หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 119 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


5 ทศวรรษในงานพัฒนาสังคม กับความมุ่งหวังต่อความยุติธรรมและสันติ ของพระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ พิมพ์
Wednesday, 01 November 2006

5 ทศวรรษในงานพัฒนาสังคม
กับความมุ่งหวังต่อความยุติธรรมและสันติ
ของพระสังฆราชบุญเลื่อน  หมั้นทรัพย์

อัจฉรา  สมแสงสรวง  :  สัมภาษณ์ 

โอกาสที่ ปี 2004 ี้ พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ ประมุขสังฆมณฑลอุบลราชธานี  และประธาน คณะกรรมาธิการฝ่ายสังคม ของสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย  จะมีอายุครบ 75 ปี  องค์กรที่เกี่ยวข้องในงานพัฒนาสังคม  มีดำริที่จะจัดงานกตัญญูกตเวทิตา แด่พระสังฆราชบุญเลื่อน  เพื่อแสดงความ ขอบพระคุณต่อการที่ท่านได้อุทิศตนทำงานพัฒนาสังคมของพระศาสนจักรคาทอลิกแห่งประเทศไทยมตลอดระยะเวลา 5 ทศวรรษจนทำให้พระศาสนจักรได้ทำหน้าที่ของตนในการประกาศข่าวดีร่วมกับคนยากจน  การ ยืนยันในสิทธิและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  และการสร้างเครือข่ายกับศาสนิกผู้มีน้ำใจดีอื่นๆ ที่ตระหนักใน เรื่องการส่งเสริมความยุติธรรมในสังคม ผู้ไถ่ฉบับที่ 64 จึงขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในช่วงเวลาที่สำคัญนี้ด้วยการ นำเสนอความคิดเห็นจากสิ่งที่ท่านได้กระทำผ่านมา และมุมมองต่อความหวังในอนาคตจากพื้นฐานของ ปรากฏการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน   

ผู้ไถ่ : ในฐานะที่พระคุณเจ้ามีส่วนผลักดัน และทำงานเพื่อยืนยันว่าพระศาสนจักรต้อง สนับสนุนงานยุติธรรมและสันติในสังคม  พระ คุณเจ้ามีความเห็นอย่างไรต่องานที่ได้วางรากฐานมาจนถึงปัจจุบันนี้

พระคุณเจ้า : คงต้องมองย้อนกลับไปในอดีต ตอนแรกที่พ่อเข้ามาทำงานพัฒนาสังคม พ่อก็ยัง ไม่มแนวคิดเรื่องความยุติธรรมและสันติที่ชัดเจน แต่เนื่องจากปูมหลังชีวิตของพ่อมาจากครอบครัวที่ี่ยากจนและมีลูกมาก  เตี่ยเป็นครูโรงเรียนวัด แม่ทำงานหนักมาก  ดังนั้นเมื่อเป็นพระสงฆ์และ รับผิดชอบงานโรงเรียนจึงเข้าใจทันทีว่าครูในโรง เรียนมีความยากลำบากทางเศรษฐกิจอย่างไรจากภาระหนี้สิน ในขณะนั้นก็คิดว่าต้องทำอะไรสัก อย่างเพื่อช่วยครู ที่สุดก็ไปพบเอกสารเกี่ยวกับ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูของโรงเรียนรัฐบาลและนำ มาศึกษาแต่ก็ไม่ชอบเพราะว่าเขาใช้วิธีการหักเงิน เดือนครูมาออม ขณะเดียวกันก็ทราบว่มีสหกรณ์ เครดิตยูเนี่ยนขอศูนย์กลางเทวา พ่อจึงมาติดต่อ และศึกษาวิธีการทำงาน แล้วก็ชอบหลักการวิธีการของเครดิตยูเนี่ยน ที่เน้นการรวมกลุ่มกันทำ งานและให้สมาชิกสะสมเงินทีละเล็กละน้อย เช่น อาทิตย์ละ 5 บาท  ซึ่งจะช่วยให้ครูพ้นจาก ภาระหนี้สิน เพราะครูต้องรู้จักช่วยเหลือตนเอง โดยการประหยัดและสะสม ในช่วงนั้นพ่อยังไม่มี ความคิดเรื่องความอยุติธรรม ยังไม่มีการวิเคราะห์ ว่าทำไมพวกครูในโรงเรียนราษฎร์ถึงยากจน เพียงแต่ชอบหลักการของการประหยัดมัธยัสถ์ การสร้างนิสัยที่ไม่ฟุ่มเฟือย และรู้จักจัดการการ เงินของตนเอง มิใช่การถูกหักเงินเดือนไปสะสม และจากแนวทางของเครดิตยูเนี่ยนก็เป็นรากฐานของความคิดการพัฒนาคน 

นอกจากนี้ ในปี ค.ศ.1967 (2 ปี หลังสังคายนา วาติกันครั้งที่ 2) มีเอกสารที่ออกจากวาติกัน เรื่อง การพัฒนาประชาชาติ(Populorum Progressio) ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากเอกสารพระศาสนจักร ในโลกสมัยนี้ (Gaudium et Spes) ที่วางหลัก ทั่วๆไปว่า พระศาสนจักรต้องสนใจด้านสังคม ใน เอกสารการพัฒนาประชาชาติ  สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 6 ได้ให้คำจำกัดความ ของการพัฒนาว่าเป็นการพัฒนาคนครบทุกมิติ  พ่อเองก็ศึกษาเอกสารเล่มนี้และนำมาเผยแพร่ จนกระทั่งสภาพระสังฆราชคาทอลิกของไทยให้ารสนับสนุนแนวงานพัฒนาตามหลักการเครดิต ยูเนี่ยน ซึ่งในขณะนั้นเรามีทีมงานที่ลงไปทำงาน ในภาคสนามด้วยกัน อาทิ คุณหมอชวลิต จิตรานุ เคราะห์  คุณพ่อ อัลเฟรด บอนแนงค์ เอส เจ.  ตัวพ่อเองขณะนั้นยังานอยู่ในมิสซังราชบุรี ก็ ได้รับการทาบทามจากคุณหมอชวลิตให้เข้ามา ร่วมงานซึ่งในระยะถัดมายังมีเพื่อนๆ พระสงฆ์ และฆราวาสอีกจำนวนหนึ่งที่ช่วยกันทำงาน  

พ่อคงสรุปได้ว่าารทำงานของพ่อเริ่มมาจาก ประสบการณ์ชีวิต ความสนใจส่วนตัว และหล่อเลี้ยงด้วยการศึกษาเอกสารซึ่งช่วยให้เข้าใจถึงวามหมายของการพัฒนา จึงได้นำหลักการวิธีการของเครดิตยูเนี่ยนไปสู่การปฏิบัติในการพัฒนาคน และเมื่อเราได้ศึกษาเอกสารมากขึ้น ก็เห็นความสำคัญของการวิเคราะห์สังคม โดยเฉพาะในช่วงต้นทศวรรษที่ 80 ที่เริ่มมีกระแสการ วิเคราะห์สังคมเชิงโครงสร้างมีเอกสารเทววิทยา แห่งการปลดปล่อย (Theology of Liberation ) (1968) และเอกสารความยุติธรรมในโลก (Justice in the World)  (1971)  ซึ่งเราที่กำลังทำงาน พัฒนาอยู่ในขณะนั้นก็สนใจ และศึกษาถึงการวิเคราะห์เชิงโครงสร้างมากขึ้น    

ต่อมาในช่วงที่พ่อเข้าไปทำงานในระดับภูมิภาคเอเชียก็เห็นความสำคัญและมีโอกาสจัดการศึกษา เรื่องการวิเคราะห์สังคมเชิงโครงสร้างให้กับผู้นำ  ศาสนจักรในเอเชียที่ประเทศฟิลิปปินส์ แต่น่า เสียดายที่เมืองไทยมี เพียงพระคุณเจ้าคลาเรนตดูฮาร์ต  C.Ss.R  ที่ไปร่วมสัมมนา พ่อยังจำได้ว่า พระคุณเจ้า ดูฮาร์ต เองก็ยกมือไม่เห็นด้วยใน บางเรื่องเพราะว่าการวิพากษ์โครงสร้างนั้นมี มาร์กซิสต์อยู่เบื้องหลัง นอกจากนี้ยังมีพระสังฆ ราชชาวต่างชาติของพระศาสนจักรไทยในเวลา นั้นอีกท่านหนึ่งที่คัดค้านการวิเคราะห์สังคม ดังกล่าวเพราะท่าน เคยอยู่ในประเทศจีนและผ่านประสบการณ์ถูกล้างสมองจากจีนคอมมิวนิสต์ ที่ในลาตินอเมริกาก็มีเอกสารที่วิเคราะห์โครงสร้าง และวิพากษ์การแบ่งชนชั้นจากการถูกจักรวรรดิ นิยมกดขี่คือ เทววิทยาแห่งการปลดปล่อย ผู้นำพระศาสนจักรในสมัยนั้นไม่ค่อยเห็นด้วยกับ เทววิทยาแห่งการปลดปล่อย จนกระทั่งพระสันตะ ปาปาอห์นอลที่ 2 ในครั้งที่ขึ้นดำรง ตำแหน่งใหม่ๆ ได้พยายามออกเอกสารที่แสดง ให้เห็นว่าเทววิทยาดังกล่าว มีทั้งแง่บวกและแง่ลบทำให้ปฏิกิริยาต่อการวิเคราะห์สังคมเช่นนี้ แผ่ ขยายในแวดวงศาสนจักรในขณะนั้น  กอปรกับในประเทศต่างๆ ก็มีความวุ่นวายทางการเมือง เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ในสมัยรัฐบาลมาร์คอส ก็ใช้กฎอัยการศึก  ประเทศไทยก็ตกอยู่ภายใต้ รัฐบาลเผด็จการทหาร    

ดังนั้น สำหรับพ่อแล้วพ่อไม่ได้เรียกสิ่งที่พ่อกระทเป็นความภูมิใจ พ่อกลับขอบคุณพระมากกว่า ที่ ได้จัดการให้เกิดมาในครอบครัวที่ยากจมีโอกาส ทำงานรับผิดชอบในกาพัฒนาคนระดับชาติ  และต่อมาในปี1974 ก็ถูกเรียกไปทำงานในระดับ เอเชีย ดังนี้พ่อถือว่าเป็นพระที่ให้โอกาสพ่อใน การทำงานเพื่อการประกายืนยันความถูกต้อง และยุติธรรมในสังคม เมื่อไม่นานมานี้มีคน เล่าว่า ได้ไปที่ประเทศลาวในงานเครดิตยูเนี่ยน และเห็น รูปของพ่อแขวนไว้กับรูปคุณพ่อบอนแนงค์  ความ จริงก็รู้สึกขำๆ ที่มีรูปเราแขวนอยู่ที่นั่น  


ผู้ไถ่ : แต่รูปก็เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงแนวคิด และจิตตารมณ์ของเครดิตยูเนี่ยนที่ขยายไปสู่ภาคปฏิบัติใน กลุ่มต่างๆ

พระคุณเจ้า : พ่อจำได้ว่า เมื่อได้เข้ามาร่วมงาน กับคุณพ่อบอนแนงค์ ในงานเครดิตยูเนี่ยน และ พัฒนาสังคม  สังเตดูว่เวลาที่คุณพ่อบอนแนงค์ เชิญให้พ่อไปพูดที่ไหน หรือในคราวที่เราสองคน จะต้องไปพูดให้กลุ่มต่างๆ คุณพ่อบอนแนงค์มัก จะถอยหลั(อยู่ข้างหลัง) พ่อเสมอโดยท่านให้เหตุ ผลว่ายังพูดภาษาไทยได้ไม่ดี  แต่พ่อเข้าใจดีว่า คุณพ่อบอนแนงค์เห็นว่าพ่อเป็นพระสงฆ์ไทยพูด ภาษาไทยได้ดีกว่าท่านแน่ และที่สำคัญท่าน ต้องการสนับสนุนคนรุ่นใหม่  นี่แหละให้ความ ประทับใจที่ดี  แสดงถึงวิธีคิดและการปฏิบัติของ ผู้นำ 


ผู้ไถ่ : อยากทราบเบื้องหลังของการที่ พระคุณเจ้าถูกเรียกไปทำงานในระดับภูมิภาคในสายงานพัฒนามนุษย์ ของสหพันธ์พระ สังฆราชแห่งเอเชีย ช่วงปี 1974 เป็นต้นมา 

พระคุณเจ้า : คืออย่างนี้  เบื้องต้นจากการทาบ ทามจากคุณหมอชวลิต จิตรานุเคราะห์  ทำให้พ่อ ได้เข้ามาทำงานพัฒนาสังคมในช่วงปี ค. ศ1968 – 1971 ระหว่างนั้นเอง พ่อได้มีโอกาสไปประชุมที่ กรุงมนิลา ประเทศ ฟิลิปปินส์ 2 - 3 ครั้ง ในฐานะ ตัวแทนของ CCTD ( คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการพัฒนา หรือ CCHD ในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นช่วง เวลาเดียวกับที่สหพันธ์พระสังฆราชแห่งเอเชีย พยายามก่อตั้งสำนักงานเพื่อการพัฒนามนุษย์ (Office for Human Development) และเพื่อนๆ ในฟิลิปปินส์ก็ทราบว่า พ่อเคยเข้าร่วมการประชุม Priests’ Institute in Social Action (PISA) ที่ฮ่องกง ในปี ค.ศ. 1968 ฉะนั้นเวลาที่พ่อไป ประชุมที่มนิลา ก็มีพระสังฆราชบางคนรู้จักพ่ออยู่ก่อนแล้ว  เช่น พระสังฆราช Julio Xavier Labayen, OCD  ประธานคณะ กรรมการบริหารของ OHD คนแรก และคุณพ่อ Willem Roetenberg, CICM ซึ่งเป็นเลขาธิการอยู่ในขณะนั้น  ได้กำหนดวาระ การทำงานของตนเองเอาไว้ว่าในปี 1974 คุณพ่อ จะออกจากตำแหน่งนี้จึงหาผู้ที่จะทำงานแทน และเห็นว่าพ่อสนใจในงานพัฒนาและกำลังทำงานร่วมกับฆราวาสในงานเครดิตยูเนี่ยน จึงมีการ ทาบทามและพ่อได้รับเลือกเป็นเลขาธิการ บริหารและผู้อำนวยการสำนักงานเพื่อการพัฒนามนุษย์ของสหพันธ์พระสังฆราชแห่งเอเชีย ในปี 1974 - 1976 


ผู้ไถ : มีผู้กล่าวอยู่เสมอว่าพระคุณเจ้าเป็น ผู้หนึ่งที่ร่วมผลักดันงานความยุติธรรม ใน สังคมและงานพัฒนาความเป็นบุคคลมนุษย์ ให้แก่พระศาสนจักร  ต่อเรื่องนี้พ่อคิดอย่างไร

พระคุณเจ้า : จริงๆ แล้ว เรื่องความยุติธรรม ในสังคม มีผู้ร่วมกันวางรากฐานอยู่หลายคน เช่น ในระดับเอเชีย ก็มีพระสังฆราช Julio Labayen ในเมืองไทยก็มีเพื่อนร่วมงานเช่น คุณพ่อหลาย ท่าน และฆราวาสจำนวนหนึ่งที่ช่วยกันเผยแพร่ แนวคิดเครดิตยูเนี่ยนโดยที่เราจะมาศึกษา และ แลกเปลี่ยนความคิดกันอยู่บ่อยๆ เพื่อวางแผนดำเนินงาน ตัวพ่อเองก็ได้มีโอกาสเรียนรู้จากการ ทำงานเป็นทีมทั้งในระดับประเทศและระดับทวีป  แต่ว่าประเด็นความยุติธรรมในสังคมในอดีตนั้น สามารถถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นทางสังคม ได้ ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นใน ขณะนั้น ขณะเดียวกันทีมงานก็เป็นทีมงานที่สน ใจต่อประเด็นดังกล่าวจึงทำให้การร่วมมือกันของ ทีมงานเป็นไปอย่างไม่ย่อท้อ แม้ว่าจะมีการ ต่อต้านทั้งทางภายในและภายนอก ศาสนจักร  


ผู้ไถ่ : อะไรเป็นหลักยึดเหนี่ยวในท่ามกลาง กระแสคัดค้าน / ไม่เข้าใจที่เกิดขึ้นในขณะนั้น

พระคุณเจ้า : หลักยึดของเราก็คือ ความสำนึก ในหน้าที่ที่จะต้องทำงานด้านนี้  ยิ่งเมื่อเราค้นพบ เอกสารของพระศาสนจักรที่ยืนยันในเรื่องนี้ เราก็ ทุ่มเทเต็มที่เพราะเห็นว่าเป็นหนทางที่ถูกต้อง เพียงแต่ว่าเราไปใช้เครื่องมือที่คนส่วนใหญ่ไม่ ชอบ อย่างไรก็ตามเรายังโชคดีที่ทีมงานในเมือง ไทยมีโอกาสพบปะพูดคุยและประเมินผลตัวเองและยอบรับว่าการใช้เครื่องมือในการทำงานแบบ Negative Approach นั้นไม่เป็นที่ยอมรับจึงต้อง เปลี่ยนมาเป็น Positive Approach  โดยใช้การ วิเคราะห์สังคมด้วยแนววัฒนธรรม (Cultural Analysis)  ซึ่งทำให้งานพัฒนาสังคมของพระ ศาสนจักรมีความเด่นชัด พ่อต้องขอบคุณ  คุณพ่อ นิพจน์ เทียนวิหาร คุณพ่อวัชรินทร์ สมานจิต คุณพ่อมนัส ศุภลักษณ์ และคนอื่นๆ ที่ช่วย พัฒนาเครื่องมือดังกล่าวขึ้นมา 


ผู้ไถ่ : พระคุณเจ้าเห็นผลสำเร็จอะไรเกิดขึ้น บ้างจากการทำงานเพื่อความยุติธรรมใน สังคม

พระคุณเจ้า :ราเห็นว่า พระศาสนจักรโดยรวม มีวามสำนึกว่าตนเองจะต้องให้ความสนใจต่องานพัฒนาสังคมและงานส่งเสริมความยุติธรรม แต่งานสองงานมีความแตกต่างกันอยู่ งานพัฒนา สังคมเป็นการพัฒนาประชาชนให้ช่วยเหลือตนเองเพื่อยืนอยู่ได้ซึ่งเป็นสิ่งที่พระศาสนจักรรับได้   แต่ สำหรับประเด็นความยุติธรรมในสังคมนั้น เนื่อง จากในอดีตเราใช้เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อเข้าใจเหตุ ของปัญหาหรือการนำไปสู่คำถามว่า ”ทำไม” สัง คมจึงเป็นอย่างนี้ และคำตอบที่พวกเราที่ทำงาน ค้นพบก็ต่างจากคำตอบที่คนอื่นในพระศาสนจักร มี  ดังนั้นเมื่อความคิดเห็นไม่ตรงกัน ความยาก ลำบากในการทำงานส่งเสริมความยุติธรรมจึงอยู่ ตรงนี้ 


ผู้ไถ : และในปัจจุบันนี้พระคุณเจ้า ปรารถนา ให้พระศาสนจักรสนับสนุนงานส่งเสริมความยุติธรรม และสันติ ต่อไปอย่างไร

พระคุณเจ้า : พระศาสนจักรต้องมุ่งเน้นให้ คริสตชนต้องรู้จักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร นี่เป็นความสำคัญอันดับแรก และเป็น  ประสบการณ์ส่วนตัวโดยตรงของพ่อที่พ่อศึกษา และเห็นว่าคำสอนด้านสังคมเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก  ประการที่สอง ต้องรู้จักอ่านเครื่องหมายแห่งกาเวลา หรือสัญญาณแห่งกาลเวลา ดังที่มีกล่าวไว้ ในเอกสารสังคายนาวาติกันที่ 2 และจะอ่าน เครื่องหมายแห่งกาลเวลาได้อย่างไรก็ต้องรู้จักทำการวิเคราะห์สังคมโดยใช้เครื่องมือต่างๆ ที่เหมาะ สม และขณะที่ทำการวิเคราะห์สังคมอยู่เราก็ต้อง รู้จักภาวนเพื่อจะได้สำนึกในพันธกิจของตนเอง ในฐานะที่เป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้า 

สำหรับพระศาสนจักรในสังคมไทยขณะนี้อยู่ในขั้นที่สองคือสนใจคำสอนด้านสังคม และสนใจ ประเด็นที่เกิดขึ้น ในสังคมแล้วต่อจากนี้เราต้อง พยายามนำพระศาสนจักรไทยไปสู่ขั้นที่สามคือรู้ จักวิเคราะห์สังคม และเครื่องมือที่พ่อเห็นว่า เหมาะสมที่สุดในเวลานี้คือการวิเคราะห์สังคมด้วยแนววัฒนธรรม (Cultural Analysis)  เพราะ สังคมปัจจุบันนี้เรากำลังเผชิญหน้ากับวัฒนธรรม แห่งความตาย (Cultural of Death)  เราต้อง พยายามดึงสังคมกลับมาสู่วัฒนธรรมแห่งชีวิต (Cultural of Life)  ซึ่งในเอกสารต่างๆ ของ พระสันตะปาปาองค์ปัจจุบัน เช่น เอกสารครบรอบ 80 ปี ของสมณสาส์น เรรุมนอวารุม (Octogesima Adveniens) และความห่วงใยเรื่องสังคม (Sollicitudo Rei Socialis) ที่มีกล่าวถึง การทำการวิเคราะห์สังคมโดยใช้แนววัฒนธรรม อยู่   และเมื่อวิเคราะห์แล้วเราจะแสดงน้ำใจต่อ สังคมในฐานะสมาชิกพระศาสนจักรด้วยการปฏิบัติอย่างไร  


ผู้ไถ่ : พระคุณเจ้าเห็นจุดอ่อนอะไรที่ สามารถนำมาพิจารณาเพื่อไปสู่การทำงาน ร่วมกันซึ่งอาจจะเป็นความหวังสำหรับอนาคต

พระคุณเจ้า : พ่อคิดว่า เรื่องความหวังคงมีอยู่ หลายประการ โดยมีหลายๆ เหตุการณ์ หรือ ประสบการณ์ที่ให้ความหวังแก่เราในฐานะคนทำ งาน ในเวลานี้พ่อเห็นว่าฆราวาสมีความสนใจ คำสอนด้านสังคมมากขึ้น และฆราวาสบางกลุ่มก็ สนใจศึกษาคำสอนด้านสังคมในเชิงความรู้และ ทฤษฎีได้เป็นอย่างดี แต่พวกเขายังไม่สามารถลง สนามไปสู่ภาคปฏิบัติได้จริงๆ ซึ่งหากว่าพวกเขา สามารถกลับใจหรือความรู้ที่ได้รับตกตะกอนลงไป ในจิตใจ แล้วเขาก็จะทำหน้าที่ในอาชีพการงาน ใน แนวทางที่สร้างความยุติธรรมของสังคมให้เกิดขึ้น นี่เป็นเรื่องที่ยังท้าทายอยู่ นอกจากนี้ในภาคสัง คม โดยส่วนใหญ่ยังตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของทุนนิยม   คณะผู้ดูแลบ้านเมืองแม้ว่าจะมีความตั้งใจ ดีแต่หลักการและการกระทบางอย่างถูกครอบงำ ด้วยทุนนิยม ซึ่งถ้าหากเราขาดารวิเคราะห์สังคม เราก็จะเห็นว่ารัฐบาลนี้ดี ใช้นโยบายประชานิยม ช่วยเหลือคนยากจน ดังนั้นเราต้องมการตระหนัก ต่อสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นและหยุดวิเคราะห์ว่าทำไม   ถึเกิดการกระทำอย่างนี้ขึ้นเรา ก็จะพบว่าาร ดำเนินงานบางอย่างแม้มีเจตนาดีแต่วิธีการ ที่ใช้อาจมีอะไรแอบแงอยู่ซึ่งกำลังนำไปสู่ความ อยุติธรรม เชิงโครงสร้างของสังคม 

อีกเหตุการณ์ที่พ่อต้องมองด้วยสายตาแห่งความหวังคือ  ในขณะที่ความสนใจต่อเรื่องคำสอนด้าน สังคมของฆราวาสก้าวหน้าไปกว่าบรรดาพระ สงฆ์ นักบวช ก็ไม่ทราบว่าการอ่านพระคัมภีร์ใน บริบทปัจจุบันของสมาชิกพระศาสนจักรกลุ่มหลัง นี้มีมุมมองด้านความยุติธรรมของสังคมมากน้อย เพียงใด พระสงฆ์ นักบวช  ต้องทำหน้าที่ติดตาม วิเคราะห์เป็นปากเป็นเสียงให้คนยากจนต้องพัฒ นาตัวเอง ต้องนำสารของพระศาสนจักรและพระ คัมภีร์มาเป็นพลังมีจิตใจที่เปิดกว้างเท่าทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และพิจารณาอย่างรอบคอบว่าเหตุ การณ์ที่ี่เกิดขึ้นกำลังส่งผลกระทบอะไรต่อประชา ชน อาทิ เรื่องการเปิดเสรีทางการค้า และบริการ ที่กำลังดึงการศึกษาไปสู่ตลาดการค้าภายใต้กลไก ของ WTO ( World Trade Organization ) นี่เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ นักบวชที่จะต้องศึกษา วิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอะไรคือที่มา และ ที่ไปผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งในแง่บวกและแง่ลบ ที่จะทำให้การศึกษาโดยเฉพาะการศึกษาคาทอลิกกำลังจะสูญเสียเอกลักษณ์ของตนที่ในอดีตเคยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือสำหรับบ่มเพาหล่อ หลอมจิตตารมณ์ของพระเยซูคริสต์ แก่บรรดา ลูกหลาน แต่ปัจจุบันกำลังไปรับใช้ภาคธุรกิจ 

ดังนั้น เราเห็นสัญญาณแห่งความหวังอยู่หลายเรื่อง และพระศาสนจักรไทยพร้อม หรือยังที่จะตอบสนองสัญญาณแห่งความ หวังนี้ให้เป็นจริงเป็นจังไม่ว่าจะเป็นการ สนับสนุนให้ฆราวาสก้าวเดินไปโดยอาศัย พระคัมภีร์เป็นแนวทางและปฏิบัติวิถีชีวิต ด้วยหัวใจของคำสอนด้านสังคม การส่ง เสริมให้มีพระสงฆ์นักบวชที่มุ่งอุทิศตนเพื่องาน ส่งเสริมความยุติธรรมและสันติ สังคมมากขึ้ และการทบทวนโครงสร้าง ของพระศาสนจักรที่กำหนดขึ้นมาในแผน งานอภิบาล ค.ศ. 2000 ว่ามีประสิทธิภาพ มากน้อยเพียงใด มีบุคลากรที่เหมาะสมที่จะ ช่วยให้กลไกต่างๆ เหล่านั้นทำหน้าที่เป็น ปากเป็นเสียงแทนพระศาสนจักรได้อย่าง แท้จริงอย่างไร เหล่านี้เป็นเรื่องที่พระศาสน จักรต้องถือเป็นภาระหน้าที่ที่จะปรับปรุง ต่อไป  

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >