หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow คุณธรรมความรัก (ตอนที่ 1) โดย บาทหลวงชัยยะ กิจสวัสดิ์
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 78 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

คุณธรรมความรัก (ตอนที่ 1) โดย บาทหลวงชัยยะ กิจสวัสดิ์ พิมพ์
Wednesday, 10 September 2008

ความรัก (ตอนที่ 1)

  โดย บาทหลวงชัยยะ กิจสวัสดิ์


Image เทววิทยาเรื่องความรัก

"ความรัก" คือนิสัยที่พระเจ้าทรงโปรดให้ซึมซาบในตัวเราเพื่อโน้มนำน้ำใจของเราให้รักพระเจ้าเหนือสิ่งอื่นใดเพราะเห็นแก่พระองค์เอง และรักมนุษย์เพราะเห็นแก่พระเจ้า

 เดิมเราเรียกนิสัยที่พระเจ้าทรงโปรดให้ซึมซาบในตัวเราว่า "ฤทธิ์กุศลเหนือธรรมชาติ"  แต่เนื่องจากคำศัพท์นี้เข้าใจกันเฉพาะในหมู่คริสตชน ปัจจุบันจึงเรียกว่า "คุณธรรมที่เกี่ยวกับพระเจ้า" (Theological Virtue)

ในบรรดาคุณธรรมที่เกี่ยวกับพระเจ้าซึ่งประกอบด้วยความเชื่อ ความหวัง และความรักนั้น  นักบุญเปาโลถือว่าความรักยิ่งใหญ่กว่าสิ่งใดทั้งหมด (1 คร 13:13)

จากคำนิยามข้างต้น เราสามารถอธิบายคุณสมบัติของความรักได้ดังนี้

  1. ต้นกำเนิด คือพระเจ้า ดังที่นักบุญเปาโลกล่าวว่า "พระจิตเจ้าซึ่งพระเจ้าประทานให้เรา ได้หลั่งความรักของพระเจ้าลงในดวงใจของเรา" (รม 5:5)  คุณธรรมความรักจึงแตกต่างและอยู่เหนือความรักตามธรรมชาติ

  2. ที่พำนัก คือน้ำใจ  แม้ว่าบางครั้งความรักจะเป็นเพียงอารมณ์ความรู้สึกและยิ่งไปกว่านั้นหลายครั้งเป็นเพียงปฏิกิริยาตอบสนองต่อประสาทสัมผัสของเรา  แต่ที่พำนักที่ถูกต้องของคุณธรรมความรักคือน้ำใจอันมีเหตุมีผลของเรา

  3. กิจการของความรักคือความปรารถนาดีและมิตรภาพ  การรักพระเจ้าคือการปรารถนาให้พระองค์ได้รับพระเกียรติ ความรุ่งโรจน์ และความดีงามทุกอย่าง อีกทั้งพยายามเท่าที่สามารถที่จะทำให้พระองค์ได้รับสิ่งเหล่านี้

    พระดำรัสที่ว่า "ผู้ใดรักเรา ผู้นั้นจะปฏิบัติตามวาจาของเรา พระบิดาของเราจะทรงรักเขา พระบิดาจะเสด็จพร้อมกับเรามาหาเขา จะทรงพำนักอยู่กับเขา" (ยน 14:23) และ "ท่านทั้งหลายเป็นมิตรสหายของเรา ถ้าท่านทำตามที่เราสั่งท่าน" (ยน 15:14) บ่งบอกว่าพระเยซูเจ้าทรงเน้นบทบาทจากทั้งสองฝ่ายจึงจะเกิดมิตรภาพแท้จริงระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าได้

  4. แรงจูงใจ คือความดีงามและความน่ารักของพระเจ้าซึ่งเรารู้ได้โดยอาศัยความเชื่อ  ไม่สำคัญว่าเราจะรู้จักความดีงามของพระเจ้ากี่ประการ เพราะสิ่งสำคัญคือเราต้องไม่มองว่าความดีงามนั้นเป็นแหล่งที่มาของความช่วยเหลือ รางวัล หรือความสุขของเรา แต่เป็นความดีงามในตัวของพระเจ้าเองที่ควรค่าแก่การรัก หาไม่แล้วเราจะเรียกว่ารักพระเจ้าเพราะเห็นแก่พระองค์เองไม่ได้

  5. ขอบเขต คือพระเจ้าและมนุษย์  แม้ว่ามีเพียงพระเจ้าเท่านั้นที่ทรงความดีงามและน่ารักอย่างไม่มีขอบเขต  กระนั้นก็ตาม อาศัยพระหรรษทานของพระเจ้า มนุษย์ทุกคนล้วนมีส่วนหรืออย่างน้อยก็มีความสามารถที่จะมีส่วนในความดีงามและความน่ารักของพระเจ้า  ดังนั้นความรักเหนือธรรมชาติจึงขยายขอบเขตไปสู่มนุษย์ทุกคนดังที่ทรงตรัสว่า "บทบัญญัติประการที่สองก็เช่นเดียวกัน คือท่านต้องรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง"

    คุณธรรมความรักจึงมีเป้าหมายอยู่ที่ทั้งพระเจ้าและมนุษย์ โดยพระเจ้าเป็นอันดับแรกและมนุษย์เป็นอันดับสอง (มธ 22:39; ลก 10:27)

รักพระเจ้า

Imageหน้าที่สำคัญสูงสุดของมนุษย์คือ "ท่านจะต้องรักพระยาห์เวห์ พระเจ้าของท่าน สุดจิตใจ สุดวิญญาณ และสุดกำลังของท่าน" (ฉธบ 6:5)  พระเยซูเจ้าทรงย้ำเช่นกันว่า "ท่านจะต้องรักองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่านสุดจิตใจ สุดวิญญาณ สุดสติปัญญาของท่าน" (มธ 22:37; ลก 10:27)  พระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 11 ทรงประกาศว่าบัญญัติประการนี้ ไม่ใช่ปฏิบัติตามได้โดยอาศัยกิจการแห่งความรักเพียงครั้งเดียวในชีวิต หรือทุกห้าปี หรือทุกครั้งที่โอกาสอำนวย แต่ต้องกระทำจนกว่าจะบรรลุความชอบธรรม

การผิดต่อความรักพระเจ้ามักเกิดจากการละเมิดหรือเป็นความผิดโดยอ้อมเมื่อทำบาปหนัก  กระนั้นก็ตามมีบาปที่ผิดต่อความรักพระเจ้าโดยตรง นั่นคือการมีจิตใจเฉื่อยชาอันนำมาซึ่งความเกลียดชังพระเจ้าและพระพรต่าง ๆ ของพระองค์ ไม่ว่าความเกลียดชังนั้นจะเกิดจากพระบัญญัติที่จำกัดเสรีภาพและมีบทลงโทษ หรือเกิดจากการไม่ชอบพระเจ้าเองก็ตาม

คุณสมบัติที่ว่า "สุดจิตใจ สุดวิญญาณ สุดสติปัญญา และสุดกำลังของท่าน" ไม่ได้หมายถึง "ความเข้มข้นสูงสุด" เพราะความเข้มข้นของกิจการไม่เคยถูกรวมอยู่ในคำสั่งใด ๆ  และในเวลาเดียวกันก็ไม่ได้หมายความว่าต้องมีความรู้สึกรักพระเจ้ามากกว่าสิ่งสร้าง เพราะสิ่งสร้างแม้จะไม่มีความสมบูรณ์แต่ก็มองเห็นและชวนให้เรารักมากกว่าพระเจ้าซึ่งมองไม่เห็น  ดังนั้นความหมายที่ถูกต้องคือทั้งสติปัญญาและน้ำใจของเราต้องรับรู้คุณค่าและยกพระเจ้าไว้เหนืออื่นใด ไม่เว้นแม้แต่บิดามารดาหรือบุตรชายหญิงดังที่ทรงตรัสว่า "ผู้ที่รักบิดามารดามากกว่ารักเรา ก็ไม่คู่ควรกับเรา ผู้ที่รักบุตรชายหญิงมากกว่ารักเรา ก็ไม่คู่ควรกับเรา" (มธ 10:37)  ความรักเช่นนี้ไม่เพียงเหนือกว่าความเป็นวัตถุนิยมของพวกสะดูสีและจารีตนิยมของพวกฟาริสีเท่านั้น แต่ยังเป็นหลักประกันแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของชีวิตเราอีกด้วย  

ยิ่งไปกว่านั้น ความรักต่อพระเจ้ายังเป็นทั้ง "หลักการ" และ "เป้าหมาย" ของความครบครันด้านศีลธรรม

เมื่อนักบุญเปาโลกล่าวว่า "ความรักไม่มีสิ้นสุด" (1 คร 13:8) ย่อมหมายความว่าความรักเริ่มต้นแล้วและเป็นจุดเริ่มต้นของการมีชีวิตเหมือนพระเจ้าซึ่งจะบรรลุความสมบูรณ์ในสวรรค์  ความรักจึงเป็นหลักของความครบครันเหมือนพระเจ้าและเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคนดังที่นักบุญยอห์นกล่าวว่า "ผู้ใดไม่มีความรัก ย่อมดำรงอยู่ในความตาย" (1 ยน 3:14)   

ในฐานะที่เป็นเป้าหมายของความครบครัน เป็น "บัญญัติเอกและเป็นบัญญัติแรก" (มธ 22:38) เป็น "จุดประสงค์ของธรรมบัญญัติ" (1 ทธ 1:5) และเป็น "สายสัมพันธ์แห่งความสมบูรณ์"

(คส 3:14)  ความรักต่อพระเจ้าจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญของความชอบธรรมและการได้รับพระคุณต่างๆ

อำนาจของความรักในการทำให้เป็นผู้ชอบธรรมปรากฏชัดใน ลก 7:47 "เราบอกท่านว่าบาปมากมายของนางได้รับการอภัยแล้วเพราะนางมีความรักมาก" และ 1 ปต 4:8 "จงมีความรักกันอย่างมั่นคง เพราะความรักลบล้างบาปได้มากมาย"  อำนาจนี้มิได้ลดน้อยถอยลงเพราะศีลล้างบาปหรือศีลอภัยบาป แต่กลับจะทำให้เราปรารถนารับศีลอภัยบาปทุกครั้งที่สามารถ  

ส่วนอำนาจของความรักที่ทำให้เราได้รับพระคุณต่าง ๆ ได้รับการเน้นย้ำโดยนักบุญเปาโล "เรารู้ว่า พระเจ้าทรงบันดาลให้ทุกสิ่งกลับเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่รักพระองค์ ผู้ที่ทรงเรียกมาตามพระประสงค์ของพระองค์" (รม 8:28) นักบุญเอากุสตินจึงเรียกความรักว่า "ชีวิตของคุณธรรม" (vita virtutum) และนักบุญโทมัสเรียกว่า "รูปแบบของคุณธรรม" (forma virtutum) ซึ่งหมายความว่าคุณธรรมอื่น ๆ แม้จะมีคุณค่าในตัวของมันเอง แต่จะมีความสดใสล้ำเลิศกว่าเมื่อรวมกับความรัก เพราะความรักขึ้นตรงถึงพระเจ้าและนำคุณธรรมอื่นไปสู่พระองค์  

เพื่อจะได้รับพระคุณต่าง ๆ  ความรักต่อพระเจ้าต้องเจริญเติบโตไม่มีสิ้นสุด  นักบุญโทมัสกล่าวถึงความก้าวหน้าในความรักต่อพระเจ้าไว้ 3 ขั้นตอนด้วยกันคือ 

  1. เป็นอิสระจากบาปหนักอาศัยการต่อสู้กับการประจญด้วยความพากเพียร
  2. หลีกเลี่ยงบาปเบาที่กระทำโดยตั้งใจ ทั้งนี้อาศัยความขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติคุณธรรม
  3. เป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า

นอกจากสามขั้นนี้แล้ว นักบุญเทเรซา นักบุญฟรังซิส เดอ ซาล และนักบุญอีกหลายท่านได้เพิ่มระดับขั้นของความรักต่อพระเจ้าอีกมากมาย

อย่างไรก็ตาม ความรักต่อพระเจ้าไม่ได้หมายความว่า "ไม่ทำบาป" หรือ "ทำบาปไม่เป็น"  เมื่อนักบุญยอห์นพูดว่า "ทุกคนที่ดำรงอยู่ในพระองค์ย่อมไม่ทำบาป" (1 ยน 3:6) ท่านต้องการหมายความเพียงว่าความรักขั้นสูงย่อมคงอยู่ถาวร แต่ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าเราจะไม่สูญเสียความรักนี้ไป  จริงอยู่บาปเบาไม่ทำให้ความรักต่อพระเจ้าลดน้อยลง แต่บาปหนักเพียงครั้งเดียวก็เพียงพอที่จะทำลายความรักและมิตรภาพระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าให้ขาดสะบั้นลงได้

 

Image

Image ติดตามอ่านตอนที่ 2 ได้ในวันพุธหน้า (17 ก.ย.) 


 

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >