หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow บทไตร่ตรอง เพื่อสันติสุขในสังคมไทย โดย บาทหลวงพยนต์ ศันสนยุทธ
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 1251 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

บทไตร่ตรอง เพื่อสันติสุขในสังคมไทย โดย บาทหลวงพยนต์ ศันสนยุทธ พิมพ์
Tuesday, 02 December 2008

บทไตร่ตรอง เพื่อสันติสุขในสังคมไทย


Imageในช่วงเวลาปัจจุบันนี้ สิ่งที่ประชาชนชาวไทยมีความประสงค์เดียวกัน คือ ความต้องการเห็นความสุขสงบในสังคม ด้วยเพราะความหวาดหวั่นที่สถานการณ์ความตึงเครียดในบ้านเมืองของเรา กำลังคืบคลานไปหาการลงเอยด้วยการใช้ความรุนแรง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่พึงปรารถนาและพร้อมที่จะปฏิเสธวิธีการเหล่านั้น แต่เราก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า สภาวะที่บีบคั้นอันเกิดขึ้นจากการกระทำทั้งสองฝ่าย ได้สร้างบาดแผลแห่งความบาดหมาง และถูกฝังไว้ในจิตใจของผู้คน บาดแผลนี้เป็นความร้าวราน กำลังทำให้สังคมเผชิญกับภาวะแบ่งแยก แตกพรรค แยกพวก เมื่อต่างฝ่ายเห็นว่าการกระทำของฝ่ายตนดีกว่า ถูกกว่า โดยไม่ยอมรับเหตุและผลของอีกฝ่ายหนึ่งโดยเด็ดขาด เป็นที่น่าเสียใจอย่างยิ่งที่กระแสความคิดนี้ ได้ขยายวงกว้างในสังคมเสียแล้ว และเราไม่สามารถหาคำตอบได้ว่า ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ

จึงขอใช้โอกาสนี้ เชิญชวนให้คริสตชนทุกคนหันกลับมาทบทวนและทำการไตร่ตรองตนเอง ใช้ศาสนธรรมเป็นธรรมะนำความคิด ขอเริ่มที่การพิจารณาถึง พระผู้สร้างได้ประทานชีวิตให้แก่มนุษย์ ให้เอาใจใส่ดูแลมิใช่ให้ใช้ตามใจชอบ แต่ให้รักษาดูแลชีวิตด้วยปรีชาญาณ ให้เพื่อนมนุษย์ดูแลซึ่งกันและกันฉันพี่น้องตามกฎการให้และการรับ กฎแห่งการอุทิศตนและยอมรับผู้อื่น ความหมายของกฎแห่งการให้และการรับ คือ การที่เราถูกมอบให้แก่กันและกัน พระจิตเจ้าผู้ทรงสร้างความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวด้วยความรัก ทรงสร้างความสัมพันธ์ฉันพี่น้อง และสมานฉันท์ระหว่างเรา ซึ่งสะท้อนออกอย่างแท้จริงแห่งการให้และการรับซึ่งกันและกัน พระจิตเจ้ากลายเป็นกฎเกณฑ์ใหม่ ได้ปลุกความรับผิดชอบในตัวเราให้ร่วมอุทิศตนแก่กันและกัน และในการยอมรับผู้อื่น เนื่องจากว่า เราจะมีส่วนในความรักที่ไม่มีขอบเขตของพระคริสตเยซู (EVANGELIUM VITAE no. 76) ช่วงเวลานี้จึงเป็นความจำเป็นสำหรับคริสตชนทั้งหลาย ที่จะร่วมกันเสวนาแสวงหาแนวทางการสร้างสันติในสังคม

Imageนับเป็นสิ่งที่ท้าทายชีวิตเป็นอย่างมาก แต่เป็นความกล้าหาญที่สังคมต้องการ เมื่อแต่ละคนยินดีและพร้อมที่จะก้าวออกมาจากตัวตนของตนเอง โดยตั้งมั่นอยู่บนพื้นฐานแห่งการเสวนาระหว่างชีวิตกับชีวิต เป็นการสนทนาด้วยจิตวิญญาณที่สูงล้ำ ใช้สติที่เกิดจากธรรมปัญญา จากหลักการนี้ เราต้องมีความอดทน โดยเฉพาะต่อความพลาดพลั้งของคนที่อ่อนแอ ต้องเอาใจใส่ต่อกันเพื่อความดีและการค้ำจุนกัน ต้องรู้จักยอมรับกันและกัน การเสวนาจึงจะเกิดขึ้นได้ แต่หลายครั้งทีเดียว ที่เราไม่สามารถก้าวผ่านอุปสรรคและข้อจำกัดอันมากมาย นั่นเป็นเพราะเรามีความต้องการที่จะปกป้องตัวเองมากกว่าที่จะยอมลดสลายความเป็นตัวตนให้น้อยลง

พี่น้องคริสตชน พระดำรัสที่พระเยซูเจ้าทรงสอน "จงดำรงอยู่ในความรักของเราเถิด ถ้าท่านปฏิบัติตามบทบัญญัติของเรา ท่านก็จะดำรงอยู่ในความรักของเรา เหมือนกับที่เราปฏิบัติตามบทบัญญัติของพระบิดาของเรา และดำรงอยู่ในความรักของพระองค์" (ยน.15 : 9 -10) หมายความว่า หากเราดำรงอยู่ในความรักของพระเจ้า พระองค์จะทรงนำเราข้ามผ่านสิ่งขัดขวางเหล่านั้น "ความรัก" จึงเป็นประตูชัยที่จะทำให้เราขยับสูงขึ้น ให้รู้จักปฏิเสธตัวเอง ให้รู้จักชำระตัวเองให้บริสุทธิ์ และได้รับการเยียวยารักษา (Dues Caritas Est no.5) สิ่งนี้จึงหมายถึงสภาวะที่พระเจ้าได้นำเราเข้าไปสู่การเสวนาที่เป็นธรรมอย่างแท้จริง

Imageอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เรามิอาจเมินเฉย คือ การคัดค้านการใช้ความรุนแรง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต และถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เราจะต้องรักและเคารพชีวิตของมนุษย์ชายหญิงทุกคน ชีวิตของเพื่อนมนุษย์จะได้รับการปกป้อง โดยเฉพาะเวลาที่ชีวิตของเขาอ่อนแอหรือถูกคุกคาม หน้าที่นี้ไม่เป็นเพียงการกระทำส่วนตัวเท่านั้น แต่ยังเป็นการกระทำส่วนรวมที่ทุกคนต้องร่วมมือช่วยเหลือกัน คริสตชนต้องช่วยกันสร้างจิตสำนึกที่ชัดเจนเกี่ยวกับคุณค่าของชีวิตในทุกกรณี ต้องมีวิธีพูดและวิธีปฏิบัติที่เคารพและส่งเสริมคุณค่าศักดิ์ศรีของมนุษย์ ต้องยืนยันและเป็นประจักษ์พยานถึงความรักที่พระเจ้าทรงมีต่อเรา

ในขณะที่สังคมไทยกำลังประสบปัญหากับความขัดแย้งกันทางความคิด เพราะความแตกต่างของความเป็นบุคคล ความแตกต่างระหว่างชายและหญิง ช่องว่างระหว่างฐานะชนชั้น ทัศนคติที่เต็มไปด้วยอคติ หรือการรับรู้ข้อมูลข่าวสารฝ่ายเดียว ทำให้ทุกคนในสังคมไม่ยอมรับและไม่เคารพในความแตกต่างที่มนุษย์แต่ละคนมี ถือเป็น เสียงเรียกขานถึงการปฏิบัติตนและการมีท่าทีอย่างไรในสังคม ที่กำลังดังขึ้นอยู่เรื่อยๆ เพื่อให้เราต้องกระทำอะไรบางอย่างในสถานการณ์ที่เป็นความขัดแย้งในสังคม เสียงนี้เป็นการเรียกของพระจิตเจ้า "นี่คือบทบัญญัติของเรา ให้ท่านทั้งหลายรักกัน เหมือนดังที่เรารักท่าน" (ยน.15:12) พระองค์ต้องการให้เราใช้หลักการพื้นฐานของการมีชีวิต คือ ใช้จิตตารมณ์แห่งความรักเพื่อสร้างสังคมที่อ่อนโยน ให้กลับคืนสู่สังคมแห่งความรักสมานฉันท์ สังคมแห่งความยุติธรรมและสันติ

Imageขอยกตัวอย่างจิตตารมณ์แห่งความรักจากประสบการณ์ของนักบุญยอห์นเพื่อเราจะได้เรียนรู้ถึงแนวทางปฏิบัติ "หากข้าพเจ้าไม่ได้มีการสัมผัสใดเลยกับพระเจ้าในชีวิตของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็จะมองคนอื่นเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากเป็นคนอื่น ซึ่งจะไม่สามารถทำให้ข้าพเจ้ามองเห็นภาพลักษณ์ของพระเจ้าในตัวเขาได้เลย แต่หากในชีวิตของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่เคยสนใจผู้อื่นเลย เพราะต้องการที่จะเป็นคน "ศรัทธา" และ "ปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนา" อยู่อย่างเดียว หากเป็นเช่นนั้นแล้ว ความสัมพันธ์ของข้าพเจ้ากับพระเจ้าก็จะแห้งแล้งสิ้นดี มันคงกลายเป็นแค่ "ก็ดีอยู่" แต่ไม่มีความรักเลย" (Dues Caritas Est no.18)

เพื่อความหวังเหล่านี้จะได้บรรลุผล จึงขอให้เหล่าพี่น้องคริสตศาสนิกชน ได้ใช้แนวทางแห่งความรักต่อพระผู้เป็นเจ้า ต่อตนเอง และต่อผู้อื่น ด้วยการเปิดใจยอมรับและการยกย่องให้เกียรติศักดิ์ศรี ใช้ความรัก ความเมตตา ความใจกว้าง ใจที่ให้อภัย เพื่อให้ทุกคนพ้นอคติต่างๆ และพร้อมที่จะก้าวออกไปสู่สังคมแห่งความสงบสุข

 

ขอพระพรแห่งความรักและสันติสุข จงบังเกิดขึ้นในจิตใจของเราทุกคน


บาทหลวงพยนต์ ศันสนยุทธ

จิตตาธิการ คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ
2 ธันวาคม 2551

Image


ความคิดเห็น
รวยกับสันติสุข
เขียนโดย อัชฌา เปิด 2009-05-30 20:09:20
เมื่อเรามีทุกอย่างเหลือเฟือเราก็มีทั้งกำลังทรัพและเวลาที่จะช ่วยสังคมได้อย่างมีสันติสุขในใจจริงไหมครับ

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >