หน้าหลัก arrow กิจกรรม ยส. arrow กิจกรรมย้อนหลัง arrow กิจกรรมของ ยส. 1/2008 (ม.ค.-มิ.ย.)
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 643 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

กิจกรรมของ ยส. 1/2008 (ม.ค.-มิ.ย.) พิมพ์
Wednesday, 03 September 2008


จดหมายข่าว ยส. ฉบับที่ 1 / 2551 
(มกราคม ถึง มิถุนายน 2551)



งานสัมมนาศึกษาสารวันสันติภาพสากล ปี 2008


คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.) ร่วมกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อครอบครัว จัดศึกษาสาสน์สันติภาพสากล และจัดเสวนาเรื่อง "ครอบครัวมนุษย์ คือ ชุมชนแห่งสันติภาพ" เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2551 ณ ห้องประชุม ชั้น ๑๐  อาคารสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย ช่องนนทรี ยานนาวา กรุงเทพฯ มีผู้เข้าร่วมเสวนา รวม 40 คน ได้แก่ บาทหลวง และนักบวชหญิงจากคณะต่างๆ คณะครูและเจ้าหน้าที่จากโรงเรียนคาทอลิก และหน่วยงานองค์กรต่างๆ การจัดครั้งนี้เพื่อให้ศาสนิกชนได้ศึกษาและทำความเข้าใจในสาระสำคัญของสาสน์สันติภาพสากลปี 2008 ของพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16

โดย คุณอัจฉรา  สมแสงสรวง เลขาธิการ ยส. ได้สรุปสาระสำคัญของสาสน์สันติภาพสากล ว่า  "พระสันตะปาปา ทรงเชิญชวนประชาคมโลกให้หันมาสนใจและฟื้นฟูสันติภาพ ทรงให้ความสำคัญต่อเรื่องครอบครัว สิ่งแวดล้อม และการค้าอาวุธ เพราะครอบครัวคือรากฐานแรกของสันติภาพและเป็นครูคนแรกแห่งการสร้างคุณค่าสันติภาพ  เรื่องสิ่งแวดล้อม ทรงเรียกร้องให้ทุกคนหันมาให้ความสำคัญต่อโลกที่เป็นเสมือนครอบครัวของมนุษยชาติ เพราะทุกคนจะอยู่รอดได้ด้วยความร่วมมือกันพิทักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลก ส่วนเรื่องการค้าอาวุธ ทรงเห็นถึงปัญหาความเกลียดชัง การแบ่งแยกเป็นพวกและเป็นศัตรูของผู้คนในโลกที่ต่างก็เร่งสะสมอาวุธเพื่อสร้างฐานอำนาจโดยใช้งบประมาณในด้านนี้สูงขึ้นๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำรงอยู่ของครอบครัวโลก สงครามที่ถูกอ้างว่าเป็นการต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยและผดุงสันติภาพ ก็คือเครื่องมือผลาญสายใยความสัมพันธ์ ความรัก และความอบอุ่นในครอบครัว ซึ่งเป็นเสาหลักแห่งสันติภาพอันแท้จริง  ดังนั้นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นมีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดที่ครอบครัว คุณธรรมแห่งสันติภาพจึงควรได้รับการปลูกฝังจากครอบครัวเพื่อเป็นการส่งมอบมรดกแห่งอารยธรรมมนุษย์ต่อไปในอนาคต"

คุณอัจฉรา  สมแสงสรวง เลขาธิการยส. สรุปสาระสำคัญของสาสน์สันติภาพสากลคุณรัชนี  ธงไชย ครูใหญ่โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก

ในช่วงเสวนา "ครอบครัวมนุษย์ คือชุมชนแห่งสันติภาพ" มีวิทยากรจากองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเด็ก คือ คุณวัลลภ ตังคณานุรักษ์ เลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก และคุณรัชนี ธงไชย ครูใหญ่โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก จ.กาญจนบุรี - บ้านสำหรับเด็กที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาครอบครัว อาทิ เด็กกำพร้า ครอบครัวแตกแยก และถูกทอดทิ้ง  ได้ร่วมพูดคุยในประเด็นสถานการณ์สังคมที่ส่งผลกระทบต่อครอบครัวและเยาวชน รวมทั้งมุมมองต่อการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาความรุนแรงที่เกิดกับเยาวชนและครอบครัว  

คุณรัชนี  ธงไชย หรือ แม่แอ๊วของเด็กๆ ได้พูดถึงปัญหาสังคมที่ส่งผลกระทบต่อเยาวชนขณะนี้ คือเรื่องสื่อและกระแสโลกาภิวัตน์ที่มุ่งเน้นการบริโภคและวัตถุนิยมได้เข้ามากำหนดวิถีชีวิตของครอบครัวและเยาวชนให้เกิดตัณหา ความโลภ และนำไปสู่ปัญหาความรุนแรงในสังคม สังคมจึงต้องช่วยกันสร้างระบบการศึกษาเสียใหม่ให้สอดคล้องกับชีวิต เชื่อมโยงให้เยาวชนเข้าใจชีวิตตนเองเพื่อเข้าใจผู้อื่น "การศึกษา คือ กระบวนการเรียนรู้ที่เกี่ยวพันกับชีวิต มนุษย์มีความแตกต่างหลากหลายจากการเลี้ยงดู เพราะฉะนั้น การศึกษาจึงต้องมีความแตกต่างหลากหลายด้วย ชีวิตภายนอกและชีวิตภายใน มีสิ่งที่เป็นปัจจัยเกื้อหนุนกัน  จึงควรจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับชีวิต โดยต้องเชื่อมโยงกับคนรุ่นต่างๆ และต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องครอบครัว ชุมชน หรือที่เรียกว่ารากเหง้า ถ้าตราบใดที่เรียนรู้เรื่องรากเหง้าได้ดี ก็จะเรียนรู้เรื่องต่างๆ ได้ดี เพราะจะรู้จักตัวเองได้ดีขึ้น  เพราะฉะนั้นการศึกษาจึงต้องหันมาที่ตัวเราและชุมชนของเรา ทำให้เกิดการศึกษาทางเลือก ที่มีทั้งครอบครัวจัดการศึกษาเอง และชุมชนจัดการศึกษาให้ หน้าที่ของเรา คือ ต้องช่วยกันสร้างระบบการศึกษาด้วย  เราจะปล่อยให้สื่อมาเป็นผู้สอนลูกเราไม่ได้ เราต้องรู้สึกว่าเด็กทุกคน คือลูกของเรา  ครอบครัวคือสมาชิกของชุมชนโลก เราคือพี่น้องกันต้องช่วยกันดูแลครอบครัวของเรา สมาชิกของสังคมโลก โลกทั้งผอง พี่น้องกัน ต้องเริ่มสร้างจากเครือข่ายเล็ก แล้วค่อยขยายไปสู่เครือข่ายอื่นๆ เพื่อเราจะได้เห็นเด็กของเราเป็นเด็ก "ใจใหม่ วัยใส"   

ส่วนคุณวัลลภ  ตังคณานุรักษ์ เลขาธิการ มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ซึ่งช่วยเหลือเด็กเร่ร่อนและเด็กที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาสังคม  ได้อธิบายว่าโครงสร้างของครอบครัวสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็วมากจากกระแสโลกาภิวัตน์และบริโภคนิยม ส่งผลให้เกิดครอบครัวแปลกๆ ขึ้น คือ 1.ครอบครัวลูกระเบิด เด็กที่ถูกทำร้ายจากพ่อแม่ที่ไม่มีความพร้อม ไม่มีความรับผิดชอบ เที่ยว ดื่ม กิน   2. ครอบครัวดาวกระจาย พ่อ แม่ ลูก อาศัยอยู่หรือทำมาหากินคนละที่คนละทาง   3. ครอบครัวยิปซี ครอบครัวที่ย้ายถิ่นฐาน เพื่อหาแหล่งทำมาหากินใหม่ๆ เคลื่อนย้ายไปเรื่อยๆ   4. ครอบครัวเปิดปุ๊บติดปั๊บ (มีมากขึ้น) มีลูกเมื่อยังไม่พร้อม คลอดลูกแล้วนำไปทิ้ง หรือส่งไปให้ตายายเลี้ยง (เลี้ยงลูกทางไปรษณีย์)   ซึ่งทั้ง 4 ครอบครัว เป็นครอบครัวที่มีความเสี่ยงที่จะทำให้เด็กได้รับผลกระทบ   "เด็กมีความทุกข์ จากการที่พ่อแม่ทะเลาะกัน พ่อแม่ไม่รัก ไม่มีบ้านอยู่อาศัย เมื่อมีความทุกข์มาก ความเหงาก็เกิดขึ้น เมื่อเหงา คับข้องใจ ถึงที่สุด จึงเปลี่ยนเป็นความคับแค้นใจกับตัวเองและกับผู้อื่น กับตัวเองคือ การทำร้ายร่างกาย ที่รุนแรงมาก คือการฆ่าตัวตาย ส่วนการทำร้ายคนอื่น ปรากฏการณ์ความรุนแรงที่มีมากขึ้น ซึ่งมาจากครอบครัวที่แตกสลาย ทำให้แนวโน้มที่จะมีระเบิดเวลามากขึ้น ครอบครัวที่ไม่พร้อมก็เหมือนกับมีระเบิดเวลา และจะระเบิดแรงมาก

(ซ้าย) คุณวัลลภ  ตังคณานุรักษ์ เลขาธิการ มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ผู้เข้าร่วมเสวนา

เราต้องร่วมสร้างครอบครัวที่มีความสุข ในการสร้างครอบครัว หรือชุมชนให้สามารถอยู่ได้อย่างปกติสุข แนวทางที่มีคนคิดว่าจะทำให้ครอบครัวผาสุก ขึ้นอยู่กับพื้นฐานความเชื่อ  4 แนวทาง คือ 1. เชื่อเรื่องการเตรียมครอบครัวคนรุ่นใหม่ เชื่อว่าหนุ่มสาวเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ผลิดอกออกผลได้ จึงต้องเตรียมคนรุ่นใหม่ ให้พร้อมจะเป็นพ่อแม่ เปลี่ยนหลักสูตรการศึกษา จากเพศศึกษา เป็นครอบครัวศึกษา เพราะว่าเป็นการเตรียมตั้งแต่เด็กเล็กๆ เพื่อให้รู้ว่าชายหญิงเป็นเพื่อนกัน ไม่ควรรังแกหรือละเมิดกัน เป็นเพื่อนกันตั้งแต่เด็ก จนมาเป็นมิตรที่เกื้อกูลกัน   2. ศาสนธรรม ทางศาสนาสอนให้ทุกคนมีพลังจิตที่ดี  มีความเมตตาต่อกัน  3. ชุมชน ถ้ามิติของชุมชนเข้มแข็ง จะเป็นพลังทำให้ครอบครัวเข้มแข็ง  ชุมชนยั่งยืน ถ้าชุมชนสามารถดูแลกันเองได้ เป็นชุมชนที่มีความเมตตา กรุณาต่อกัน ไม่มีอบายมุขในชุมชน  4.  อำนาจรัฐ หน้าที่รัฐจะต้องออกกฎหมายและจัดระเบียบสังคมให้เป็นไปตามแนวทางที่ดี" 






เสวนาเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก หัวข้อ "วิถีรักษ์โลก หลากหลายทางเลือก"

 

ในวันที่ 5 มิถุนายน 2551 ณ อาคารสภาพระสังฆราชฯ โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 70 คน ได้แก่ บาทหลวงและ  นักบวชหญิงจากคณะต่างๆ ครูโรงเรียนคาทอลิก และเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ การจัดเสวนาครั้งนี้เพื่อศึกษาความเชื่อมโยงของผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิกฤติสิ่งแวดล้อม อันสืบเนื่องมาจากพฤติกรรมบริโภคนิยมของมนุษย์ และเรียนรู้กิจกรรมภาคปฏิบัติที่ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิต และขยายแนวร่วมในการรักษาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม

Imageการเสวนาหัวข้อ "วิถีรักษ์โลก หลากหลายทางเลือก" เริ่มโดยการฉายภาพยนตร์สารคดีแอนนิเมชั่นเรื่อง  The Story of Stuffs โดย Annie Leonard  สารคดีความยาวประมาณ 20 นาที ที่จะกระตุกให้คนหันมาสนใจ      "ข้าวของ" ต่างๆ มากขึ้นและเห็นถึงพิษภัยของบริโภคนิยม ผ่านการบรรยายประกอบภาพการ์ตูน สอดแทรกด้วยมุขตลกร้ายๆ แอนนีใช้เวลานานกว่า 10 ปี เดินทางไปทั่วโลกเพื่อที่จะพบว่า เรื่องราวเกี่ยวกับข้าวของต่างๆ นั้น ไม่ได้มีแค่การใช้ทรัพยากร การผลิต การจัดจำหน่าย การบริโภค และการกำจัดขยะ เหมือนอย่างที่เขียนไว้ในตำราว่าด้วย "Material Economy" แอนนี่อธิบายว่า ทุกขั้นตอนล้วนต้องสัมพันธ์กัน สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม มีผู้คนจำนวนมากใช้ชีวิตและทำงานอยู่ในระบบนี้ แต่ความจริงก็คือ..ทั้ง 5 ขั้นตอนรวมกันเป็นระบบที่เรียกว่า "linear system" นี้ไม่เหมาะเลยกับโลกที่มีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด  แอนนีบอกให้มองเรื่องนี้ทั้งระบบ ไม่ใช่แยกส่วน ทางออกของปัญหามีอยู่แล้ว อย่าคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้หรืออุดมคติเกินไป ทั้งหมดนี้ มนุษย์เป็นคนสร้างขึ้นมา ฉะนั้นมนุษย์นี่เองที่ต้องมาช่วยกันสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพื่อโลกของเรา

จากนั้นจึงเป็นช่วงของการเสวนาโดยมีตัวอย่างภาคปฏิบัติของการมีส่วนช่วย "ลดโลกร้อน" มาบอกเล่าประสบการณ์ตรงแก่ผู้เข้าร่วมเสวนา ดังนี้ 

คุณกรรณิการ์  กิจติเวชกุล ผู้ดำเนินรายการ(จากซ้ายไปขวา) คุณสาธนี  วาดอักษร  ผู้จัดการโครงการกระดาษเพื่อต้นไม้  - คุณมงคล  วิจะระณะ รองประธานชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย  และคุณกิตติชัย  งามชัยพิสิฐ ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม We Change

โครงการของเสียเหลือศูนย์  โรงเรียนรุ่งอรุณ (โรงเรียนทางเลือกที่มีแนวทางการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเด็กและสังคมไทย)  ซึ่งมาจากการริเริ่มของครูในโรงเรียน เมื่อปี 2547  ได้รณรงค์ให้นักเรียนช่วยกันแยกขยะอย่างเป็นระบบภายในโรงเรียนจนสามารถลดปริมาณขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ  บนฐานคิด "โลกนี้ไม่มีขยะ" และจิตสำนึกแห่งการบริโภคที่ "ไม่สร้างขยะ" สามารถลดจำนวนขยะจาก 200 กิโลกรัม/วัน เหลือ 20 กิโลกรัม/วัน

โครงการกระดาษเพื่อต้นไม้ เพื่อช่วยเรื่องการจัดการขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ (Reuse / Recycle) และลดปริมาณขยะ โดยรับบริจาคกระดาษใช้แล้วจากบริษัทและองค์กรต่างๆ นำไปขายต่อเพื่อนำเงินไปสนับสนุนกิจกรรมด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ตั้งกองทุนฟื้นฟูป่าชุมชน  สร้างบ้านดินให้คนยากไร้   

คุณอภิดลน์  เจริญอักษร ครูโรงเรียนรุ่งอรุณ หนึ่งในผู้ริเริ่มโครงการของเสียเหลือศูนย์ผู้เข้าร่วมเสวนาให้ความสนใจเป็นอย่างดี

กลุ่ม We Change จากกลุ่มนักกิจกรรมในมหาวิทยาลัยที่มาร่วมกันเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น โดยสร้างปฏิบัติการ "ขัดขืนและตื่นรู้" ซึ่งรณรงค์โครงการ "ปิดทีวี เปิดชีวิต" เชิญชวนให้ประชาชนร่วมสัปดาห์ปิดทีวี เพื่อให้เห็นว่ายังมีกิจกรรมอื่นๆ อีกหลายอย่างในชีวิตที่น่าสนใจกว่าการดูทีวี และโครงการ "ไม่ซื้อก็สุขได้" เพื่อให้ประชาชนรู้เท่าทันบริโภคนิยม  โครงการ "ใช้ชีวิตช้าๆ" กระตุ้นเตือนคนในสังคมปัจจุบันที่มักทำอะไรหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ผลที่ได้ออกมาจึงไม่ดีสักอย่าง ปฏิบัติการ "คืนคุณค่าเดิมกลับคืนมา" โดยการรวบรวมพันธุ์ข้าวไทยที่เริ่มสูญหายและถูกละเลยหลงลืม และปฏิบัติการ "ค้นหาความสัมพันธ์" โดยจัดกิจกรรม "เทศกาลตลาดแบ่งปัน"  นำสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วมาแลกเปลี่ยนกันโดยมีเงื่อนไขให้ผู้ต้องการของอธิบายความรู้สึกที่ต้องการของ และเจ้าของอธิบายคุณค่าและความหมายต่อของที่นำมาแลก

ซิสเตอร์ร่วมซักถามแลกเปลี่ยนกับวิทยากรฉายสารคดีเรื่อง The Story of Stuffs ให้ผู้เข้าร่วมเสวนาดูก่อนเริ่มพูดคุย

และชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย  ซึ่งเป็นกลุ่มของผู้ใช้จักรยานเป็นทางเลือกของการประหยัดพลังงานและลดภาวะโลกร้อนวิธีหนึ่ง พร้อมไปกับร่วมกันทำกิจกรรมการกุศลต่างๆ เช่น โครงการรีไซเคิลจักรยาน โดยรับบริจาคจักรยานเก่ามาซ่อมแซมแล้วนำไปบริจาคให้เด็กนักเรียนยากจนในชนบท โครงการขยะแลกจักรยาน โดยร่วมกับโรงเรียนที่มีการคัดแยกขยะ ให้นักเรียนสะสมขยะไว้แล้วนำมาให้ครู เมื่อได้ถึงมูลค่าที่กำหนดจึงนำไปซื้อจักรยานให้นักเรียน  และโครงการจักรยานทางไกลใจถึงใจ ขี่จักรยานรับบริจาคเงินช่วยสร้างแนวกันชนให้ช้างป่า จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น





ค่ายยุวสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 3
ระหว่างวันที่ 11-14 มีนาคม 2551
ณ โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก  จ.กาญจนบุรี


เยาวชนร่วมกิจกรรมฝึกอาชีพกับเด็กโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก

เด็กๆ ฟังแม่แอ๊ว หรือ คุณรัชนี  ธงไชย ครูใหญ่โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก เล่าเรื่องราวของโรงเรียนหมู่บ้านเด็กกิจกรรมที่สอดแทรกแนวคิดสิทธิมนุษยชนให้เยาวชนได้เรียนรู้

จัดให้แก่เยาวชนจากโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3 - 5  ทั้งโรงเรียนคาทอลิกและโรงเรียนรัฐบาล ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด จำนวน10 แห่ง รวม 38 คน  เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องศักดิ์ศรีและสิทธิของความเป็นมนุษย์ สิทธิของเด็ก จากหลากหลายกิจกรรม เช่น กิจกรรมความจำเป็น / ความต้องการ, กิจกรรมฐาน Human Rights Walk Rally, กิจกรรมสิทธิ / ความรับผิดชอบ และกิจกรรมสัมผัสชีวิต ซึ่งจัดให้เยาวชนได้พักค้างคืนและทำกิจกรรมฝึกอาชีพร่วมกับเด็กๆ ของโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก เช่น ทำผ้าบาติค ทอผ้า งานประดิษฐ์จากไม้ งานเกษตร และงานเฟอร์นิเจอร์ ได้รับฟังการแบ่งปันประสบการณ์การทำงานของครูใหญ่และเจ้าหน้าที่โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก ซึ่งทำให้เยาวชนได้รับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนในสังคมไทย เช่น ปัญหาความยากจน ครอบครัวแตกแยก ถูกทอดทิ้ง ถูกทารุณกรรม ถูกล่วงละเมิดทางเพศ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมร่วมสังเกตการณ์การประชุมสภาโรงเรียน ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้เรื่องประชาธิปไตยทางตรงของเด็กโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก ซึ่งมีการตั้งกฎกติกาในการอยู่ร่วมกันโดยใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเครื่องมือสร้างการเรียนรู้ ให้เด็กยอมรับความผิด มีความซื่อสัตย์ และรู้จักการให้อภัย ทำให้ได้เรียนรู้ว่าเยาวชนสามารถมีบทบาทในการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นได้

กิจกรรมที่สอดแทรกแนวคิดสิทธิมนุษยชนให้เยาวชนได้เรียนรู้

เข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุมสภาเด็กของโรงเรียนหมู่บ้านเด็กเยาวชนที่เข้าร่วมค่ายยุวสิทธิมนุษยชนครั้งที่ 3

ผลจากการจัดค่ายยุวสิทธิมนุษยชน ของ ยส. ประเมินได้ว่า เยาวชนมีความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนที่ต้องมาคู่กับความรับผิดชอบและบทบาทในการส่งเสริมการเคารพสิทธิในสังคมมากขึ้น ได้เห็นคุณค่าในชีวิตของตนเองที่มีโอกาสหลายๆ ด้านมากกว่าเด็กที่โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก เห็นคุณค่าของความรัก ความเข้าใจ และการเอาใจใส่ของครอบครัวตนเอง เห็นช่องว่างระหว่างคนมีโอกาสและคนด้อยโอกาส มีความเข้าใจต่อปัญหาของสังคมมากขึ้น






โครงการค่ายสัมผัสชีวิต ครั้งที่1 "เยาวชนเมืองสัมผัสชีวิตชาวปกาเกอะญอ"
ระหว่างวันที่ 20-24 เมษายน 2551
ที่บ้านขุนแปะ อ.จอมทอง  จ.เชียงใหม่

ร่วมประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุผู้เฒ่าผู้แก่ให้ศีลให้พรเยาวชน

โดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์สังคมพัฒนาเชียงใหม่ ในการประสานสถานที่จัด  การเดินทาง และการอำนวยความสะดวกต่างๆ  ค่ายสัมผัสชีวิตครั้งที่ 1 นี้จัดให้แก่เยาวชนที่ผ่านกระบวนการค่ายยุวสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2 และ 3 จำนวน 16 คน เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาของชนเผ่าปกาเกอะญอ อันจะทำให้เกิดความเข้าใจในคุณค่าของชีวิตที่มีความแตกต่างหลากหลาย เกิดการเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตนเองและผู้อื่น สามารถเข้าใจสภาพความเป็นไปของชุมชนและวิเคราะห์สถานการณ์สังคมที่เกิดขึ้นได้ และสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

ภูมิปัญญาของชาวปกาเกอะญอในการทำที่ดักสัตว์จากไม้ไผ่แม่บ้านปกาเกอะญอสอนลูกหลานทอผ้าโดยเริ่มจากการสานจากทางมะพร้าวก่อน

เยาวชนได้เรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชนเผ่าปกาเกอะญอ จากการพักอาศัยและทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัวชาวบ้าน โดยเยาวชนต้องร่วมกันทำอาหารและไปช่วยงานในไร่ของครอบครัว ซึ่งทำให้เยาวชนได้เรียนรู้ถึงความยากลำบากในการทำมาหากิน การแบ่งปันและการพึ่งพาตนเองของชาวบ้าน เห็นน้ำใจไมตรีที่ชาวบ้านมีให้ ได้เรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีชาวปกาเกอะญอจากการร่วมกิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้อาวุโส ในประเพณีสงกรานต์ของชุมชน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงการระลึกในบุญคุณของผู้อาวุโส การขอขมาลาโทษ และเป็นการรักษาประเพณีที่ดีงามให้คงอยู่ นอกจากนี้เยาวชนยังได้เรียนรู้การสืบทอดภูมิปัญญาของชุมชนจากการถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ของผู้นำชุมชน และการสาธิตการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดำรงชีวิตของชาวบ้าน เช่น การจักสาน การทอผ้า ย้อมผ้า การดักสัตว์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพึ่งพาตนเองของชุมชน นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้การวิเคราะห์สถานการณ์สังคมจากการแบ่งปันของเจ้าหน้าที่ศูนย์สังคมพัฒนาเชียงใหม่ 

สอนปั่นฝ้ายเพื่อนำมาทำด้ายในการทอผ้าเยาวชนไปช่วยชาวบ้านทำไร่

จากการสะท้อนของเยาวชน พบว่า เยาวชนเข้าใจในคุณค่าของชีวิตและศักดิ์ศรีของมนุษย์ที่เท่าเทียมกันบนความต่างทางวัฒนธรรม เกิดการเปลี่ยนแปลงในตนเองหลายประการ เช่น เห็นคุณค่าของทรัพยากร น้ำ ไฟฟ้า ข้าว อาหาร มากขึ้น การอดทนต่อความยากลำบาก เห็นความสำคัญของครอบครัวและต้องการช่วยเหลืองานของครอบครัวมากขึ้น ลดการใช้จ่ายเงินอย่างฟุ่มเฟือย การมีน้ำใจไมตรีต่อเพื่อนมนุษย์ ฯลฯ

เยาวชนเมืองและเยาวชนปกาเกอะญอถ่ายรูปร่วมกันเป็นที่ระลึกเยาวชนกับเจ้าหน้าที่ ยส. ซึ่งทำหน้าที่พี่เลี้ยงประจำแต่ละกลุ่ม




ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >