หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 78 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


สิทธิมนุษยชนในโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย พิมพ์
Wednesday, 01 November 2006

สิทธิมนุษยชนในโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย

กองบรรณาธิการ : สัมภาษณ์


เมื่อจุดมุ่งหมายของสิทธิมนุษยชนศึกษาคือ การเปลี่ยนทัศนคติของโลกปัจจุบัน และการตระเตรียมเยาวชนให้มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงโลก ให้เป็นโลกที่ดีขึ้นสำหรับทุกคน  และเมื่อโรงเรียนคือชุมชนที่น่าจะเป็นตัวอย่างของการเคารพศักดิ์ศรีของแต่ละบุคคลและการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างมีคุณธรรมแห่งสิทธิมนุษยชน            

โครงการสิทธิมนุษยชนศึกษาจึงเน้นส่งเสริมการนำคุณธรรมสิทธิมนุษยชนสากลเข้าสู่โรงเรียนอย่างเป็นขั้นตอนและอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารโรงเรียนที่ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการเรียนรู้เรื่องสิทธิมนุษยชน            

ผู้ไถ่ ฉบับนี้ พาคุณมารู้จักโรงเรียนตัวอย่าง ที่พยายามปลูกฝังค่านิยมเรื่องสิทธิมนุษยชนให้แก่นักเรียนทุกรุ่นและทุกคน

สำหรับโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย ในวันที่ ผู้ไถ่  มีนัดสัมภาษณ์กับ อาจารย์สุมิตรา  พงศธร (อดีตครูใหญ่และผู้จัดการ ร.ร.มาแตร์ฯ ปัจจุบันมีตำแหน่งในฐานะ ผู้ประสานงานฝ่ายการศึกษาคณะอุร์สุลิน) และน้องๆ ชมรมยุติธรรมและสันติ ทางโรงเรียนได้จัดงานขอบคุณเนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส ให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติ  งานในโรงเรียน ตั้งแต่ระดับสูงลงมาจนถึงระดับล่าง ได้แก่ นักการ ภารโรง ซึ่งงานนี้เป็นหนึ่งในกระบวนการสร้างจิตสำนึกเรื่องสิทธิมนุษยชน เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้เห็นถึงความสำคัญและความเท่าเทียมกันของทุกคนที่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมยิ่งนัก    

ผู้ไถ่ : ความสำคัญในการบรรจุหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องสิทธิมนุษยชนในโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย

อ.สุมิตรา : การที่บรรจุเข้าไปในหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผลสืบเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้เน้นความสำคัญของความเสมอภาค สิทธิของแต่ละคน เพราะฉะนั้นพระราชบัญญัติการศึกษาจึงทำขึ้นมาสอดรับกับสิ่งต่างๆ ที่รัฐธรรมนูญกำหนด ทำให้หลักสูตรของประเทศชาติให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก เท่าที่เห็น องค์กรของชาติด้านสิทธิมนุษยชนก็เริ่มมีขึ้น แต่ก็ต้องบอกว่ายังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ในแง่ของสภาการศึกษาคาทอลิกฯ ด้วยการผลักดันของยส. (คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ) ทำให้เราได้มีโอกาสเริ่มเรื่องนี้ก่อนที่จะเป็นหลักสูตรของชาติ ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ดีมาก การที่พวกเราทำโรงเรียนคาทอลิกกันมันไม่ใช่เพียงแต่จะทำโรงเรียนเพื่อที่จะไปแข่งกับรัฐบาล แต่ว่าเราน่าจะทำให้โรง เรียนเป็นสถานที่อบรมคุณธรรมด้านจิตใจ  เพราะฉะนั้น สภาการศึกษาคาทอลิกฯ จึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ยิ่งพอหลักสูตรกำหนดเข้าไปอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จึงยิ่งเอื้อให้การเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นจริงเป็นจังเพิ่มมากขึ้น


ผู้ไถ่ :
โรงเรียนมาแตร์ฯ มีการจัดกิจกรรมอะไรบ้างที่เป็นการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในโรงเรียน

อ.สุมิตรา : ในส่วนของโรงเรียน ด้วยความเป็นโรงเรียนคาทอลิกของคณะซิสเตอร์อุร์สุลิน เรามองไว้ว่า วิสัยทัศน์ของเราคือ การส่งเสริมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ให้เด็กนักเรียนรู้จักถึงศักดิ์ศรีและคุณค่าของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณค่าและศักดิ์ศรีในฐานะที่เป็นผู้หญิง ในขณะเดียวกัน เมื่อเห็นถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของตัวเองก็เห็นถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของคนอื่นด้วยซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ   เราพยายามที่จะใช้ภาคปฏิบัติมาโดยตลอด ตั้งแต่ก่อตั้งโรงเรียนมาก็ว่าได้ กับการที่จะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้สัมผัสกับคนที่เขาด้อยกว่าในฐานะทางสังคม เพราะฉะนั้นการที่เราพยายามทำให้คนที่เหมือนกับว่าได้รับการละเลย ได้รับการเอารัดเอาเปรียบ ได้เป็นที่รับรู้ของนักเรียนเพื่อที่ว่าเราจะได้มุ่งที่จะทำงานด้านนี้ ซึ่งช่วยให้เด็กของเรามีจิตใจที่ดีครบบริบูรณ์ เพราะจะเก่งวิชาการเท่านั้นโดยไม่มีการเคารพในตัวผู้อื่น ไม่บรรลุเป้าหมายของการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

ในภาคปฏิบัติที่เป็นกิจกรรม เราทำมานานและทำก้าวหน้าไปเรื่อยๆ เช่น โครงการโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง กับโรงเรียนตำรวจชายแดน (ต.ช.ด) เพื่อสอนให้นักเรียนได้เห็นถึงคนอื่นที่เขายากลำบากกว่าเรา ตอนนี้มีโรงเรียน ต.ช.ด. ที่เราช่วยเหลืออยู่ 12 โรงเรียน วัตถุประสงค์หลักๆ คือความมีส่วนร่วมของนักเรียนและการฝึกอบรมจิตใจ ซึ่งเราคิดว่าได้ผลพอสมควรโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับนักเรียนเก่าที่ให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือคนอื่นเช่น สมาคมนักเรียนเก่า ได้รับกิจการของบ้านเทพ ซึ่งเป็นสถานเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนที่ซิสเตอร์ได้เริ่มเอาไว้ อยู่ที่ชุมชนแออัดสวนอ้อย แถวท่าเรือคลองเตย  โดยทางสมาคมฯ หาเงินสนับสนุนทั้งหมด นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของกิจกรรมที่ทำร่วมกันเพื่อช่วยผู้อื่น ซึ่งเป็นห่วงอยู่ว่าต้องไม่ให้อยู่ในระดับกิจกรรมเท่านั้น จะต้องให้เข้าใจถึงความหมายว่า ทำไมเราถึงทำ

นอกจากนี้ก็มีกิจกรรมทุกสัปดาห์ที่ส่งนักเรียนไปตามสถานสงเคราะห์ต่างๆ ตั้งแต่ชั้น ป.6 ม.4 ซึ่งพอถึงชั้น ม.5 แทนที่เราจะทำเป็นค่ายยุวกาชาดปกติ ค่าย ม.5 เป็นค่ายที่สรุปมองภาพตัวเองของการมีส่วนร่วมในงานบำเพ็ญประโยชน์ของนักเรียน คล้ายๆ ว่าทบทวนตั้งแต่เล็ก คือ บริจาคเงินเพื่อคนจน พอโตขึ้นมาบำเพ็ญประโยชน์ในที่ต่างๆ เช่น ไปสถานสงเคราะห์ที่ปากเกร็ดซึ่งมีอยู่หลายสถานสงเคราะห์ ให้เขาได้ไปเห็น และก่อนจะไปเราก็จัดสัมมนาเชิญนักเรียนเก่าที่เป็นนักสังคมสงเคราะห์มาพูดกับนักเรียน ในแง่ที่ว่า พวกเราก็ไม่น่าที่จะเป็นสาเหตุของปัญหาด้วยหากเราไม่ระมัดระวังเรื่องเพศเราอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาตามมา นอกจากนั้นหน้าที่ต่อเพื่อนมนุษย์ในการที่จะต้องช่วยเหลือกัน ซึ่งก็ดูว่าเด็กเขาก็ใช้ได้ในภาคทฤษฎี เขาก็บอกว่ามันติดอยู่ในตัวหนูไม่ว่าจะไปที่ไหนก็จะไม่นิ่งดูดาย ในระดับมหาวิทยา ลัย อาจารย์มหาวิทยาลัยก็จะชมว่า ถ้ามีกิจกรรมอะไรต่างๆ นักเรียนของเราค่อนข้างที่จะคล่อง พร้อมที่จะเสียสละ ทำเพื่อส่วนรวม และในหมู่คนที่ทำงานแล้ว ก็ดูว่าเขาก็ช่วยเหลือคนอื่นตามอัตภาพ ตามสถานภาพของเขา แล้วก็มาเป็นนักสังคมสงเคราะห์ ทำอะไรมากพอสมควร 


ผู้ไถ่ :
อะไรเป็นปัญหาในการสอนสิทธิมนุษยชนศึกษา

อ.สุมิตรา : จะเรียกปัญหาก็ไม่ใช่ ความยากคงอยู่ที่เรามองว่า ในบทบาทของโรงเรียน โรงเรียนมักจะมุ่งสอนอะไรที่เป็นทฤษฎี คือจริงๆ แล้วความรู้ทั้งหมดมันเป็นความรู้ที่จะต้องนำสู่ภาคปฏิบัติได้ แต่ว่าจะไปมุ่งเรื่องเดียวก็ไม่ได้ มันมีเนื้อหาสาระความรู้อื่นๆ ที่เด็กจะต้องเรียนรู้ด้วยเหมือนกัน เพราะฉะนั้นความรู้ในแง่ของสิทธิมนุษยชนมันเป็นส่วนประกอบนิดเดียว อยู่ที่ภาคปฏิบัติที่เป็นกิจวัตรของเราในโรงเรียนมากกว่า บรรยากาศในโรงเรียน การปฏิบัติต่อกันและกัน วิธีที่ครูจะพูดจากับนักเรียน ซิสเตอร์ผู้บริหารจะพูดกับครู ครูจะพูดกับเจ้าหน้าที่ของโรงเรียน ซึ่งมันเป็นภาคปฏิบัติร่วมกัน ตัวอย่างเช่น เมื่อ 4 5 ปีที่แล้ว ที่โรงเรียนมาแตร์ฯ ร่วมกันต่อสู้เรื่องการตั้งสถานีรถไฟฟ้าหน้าโรงเรียน ซึ่งเหมือนเป็นการละเมิดสิทธิของเด็กที่จะมีสภาพแวดล้อมที่ดี ภาคปฏิบัติแบบนี้ช่วยได้เยอะ คิดว่าเด็กในรุ่นนั้นเขาได้ประสบการณ์ที่ดีหลายอย่าง ไปเป็นนักกิจกรรมในมหาวิทยาลัยหลายคน การที่เขากล้าที่จะเรียกร้องความถูกต้องนี่เป็นการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติ ทำให้บางทีครูอาจารย์มองว่ามันสอนยากเพราะว่าสอนเป็นทฤษฎีเราก็ไม่อยากให้สอน จะเอาปฏิญญาสิทธิมนุษยชนมาให้ท่องจำไม่มีประโยชน์อะไรทั้งสิ้นเลย และยิ่งมาบังคับขู่เข็ญให้ท่องให้ได้ ถ้าไม่ได้สอบตก มันไม่มีคุณค่า เพราะฉะนั้นก็อยู่ที่ว่า มันท้าทายเราว่าเราจะสอนอย่างไรที่ทำให้เกิดผลจริง ก็คือปฏิบัติร่วมกันและผู้ใหญ่ในโรงเรียนก็ปฏิบัติเป็นตัวอย่างถึงจะเกิดขึ้นได้ 


ผู้ไถ่ :
อาจารย์คาดหวังต่อหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างไร

อ.สุมิตรา : ที่เราเริ่มจริงๆ เราทำในสิ่งที่คิดว่าน่าจะทำเพราะฉะนั้นเราเริ่มจากการทำเวิร์คช็อบกับครูทั้งโรงเรียนก่อน และประเด็นที่เรามุ่งเน้นก็คือ ความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ที่มนุษย์พึงมีต่อพระเจ้า กับสิ่งแวดล้อม กับตัวเอง กับเพื่อนร่วมงาน กับโลก กับสังคม แล้วก็เขียนเหมือนกับว่าเป็นปฏิญญาร่วมกันว่าเราจะปฏิบัติต่อกันและกันอย่างไร เพื่อสร้างบรรยากาศของโรงเรียน เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วเราก็กำหนดหัวเรื่อง (theme) ของปีนั้น เช่น ปีแห่งการรู้จักเคารพซึ่งกันและกัน, ปีของสิทธิมนุษยชน ต่อมามีโครงการรณรงค์เรื่องยุติธรรมและสันติโอบอุ้มกัน ของคณะซิสเตอร์ที่กรุงโรม อิตาลี ซึ่งยุติธรรมและสันติภาพจะต้องไปด้วยกัน เราจึงมาปรับโครงการนี้ใหม่สร้างเป็น theme ปีแรกเราให้เข้าใจความหมายว่ายุติธรรมคืออะไร และสันติคืออะไร ทำไมถึงเอายุติธรรมและสันติมาร่วมกัน ปีนี้เป็นปีที่ 2 เรารณรงค์เรื่อง รู้จักฟังเป็น การฟังเป็นทักษะพื้นฐานของการที่จะเคารพผู้อื่นเป็น เข้าใจผู้อื่นได้ อยู่ร่วมกันอย่างมีสันติได้ สำหรับปีหน้าจะรณรงค์เรื่อง การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา โดยเราจะสร้างความเข้าใจกับครูก่อนแล้วจึงฝึกกับนักเรียน  มีงานวิจัยสนับสนุนหลายชิ้นเลยว่า ถ้าเราสร้างการรู้จักเห็นใจคนอื่นเป็น รู้จักการเอาใจเขามาใส่ใจเรามันเป็นกระบวนการสร้างสันติภาพ สร้างการอยู่ร่วมกันด้วยความเคารพงาน วิจัยกล่าวถึงความเหมือนและความแตกต่างของเรากับคนอื่นเพราะเราไม่คิดแต่ในมุมมองของเราเท่านั้น เราสามารถมองในมุมมองของเขาว่า ทำไมเขารู้สึกแบบนี้ ทำไมเรารู้สึกแบบนั้น มันไม่เหมือนกันแต่อยู่ร่วมกันได้หรือไม่  ก็พยายามจะทำให้เป็นกระบวนการในการอบรม ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นการส่งเสริมเรื่องสิทธิมนุษยชน

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >