หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow คุณธรรมความรัก (ตอนที่ 2) โดย บาทหลวงชัยยะ กิจสวัสดิ์
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 107 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

คุณธรรมความรัก (ตอนที่ 2) โดย บาทหลวงชัยยะ กิจสวัสดิ์ พิมพ์
Wednesday, 17 September 2008

 

 กลับไปอ่าน ตอนที่ 1 ก่อน


+++++++++++++++++++++++++++++++


ความรัก (ตอนที่ 2)

  โดย บาทหลวงชัยยะ กิจสวัสดิ์


รักมนุษย์

Imageรักมนุษย์หมายถึง "รักตัวเอง" และ "รักเพื่อนมนุษย์"

แม้นักบุญเกรโกรีจะคัดค้านความรักต่อตัวเองด้วยเหตุผลว่าความรักจำเป็นต้องประกอบด้วยสองฝ่าย และนักบุญเอากุสตินให้เหตุผลว่าไม่มีบัญญัติข้อใดสั่งให้รักตัวเองก็ตาม  แต่เหตุผลของทั้งสองเป็นเพียงการเล่นคำและเป็นการกล่าวถึงความรักตามธรรมชาติเท่านั้น

ในฐานะที่เป็นคุณธรรมที่เกี่ยวกับพระเจ้า ความรักต่อตัวเองไม่เพียงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นไปได้เท่านั้น แต่ยังเป็นคำสั่งที่แฝงอยู่ในพระวาจาที่ว่า "ท่านต้องรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง" (มธ 22:39) อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม คำสั่งให้รักตนเองก็มาพร้อมกับความคลุมเครือว่าจะมีประโยชน์อะไร

  • ต่อความรอดของวิญญาณ "มนุษย์จะได้ประโยชน์ใดในการที่ได้โลกทั้งโลกเป็นกำไร แต่ต้องเสียชีวิต" (มธ 16:26)
  • ต่อการได้รับพระคุณต่าง ๆ "ท่านทั้งหลายจงอย่าสะสมทรัพย์สมบัติบนแผ่นดินนี้เลย ที่นี่ทรัพย์สมบัติทั้งหลายถูกสนิมและขมวนกัดกิน และถูกขโมยเจาะช่องเข้ามาขโมยไปได้  แต่จงสะสมทรัพย์สมบัติในสวรรค์เถิด ที่นั่นไม่มีสนิมหรือขมวนกัดกิน และขโมยก็เจาะช่องเข้ามาขโมยไปไม่ได้  เพราะทรัพย์สมบัติของท่านอยู่ที่ใด ใจของท่านก็จะอยู่ที่นั่นด้วย" (มธ 6:19-21)
  • ต่อร่างกายของเรา "อย่ามอบร่างกายส่วนหนึ่งส่วนใดให้แก่บาปเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการทำความชั่ว" (รม 6:13)  "ท่านไม่รู้หรือว่า ร่างกายของท่านเป็นพระวิหารของพระจิตเจ้าผู้สถิตอยู่ในท่าน" (1 คร 6:19)  "ท่านทั้งหลายจงปราบโลกีย์วิสัยในตัวท่าน คือการผิดประเวณี ความลามก กิเลสตัณหา ความปรารถนาในทางชั่วร้าย และความโลภซึ่งเป็นเหมือนการกราบไหว้รูปเคารพอย่างหนึ่ง" (คส 3:5)

    นอกจากนั้น ยังเป็นการยากที่จะหาแนวทางปฏิบัติสำหรับการรักตัวเองนอกเหนือจากบัญญัติข้ออื่น ๆ ซึ่งครอบคลุมความประพฤติของเราหมดแล้ว

สิ่งที่ชัดเจนและสำคัญกว่าการรักตัวเองคือ "รักเพื่อนมนุษย์"

สิ่งที่ทำให้ความรักต่อเพื่อนมนุษย์ตามแบบคริสตชนแตกต่างและเหนือกว่าความรักตามความคิดของชาวยิวและคนต่างศาสนา ไม่ได้อยู่ที่คำสั่ง ข้อห้าม หรือผลอันเกิดจากความรัก แต่อยู่ที่ "แรงจูงใจ" 

  • ความรักต่อเพื่อนมนุษย์คือบัญญัติใหม่และเป็นเกณฑ์ตัดสินว่าเราเป็นคริสตชนหรือไม่ "เราให้บทบัญญัติใหม่แก่ท่านทั้งหลาย ให้ท่านรักกัน  เรารักท่านทั้งหลายอย่างไร ท่านก็จงรักกันอย่างนั้นเถิด  ถ้าท่านมีความรักต่อกัน ทุกคนจะรู้ว่าท่านเป็นศิษย์ของเรา" (ยน 13:34-35)
  • เป็นมาตรฐานในการพิพากษาตัดสิน "เชิญมาเถิด ท่านทั้งหลายที่ได้รับพระพรจากพระบิดาของเรา เชิญมารับอาณาจักรเป็นมรดกที่เตรียมไว้ให้ท่านแล้วตั้งแต่สร้างโลก เพราะว่า เมื่อเราหิวท่านให้เรากิน เรากระหายท่านให้เราดื่ม เราเป็นแขกแปลกหน้าท่านก็ต้อนรับ เราไม่มีเสื้อผ้าท่านก็ให้เสื้อผ้าแก่เรา เราเจ็บป่วยท่านก็มาเยี่ยม เราอยู่ในคุกท่านก็มาหา" (มธ 25:34-36)
  • เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าเรารักพระเจ้าหรือไม่ "เราจำแนกบุตรของพระเจ้าจากบุตรของปีศาจได้โดยวิธีนี้ คือทุกคนที่ไม่ประพฤติชอบ และไม่รักพี่น้องของตนก็ไม่ได้มาจากพระเจ้า" (1 ยน 3:10)
  • เป็นการปฏิบัติตามบัญญัติโดยสมบูรณ์ "เพราะธรรมบัญญัติทั้งหมดสรุปได้เป็นข้อเดียวว่า จงรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง" (กท 5:14)

"รักเพื่อนมนุษย์เพราะเห็นแก่พระเจ้า" หมายความว่าเรายกระดับความเป็นปึกแผ่นตามธรรมชาติและความรู้สึกเป็นเพื่อนระหว่างมนุษย์ด้วยกันเองขึ้นสู่ระดับที่สูงกว่า นั่นคือมองว่ามนุษย์ทุกคนล้วนเป็นบุตรของพระเจ้าและเป็นทายาทสวรรค์  ด้วยความคิดเช่นนี้ความรักต่อเพื่อนมนุษย์จึงใกล้เคียงกับความรักที่พระเยซูเจ้าทรงมีต่อเรา ("เรารักท่านทั้งหลายอย่างไร ท่านก็จงรักกันอย่างนั้นเถิด" - ยน 13:34) และทำให้สิ่งที่เราทำต่อเพื่อนมนุษย์เป็นการทำต่อพระเยซูเจ้าเอง ("เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ท่านทำสิ่งใดต่อพี่น้องผู้ต่ำต้อยที่สุดของเราคนหนึ่ง ท่านก็ทำสิ่งนั้นต่อเรา" - มธ 25:40)

ด้วยแรงจูงใจอันสูงส่งที่ทำให้เรามองเห็นพระเจ้าในเพื่อนมนุษย์นี้เอง ความรักต่อเพื่อนมนุษย์จึงต้องไม่จำกัดอยู่เฉพาะสมาชิกในครอบครัว ผู้ที่นับถือศาสนาเดียวกัน เพื่อนร่วมชาติเดียวกัน หรือคนแปลกหน้าในเขตแดนเดียวกัน (ลนต 19:34)  แต่ต้องขยายออกไปโดย "ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างชาวยิวกับผู้ที่ไม่ใช่ชาวยิว" (รม 10:12) และไม่เว้นแม้แต่คนวงนอกอย่างเช่นชาวสะมาเรีย (ลก 10:22) หรือศัตรูของเราเอง (มธ 5:23)

เพื่อให้กิจการแห่งความรักเป็นไปด้วยความสุขุมรอบคอบและบังเกิดผล จำเป็นต้องจัดลำดับความรักให้ชัดเจนโดยคำนึงถึงองค์ประกอบ 3 ประการคือ

  1. บุคคลที่ต้องการความรักจากเรา
  2. ผลประโยชน์ที่เราปรารถนาจัดหาให้เขา
  3. ความจำเป็น

หากแยกพิจารณาองค์ประกอบทั้งสามทีละข้อโดยเริ่มต้นที่ "บุคคล"  ลำดับความสำคัญจะออกมาประมาณนี้ - ตัวเอง ภรรยา ลูก พ่อแม่ พี่น้องชายหญิง เพื่อน คนในบ้าน เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมชาติ และคนอื่น ๆ  


เกี่ยวกับ "ผลประโยชน์" มี 3 ลำดับ

  1. ผลประโยชน์ด้านจิตใจที่เกี่ยวกับความรอดของวิญญาณ ต้องได้รับความห่วงใยและให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก
  2. ผลประโยชน์ภายในตามธรรมชาติเกี่ยวกับวิญญาณและร่างกาย เช่น ชีวิต สุขภาพ ความรู้ อิสรภาพ ฯลฯ เป็นอันดับสอง
  3. ผลประโยชน์ภายนอก เช่น ชื่อเสียง ความร่ำรวย ฯลฯ

เกี่ยวกับ "ความจำเป็น" ควรถือลำดับดังนี้
  1. ความจำเป็นสูงสุด  เมื่อคนหนึ่งตกอยู่ในอันตรายใกล้ตายหรืออาจถูกตัดขาดจากพระศาสนจักร หรืออาจสูญเสียสิ่งอื่นที่มีความสำคัญระดับเดียวกัน โดยที่เขาไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย
  2. ความจำเป็นหนัก  เมื่อคนหนึ่งอยู่ในอันตรายเช่นเดียวกับข้อแรกแต่สามารถแก้ไขได้ด้วยความพยายามขั้นวีรกรรมของเขาเอง
  3. ความจำเป็นทั่วไป ที่ผลกระทบไม่ถึงกับทำให้ถูกตัดขาดจากพระศาสนจักร หรือขอทานที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้โดยไม่ยากลำบากนัก


          หากนำองค์ประกอบทั้งสามมาพิจารณาร่วมกันย่อมเกิดความซับซ้อน แต่พอถือเป็นหลักการได้ดังนี้

  1. ความรักอันเป็นความพึงพอใจให้คำนึงถึงผู้รับว่าสมควรเพียงใด ส่วนความรักอันเป็นบุญกุศลให้คำนึงถึงความใกล้ชิดและความจำเป็นของเพื่อนบ้าน
  2. ความรอดของตัวเราต้องมาก่อนอื่นใดหมด ห้ามทำบาปเพราะเห็นแก่ความรักต่อผู้อื่นหรือต่อสิ่งใดก็ตาม และห้ามปล่อยให้วิญญาณตกอยู่ในอันตรายโดยปราศจากความระมัดระวังและหลักประกันว่าพระเจ้าทรงคุ้มครอง
  3. เรามีพันธะต้องช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่มีความจำเป็นด้านวิญญาณสูงสุด แม้จะต้องพลีชีพของตน ไม่ว่าเราจะแน่ใจในความจำเป็นของเพื่อนมนุษย์หรือผลอันเกิดจากความช่วยเหลือของเราหรือไม่ก็ตาม
  4. สืบเนื่องจากข้อ 3 มีน้อยกรณีมากที่ยกเว้นเราจากการเสี่ยงชีวิตหรืออวัยวะของเราเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์  กระนั้นก็ตามเรายังมีหน้าที่ต้องแบกรับความไม่สะดวกนานัปการอันเกิดจากความต้องการของเพื่อนมนุษย์หรือคนใกล้ชิดผู้นั้น

 

Image

Image ติดตามอ่าน ตอนที่ 3 ได้ในวันพุธหน้า (24 ก.ย.)

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >