หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow ผญา… ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของดีศรีอีสาน ... ในท้องทุ่งเลิงฮัง โดย ปริญดา วาปีกัง
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 90 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ผญา… ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของดีศรีอีสาน ... ในท้องทุ่งเลิงฮัง โดย ปริญดา วาปีกัง พิมพ์
Wednesday, 07 March 2007


ภาพจากเว็บ smd-s.kku.ac.th

ผญา
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของดีศรีอีสาน ... ในท้องทุ่งเลิงฮัง*

โดย....ปริญดา วาปีกัง

ภาพจากเว็บ ubon.obec.go.thเมื่อประมาณต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีโอกาสไปที่หมู่บ้านหนึ่งในจังหวัดทางภาคอีสาน คือหมู่บ้านโคกสะอาด ต.อุ่มจาน อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร และเป็นครั้งแรกที่ได้ยินคำ ผญา จากการด้นสดๆ ของพ่ออุ้ย (คนเฒ่า-คนแก่ของหมู่บ้าน) ของหมู่บ้านนี้ ประทับใจกับความฉลาดของคนเฒ่าคนแก่สมัยก่อนในการสอนหลานให้เป็นคนดี และเห็นว่าคำสอนเหล่านั้นยังคงคุณค่า ทั้งยังสามารถนำมาใช้ได้ในยุคสมัยนี้ได้อย่างดี จึงอยากจะถ่ายทอดให้กับวัยรุ่น หนุ่มสาวใน พ.ศ. นี้ได้รู้จักกัน 

ผญา หรือ ผะหยา มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Rhetory” ผญาคือ คำภาษิต หรือเป็นภาษาโวหารของคนอีสานถือว่าเป็นวาทศิลป์ นักปราชญ์อีสานถือว่า ผญาก็คือปรัชญาในการดำเนินชีวิตของคนอีสาน ผญาจึงแฝงไว้ด้วยคติสอนใจ ความคิด ความเชื่อจากศาสนา และหลักการที่เป็นพื้นฐานขององค์ความรู้อันเกิดจากการสั่งสมกันมา จากความเป็นจริงของชีวิตหรือจากประสบการณ์ชีวิต สามารถถือเป็นแนวปฏิบัติ ข้อบังคับหรือกฎแห่งความประพฤติ โดยมากจะอยู่ในรูปของกวีพื้นบ้านอีสาน ผญาจึงเป็นความฉลาดอย่างหนึ่งของคนอีสานและถือว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน ที่ควรค่าแก่การเรียนรู้และสืบทอด 

ผญาเฮือนสามน้ำสี่* (หลักการครองรักครองเรือนของคนอีสาน)

คำว่า เฮือน มีความหมายเดียวกันกับเรือนหรือบ้าน ในที่นี้ยังหมายถึงครอบครัวอีกด้วย เฮือนสามน้ำสี่ ถือได้ว่าเป็นหลักการครองรักครองเรือนของคนอีสาน หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็น ฮีต ผัวคองเมีย หรือหลักการเป็นสามี ภรรยาที่ดี ดังนั้นจะเห็นได้ว่าคนอีสานให้ความสำคัญกับสถาบันครอบครัวมาตั้งแต่โบราณ และโดยความเป็นจริงจะพบว่าสมาชิกในครอบครัวของคนอีสานจะมีความผูกพันแน่นเหนียว ภายใต้การเป็นผู้นำที่ดีของพ่อ และการคอยประสานความรัก ความเข้าใจของแม่ รวมถึงการประคับประคองคอยตักเตือนแนะนำของปู่-ย่า ตา-ยาย อีกด้วย ผ่านการบอกสอนที่เป็นผญา ดังนี้ 

เฮือนหนึ่งนั้นได้แก่เฮือนครัว ของในครัวให้เรียบร้อยบายเมี้ยนแจบจม อย่าประสมประเสไว้ บ่วงจองไห หม้อให้มีทอเก็บ ถ้วยสวยดีมีตู้ใส่ อย่าสุเก็บไขว้ไว้เบิ่งได้กะบ่งาม ซามหรือหม้อเกลือไหปลาแดก หม้อแหกและบ่วงซ้อนบายได้ให้หม่อนมือ อย่าให้ดำปื้อๆ ถ้วยบ่วงเป็นกะหลื่น เวลากลืนอาหารโรคสิไหลลงท้อง...    

(เรือนหนึ่งได้แก่ เรือนครัว (สอนเรื่องการจัดเก็บอุปกรณ์ ข้าวของในครัว) ให้เรียบร้อย ถ้วย ชามช้อนไหให้มีตะกร้า ตู้จัดเก็บให้เรียบร้อย ไม่เก็บแบบมักง่าย จะดูไม่สวยงาม และเวลาจะหยิบจับมาใช้ก็สะดวกคล่องมือ ไม่มีฝุ่นจับ เวลาใช้ตักอาหารเชื้อโรคจะได้ไม่เข้าไปในท้อง)

เฮือนสองนั้นได้แก่เฮือนนอน ทั่งแพรหมอนเสื่อเตียงเพียงพื้น อย่าให้เฮือนเฮาจื้น หมองมัวกลั้วขี้ฝุ่น เฮาต้องปุนกวาดแผ้วเทิ่งพื้นนอกใน ให้เจ้าปัดกวาดไว้เกลี้ยงหมื่นงามตา ทั่งแจฝานอกในใสเกลี้ยง เตียงหมอนมุ้งสะนะนอนฟูกเสื่อ เสื้อและผ้าบายเมี้ยนหม่อนมือให้เจ้าเฮ็ดสู่มื้อปัดกวาดเฮือนนอน ตอนกลางคืนให้แต่งแปลงหมอนมุ้ง อย่าให้ผัวเฮาหยุ้งยามแลงแต่งบ่อน นอนตื่นแล้วบายเมี้ยนเช็ดถู โต๊ะตั่งตู้อย่าให้ไขว้เกะกะ อย่าให้ของเฮาซะทั่งเฮือนเบี้ยนด้ง ให้เจ้าจงใจเมี้ยนเฮือนนอนให้สง่า สะอาดหู สะอาดตาหาอันใดกะได้ง่าย เวลาหายกะฮู้ยามดูกะโก้เป็นน่านั่งนอน

(เรือนสองได้แก่ เรือนนอน (สอนเรื่องการจัดเก็บห้องนอน บ้านเรือน) ผ้าห่มหมอนเตียงควรจัดเก็บให้เรียบร้อย ในห้องนอนปัดกวาดให้สะอาดทั้งข้างนอกในมุมต่างๆ เพื่อความสะอาดตา จะหยิบใช้ก็สะอาดมือ กลางคืนให้จัดแต่งที่หลับที่นอนให้เรียบร้อย ไม่ให้ยุ่งยากสามีต้องมาทำเอง ตื่นขึ้นมาก็จัดเก็บเช็ดถูให้ดูดีอยู่เสมอ เพื่อความสะดวก จะหยิบจะใช้ก็หาง่าย เวลาหายก็จะได้รู้ เวลามองก็สะอาดตาน่านั่งนอน)

เฮือนสามนั้นได้แก่เฮือนกาย ให้มีความละอายอย่าสิปะตนโต คนสิเห็นผ้างฮ้าย เฮือนกายน้องฮั่ว ฮักษากายให้กุ้มกายหุ้มห่อแพร เสื้อกะอย่าสิแก้ปะปล่อยถิ้มหยาย ให้ฮักษาเฮือนกายอย่าให้เฮือนเฮาฮ้าง ให้เจ้าปุนปองล้างเฮือนกายให้สะส่วย ให้มันสวยอยู่เรื่อยเบิ้งได้สู่ยามให้เจ้าหมั่นอาบน้ำซำระตนโต หัวของนางให้หมั่นสระสรงน้ำ ให้มันงามเหลือล้ำดำดีอยู่คือเก่า ผมให้งามฮอดเฒ่าหวีเรื่อยอย่าเซา...

(เรือนสามได้แก่ เรือนกาย (สอนเรื่องการแต่งกาย) ให้แต่งกายให้เรียบร้อย ไม่ปล่อยเนื้อปล่อยตัว คนอื่นจะเห็นส่วนที่ไม่ดี ควรรักษาความสะอาด สวมใส่เสื้อผ้าให้น่ามอง ให้ร่างกายมันสวยงามอยู่เสมอ รักษาความสะอาดร่างกาย เรือนผมให้หมั่นสระให้สะอาด หวีให้ผมสลวยดูงามตา)

น้ำหนึ่งนั้นแม่นน้ำอาบสรงศรี อย่าให้มีทางอึดให้หมั่นหามาไว้ เมื่อเวลาเฮาใซ้สะสีล้างส่วย อย่าให้มวยขาดแห้ง อย่าให้แอ่งขาดเกลี้ยง เมืองบ้านสิกล่าวขวัญ

(น้ำหนึ่งได้แก่ น้ำอาบ (สอนเรื่องความขยัน) น้ำในโอ่งควรมีเก็บไว้ให้พร้อม ไม่ควรขอดแห้ง เวลาต้องการจะใช้จะได้สะดวก อย่าให้โอ่งขาดน้ำ ชาวบ้านเขาจะว่ากล่าวได้)

น้ำสองนั้นแม่นน้ำดื่มเฮากิน ขอให้ยินดีหาใส่เติมเต็มไว้ ฮักษาไหหรือหม้อถึงออมอุแอ่ง อย่าให้แมงง่องแง่งลงเล่นแอ่งกิน ขัดไหให้เกลี้ยงอย่าให้เกิดมีไคล เบิ้งให้ใสซอนแลนแอ่งกินดูเกลี้ยง อย่าให้มีกะหลื่นเหมี่ยงสนิมไคลใต้ก้นแอ่ง อย่าให้น้ำขอดแห้งแลงเซ้าให้เกื่อยขน

(น้ำสองได้แก่ น้ำดื่ม (สอนเรื่องความมีน้ำใจ) น้ำในโอ่งสำหรับดื่มควรมีเต็มโอ่งเสมอ โอ่งหรือหม้อที่ใส่น้ำ ควรรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ไม่ให้เป็นตะไคร่น้ำเกาะ ควรขัดให้เกลี้ยง มองแล้วน่าดื่มกิน อย่าให้มีตะไคร่น้ำเกาะใต้ก้นโอ่ง อย่าให้น้ำแห้งขาด เช้าเย็นหมั่นดูแล)

น้ำสามนั้นได้แก่น้ำเต้าปูน ผู้ที่เป็นแม่เฮือนให้เหล่าหามาพร้อม ให้ค่อยออมเด้อ หล่าหาปูนใส่กระบอก อย่าให้ซอกขาดแห้งหาไว้ใส่ขัน พันพลูพร้อมพันยาไว้ถ่าพี่ พันดีๆ ให้เรียบร้อยคอยต้อนแขกคน

(น้ำสามได้แก่ น้ำเต้าปูน (สอนเรื่องการเคารพผู้อาวุโส ผู้มีพระคุณ) แม่บ้านควรหาหมากพลูมา (คนสมัยก่อนจัดหมากจัดพลูไว้คอยต้อนรับแขก) จัดเตรียมสำรับไว้ให้พร้อมเสมอเมื่อมีแขกมาจะได้ต้อนรับ)

น้ำสี่นั้นแม่นน้ำกลั่นอมฤต คือน้ำจิตน้ำใจแห่งนางหนูน้อย ให้เจ้าคอยหาน้ำในใจใสแจ่ม เพียงแต่น้ำเต้าแก้วใสแล้งบ่ขุ่นมัว อย่าให้มีหมองมั่วผัวว่า อย่าโกรธา ฮักษาน้ำใจดีอย่าให้มีแข็งกระด้าง ขอให้นางคานน้อยใจดีอยู่อ่องต่อง คือดั่งน้ำหมากพร้าวบ่อมีเปื้อนแปดตม อย่าให้มีคำขมต่อไผพอน้อย อย่าได้คอยหาข้องอแงฮ้อยแง่ เคียดข่อหล้อแข่แหล่แนวนั้นบ่ดี คันเฮ็ดได้จั่งซี้สิมีแต่ความสุข ผัวกะสุขเมียกะสุขสิค่อยมีฮอดเงินล้าน ผัวกะหวานเมียกะอ้อยออยกันเข้าบ่อน เมียกะนอนอยู่ใกล้ให้ผัวได้เพิ่งพา ขอให้นางคานหล้าทำตามคำพี่ จั่งสิมีขึ้นได้ความไฮ้บ่แล่นเถิง

(น้ำสี่ได้แก่ น้ำจิตน้ำใจ (สอนเรื่องการเป็นคนดีมีน้ำใจ มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ) ให้มีน้ำจิตน้ำใจที่แจ่มใส ไม่ขุ่นมัว และไม่แข็งกระด้าง แต่ให้มีน้ำใจที่สะอาดเปรียบดั่งน้ำมะพร้าว ไม่ไปเที่ยวขัดแย้ง โกรธเคืองกับใคร ถ้าทำได้อย่างนี้ได้ใครๆ ก็รัก และจะมีความสุข มากกว่ามีเงินมีทองมากๆ) 

จากผญาซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน น่าจะเชื่อมโยงกับภูมิปัญญาสากลของท่านขงจื้อ นักปราชญ์ชาวจีนได้อยู่บ้าง ซึ่งกล่าวไว้ว่า เมื่อมีความรักในชีวิตสมรส ครอบครัวก็มีความปรองดอง กลมเกลียวกันดี เมื่อมีความปรองดองและกลมเกลียวกันดีในครอบครัว ก็เกิดความพึงพอใจในชุมชน เมื่อมีความพึงพอใจในชุมชน ชาติก็มีความมั่งคั่งรุ่งเรือง เมื่อชาติมีความมั่งคั่งรุ่งเรือง โลกก็อยู่ได้อย่างสันติ 

ในฐานะเป็นคนอีสาน ที่ไม่เคยรู้จักและได้ยินคำ ผญา มาก่อน พอได้ฟังครั้งแรก ก็อดอมยิ้มภูมิใจไม่ได้กับความเป็นลูกหลานของคนอีสาน ที่พบว่าบรรพบุรุษรุ่นก่อนช่างมีความคิดที่แหลมคม มีความเป็นอิสระและความคิดสร้างสรรค์ เป็นเอกลักษณ์ที่สื่อให้มองเห็นภาพวิถีชีวิต วิถีสังคมของคนอีสานที่เรียบง่าย (ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีโทรทัศน์ ไม่มีโรงสีข้าว ไม่มีน้ำประปา ไม่ได้ถูกครอบงำจากบริโภคนิยมอย่างปัจจุบันนี้) และด้วยความเป็นชุมชนที่เปรียบเสมือนเป็นญาติพี่น้องกันทั้งหมู่บ้าน ใครเจ็บป่วยก็เยี่ยมยามถามข่าว งานศพ งานแต่งงานก็ช่วยเหลือเจือจุนด้วยความเต็มใจ หาหมาก หาพลู หาอาหารมาแบ่งปันกัน บ้านแต่ละหลังไม่มีรั้วบ้านแสดงขอบเขตกรรมสิทธิ์เหมือนทุกวันนี้ การไปมาหาสู่กันจะเดินลอดใต้ถุนบ้าน เดินอ้อมหน้า หลังบ้าน ถึงบ้านไหนก็จะร้องทักทายปราศรัยถามสารทุกข์สุขดิบกันและกัน เช่น กินข้าวหรือยัง กินกับอะไร สบายดีไหม เป็นไข้หายดีหรือยัง ลูกหลานเป็นอย่างไรบ้าง เป็นคำทักทายที่เต็มไปด้วยความรักความห่วงใย และเป็นภาพแห่งความรัก และความสามัคคี ความเอื้ออาทรกัน  

ย่ำค่ำของวันนั้นเราลาจากกันด้วยการฝาก ผญาเฮือนสามน้ำสี่ เพื่อเป็นของขวัญในการครองตนในสังคมเมืองปัจจุบัน พร้อมกำชับหนักแน่นว่า ถ้าปฏิบัติตามหลักเฮือนสามน้ำสี่ได้ก็ถือว่าสุดยอดแล้วในการครองชีวิตให้เป็นคนดีในสังคมปัจจุบัน ทำให้ประทับใจ และหวนนึกถึงคำสั่งสอนและแบบอย่างที่ดีของคุณตา-คุณยาย ที่มีความห่วงใยต่อลูกหลานเหมือนกับพ่อเฒ่าในวันนี้ นี่คือ ของขวัญที่ทรงคุณค่าที่ไม่ควรถูกหลงลืมไป และสามารถที่จะนำมาใช้ได้อยู่เสมอในยุคสมัยนี้ 


  • ชื่อทุ่งเลิงฮัง  เป็นชื่อเดิมของบ้านโคกสะอาด ต. อุ่มจาน อ. กุสุมาลย์  จ. สกลนคร
  • ผญา เฮือนสามน้ำสี่ (หลักการครองรักครองเรือนของคนอีสาน) คัดลอกจาก หนังสือ อนุสรณ์ เสกและเปิดวัดใหม่ วัดนักบุญยอห์น บอสโก บ้านโคกสะอาด อัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง

Image

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >