ข้าพเจ้า เหมือนข้าพเจ้าให้อภัยแก่ผู้อื่น...
ในวันพุธหน้า (21 ม.ค. 52)


ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >