หน้าหลัก arrow กิจกรรม ยส. arrow กิจกรรมย้อนหลัง arrow กิจกรรมของ ยส 2/2006 (ก.ค. - ธ.ค.)
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 219 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

กิจกรรมของ ยส 2/2006 (ก.ค. - ธ.ค.) พิมพ์
Monday, 26 March 2007


จดหมายข่าว ยส. ฉบับที่ 2 ปี 2549

กิจกรรมของ ยส.

1. งานกรณีศึกษาชุมชน เรื่อง นโยบายการพัฒนากระแสหลัก ที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาความเป็นมนุษย์บนจุดยืนของศาสนจักร ในโอกาสฉลองครบรอบ 40 ปี สมณสาสน์การพัฒนาประชาชาติ ปี 2007 

ประชุมทำความเข้าใจกรณีศึกษาชุมชนร่วมกับ ผอ.และเจ้าหน้าที่ศูนย์สังคมพัฒนาอ.สุธี ประศาสน์เศรษฐ์ ที่ปรึกษา ให้คำแนะนำเรื่องแนวทางการศึกษาชุมชน

ในโอกาสที่ปี 2007 จะครบรอบ 40 ปีของสมณสาสน์ดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นจุดยืนของการทำงานพัฒนาของศาสนจักรคาทอลิก  จึงเป็นวาระสำคัญสำหรับงานพัฒนาของพระศาสนจักรในฐานะผู้สืบทอดแนวคิดที่จะหันมาทบทวนตนเองถึงการทำงานที่ผ่านมา โดยทำการศึกษาจากการดำเนินงานพัฒนาของศูนย์สังคมพัฒนาว่าตอบสนองต่อปัญหาของชุมชนที่เกิดขึ้นในช่วงต่างๆ อย่างไร  และศึกษาแนวคิดการทำงานพัฒนาว่าอาศัยจุดยืนของคำสอนของพระศาสนจักรและคุณค่าทางศาสนาและวัฒนธรรมอย่างไร อีกทั้งศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชีวิตของประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายงานพัฒนาของศูนย์สังคมพัฒนาหรือจากนโยบายของรัฐทั้งในแง่ที่เป็นผลสำเร็จและความล้มเหลวอย่างไร ตลอดจนเพื่อค้นหาความยั่งยืนของชุมชนบนพื้นฐานคุณค่าของศาสนาและวัฒนธรรม  ทั้งยังเป็นการช่วยพัฒนาแนวทางการทำงานพัฒนาแก่พระศาสนจักรในอนาคตเพื่อให้สอดคล้องต่อความเป็นจริงของสังคม

เก็บข้อมูลพื้นที่เชียงใหม่ หมู่บ้านขุนแปะ จ.เชียงใหม่ : เจ้าหน้าที่ ยส.คุยกับผู้นำชุมชนเก็บข้อมูลพื้นที่จันทบุรี หมู่บ้านท่าผักชี จ.สระแก้ว : เจ้าหน้าที่ ยส. ชี้แจงให้ชาวบ้านทราบถึงการลงเก็บข้อมูล

กรณีศึกษาชุมชนนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง ยส. กับ คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการพัฒนา (คพน.) โดยได้ประสานกับผู้อำนวยการ 4 ศูนย์สังคมพัฒนา เพื่อคัดเลือกหมู่บ้านที่จะทำการศึกษา ประกอบด้วย ศูนย์สังคมพัฒนาท่าแร่-หนองแสง  ซึ่งได้เลือกชุมชนบ้านโคกสะอาด อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร เป็นพื้นที่ศึกษา, ศูนย์สังคมพัฒนาจันทบุรี เลือกชุมชนบ้านท่าผักชี อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว, ศูนย์สังคมพัฒนาเชียงใหม่เลือกชุมชนบ้านขุนแปะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ และศูนย์สังคมพัฒนาสุราษฎร์ธานี เลือกชุมชนบ้านปากจั่น อ.กระบุรี จ.ระนอง เป็นพื้นที่ในการศึกษา สำหรับระยะเวลาทำการศึกษาทั้ง 4 ชุมชน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2006 จนถึงมีนาคม 2007 

เก็บข้อมูลพื้นที่ท่าแร่ หมู่บ้านโคกสะอาด จ.สกลนคร : คุยกับเยาวชนเก็บข้อมูลพื้นที่บ้านทุ่งมะพร้าว จ.ระนอง : คุยกับกลุ่มแม่บ้าน

ทั้งนี้ ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษาชุมชน จะสรุปเป็นตัวอย่างบทเรียนต่อการทำงานพัฒนาสังคมของพระศาสนจักร ในโอกาสฉลองครบรอบ 40 ปี ของสมณสาสน์การพัฒนาประชาชาติ และเพื่อให้ชุมชน/ ศูนย์สังคมพัฒนา  ได้ค้นพบศักยภาพของตนเองในการร่วมกันทำงานเพื่อสร้างความยั่งยืนในงานพัฒนาที่สอดคล้องกับบริบทสังคม ตลอดจนเป็นแนวทางในการพัฒนา หรือปรับปรุงการทำงานพัฒนาสังคมของพระศาสนจักรต่อไป


Image


2. เสวนาในหัวข้อ
เผชิญความขัดแย้งด้วยสันติ

สืบเนื่องจากสถานการณ์ด้านการเมืองและสังคมที่มีความขัดแย้งด้านความคิดระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุนผู้นำรัฐบาลและฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยซึ่งเรียกร้องให้ผู้นำรัฐบาลลาออกได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น เห็นได้จากการทำร้ายฝ่ายตรงข้ามที่คิดเห็นไม่เหมือนตน ซึ่งปัญหานี้ดูเหมือนจะยังหาทางออกไม่ได้ ในสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งเช่นนี้ แต่ดูเหมือนว่าแนวทางสันติวิธีกลับยังไม่ค่อยถูกนำมาใช้เพื่อลดความขัดแย้งและความรุนแรง

รศ.ดร.โคทม อารียา ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  นักวิชาการด้านสันติวิธี ผู้เข้าร่วมเสวนาในแวดวงคาทอลิก

ด้วยเหตุนี้ ยส. จึงเห็นว่าการให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางสันติวิธีแก่คริสตชน เป็นแนวทางหนึ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้คนในสังคมไทย จึงเป็นที่มาของการเชิญ รศ.ดร.โคทม อารียา ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานมูลนิธิสันติภาพและวัฒนธรรม และเป็นผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิชาการผู้ที่สังคมยอมรับว่าเป็นผู้ที่ยึดแนวทางสันติวิธีในชีวิตและการทำงานมาเป็นวิทยากรเพื่อให้ทรรศนะและแนวทางในการเผชิญความขัดแย้งอย่างสันติในสังคม เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2549 ณ ที่ทำการสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อาคารพญาไทพลาซ่า กทม. โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาในแวดวงคาทอลิก ประกอบด้วย ที่ปรึกษากองบรรณาธิการผู้ไถ่, คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อกลุ่มชาติพันธุ์, คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสตรี, คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสื่อมวลชน และคณะกรรมการเพื่อแรงงานข้ามชาติเข้าร่วม จำนวน 16 คน (สาระสำคัญอ่านได้จาก Feature)


Image


3. ค่ายเยาวชนนักพิทักษ์สิทธิมนุษยชน

 คุณอัจฉรา  สมแสงสรวง เลขาธิการ ยส. ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดค่ายเยาวชน

ยส. ร่วมกับองค์กร Amnesty International Thailand  มูลนิธิ 14 ตุลา  ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย (YPD) และสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) จัดค่ายเยาวชนนักพิทักษ์สิทธิมนุษยชน ระหว่างวันที่16 19 ตุลาคม 2549 ณ หาดบ่อนอก จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยกลุ่มเป้าหมายที่ร่วมกิจกรรมนี้เป็นเยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจาก กรุงเทพฯ ปริมณฑล และ จ.ประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้งสิ้นจำนวน 42 คน โดยวัตถุประสงค์ของการจัดค่ายเยาวชนครั้งนี้เพื่อให้เยาวชนได้รับรู้และเข้าใจหลักพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนและสิทธิเด็ก ทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนตระหนักถึงบทบาทของตนเองต่อครอบครัว ชุมชน และสังคม และพัฒนาศักยภาพของเยาวชนในการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์และเท่าทันสถานการณ์สังคม โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิ ฐานเส้นทางสู่สิทธิมนุษยชน กิจกรรมพื้นฐานสิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก

กิจกรรมฐานสิทธิมนุษยชนกิจกรรมฐานสิทธิมนุษยชน

สันทนาการละลายพฤติกรรมเยาวชนเพื่อสร้างความเป็นกันเอง

สำหรับกิจกรรมที่ปูพื้นฐานความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนให้แก่เยาวชน ได้แก่ กิจกรรม Human Rights Walk Rally  ซึ่งประกอบด้วยฐานต่างๆ เช่น ฐานกล้วยของฉันหายไปไหน โดยแจกกล้วยให้เยาวชนแต่ละคนจดจำลักษณะของตนเองแล้วนำมารวมกันให้เลือกของตนให้ได้ ซึ่งเกมนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นมนุษย์ ว่าเรามักจะเลือกปฏิบัติต่อคนอื่น โดยพิจารณาเพียงลักษณะภายนอกที่มองเห็น เช่น เพศ เชื้อชาติ สีผิว ภาษา แต่เนื้อแท้แล้วทุกคนมีความเป็นมนุษย์เหมือนๆ กัน และมีศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมกัน หรือ ฐานจินตนาการของฉันโดยให้น้องแต่ละคนใช้จินตนาการจากวัสดุที่ใช้แล้ว เช่น แกนกระดาษชำระ ปากกาเมจิกหมึกหมด ขวดน้ำพลาสติก ฯลฯ ว่าจะสามารถนำวัสดุเหล่านั้นไปใช้ทำประโยชน์อะไรได้อีกบ้าง ซึ่งกิจกรรมนี้ได้สะท้อนถึงจินตนาการหรือความคิดที่เป็นอิสระของแต่ละคน และจินตนาการเป็นสิ่งที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด ใครเอาไปจากเราไม่ได้ เช่นเดียวกับสิทธิมนุษยชนที่เป็นสิ่งที่ติดตัวเราทุกคนมาตั้งแต่เกิด

สันทนาการละลายพฤติกรรมเยาวชนเพื่อสร้างความเป็นกันเองสันทนาการละลายพฤติกรรมเยาวชนเพื่อสร้างความเป็นกันเอง

กิจกรรมเรือมนุษย์ โดยให้เยาวชนสมมุติตัวเองเป็นบุคคลต่างๆ ที่มีสถานภาพแตกต่างกันไป ทั้งหมด 8 ตัวละคร เช่น พระ คนแก่ รัฐมนตรี เด็ก แรงงานต่างด้าว ฯลฯ โดยสมมุติเหตุการณ์ว่าทุกคนอยู่บนเรือที่ลอยลำอยู่กลางทะเล แต่ประสบกับพายุใหญ่จนเรือรั่ว และกำลังจะจม ซึ่งในเรือมีเพียงแพยางที่สามารถบรรทุกคนได้เพียง 6 คน โดยให้เยาวชนแต่ละกลุ่มช่วยกันแก้ปัญหานี้ ซึ่งกิจกรรมนี้ทำให้เรียนรู้ถึงการเคารพในความแตกต่างและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของแต่ละคน ทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตรอดอย่างเท่าเทียมกัน แม้จะมีความแตกต่างกันทางสภาพร่างกาย เพศ วัย เชื้อชาติ หรือสถานภาพทางสังคมก็ตาม

ลงพื้นที่ศึกษาชีวิตชาวเล บ้านบ่อนอกคืนสุดท้ายกับพิธีกรรมอำลาน้องๆ เยาวชน

ถ่ายรูปร่วมกันเป็นที่ระลึก

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมจากสถานการณ์ผลกระทบที่เกิดขึ้นในพื้นที่เป้าหมายในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินบ่อนอก - หินกรูด ซึ่งผลที่ได้รับคือ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องสิทธิมนุษยชน ได้รับรู้เรื่องราวการต่อสู้ของชาวบ้านกรณีคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้านี้ และตระหนักถึงบทบาทของตนที่มีต่อสังคมมากขึ้น


Image


4.
พบท่านกงสุลใหญ่ประจำสถานทูตอาร์เจนตินาเพื่อชี้แจงงานคณะกรรมการยุติธรรมและสันติ

Mr. Juan Martin Sabatini Barredo ท่านที่ปรึกษาประจำสถานทูตอาร์เจนตินาในประเทศไทย

เมื่อวันพุธที่ 8 พฤศจิกายน 2549 เวลา 11.00 น ณ สถานทูตอาร์เจนตินา อาคาร Glas Haus Building สุขุมวิทซอย 25 กรุงเทพฯ คุณอัจฉรา  สมแสงสรวง เลขาธิการ คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายการศึกษา ฝ่ายสิทธิมนุษยชน และฝ่ายเผยแพร่เพื่อการมีส่วนร่วม ได้รับเชิญจาก Mr. Juan Martin Sabatini Barredo ที่ปรึกษาประจำสถานทูตอาร์เจนตินาในประเทศไทย ให้เข้าพบเพื่อทำความรู้จัก ยส.และรับทราบงานและกิจกรรมต่างๆ ของ ยส. ซึ่งท่านที่ปรึกษาประจำสถานทูตอาร์เจนตินาในประเทศไทยให้ความสนใจงานของคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ โดยเฉพาะกิจกรรม ที่ยส.จัดเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทย


Image


5.กิจกรรมฐานสิทธิมนุษยชนในงานสัปดาห์สิทธิมนุษยชนของอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนศึกษา ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.) ร่วมกับคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนศึกษาภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  และโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี จัดสัปดาห์เพื่อการเรียนรู้สิทธิมนุษยชน เนื่องในโอกาสวันสิทธิมนุษยชนสากลขององค์การสหประชาชาติ เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนให้แก่นักเรียนในเขตการศึกษาพื้นที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2549 ณ โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี กรุงเทพฯ

นักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ ในเขตการศึกษาพื้นที่กรุงเทพฯคุณอัจฉรา  สมแสงสรวง เลขาธิการ ยส. (ซ้าย) อ่านเรื่องราวประสบการณ์การทำความดีของนักเรียน ที่คุณเสาวภาคย์  สุรจิตติพงศ์ เจ้าหน้าที่ ยส. (ขวา) เลือกมาเป็นตัวอย่าง

ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนให้แก่นักเรียน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชนและและการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อีกทั้งมุ่งหวังให้เกิดการกระจายช่องทางและเข้าถึงการเรียนรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนให้เพิ่มพูนมากขึ้น เพื่อให้นักเรียนสามารถนำแนวคิดและสาระสำคัญของสิทธิมนุษยชนและการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน อันจะส่งผลให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนซึ่งทุกคนในสังคมปฏิบัติต่อกันฉันพี่น้อง

ทีมงานของ ยส. แจกกล้วยให้น้องๆ เล่นเกม “กล้วยของฉันอยู่ไหน”Image

โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีได้จัดงานสัปดาห์เพื่อการเรียนรู้สิทธิมนุษยชน โดยมีหลากหลายกิจกรรมที่เป็นการให้ความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชน ทั้งสาระและความบันเทิง อาทิ การอภิปรายในหัวข้อ สิทธิมนุษยชน คุณธรรมสากล กับการพัฒนาเด็กและเยาวชน โดย วิทยากร ผศ.ดร.สุทิน นพเกตุ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ รศ.ดร. วไล ณ ป้อมเพชร อนุกรรมการสิทธิมนุษยชนศึกษา  ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถามถึงปัญหาและข้อข้องใจในเรื่องสิทธิฯ ที่นักเรียนยังไม่เข้าใจ กิจกรรม ชั่วโมงแห่งความจริง  โดย คุณอัจฉรา  สมแสงสรวง เลขาธิการ คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.) ชักชวนให้นักเรียนเขียนเรื่องราวที่ประทับใจ หรือประสบการณ์การทำความดี ข้อสงสัยหรือข้อข้องใจ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักเรียนที่ต่างก็เขียนเล่าเรื่องราวของตนให้เพื่อนๆ ได้รับรู้

เจ้าหน้าที่ ยส. นำสิ่งของเช่น แผ่นซีดี, ปฏิทินตั้งโต๊ะ, ขวดน้ำ ที่จะให้น้องๆ จินตนาการว่าสามารถใช้ทำอะไรได้บ้างImage

สำหรับกิจกรรมที่เป็นไฮไลท์ของงานก็คือ กิจกรรมส่งเสริมสิทธิมนุษยชน โดยทีมงานของ ยส. ซึ่งได้เตรียมเกมที่ให้ความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนมาให้นักเรียนได้ร่วมเล่นกันอย่างสนุกสนาน เช่น เกมกล้วยของฉันไปไหน เกมจินตนาการของฉัน และเกมสีแห่งสามัคคี ซึ่งล้วนเป็นเกมให้ความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชน ที่ให้ทั้งสาระและความบันเทิง สามารถทำให้นักเรียนได้แง่คิดเรื่องสิทธิมนุษยชนและการเคารพคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างที่เรียกได้ว่าเป็นประสบการณ์ตรงของนักเรียนซึ่งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างดีทีเดียว

“เกมสีแห่งสามัคคี” เจ้าหน้าที่ ยส. อธิบายกฎกติกาในการเล่นImage

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >