หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow ความขัดแย้งข้ามวัฒนธรรมในภาคใต้ เรียบเรียงโดย : ปฏิพัทธ์ ไผ่ตระกูลพงศ์
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 100 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ความขัดแย้งข้ามวัฒนธรรมในภาคใต้ เรียบเรียงโดย : ปฏิพัทธ์ ไผ่ตระกูลพงศ์ พิมพ์
Wednesday, 17 May 2006


ความขัดแย้งข้ามวัฒนธรรมในภาคใต้


ข้อมูลจาก : การสัมมนาความขัดแย้งข้ามวัฒนธรรมในภาคใต้
จัดโดย : เครือข่ายศึกษาการจัดการความขัดแย้งแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 25-28 พฤษภาคม พ.ศ. 2548

เรียบเรียงโดย : ปฏิพัทธ์ ไผ่ตระกูลพงศ์


Imageในปัจจุบัน ปัญหาความขัดแย้งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาหนึ่งของสังคมไทยที่ทุกภาคส่วนต่างช่วยกันระดมความคิดเพื่อหาทางออกกับปัญหานี้ ในส่วนภาครัฐก็มีนโยบายในการแก้ไขปัญหาออกมามากมาย สำหรับภาคประชาสังคมก็ใช้เวทีการจัดสัมมนา เสวนา เพื่อเปิดโอกาสให้คนในพื้นที่และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ออกมาแสดงความคิดเห็น และเสนอแนะแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน

ปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เครือข่ายศึกษาการจัดการความขัดแย้งแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดสัมมนาเรื่องความขัดแย้งข้ามวัฒนธรรมในภาคใต้ โดยผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นคนจากในพื้นที่ 3 จังหวัด มีทั้งอาจารย์ ทหาร นักวิชาการ นักกฎหมาย นักจิตวิทยา และ NGOs ซึ่งการสัมมนาดังกล่าวทำให้ได้ทราบข้อเท็จจริงบางประการ รวมถึงรับรู้ความรู้สึก ความต้องการ และความคิดเห็นที่หลากหลายมุมมองจากคนในพื้นที่ต่อปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น

ปัญหาความขัดแย้งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความเป็นมาอย่างยาวนาน โดยสาเหตุของปัญหามีความทับซ้อนกันอยู่ทั้งเรื่องประวัติศาสตร์และผลประโยชน์ นับตั้งแต่อดีตที่ยังเป็นรัฐปัตตานี มีสุลต่านปกครอง ซึ่งมีอำนาจและผลประโยชน์มากมาย จนมาถึงสมัยรัชการที่ 5 ได้ยกเลิกระบบเจ้าเมือง ทำให้สุลต่านหมดอำนาจลง ผลประโยชน์ที่เคยมีก็หายไป สร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มที่เสียผลประโยชน์ เป็นปัญหาที่สั่งสมเรื่อยมา

ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ : มีทั้งการคอรัปชั่นในบรรดาข้าราชการ และการแบ่งผลประโยชน์ไม่ลงตัวระหว่างนายทุน ผู้มีอิทธิพล และนักการเมืองท้องถิ่น การค้าสิ่งผิดกฎหมายและสินค้าหนีภาษีตามชายแดน เช่น น้ำมันเถื่อน เครื่องใช้ไฟฟ้า และยาเสพย์ติด โดยสร้างสถานการณ์เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากเจ้าหน้าที่

ในระบบโครงสร้างและนโยบาย : รัฐไม่ได้ให้ความสำคัญกับคนในพื้นที่ ประชาชนได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมกันตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ไม่ได้รับความยุติธรรมจากฝ่ายปกครอง รวมถึงการถูกอุ้มหายไปของประชาชนโดยไม่ได้รับคำตอบที่แท้จริงจากภาครัฐ รัฐใช้ยุทธวิธีที่ไม่เหมาะสมในการพัฒนาประเทศ ใช้นโยบายที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง เช่น นโยบายการกลืนวัฒนธรรม ซึ่งไม่สามารถใช้ได้กับคนมุสลิมซึ่งมีความเป็นอัตลักษณ์สูง การยุบ ศอ.บต.ทำให้ขาดความเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานรัฐกับประชาชน รวมทั้งแก้ปัญหาไม่ถูกจุด เช่น การประกาศกฎอัยการศึก และการส่งทหารเข้าไปในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาการปฏิบัติตัวที่ไม่เหมาะสมกับชาวบ้าน

นอกจากนี้การออกกฎหมายที่มักสวนทางกับความเป็นจริงในวิถีชีวิตของประชาชน เช่น การประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษ อนุญาตให้มีคาราโอเกะ สถานบันเทิงเริงรมย์ สร้างความไม่พอใจให้คนในพื้นที่ เพราะขัดกับวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตของชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม

วัฒนธรรมอิสลาม : ซึ่งชาวมุสลิมใช้หลักศาสนาเป็นแนวทางสำคัญในการดำเนินวิถีชีวิต มีความภูมิใจในความเป็นรัฐปัตตานี แต่เจ้าหน้าที่รัฐไม่เข้าใจวัฒนธรรม ไม่คำนึงถึงประเด็นความละเอียดอ่อนที่จะกระทบความรู้สึกของชาวบ้าน เช่น การใช้คำเรียกว่าแขก ซึ่งแปลว่าผู้มาเยือนทั้งที่เขาอยู่มาก่อน และปฏิบัติต่อชาวบ้านอย่างไม่สุภาพ เช่น ใช้สุนัขดมคัมภีร์ หรือเข้าไปในมัสยิด

การจัดระบบการศึกษา : ที่ผ่านมาก็ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตมุสลิม คือ คนมุสลิมต้องการให้ลูกหลานของตนเรียนหลักศาสนาควบคู่กับการเรียนวิชาการสามัญ แต่โรงเรียนรัฐในระบบปกติ ไม่ได้สนองตอบความต้องการตรงนี้ได้

บทบาทของสื่อ : สื่อก็มีส่วนทำให้เกิดภาพความขัดแย้ง ทั้งที่อาจเป็นเหตุการณ์เหมือนที่เกิดกับพื้นที่อื่น เช่น อาจเป็นฆาตกรรมธรรมดาในเรื่องส่วนตัว แต่กลับเสนอข่าวว่าเป็นการก่อความไม่สงบ โดยนำเสนอแต่ภาพความรุนแรง ซึ่งอาจทำให้เกิดการยั่วยุหรือเป็นการชี้นำได้ และทำให้คนต่างศาสนามีทัศนคติว่าศาสนาอิสลามนิยมความรุนแรง เผยแพร่ศาสนาด้วยการรบ ต้องปกครองในระบอบอิสลาม มีหลักปฏิบัติที่เคร่งครัดเกินไปขาดเหตุผลที่จะผ่อนปรน การไม่ยอมกราบผู้มีพระคุณต่อชาติ การไม่ร่วมในประเพณีไทย ไม่ทันสมัย ไม่พัฒนา เช่น การคุมกำเนิด การถือศีลอด การแต่งกาย และการมีภรรยาหลายคน

สำหรับปัจจัยจากภายนอก ก็มาจากการเมืองระหว่างประเทศ อันเป็นผลกระทบจากเหตุการณ์ 11 กันยา และเครือข่ายการก่อการร้ายซึ่งมีความเชื่อมโยงกับมุสลิมทั่วโลก โดยอเมริกาพยายามเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอ้างความชอบธรรมในการต่อต้านการก่อการร้ายด้วยการส่ง CIA เข้าไปอยู่ในพื้นที่ต่างๆ

ปัญหาที่พบอีกกรณีหนึ่ง คือ การที่ผู้นำชุมชน หรือผู้นำศาสนาออกมาให้ข้อมูลแก่ภายนอกบ่อยๆ ทำให้ขาดการเชื่อมโยงกับคนในพื้นที่ จนคนในพื้นที่เกิดความหวาดระแวง หรือการที่คนในพื้นที่ออกมาให้ข้อมูล และแสดงความคิดเห็นต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับการใช้นโยบายของรัฐหลายครั้งว่า ต้องการอะไร อยากให้แก้ปัญหาไปทางไหน ก็จะถูกมองว่าเป็นกลุ่มผู้ก่อการไม่สงบ และรัฐขาดความจริงใจที่จะนำแนวทางที่ได้เสนอไว้ไปใช้ในการแก้ไขปัญหา

จากการระดมความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมการสัมมนา ได้มีข้อสรุปแนวทางแก้ไข ดังนี้
1. ต้องแก้ทัศนคติคนทั้งประเทศ ทั้งภาครัฐ รวมทั้งคนในพื้นที่ โดยเริ่มที่ตัวเอง ทุกคนสามารถเป็นทำตัวสื่อกระจายหลักสันติวิธี โดยเป็นกระบอกเสียงในการสร้างความเข้าใจให้กับคนทั่วไป ถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่แตกต่างของมุสลิม เพื่อสร้างความสมานฉันท์ในสังคม
2. ควรจัดให้มีการอบรมหรือรณรงค์ให้แก่สื่อมวลชน เพื่อให้นำเสนอข่าวสารที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ซึ่งเจาะจงผู้เข้าร่วมควรเป็นระดับผู้นำหรือบรรณาธิการ
3. ควรมีการผลักดันให้มีการนำสาระทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยครูที่อยู่ในพื้นที่ร่วมกับผู้นำศาสนาทั้งพุทธ มุสลิม ได้ร่วมกันเขียนขึ้นมา นำไปเป็นหลักสูตรประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน
4. รัฐควรหารูปแบบในการสอนภาษาไทยเป็นภาษาที่ 2 ในโรงเรียน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ใช้รูปแบบการศึกษาที่สอดคล้องกับวิถีมุสลิม โดยสอนศาสนาควบคู่กับวิชาทั่วไป และส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักศาสนา โดยรัฐต้องมีนโยบายสู่การปฏิบัติที่ชัดเจน
5. ส่งเสริมกระบวนการการใช้สันติวิธีในสังคมและในชีวิตประจำวันอย่างกว้างขวาง เช่น หากเกิดเหตุการณ์ทะเลาะกันในชั้นเรียน ควรมีตัวแทนของนักเรียนในการเจรจา การใช้หลักสันติวิธีในการสอบสวนความผิด
6. ออกกฎหมายและกำหนดนโยบาย ไม่ขัดกับวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ สร้างวัฒนธรรมใหม่ในการจัดการพื้นที่ ลดเงื่อนไขเดิม ไม่เพิ่มเงื่อนไขใหม่ ไม่เลือกปฏิบัติ ให้สิทธิที่เท่าเทียมกันอย่างแท้จริง
7. รัฐควรให้ความสำคัญกับคนมุสลิมที่จบปริญญาตรีได้บรรจุเป็นข้าราชการ ไม่ใช่ลูกจ้าง ต้องสร้างความมั่นคง มีสวัสดิการให้ และให้โอกาสในการพัฒนาด้านการศึกษาของบุคลากรอย่างเท่าเทียม
8. ส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีโอกาสพัฒนาตนเองและชุมชนอย่างยั่งยืน แทนการพึ่งทุนภายนอกอย่างเดียว เช่น กิจกรรมอาหารฮาลาล รัฐต้องสร้างให้คนในชุมชนเข้ามารับผิดชอบและดูแล เพื่อให้ชุมชนสามารถดูแลตนเองได้
9. ควรปรับปรุงบริการของรัฐ เช่น บริการสาธารณสุข ให้เข้ากับขนบธรรมเนียมประเพณี และศาสนาของคนมุสลิม เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีขึ้น

การได้รับฟังข้อมูลจากมุมมองมุสลิมทำให้เข้าใจในวัฒนธรรมมุสลิมมากขึ้น การที่คนกลุ่มหนึ่งมีวิถีชีวิต มีวัฒนธรรมและความเชื่อที่แตกต่าง ก็ไม่ใช่ปัญหาในการอยู่ร่วมกัน การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต้องสร้างให้เกิดความเข้าใจกันก่อน เพื่อนำไปสู่การยอมรับความแตกต่างซึ่งกันและกัน และการจะสร้างความสมานฉันท์ต้องส่งเสริมให้เกิดการพบกัน และเปิดโอกาสให้มีการแสดงออกถึงความเจ็บปวดร่วมกันในอดีต เพื่อการค้นหาแนวทางออกร่วมกัน

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >