หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 253 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


คำป่าวร้องของขบวนการสังคมและองค์กรมวลชน จากเวทีสังคมโลก ครั้งที่ 4 ณ เมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย พิมพ์
Wednesday, 01 November 2006

คำป่าวร้องของขบวนการสังคม
และองค์กรมวลชน

จากเวทีสังคมโลก ครั้งที่ 4 มกราคม 2547 
ณ เมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย


พวกเรา  ขบวนการสังคมจากทั่วโลกที่มาชุมนุมกันในเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย สมัครสมานกับการต่อสู้ของประชาชนอินเดียและชาวเอเชียทั้งมวล   พวกเราขอย้ำว่าจุดยืนของเราคือการคัดค้านระบบเสรีนิยมใหม่ ซึ่งได้ก่อให้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ สังคม  สิ่งแวดล้อม และสงคราม    การระดมพลังของพวกเราในการต่อต้านสงครามและความอยุติธรรมทางสังคมและเศรษฐกิจที่หนักหนาสาหัสได้เปิดเผยโฉมหน้าอันแท้จริงของลัทธิเสรีนิยมใหม่ให้เป็นที่ประจักษ์แล้ว  

พวกเรามาชุมนุมกันที่นี่ เพื่อจัดขบวนประสานการต่อต้านลัทธิทุนนิยม และเพื่อหาแสวงหาทางเลือกใหม่ การต่อต้านของพวกเราเริ่มขึ้นในเชียปาส ซีแอตเติล และเจนัว  และนำไปสู่การระดมพลังมวลชนทั่วโลกเพื่อต่อต้านสงครามอิรัก ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2546 ซึ่งเป็นการประณามยุทธศาสตร์การทำสงครามต่อเนื่องทั่วโลกของสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร    และการต่อต้านเหล่านี้เองทำให้พวกเรามีชัยเหนือดับเบิลยูทีโอที่คันคูน  

การยึดครองอิรักได้แสดงให้โลกเห็นความเชื่อมโยงระหว่างลัทธิการทหารกับการครอบงำทางเศรษฐกิจของบรรษัทข้ามชาติ  ยิ่งไปกว่านั้นยังพิสูจน์ถึงความชอบธรรมของการเคลื่อนไหวระดมพลังของพวกเรา 

ในฐานะขบวนการสังคมและองค์กรมวลชน  พวกเราขอย้ำถึงความมุ่งมั่นของพวกเราที่จะต่อสู้กับโลกาภิวัตน์แนวเสรีนิยมใหม่  จักรวรรดินิยม สงคราม  การเหยียดผิว  ระบบวรรณะ  จักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม ความยากจน  ระบบชายเป็นใหญ่ และการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง จริยธรรม เพศสภาพ หรือเพศสัมพันธ์  ซึ่งรวมถึงรสนิยมทางเพศและอัตลักษณ์หญิงชาย   นอกจากนี้พวกเรายังต่อต้านการเลือกปฏิบัติทุกประเภทที่มีต่อบุคคลซึ่งมีสมรรถภาพต่างไป และบุคคลที่เผชิญโรคภัยร้ายแรง เช่น โรคเอดส์   

พวกเราต่อสู้เพื่อความยุติธรรมทางสังคม  การเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ ที่ดิน น้ำและเมล็ดพันธุ์  สิทธิมนุษยชนและสิทธิของพลเมือง  ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม  สิทธิของแรงงานทั้งหญิงชายดังที่มีหลักประกันไว้ในสนธิสัญญาระหว่างประเทศ  สิทธิสตรี และสิทธิของประชาชนในการกำหนดอนาคตของตนเอง  พวกเรายืนอยู่ข้างสันติภาพ  ความร่วมมือระหว่างประเทศ  และพวกเราส่งเสริมสังคมที่มีความยั่งยืน ที่มีหลักประกันการเข้าถึงบริการสาธารณะและสินค้าพื้นฐาน   ในขณะเดียวกัน พวกเราปฏิเสธความรุนแรงทางสังคมและความรุนแรงของระบบชายเป็นใหญ่ที่กระทำต่อผู้หญิง

พวกเราขอป่าวร้องให้มีการระดมพลังกันในวันที่ 8  มีนาคม ซึ่งเป็นวันสตรีสากล

พวกเราต่อสู้กับการก่อร้ายในทุกรูปแบบ รวมทั้งการก่อการร้ายโดยรัฐ   ในขณะเดียวกันพวกเราต่อต้านการใช้ลัทธิก่อการร้ายเป็นข้ออ้างในการทำให้ขบวนการประชาชนกลายเป็นอาชญากร และจำกัดนักเคลื่อนไหว   กฎหมายที่เรียกกันว่ากฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายได้จำกัดสิทธิของพลเมืองและเสรีภาพตามแนวทางประชาธิปไตยทั่วโลก  

พวกเรายืนยันความชอบธรรมของการต่อสู้ของขบวนการชาวนา ชาวไร่ คนงาน และขบวนการประชาชนในเมือง และประชาชนทั้งมวลที่ถูกคุกคามให้ต้องสูญเสียบ้าน งาน และที่ดินหรือสิทธิอื่นๆ และ พวกเรายังยืนยันความชอบธรรมของการต่อสู้เพื่อยกเลิกการแปรรูปเป็นธุรกิจเอกชน  เพื่อรักษาไว้ซึ่งสิ่งที่เป็นสมบัติส่วนรวมและสินค้าสาธารณะ ดังที่กำลังเกิดขึ้นกับบำเหน็จบำนาญและประกันสังคมในยุโรป   ชัยชนะของการระดมพลังมวลชนในโบลีเวียเพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ  ประชาธิปไตย และอธิปไตย เป็นประจักษ์พยานของความเข้มแข็งของขบวนการและศักยภาพของพวกเรา   ในขณะเดียวกัน ชาวนา ชาวไร่ทั่วโลกก็กำลังต่อสู้กับบรรษัทข้ามชาติและนโยบายการเกษตรแบบบรรษัทตามแนวเสรีนิยม  รวมทั้งเรียกร้องอธิปไตยของปวงชนเหนืออาหาร และให้มีการปฏิรูปที่ดินอย่างเป็นประชาธิปไตย    

เราขอป่าวร้องให้พวกเราร่วมสามัคคีกับ ชาวนาชาวไร่ทั้งมวลในวันที่ 17 มีนาคม ซึ่งเป็นวันการต่อสู้ของชาวนาชาวไร่สากล  

พวกเราสนับสนุนการต่อสู้ของขบวนการมวลชนและองค์กรประชาชนต่างๆ ในอินเดีย  และขอร่วมประณามพลังทางการเมืองและอุดมการณ์ที่ส่งเสริมความรุนแรง  ลัทธิแบ่งแยกนิกาย การกีดกัน และลัทธิชาตินิยมบนพื้นฐานของศาสนาและชาติพันธุ์ พวกเราประณามการคุกคาม  การจับกุม  การทรมาน และการลอบสังหารนักเคลื่อนไหวสังคมซึ่งเข้าไปจัดตั้งชุมชนเพื่อต่อสู้กับความอยุติธรรมทั่วโลก   พวกเราประณามการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลทางชนชั้น  วรรณะ  ศาสนา  เพศสภาพ  รสนิยมทางเพศและอัตลักษณ์หญิงชาย   พวกเราประณามการสืบทอดดำรงความรุนแรงและการกดขี่ที่กระทำต่อผู้หญิง โดยใช้การเลือกปฏิบัติทางวัฒนธรรม ศาสนาและจารีตประเพณีเป็นเครื่องมือ

พวกเราสนับสนุนความพยายามของขบวนการมวลชนและองค์กรประชาชนของอินเดียและเอเชีย ซึ่งส่งเสริมการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม  ความเสมอภาคและสิทธิมนุษยชน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต่อสู้ของ พวกดาลิต  อะดิวาสี (กลุ่มจัณฑาล วรรณะที่ต่ำที่สุด) และภาคส่วนในสังคมที่ถูกกดขี่และปราบปรามมากที่สุด   นโยบายเสรีนิยมใหม่ของรัฐบาลอินเดียทำให้กระบวนการเบียดขับผู้คนและการกดขี่ทางสังคม ซึ่งทำให้พวกดาลิตได้รับความทุกข์ทรมานมาในประวัติศาสตร์ เพิ่มความรุนแรงยิ่งขึ้น    

ด้วยเหตุผลทั้งปวงนี้  พวกเราสนับสนุนการต่อสู้ของคนที่ถูกเบียดขับให้อยู่ชายขอบทั่วโลก  และขอเร่งรัดให้ประชาชนทั่วโลกเข้าร่วมกับพวกดาลิตในวันระดมพลังเพื่อเรียกร้องการยอมรับพวกดาลิตเป็นส่วนหนึ่งของสังคม

เพื่อหลีกหนีวิกฤตด้านความชอบธรรม ลัทธิทุนนิยมโลกกำลังใช้พลังอำนาจและสงครามเป็นเครื่องมือที่จะดำรงไว้ซึ่งระเบียบอันเป็นปฏิปักษ์ต่อประชาชน   พวกเราเรียกร้องให้รัฐบาลทั้งหลายยุติลัทธิทหารนิยม สงครามและการใช้จ่ายด้านการทหาร และเรียกร้องให้ปิดฐานทัพทุกแห่งของสหรัฐฯ เพราะสิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดความเสี่ยง และเป็นภัยคุกคามต่อมนุษยชาติและสิ่งมีชีวิตบนพื้นพิภพ   พวกเราต้องทำตามแบบอย่างของประชาชนปอร์โตริโกที่ได้กดดันให้สหรัฐฯ ต้องปิดฐานทัพที่  วิเอเคส   การต่อต้านสงครามระดับโลกยังคงเป็นเป้าหมายสำคัญของพวกเราในการระดมพลังทั่วโลก    

พวกเราป่าวเรียกร้องให้พลเมืองโลกทุกคนระดมพลังอย่างพร้อมเพรียงกันในวันที่ 20 มีนาคมนี้  ซึ่งเป็นวันสากลของการต่อต้านสงครามและการยึดครองอิรักโดยสหรัฐฯ  อังกฤษ  และพันธมิตร   

ในแต่ละประเทศ  ขบวนการต่อต้านสงครามกำลังพัฒนาฉันทามติและกลวิธีของตนเองเพื่อสร้างหลักประกันว่าจะสามารถระดมพลังการมีส่วนร่วมให้กว้างขวางที่สุดเท่าที่จะเป็นได้   พวกเราเรียกร้องให้ถอนกำลังทหารที่ยึดครองอิรักออกในทันที  และสนับสนุนสิทธิของชาวอิรักในการกำหนดอนาคตและอธิปไตยของตนเอง  รวมทั้งสิทธิที่จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นจากการคว่ำบาตรและสงคราม

การต่อสู้กับลัทธิการก่อการร้ายไม่เพียงเป็นข้ออ้างเพื่อที่จะทำสงครามต่อเนื่อง และยึดครองอิรักและอัฟกานิสถานต่อไปเท่านั้น  แต่ยังใช้คุกคามและโจมตีชุมชนโลกด้วย   ในขณะเดียวกัน  สหรัฐฯ ยังคงคว่ำบาตรคิวบาและกำลังบั่นทอนเสถียรภาพในเวเนซูเอล่า 

พวกเราขอป่าวร้องให้ประชาชนทุกคนสนับสนุนการระดมพลังให้มากที่สุดเพื่อประชาชนปาเลสไตน์ในปีนี้  โดยเฉพาะในวันที่ 30 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่ดินของปาเลสไตน์  เพื่อต่อต้านการสร้างกำแพงแห่งการแบ่งแยกเชื้อชาติ

พวกเราประณามพลังจักรวรรดินิยมที่สร้างความขัดแย้งทางศาสนา  ชาติพันธุ์  เชื้อชาติและชนเผ่า เพื่อให้ฝ่ายตนแสวงหาผลประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น  และทำให้ประชาชนต้องทนทุกข์ทรมานมากขึ้น  รวมทั้งสร้างความเกลียดชังและความรุนแรงระหว่างคนกลุ่มต่างๆ ให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น   ร้อยละ 80 ของความขัดแย้งในโลกที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันเป็นความขัดแย้งภายในประเทศ  และมีผลกระทบต่อชุมชนชาวอัฟริกันและชาวเอเชียโดยเฉพาะอย่างยิ่ง   

พวกเราประณามสถานการณ์หนี้อันไม่ยั่งยืนของประเทศยากจนต่างๆ ในโลก และการใช้สถานการณ์บังคับโดยรัฐบาล  บรรษัทข้ามชาติและสถาบันการเงินระหว่างประเทศต่างๆ    พวกเราเรียกร้องอย่างแข็งขันให้มีการยกเลิกหนี้และปฏิเสธหนี้ที่ไม่ชอบธรรมของประเทศโลกที่สามทั้งหมดโดยไม่มีเงื่อนไข    และเพื่อเป็นเงื่อนไขขั้นแรกสำหรับการบรรลุสิทธิพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและการเมือง  พวกเราเรียกร้องให้มีการชดใช้ความเสียหายที่เกิดจากการปล้นสะดมภ์โลกที่สามมาเป็นเวลายาวนาน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกเราสนับสนุนการต่อสู้ของประชาชนและขบวนการสังคมอัฟริกันในเรื่องนี้

พวกเราจะส่งเสียงคัดค้านการประชุมสุดยอดของกลุ่มจี 8 และการประชุมของไอเอ็มเอฟและธนาคารโลก  ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีภาระรับผิดชอบมากที่สุดต่อการปล้นสะดมภ์ชุมชนโลกที่สาม

พวกเราปฏิเสธข้อกำหนดของข้อตกลงการค้าเสรีทั้งระดับภูมิภาคและระดับทวิภาคี  เช่น เขตการค้าเสรีทวีปอเมริกา [เอฟทีเอเอ]   ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ [นาฟตา]  ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอเมริการกลาง [คาฟตา]  กฎหมายการเจริญเติบโตและโอกาสของอัฟริกา [อะกัว]  หุ้นส่วนใหม่เพื่อการพัฒนาอัฟริกา [เนแพด]   หุ้นส่วนระหว่างยุโรปกับเมดิเตอเรเนียน [ยูโร-เม็ด]  เขตการค้าเสรีอาเซียน [อาฟต้า] และอาเซียน   

พวกเราคือประชาชนจำนวนหลายล้านที่สามัคคีกันต่อสู้กับศัตรูร่วมของเรา คือดับเบิลยูทีโอ   ประชาชนพื้นเมืองกำลังต่อสู้กับการจดสิทธิบัตรสิ่งมีชีวิตทุกรูปแบบ และการขโมยความหลากหลายทางชีวภาพ  น้ำ และที่ดิน  พวกเราสามัคคีกันต่อสู้กับการแปรรูปบริการพื้นฐานและสินค้าสาธารณะเป็นธุรกิจเอกชน 

พวกเราขอป่าวร้องให้ทุกคนระดมพลังเพื่อสิทธิในน้ำ ซึ่งเป็นที่มาของชีวิตและไม่อาจแปรรูปเป็นกรรม สิทธิ์ส่วนบุคคลได้ พวกเรากำลังพยายามที่จะฟื้นคืนอำนาจในการควบคุมสินค้าสาธารณะ และทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งได้ถูกแปรรูปและยกให้แก่บรรษัทข้ามชาติและภาคธุรกิจเอกชนไป 

ท่ามกลางชัยชนะที่คันคูน ความตายของ ลี* เป็นสัญลักษณ์ของความทุกข์ทรมานของชาวนาชาวไร่และคนยากคนจนนับล้าน ๆ คนทั่วโลก ซึ่งถูกกีดกันโดย “ตลาดเสรี” การสังเวยตัวเองของลีเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้กับดับเบิลยูทีโอของพวกเรา  เป็นสิ่งที่พิสูจน์ความมุ่งมั่นของพวกเราที่จะคัดค้านความพยายามใดก็ตามที่จะทำให้ดับเบิลยูทีโอฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่  

ดับเบิลยูทีโอต้องออกไปให้พ้นจากการเกษตร อาหาร สุขภาพ น้ำ การศึกษา ทรัพยากรธรรมชาติและสมบัติของส่วนรวม!    

ด้วยความมุ่งมั่นเช่นนี้ในจิตใจ พวกเราขอป่าวร้องให้ขบวนการสังคมและองค์กรมวลชนของโลกเข้าร่วมการระดมพลังที่ฮ่องกง หรือในทุกสถานที่ที่มีการจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีของดับเบิลยูทีโอ  และขอให้พวกเราร่วมแรงร่วมใจกันต่อสู้กับการแปรรูปบริการของรัฐเป็นธุรกิจเอกชน เพื่อที่จะปกป้องสมบัติส่วนรวม สิ่งแวดล้อม  การเกษตร น้ำ สุขภาพ บริการสาธารณะ และการศึกษา 

เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เหล่านี้  พวกเราขอย้ำถึงความปรารถนาอันแรงกล้าของพวกเราที่จะเสริมสร้างเครือข่ายของขบวนการสังคม และศักยภาพของพวกเราในการต่อสู้    

ร่วมกันสร้างโลกาภิวัตน์ของการต่อสู้
และโลกาภิวัตน์ของความหวัง !

 

เวทีสังคมโลก

การประชุมเวทีระดับสากลชื่อว่า “เวทีสังคมโลก” หรือ World Social Forum) ถูกจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-21 มกราคม 2547 ณ เมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย เวทีดังกล่าวมีกลุ่มองค์กรและขบวนการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในภาคประชาสังคมจากนานาประเทศมาร่วมเวทีกันอย่างคึกคัก ประกอบด้วยชุมชนระดับรากหญ้า นักกิจกรรม นักเคลื่อนไหวทางสังคม นักวิชาการ ตัวแทนของรัฐบาล องค์กรพัฒนาเอกชน  จากทั่วโลก ทั้งนี้เพื่อมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีทางเลือกในกระแสโลกาภิวัฒน์

เวทีสังคมโลกจัดเป็นประจำทุกปี ปีนี้ถือเป็นครั้งที่ 4  นับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา โดยครั้งแรกและครั้งที่ 2 (2544-2545) จัดขึ้น ณ เมืองปอร์โต อัลเลเกร ประเทศบราซิล ครั้งที่ 3 ปี 2546 จัดขึ้น ณ เมืองไฮเดอร์ราบัด ประเทศอินเดีย

จุดกำเนิดของเวทีสังคมโลก มาจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เริ่มเกิดขึ้นทั่วโลก อันเนื่องมาจากกระแสการพัฒนาเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ในช่วงที่ผ่านมา การพัฒนาดังกล่าวเอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มบรรษัทข้ามชาติเพียงไม่กี่บริษัท ขณะที่คนส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบ เช่น เกษตรกรยากจนลงอันเนื่องมาจากนโยบายเปิดเสรีสินค้าเกษตร ท่ามกลางการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มบรรษัทข้ามชาติเพียงไม่กี่กลุ่ม เริ่มมีการกระแสการเคลื่อนตัวของกลุ่มภาคประชาสังคมทั่วโลกต่อต้านองค์การการค้าโลก หรือ World Trade Organization - WTO ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย ไอเอ็มเอฟ และธนาคารโลก เกิดขึ้นทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วย การประท้วงครั้งใหญ่เมื่อปี 2542 ที่สามารถล้มเวทีการประชุม WTO ณ เมืองซีแอตเทิล ประเทศอเมริกา ครั้งนั้นถือเป็นเวทีจุดประกายให้เกิดเวทีสังคมโลกในเวลาต่อมา  ประเด็นที่มีการประท้วงไปทั่วโลกมีความคล้ายคลึงกัน คือ ภาคประชาสังคมมองว่าองค์กรโลกบาลเหล่านี้เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการพัฒนาเศรษฐกิจ เอื้อให้เกิดการผูกขาดของกลุ่มทุนรายใหญ่ ทำลายระบบเศรษฐกิจของประเทศเล็กๆ ชุมชนเล็กๆ ทำลายความมั่นคงทางอาหาร ทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

คณะทำงานชุดเล็กๆ ที่ผลักดันเวทีสังคมโลก ก่อตัวขึ้นที่ประเทศบราซิล แกนหลักเป็นผู้ก่อตั้งและประธานสถาบันทางความเชื่อบราซิล นาย Oded Grajew เป็นตัวหลักสำคัญในการผลักดันแนวคิดดังกล่าว โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก น.ส.พ.เลอมองค์ ดิโพลมาติคของฝรั่งเศส และเครือข่ายต่อต้านโลกาภิวัฒน์ของยุโรป ชื่อ แอดแทค (ATTAC) แนวคิดเบื้องต้นของเวทีสังคมโลกคือ  1. เวทีสังคมโลกจะเป็นพื้นที่พบปะของกลุ่ม องค์กรและขบวนการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในภาคประสังคม เพื่อถกเถียงความคิดทางปัญญาร่วมกัน  2. เป็นพื้นที่ถกเถียงทางปัญญาเพื่อหาทางเลือกในกระแสโลกาภิวัฒน์ที่เคารพต่อสิทธิมนุษยชน และสิ่งแวดล้อม  3.เป็นเวทีสร้างกรอบความคิดและการทำงานระดับสากลสำหรับทุกคนเพื่อให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และจัดการกับปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีระบบตลาดครอบงำ โดยมีคำขวัญว่า “อีกโลกหนึ่งเป็นไปได้” หรือ Another World is Possible

ทุกๆ ปีที่มีการจัดเวทีสังคมโลก ช่วงเวลาเดียวกันจะมีเวทีระดับสากลอีกเวทีหนึ่งที่เกิดขึ้นอีกมุมโลกหนึ่ง ณ เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ คือเวที “เศรษฐกิจโลก” เป็นเวทีที่มีแต่เจ้าหน้าที่นักวิชาการจากประเทศร่ำรวย รวมไปถึงบรรดาผู้นำธุรกิจจากบรรษัทชั้นนำทั่วโลก และองค์กรโลกบาลทั้งหลาย ได้แก่ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย องค์การการค้าโลก ฯลฯ ขณะที่เวทีสังคมโลกเป็นเวทีของกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากลัทธิเสรีนิยม เช่นเกษตรกร เอ็นจีโอ นักกิจกรรมทางสังคม ผู้หญิง เยาวชน กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เป็นต้น

เวทีทั้งสองเวทีเป็นเรื่องราวของผู้คนที่อยู่บนโลกคนละใบ เพราะสิ่งที่ขับเคลื่อนในเวทีเป็นคนละเรื่องโดยสิ้นเชิง ขณะที่เวทีเศรษฐกิจโลกจะพูดถึงการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ แต่เนื้อหาของเวทีสังคมโลกจะสะท้อนความเป็นจริงของโลกอีกใบหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการขับเคลื่อนของกลุ่มทุนดังกล่าว

อาจกล่าวได้ว่าเวทีสังคมโลก ถือเป็นเวทีพลังทางเลือกของภาคประชาชนระดับสากลที่น่าสนใจติดตาม แม้ว่ากฎบัตรเวทีสังคมโลกจะระบุชัดว่าเวทีสังคมโลกเป็นเวทีของการเชื่อมประสานเครือข่ายทางสังคมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อลัทธิเสรีนิยมใหม่ ปรปักษ์ต่อการครอบงำของทุนและจักรวรรดินิยมในรูปแบบต่างๆ แต่ก็มิได้ผูกขาด หรือรวมศูนย์อำนาจ จะเน้นความแตกต่างหลากหลายของภาคประชาสังคมด้วย ไม่เหมือนกับการขับเคลื่อนของกลุ่มทุน บรรษัทข้ามชาติ และองค์กรโลกบาลทั้งหลายที่นับวันจะผูกขาดเบ็ดเสร็จขึ้นทุกที 

ข้อมูล :  จักรชัย  โฉมทองดี 
โครงการศึกษาและปฏิบัติงานงานพัฒนา (โฟกัส)
เบญจา  ศิลารักษ์  สำนักข่าวประชาธรรม 


* ลี : เกษตรกรชาวเกาหลี ซึ่งฆ่าตัวตายเพื่อประท้วงการประชุม WTO ที่เมืองแคนคูน ประเทศเม็กซิโก

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >