หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 1289 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


สิทธิมนุษยชนในโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย พิมพ์
Wednesday, 01 November 2006

สิทธิมนุษยชนในโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย

ภราดาอนุรักษ์  นิธิภัทราภรณ์
โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย


ความสำคัญในการบรรจุหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องสิทธิมนุษยชนในโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย

1.  เป็นเรื่องของกฎหมายบ้านเมือง

เราเป็นโรงเรียนในประเทศไทย ต้องถือตามกฎหมายของประเทศ เหตุเพราะพระราชบัญญัติการศึกษา (พ.ศ.2542 แก้ไข 2545) หมวด 2 ได้ระบุสิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาของบุคคล (ม.10,11 และ 13) องค์กร และหน่วยงานของรัฐ (ม.12 และ 14) ไว้อย่างชัดเจน กรอบแห่งกฎหมายนี้เป็นทั้งพื้นและฐานที่ผู้เกี่ยวข้องทางการศึกษาและโรงเรียนใดๆ ในประเทศไทยต้องรับรู้และปฏิบัติ 

2.  เราเป็นโรงเรียนคาทอลิก

2.1  พระคริสต์เจ้ายกย่องศักดิ์ศรีของเรามากถึงกับยอมยกให้แม่พระเป็นแม่ของเรา การที่มนุษย์ได้รับเกียรติเป็นลูกร่วมมารดากับพระเจ้านั้นยิ่งใหญ่เกินบรรยาย

ยังมีอีก ตัวพระคริสต์เจ้าเองล้างเท้าให้อัครสาวกของพระองค์ แล้วบอกว่า ไม่มีใครเป็นนาย หรือเป็นบ่าวอีก แต่เราเป็นเพื่อนกับพระองค์ โอย ! มนุษย์หรือจะเลอค่าได้ขนาดนั้น?

และเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกของเราต่างได้รับเกียรตินี้ด้วย

ยิ่งเพื่อนๆ มนุษย์ในโลก เขารับรู้ว่าเราประกาศตน  เป็นลูกศิษย์ของพระคริสต์ เรายิ่งควรรับรู้ถึงการไม่ควรค่าของตน ยิ่งเจียมตัวไม่ทำให้คุณแม่ของเราต้องเสียหน้าเพราะคำว่า “สิทธิมนุษยชน” นั้น คือมาตรวัดภายนอก ที่แสนจะผิวเผินของ “ศักดิ์ศรี” แห่งการเป็นสถาบันการศึกษาคาทอลิก

2.2    พระศาสนจักรให้เรา “หล่อหลอม กล่อมเกลา” นักเรียนของเรา ให้ “พัฒนาเต็มศักยภาพทุกมิติ” (พระราชบัญญัติการศึกษาของไทย ก็ระบุประเด็นนี้ด้วย) การพัฒนาเต็มศักยภาพทุกมิติหมายถึง มิติทางจิตวิญญาณ ทางอารมณ์ ทางปัญญา ทางกาย และทางสังคม

นิยามแต่ละมิตินั้น ส่งเสริมและเกี่ยวโยงไม่เฉพาะสำหรับมนุษย์แต่ละคนเท่านั้น ยังเกี่ยวโยงไปถึงเพื่อนมนุษย์ ชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม และแผ่ขยายไปไกลถึงจักรวาลและความเป็นจริงที่เป็นอยู่อีกไกลโพ้นแสนลึกล้ำ หรือเล็กจิ๋วยิ่งกว่าระดับหน่วย “นาโน” การดำรงอยู่ที่เป็นองค์ประกอบส่วนต่างๆ นี้ บางอย่างเราเองได้รับรู้แล้ว ขณะที่ยังมีอีกมากที่เรายังไม่รับรู้ หรือรับรู้ได้ไม่หมด

มิติที่สัมพันธ์กันและมีผลต่อพัฒนาการมิติต่างๆ ของความเป็นมนุษย์ของเรามากที่สุดตลอดมาจนทุกวันนี้ คือ มิติด้านสัมพันธภาพกับเพื่อนมนุษย์ ซึ่งอาศัยคำว่า “สิทธิมนุษยชน” เป็นตัวชี้วัดที่หยาบที่สุด หมายความว่า ยิ่งเรามีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนมนุษย์ของเรามากเท่าไร ตัวเราเองจะยิ่งพัฒนามิติต่างๆ  ในตัวของเราได้มากและดีขึ้นด้วย

“สิทธิ”  “มนุษย์”  และการเป็นกลุ่ม “ชน”  จึงเป็นปัจจัยพื้นฐานภาคบังคับแห่งการเป็นโรงเรียนคาทอลิก 

3.  เราเป็นโรงเรียนในมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล

นักบุญ หลุยส์ มารี เดอ มงฟอร์ต เป็นวีรบุรุษธรรมฑูต ผู้ใฝ่หาองค์ปัญญานิรันดร์ นอกจากเป็นพยานและเมล็ดพันธุ์แห่งความรักและการรับใช้แล้ว “พระพรพิเศษของท่าน (Charism)” ที่เป็นมรดกถึงคณะภราดาเซนต์คาเบรียล คือ ความรักต่อกางเขนพร้อมกับแม่พระ งานด้านการศึกษา เฉพาะอย่างยิ่งกับเยาวชนและคนด้อยโอกาส           

เมื่อนำคำหลักๆ ในมรดกของท่านมาสู่การปฏิบัติ ไม่ว่า “กางเขน แม่พระ การศึกษา เยาวชน หรือ คนด้อยโอกาส” เราเห็นทันทีว่า กลุ่มชนที่ถูกละเมิดสิทธิแห่งการเป็นมนุษย์ของเขามากที่สุดทุกวันนี้ คือ เยาวชนและคนด้อยโอกาส           

ยิ่งเมื่อนำจุดเน้นจากสมัชชาโลกของคณะภราดา ที่ว่าด้วยเรื่อง  “ความยุติธรรม สันติภาพ และดุลยบูรณาการแห่งสิ่งสร้าง” (Justice, Peace, and Integrity of Creation) มาแปรเป็นการปฏิบัติแล้ว ประเด็นเรื่อง “สิทธิมนุษยชนในโรงเรียน” เป็นทั้งตัวชี้วัดและเป็นประเด็นบังคับสำคัญของความซื่อสัตย์ต่อพันธกิจที่เราพึงมี ต่อพระเจ้า ต่อพระศาสนจักร ต่อประเทศชาติ ต่อตัวผู้เรียนและบุคลากร ต่อวิถีจิตของนักบุญผู้ก่อตั้งคณะ ต่อคณะ และต่อสมาชิกในคณะเอง           

เราจึงต้องมีหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องสิทธิมนุษยชนในโรงเรียนของเรา 

ปัจจัยและกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนการสอนเรื่องสิทธิมนุษยชนในโรงเรียน

ด้านปัจจัย

  • การกระจายระดับอำนาจการตัดสินใจและบังคับบัญชา
  • ปรับโครงสร้างการบริหาร เปิดฝ่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาและบุคลากร เลิกฝ่ายปกครอง เปิดฝ่ายกิจการ (เน้นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน) ส่งเสริมกลุ่มพัฒนาบุคลากรและผู้เรียนทุกระดับ เพื่อจุดประกายและปลดปล่อยพลังอริยทรัพย์ในตนของผู้เรียนและบุคลากร
  • ระบุมาตรฐาน และวิธีการ / ขั้นตอนการตรวจวัด “มาตรฐานคุณภาพ” (ตรวจสอบซ้ำได้ด้วยเทคนิค Balanced Score-card)*
  • มุ่งบริหารหลักสูตรให้สามารถบูรณาการได้มากที่สุด

ด้านกิจกรรม

  • เขียนหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องสิทธิมนุษยชนในโรงเรียน
  • ขยายผลงานอภิบาล
  • สนับสนุนกระบวนการสัมผัส และจุ่มตัว ในชีวิตที่มีบริบทและฐานต่างๆ กัน
  • เน้นกิจกรรมเชิงบูรณาการ และการพัฒนาผู้เรียน (กลุ่ม / ชมรม / ศึกษาสภาพจริง)
  • พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องสิทธิมนุษยชนในโรงเรียน โดยบูรณาการร่วมกับฝ่ายกิจการ และพัฒนาคุณภาพฯ 

ปัญหา - อุปสรรคต่อการส่งเสริมเรื่องสิทธิมนุษยชนในโรงเรียน

  • ความไม่ลงตัวของการปฏิรูปการศึกษาของชาติ ส่งผลทั้งแง่บวกและลบ ความคิดที่เคยมองการเรียนเป็น “รายวิชา” ยังมองว่า เรื่องของคุณธรรมจริยธรรมเป็นลักษณะพึงประสงค์ที่ต้องจัดการเรียนรู้เป็นรายชั่วโมง / กิจกรรมเท่านั้น ทำให้ยากแก่การบูรณาการสาระและกระบวนการร่วมกัน
  • ทำความเข้าใจประเด็นนี้จาก “ฐานและกระบวนทัศน์” ของบุคลากรรุ่นต่างๆ ได้ยากมาก ทุกวันนี้ก็ยังอยู่ในกระบวนการ ทั้งเรื่อง เหตุ กระบวนการ วิธีการ  ดรรชนี การแปลความ การบูรณาการ และการพัฒนา
  • เป็นเรื่องใหม่ทั้งสาระและกระบวนการสำหรับศิษย์เก่า ครู ชุมชน ผู้เรียน และผู้ปกครอง บางส่วนที่เคยมุ่งผลสัมฤทธิ์เชิงวิชาการ และการสอบเข้ามหาวิทยาลัย บางท่านเกรงกิจกรรมจะทำให้เนื้อหาทางวิชาการลดลง
  • การบูรณาการ และจัดกิจกรรมพัฒนาให้เสริมประเด็น / สาระต่างๆ ในแต่ละกระบวนการนั้น ยุ่งยาก ใช้เวลา ความมานะอดทน และงบประมาณมาก ขณะที่ผลสัมฤทธิ์จากแต่ละความพยายามเป็นเรื่องที่ต้องรอผลระยะยาว ยิ่งเพิ่มประเด็นท้าทายหนักและไปหน่วงความพยายามใดๆ ให้ถอดใจท้อถอยได้ง่าย
  • กระแสหลักใน “การพัฒนา” ของโลกาภิวัตน์ เรียกร้องดรรชนีที่ เพิ่มความฉาบฉวย เน้นสิ่งเฉพาะหน้า /  จับต้องได้ “มูลค่า” จึงเหนือ “คุณค่า” เมื่อผนวกกับความอ่อนไหวในกระแสปฏิรูปการศึกษาของชาติที่ยังไม่ลงตัว ประเด็น “สิทธิมนุษยชน” จึงดูเป็นเรื่องไกลตัว และไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ซึ่งแท้จริงแล้ว หากสิทธิแห่งความเป็นมนุษย์ของผู้เรียนและบุคลากรถูกมองข้าม เกรงว่าสถาบันแต่ละแห่งจะเขียน “หลักสูตรสถานศึกษา” จากสภาพจริงไม่ได้ (ไม่ authentic) การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องสิทธิมนุษยชนในโรงเรียน จึงแฝงนัยที่สวนกระแสตลอดเวลา

แล้วเราจะยังคาดหวังอะไรจากประเด็น “สิทธิมนุษยชนในโรงเรียน” ได้อีกบ้าง?           

การหล่อหลอมกล่อมเกลา เป็นเรื่องที่มนุษย์ทุกคนต้องหมั่นเพียรอยู่ตลอดเวลาและตลอดไปไม่รู้จบ ทุกคนดีขึ้นได้ทุกวัน จนกว่าจะถึงความสมบูรณ์พร้อมที่พระเจ้าทรงมั่นหมาย (นับแต่ปฐมกาล) ให้เราแต่ละคนบรรลุถึง           

คริสตชนปฏิบัติบัญญัติแห่งรัก ที่พระคริสต์เจ้าได้เป็นพยานด้วยพระองค์เองแล้วได้ทุกวัน โดยการเคารพใน “ศักดิ์ศรี” ของเพื่อนมนุษย์ ซึ่งไหลเนื่องเป็นทั้งพันธกิจและเป็นดรรชนีชี้ที่โลกสากลขอให้เคารพ “สิทธิมนุษยชน”           

ดังนั้น จึงคาดหวังได้ว่า ประเด็นเรื่อง “สิทธิมนุษยชนในโรงเรียน” จะช่วย

  • เน้นเป้าหมายของการเป็นโรงเรียนคาทอลิกที่ตรวจวัดได้ชัดเจน
  • การบริหาร จัดการ และการดำเนินการของโรงเรียนที่เป็นสุขมากขึ้น
  • ให้โรงเรียนได้เป็นประจักษ์พยานถึงพระคริสต์เจ้าชัดเจนขึ้น
  • ให้โรงเรียนสามารถขยายผลแห่งการปฏิบัติบัญญัติความรักที่เป็นรูปธรรม
  • ให้ผู้เรียนและบุคลากรชื่นชมและนิยมตนเอง เพื่อนๆ และสถาบันของตนอย่างลึกซึ้งจริงใจมากขึ้น

ผลที่ได้รับจากการส่งเสริมการเรียนการสอนเรื่องสิทธิมนุษยชน

  • ยืนยันความมั่นใจ / เพิ่มดรรชนีชี้วัดว่า ซื่อสัตย์ต่อพันธกิจของโรงเรียน
  • เพิ่มการตรวจสอบกระบวนการพัฒนาหลักสูตร การดำเนินงาน และการบริหาร
  • เพิ่มความยุ่งยาก / ซับซ้อน ในการดำเนินงานใดๆ
  • เปิดให้โรงเรียนมีบรรยากาศของความเป็นเหตุเป็นผล ผู้คนมีข้อค้นพบมากขึ้น
  • กลไกการทำงานช่วยขยายเครือข่ายเข้าสู่ชุมชน ลึก / มาก / และง่ายขึ้น
  • เป็นประเด็นให้ผู้เรียน กล้ายืนยันการพยายามของตน ขณะรับ / เรียนรู้จากผู้อื่น

 


* Balanced Score – card  เป็นเครื่องมือการวางแผนที่ช่วยในการสร้างแผนปฏิบัติงานเชิงกลยุทธ์และประเมินผลที่สามารถวัดได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ยังให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงระหว่างส่วนต่างๆ ในหน่วยงานอีกด้วย 

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >