หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow พระวาจาเป็นข่าวดีและพลังชีวิต (ตอนที่ 3) โดย บาทหลวงชัยยะ กิจสวัสดิ์
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 96 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

พระวาจาเป็นข่าวดีและพลังชีวิต (ตอนที่ 3) โดย บาทหลวงชัยยะ กิจสวัสดิ์ พิมพ์
Wednesday, 03 December 2008

พระวาจาเป็นข่าวดีและพลังชีวิต (ตอนจบ)

โดย บาทหลวงชัยยะ กิจสวัสดิ์


 กลับไปอ่าน ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 ก่อน


+++++++++++++++++++++++++++++++

3. พระวาจา

Imageเพื่อจะรู้จักความคิดและความปรารถนาของพระเจ้า จำเป็นต้องรู้จัก "พระเยซูเจ้า" เพราะพระองค์ตรัสว่า "ผู้ที่เห็นเรา ก็เห็นพระบิดาด้วย" (ยน 14:9) และอีกตอนหนึ่งคือ "เราเป็นหนทาง ความจริง และชีวิต ไม่มีใครไปเฝ้าพระบิดาได้นอกจากผ่านทางเรา" (ยน 14:6)

"พระคัมภีร์" คือแหล่งรวมเรื่องราวเกี่ยวกับ "พระเยซูเจ้า" ดังที่นักบุญยอห์นยืนยันว่า "ยังมีเรื่องราวอื่น ๆ อีกมากมายที่พระเยซูเจ้าทรงกระทำ ซึ่งถ้าจะเขียนลงไว้ทีละเรื่องทั้งหมด ข้าพเจ้าคิดว่า โลกทั้งโลกคงไม่พอบรรจุหนังสือที่จะต้องเขียนนั้น" (ยน 21:24-25)

ด้วยเหตุนี้ นักบุญเยโรมจึงกล่าวว่า "ไม่รู้จักพระคัมภีร์คือไม่รู้จักพระคริสตเจ้า"

อนึ่ง นักบุญยอห์นได้พูดถึงวัตถุประสงค์ของพระคัมภีร์ไว้ว่า "เรื่องราวเหล่านี้ถูกบันทึกไว้ เพื่อท่านทั้งหลายจะได้เชื่อว่า พระเยซูเจ้าเป็นพระคริสตเจ้า พระบุตรของพระเจ้า  และเมื่อมีความเชื่อนี้แล้ว ท่านทั้งหลายก็จะมีชีวิตเดชะพระนามของพระองค์" (ยน 20:31)

หากที่ผ่านมาเราอ่านพระคัมภีร์แล้วยังไม่บรรลุถึงวัตถุประสงค์ดังที่นักบุญยอห์นกล่าวไว้ นั่นอาจเป็นเพราะเราไม่รู้จักวิธีอ่านหนังสือพระคัมภีร์ก็เป็นได้

ปกติ วิธีอ่านหนังสือย่อมแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของหนังสือแต่ละชนิด ดังเช่น

  • หนังสือที่เขียนเพื่อให้ข้อมูลหรือเพื่อการศึกษา เช่นสารานุกรม ตำราเรียน ฯลฯ เราต้องอ่านช้า ๆ ขีดเส้นใต้ ย่อ อ่านซ้ำ จนกว่าจะจดจำเนื้อหาได้
  • หนังสือที่เขียนเพื่อความสนุกสนานหรือหย่อนใจ เช่นหนังสือการ์ตูน นวนิยาย  เราอาจอ่านผ่านไปได้เร็ว ๆ
  • หนังสือภาคปฏิบัติ เช่น ตำราอาหาร เราต้องอ่านไปทำไป

สำหรับหนังสือพระคัมภีร์ซึ่งเป็น "พระวาจาของพระเจ้า ที่ตรัสด้วยภาษามนุษย์ เพื่อให้เราเชื่อและมีชีวิต"  วิธีอ่านจึงต้องแตกต่างจากหนังสือตำราเรียนหรือตำรากับข้าวอย่างแน่นอน

ในฐานะที่พระคัมภีร์เป็น "พระวาจาของพระเจ้า"  แปลว่าพระเจ้ากำลังตรัสกับเรา และเมื่อพระองค์ตรัสกับเรา เราต้อง...

  1. เปิดใจต้อนรับพระวาจาทั้งครบ ไม่ใช่เลือกรับเฉพาะข้อความที่สอดคล้องกับชีวิตของตน  ไม่ยึดติดกับอคติส่วนตัวหรือยึดมั่นกับทฤษฎีของตนแล้วหาพระวาจามาสนับสนุนความคิดของตน
  2. รับฟังให้ได้อรรถรสและเข้าให้ถึงอารมณ์ความรู้สึกของพระวาจาที่พระเจ้ากำลังตรัสกับเรา  แต่เนื่องจากพระองค์ตรัสกับเราด้วยภาษามนุษย์หลายยุคหลายสมัยซึ่งล้วนแล้วแต่มีสภาพแวดล้อม วัฒนธรรม วิธีคิด วิธีสื่อสารแตกต่างจากสมัยเรา  เราจึงจำเป็นต้อง "ศึกษา" พระคัมภีร์อย่างน้อยให้รู้ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ รูปแบบการเขียน ฯลฯ เพื่อจะได้เข้าใจพระวาจาดีและลึกซึ้งมากขึ้น
  3. ไตร่ตรองพระวาจาของพระเจ้าให้เข้าใจความคิดและความปรารถนาของพระองค์จน "เห็นจริง" ด้วยตนเองอาศัยพระหรรษทานของพระเจ้า  หากปราศจากการไตร่ตรอง ความเชื่อของเราก็เป็นได้เพียงการรับคำยืนยันของผู้อื่นซึ่งจะทำให้ความทุ่มเทและการผูกพันตนเองกับสิ่งที่ตนเชื่อลดน้อยถอยลงอย่างน่าใจหาย
  4. ปฏิบัติตามสิ่งที่ได้รับจากการไตร่ตรองจนกระทั่งชีวิตของเราคือการปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระเจ้าทุกขณะจิต

ยิ่งปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระเจ้ามากเท่าใด เรายิ่งเห็นจริง ยิ่งเชื่อ ยิ่งวางใจ ยิ่งรัก และยิ่งปรารถนาจะปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระองค์มากขึ้นเท่านั้น !

จุดอ่อนของเราในการปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระเจ้าเห็นทีจะมีอย่างน้อย 2 ประการด้วยกัน กล่าวคือ

4.1  เราเน้นพระประสงค์เชิงลบคือ "อย่าทำบาป" จนลืมพระประสงค์เชิงรุกอย่างเช่น "ท่านอยากให้เขาทำกับท่านอย่างไร ก็จงทำกับเขาอย่างนั้นเถิด" (มธ 7:12)

4.2  แม้ยามปฏิบัติตามพระประสงค์เชิงรุกก็ยังกระทำผ่านทาง "นอมินี่" เช่น ใส่ถุงทานเพื่อจ้างนักสังคมพัฒนา จนดูเหมือนจะลืมไปว่าการปฏิบัติตามพระประสงค์ เช่น เลี้ยงอาหารผู้สูงอายุ ช่วยเหลือผู้ขัดสนในเขตวัด หรือแจกของเล่นเด็กกำพร้าด้วยตนเองนั้นมันมีคุณค่าทั้งต่อผู้ให้และผู้รับ และช่วยให้ได้สัมผัสกับพระเจ้าที่มองไม่เห็นได้มากสักเพียงใด    

ที่สุด ไม่ว่าเราจะสอน จะศึกษา หรือจะอ่านพระคัมภีร์  สิ่งที่ต้องระลึกอยู่เสมอคือเราไม่ได้กำลังสอนหรือศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ซึ่งจะต้องจดจำรายละเอียดในอดีตให้ได้ทั้งหมด  แต่เรากำลังสอนและศึกษา "ข่าวดี" ของพระเยซูเจ้าเพื่อจะได้รู้จักพระองค์มากขึ้น รักพระองค์เพิ่มขึ้น และติดตามพระองค์ได้ใกล้ชิดขึ้น

          โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ "มีชีวิต" (ยน 20:31)

          "ชีวิต" ที่เหมือนพระเจ้าและเต็มเปี่ยมไปด้วย "พลัง"  !


ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >