หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow ชีวิตจิตในงานพัฒนา บนพื้นฐานของพระธรรมนูญ GAUDIUM ET SPES โดยคุณพ่อวัชรินทร์ สมานจิต
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 96 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ชีวิตจิตในงานพัฒนา บนพื้นฐานของพระธรรมนูญ GAUDIUM ET SPES โดยคุณพ่อวัชรินทร์ สมานจิต พิมพ์
Thursday, 28 September 2006

ชีวิตจิตในงานพัฒนา
บนพื้นฐานของพระธรรมนูญ GAUDIUM ET SPES
โอกาสสัมมนาเตรียมสมัชชาสภากรรมการสมัยสามัญ ประจำปี 2548
ณ ศูนย์พัฒนาทรัพยากรบุคคลงานทาง กรมทางหลวง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
21 มิถุนายน 2548

โดยคุณพ่อวัชรินทร์ สมานจิต 

Image1.  โลกแห่งความเป็นจริงกับสิ่งที่ท้าทายในปัจจุบัน  (Signs of the times)           

เรากำลังอยู่ในโลกที่ถูกกำหนดด้วยระบบการตลาด ที่ยึดเอาเรื่องเงินตราและผลกำไรเป็นเป้าหมายสูงสุด จึงก่อให้เกิดค่านิยมของการแข่งขัน (Competition) มีการชิงความได้เปรียบในทุกมิติของสังคมและการฉวยโอกาส ชีวิตมนุษย์จึงตกอยู่ในวังวนของปัจเจกนิยม วัตถุนิยม สุขนิยม สะดวกสบายนิยม ฯลฯ ความเป็นมนุษย์จึงถูกลดคุณค่าลงด้วยอำนาจของเงินตรา มีการละเมิดเกียรติ-ศักดิ์ศรีและสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ใช้ความรุนแรงและการทำสงครามเพื่อจะได้มาซึ่งชัยชนะเหนือดินแดนและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดการแตกแยก ขาดอิสรภาพ คนรวยยิ่งรวยมากขึ้น คนจนยิ่งจนลงและมีจำนวนมากขึ้น มีภาระหนี้สินรุงรัง มีชีวิตอยู่รอดได้ทุกวัน เพราะระบบหนี้สินหมุนเวียน       


ค่านิยมแห่งการแข่งขันมีอิทธิพลในทุกภาคส่วนของสังคม แม้ในแวดวงการศึกษาของเรา เช่นขณะนี้ ผมเพิ่งได้รับมอบหมายให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดชลบุรี โดยหน้าที่ต้องทำการแทนผู้รับใบอนุญาตของโรงเรียนปรีชานุศาสน์ (ดำเนินการสอนตั้งแต่ อ.1 - ม.3) ซึ่งมีนักเรียน 3,300 กว่าคน ครู 160 กว่าคน เป็นโรงเรียนคาทอลิกในเขตอำเภอเมืองชลบุรีที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง แต่เมื่อมามองดูแล้ว ก็หนีไม่พ้นในเรื่องของการแข่งขัน มันหยุดนิ่งไม่ได้ ผู้ปกครองนักเรียนที่ยึดค่านิยมของโรงเรียนสองภาษาถามว่า โรงเรียนจะเปิดสอนสองภาษาหรือไม่ เพราะเขาถือว่าถ้าโรงเรียนไหนเปิดสอนสองภาษา โรงเรียนนั้นก้าวหน้า ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ ก็จะนิยมส่งบุตรหลานมาเข้าเรียน อีกเรื่องหนึ่งมีนักเรียนของเราที่จบ ป.6 ผู้ปกครองให้ไปสมัครสอบที่สาธิต ม.บูรพา ไม่ใช่สอบเพื่อจะเข้า ม.1 แต่สอบเพื่อจะได้วัดผลดูซิว่าลูกของตนที่เรียนที่ปรีชานุศาสน์จะสามารถสอบติดไหม ผลออกมาลูกของเขาสอบติด แต่เขาให้ลูกสละสิทธิ์และมาเรียนต่อที่ปรีชานุศาสน์ มันเป็นประเด็นที่ผมต้องครุ่นคิดว่าการจัดการศึกษาอบรมคาทอลิกของเราต้องมีอะไรที่โดดเด่น จึงทำให้ผู้ปกครองไว้เนื้อเชื่อใจ คงไม่ใช่เป็นเรื่องของความเป็นเลิศทางวิชาการอย่างเดียว แต่คงต้องเป็นเรื่องของคุณธรรมและจริยธรรมที่เรามุ่งเน้นและบูรณาการเข้าไปในการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ เป็นแน่           

ประเด็นคำถามของผมที่ต้องพินิจพิเคราะห์อย่างต่อเนื่องคือ เราจะหลงกระแสของการแข่งขัน โดยจัดการศึกษาสองภาษาตามความต้องการของผู้ปกครองหรือไม่ หรือว่าเราจะพัฒนาการการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของครูต่างชาติที่เรามีอยู่ 4 คนให้มีคุณภาพมากขึ้น และเราที่ทำงานการศึกษาหรือการอภิบาลของพระศาสนจักรจะมีจุดยืนอย่างไร 


2.  พระธรรมนูญ “GAUDIUM ET SPES” (GS)         

2.1 “ความชื่นชมและความหวัง ความโศกเศร้าและความกังวลของมนุษย์ในสมัยนี้ เป็นต้นของคนยากจน และผู้มีความทุกข์เข็ญทั่วไป ย่อมถือว่าเป็นความชื่นชมและความหวัง เป็นความโศกเศร้าและความกังวลของผู้เป็นศิษย์ของพระคริสตเจ้าด้วย” (GS 1)           

เราได้พยายามสรุปประสบการณ์และไตร่ตรองชีวิตว่า พวกเราได้ทำอะไร ได้เข้าถึงจิตวิญญาณของธรรมนูญฉบับนี้มากน้อยแค่ไหน อะไรคือความชื่นชมยินดี ความหวัง ความโศกเศร้าและความกังวลในการทำงานกับมนุษย์ เช่นงานอภิบาล งานการศึกษา งานพัฒนาชุมชน ฯลฯ เราได้เข้าไปร่วมส่วนเป็นหนึ่งเดียวกับความเป็นไปของสังคมมากน้อยแค่ไหน                       

ก. พระธรรมนูญ GS ได้ประกาศจุดยืนของพระศาสนจักรในการเปิดตนเองไปสู่โลกแห่งความเป็นจริง ประกาศมุมมองใหม่ในการปฏิบัติพันธกิจของพระศาสนจักรคือ จากการมองพระคริสตเจ้าในจารีตพิธีกรรม มาเป็นการมองพระองค์ในใบหน้าของประชาชนและความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคม ซึ่งท้าทายการเป็นศิษย์ของพระองค์                       

ข. อาศัยแสงสว่างจากพระธรรมนูญนี้ พระศาสนจักรจึงตระหนักอยู่เสมอว่า ชีวิตของพระศาสนจักรเป็นส่วนหนึ่งของโลก ความเชื่อจะแยกจากโลกไม่ได้ ชีวิตกับความเชื่อมิใช่เป็นเส้นทางคู่ขนาน แต่เป็นหนึ่งเดียวกันบนเส้นทางสู่ความสมบูรณ์ของพระอาณาจักรพระเจ้า เป็นการมองแบบองค์รวมที่มีสัมพันธภาพและปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ซึ่งแต่ก่อนเรามีความคิดแบบแยกส่วน กาย-วิญญาณ ความเชื่อเป็นเรื่องของศาสนา เป็นเรื่องของพิธีกรรม ชีวิตก็คือเรื่องในทางโลกหรือการทำมาหากิน ดังนั้น ในฐานะผู้ติดตามพระคริสต์ ชีวิตและความเชื่อของเราต้องเป็นหนึ่งเดียวและอยู่กับความเป็นจริงของโลกนี้แต่ไม่เป็นของโลก ตามคำอธิษฐานของพระเยซูเจ้าวอนขอพระบิดาเจ้าอย่ายกศิษย์ของพระองค์ออกไปจากโลก แต่ขอให้เขาอยู่ในโลก... รักษาเขาให้พ้นจากมารร้ายและเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ (ยน 17:14-17) ดังนั้น ความรอดพ้นของเราและเพื่อนมนุษย์เริ่มแล้วตั้งแต่ในโลกนี้ มิใช่รอหลุดพ้นในโลกหน้า           

2.2 พระศาสนจักรในโลกปัจจุบัน ต้องได้รับการฟื้นฟูให้มีชีวิตจิตแห่งการเสด็จมาบังเกิดเป็นมนุษย์ของเยซูชาวนาซาเร็ธ (Reincarnate) เป็นชีวิตจิตที่ถ่อมตน ที่เข้าไปเป็นหนึ่งเดียวและร่วมส่วนกับชีวิตมนุษย์ในทุกด้าน เช่น เศรษฐกิจ การเมือง ครอบครัว ฯลฯ เพื่อจะได้รับรู้ความรู้สึกนึกคิดและความเป็นไปของชีวิตมนุษย์ เป็นเพื่อนร่วมเดินทางกับมนุษย์นำพามนุษย์ไปสู่ความรอดพ้นที่แท้จริง พระธรรมนูญฉบับนี้ได้อ่านสัญญาณแห่งกาลเวลาของความเป็นไปในสังคมมนุษยชาติเมื่อ 40 ปีที่แล้ว ปัญหาต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์ในสมัยนั้นได้พัฒนามาเป็นประเด็นปัญหาที่สลับซับซ้อนมากขึ้น และท้าทายพระศาสนจักรมากยิ่งขึ้น ดังเช่น เมื่อวานนี้ที่เราพูดถึงเรื่องโคลนนิ่ง การตัดต่อพันธุกรรม  พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ ฯลฯ ถ้าจะถามว่าในยุคนี้ เราจะมองและเข้าใจอย่างไรต่อสถานการณ์ที่แปรเปลี่ยนไป เราจะอ่านพระธรรมนูญฉบับนี้ ด้วยมุมมองและจุดยืนของพระศาสนจักร ซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากชีวิตจิตที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เพื่อจะได้อ่านเครื่องหมายแห่งกาลเวลาในสถานการณ์ใหม่อย่างรู้เท่าทันได้อย่างไร  


3. พระเยซูเจ้า : พื้นฐานชีวิตจิตในการดำเนินชีวิต         

Image3.1 การเสด็จมาเป็นมนุษย์ของพระเยซู           
พระธรรมนูญฉบับนี้ได้ปลุกสำนึกให้มวลสมาชิกของพระศาสนจักรพึงตระหนักถึงการเป็นศิษย์ที่ยึดแบบอย่างชีวิตของพระอาจารย์เจ้าผู้ทรงบังเกิดเป็นมนุษย์ เพื่อเข้าร่วมส่วนและเป็นหนึ่งเดียวในความชื่นชมยินดี ความหวัง ความโศกเศร้าและความกังวลของชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะผู้ยากไร้และผู้ทนทุกข์ในทุกรูปแบบ การที่เราจะเข้าร่วมส่วนและเป็นหนึ่งเดียวกับความเป็นไปของชีวิตมนุษย์ เรียกร้องให้เราปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ท่าที ทัศนคติและทำความเข้าใจชีวิตมนุษย์จากฐานความเป็นจริงใหม่ คือ จากสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในระดับรากหญ้าจากชีวิตจิตใจของทุกกลุ่มชน เพื่อเราจะสามารถเข้าร่วมส่วนและเป็นหนึ่งเดียวกับชีวิตมนุษย์ได้อย่างชิดสนิท และมีความรู้สึกนึกคิดอย่างเดียวกัน           

นักบุญเปาโลได้อรรถาธิบายอย่างเป็นกระบวนการของการเสด็จมาเป็นมนุษย์ของพระเยซูเจ้า ในบทจดหมายถึงชาวฟิลิปปี “จงมีความรู้สึกนึกคิดเช่นเดียวกับที่พระคริสตเยซูทรงมีเถิด แม้ว่าพระองค์ทรงมีธรรมชาติพระเจ้า พระองค์ก็มิได้ทรงถือว่าศักดิ์ศรีเสมอพระเจ้านั้นเป็นสมบัติที่จะต้องหวงแหน แต่ทรงสละพระองค์จนหมดสิ้น ทรงรับสภาพดุจทาส เป็นมนุษย์ดุจเรา ทรงแสดงพระองค์ในธรรมชาติมนุษย์ ทรงถ่อมพระองค์จนถึงกับทรงยอมรับแม้ความตายเป็นความตายบนไม้กางเขน.........” (ฟป.2:5-11)           

หนทางที่จะสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์หรือกรอบความคิดพื้นฐาน จะต้องมีชีวิตจิตของพระเยซูเจ้าเป็นแรงบันดาลใจและเป็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลง ประการแรกคือ ต้องทำ KENOSIS ซึ่งหมายถึงการสละละความเป็นใหญ่ ความเป็นเจ้าคนนายคนที่คิดว่าตนเองอยู่สูงกว่าผู้อื่น เด่นกว่าผู้อื่น มีความคิดดีกว่าและถูกต้องกว่าผู้อื่น ประการที่สองคือ การถ่อมตน เพื่อจะได้สามารถเข้าไปร่วมส่วนเป็นหนึ่งเดียวกับเพื่อนมนุษย์ โดยให้ความสำคัญของชีวิตผู้อื่นเท่ากับความสำคัญของชีวิตตนเอง ดำเนินชีวิตด้วยท่าทีและทัศนคติใหม่ คือ ไม่เอาแต่ใจหรือความคิดตนเอง แต่เอาใจเขามาใส่ใจเรา ให้ความสำคัญต่อความรู้สึกนึกคิดและวิถีชีวิตของผู้อื่น พร้อมกับซึมซับประสบการณ์ชีวิตที่ดีงามด้วยความถ่อมตน จักได้เป็นเพื่อนร่วมเดินทางเคียงบ่าเคียงไหล่กับเพื่อนมนุษย์ พร้อมกับฟันฝ่าความทุกข์เข็ญต่างๆ ไปสู่จุดหมายปลายทางชีวิตที่มีความหวังและสมบูรณ์ครบครันมากขึ้น กระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ เรียกร้องการกลับใจอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ          

3.2   ชีวิตพระเจ้าและมนุษย์ : ชีวิตแห่งการเดินทางแบบติดดิน           
พระวรสารทั้งสี่ ได้บันทึกชีวิตและงานของพระเยซูเจ้าในแง่มุมต่างๆ เพื่อประกาศข่าวดีแก่กลุ่มชนที่มีความเชื่อและผู้แสวงหา ซึ่งมีมุมมองและวิถีชีวิตที่หลากหลายต่างกัน ชีวิตของพระเยซูเจ้าตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งสิ้นสุดพันธกิจแห่งการไถ่กู้ของพระองค์ เป็นชีวิตที่เข้ามาเป็นหนึ่งเดียวในวิถีชีวิตมนุษย์ และเป็นชีวิตแห่งการเดินทางร่วมทุกข์ร่วมสุขกับประชาชนทุกระดับ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ชายขอบของสังคมชาวยิวและชนต่างชาติต่างศาสนาในประเทศปาเลสไตน์สมัยนั้น           

ชีวิตแรกเริ่มของพระองค์ ทรงเกิดในสภาพที่ต่ำต้อย ณ เมืองเบธเลเฮ็ม.... ทรงอ่อนแอเหมือนกับทารกทั้งหลาย จนถึงกับทรงเป็นผู้อพยพหลบหนีไปประเทศอียิปต์... ทรงเดินทางกลับไปยังแคว้นกาลิลีและทรงเจริญวัย ณ หมู่บ้านนาซาเร็ธ ที่นั่นพระองค์ทรงอยู่ภายใต้การปกครองดูแลของบิดามารดาซึ่งเป็นมนุษย์ และมิได้เข้าใจถึงหนทางของพระองค์เสมอไป แต่ทรงไว้วางใจท่านทั้งสองและทรงนอบน้อมเชื่อฟังท่านทั้งสอง... พระองค์ทรงอธิษฐานภาวนาอยู่เสมอ และทรงใกล้ชิดกับพระเป็นเจ้า ผู้ซึ่งพระองค์ทรงเรียกว่า “อับบา” “พระบิดา” ในการเดินทางประกาศข่าวดี ขึ้นลงระหว่างแคว้นกาลิลีและแคว้นยูเดีย ผ่านแคว้นสะมาเรีย พระองค์ทรงใกล้ชิดกับผู้ยากจน... ทรงรับประทานอาหารกับคนบาป.... ทรงสัมผัสกับความสกปรกโสมม.... พระองค์กรรแสงให้กับมิตรที่ตายไป ทรงโปรดให้ลูกที่เสียชีวิตกลับคืนชีพ แล้วทรงมอบให้กับมารดาของเขาที่เป็นหญิงหม้าย... ทรงต้อนรับเด็ก ๆ และทรงล้างเท้าอัครสาวกของพระองค์... คนป่วย คนง่อย คนตาบอด คนหูหนวก คนใบ้ ล้วนได้พบกับการบำบัดรักษา และการให้อภัยอาศัยการสัมผัสของพระองค์... พระองค์ทรงเลือกผู้ร่วมงานที่ไม่ธรรมดา อันประกอบด้วยชาวประมงผสมกับคนเก็บภาษี นักกฎหมายกับผู้ที่ไม่รู้จักกฎหมาย รวมทั้งสตรี... พระองค์ทรงเทศนาแบบง่ายๆ ทรงยกตัวอย่างจากชีวิตประจำวัน เพื่ออธิบายความรักของพระเป็นเจ้าและพระอาณาจักรของพระองค์ และประชาชนต่างก็ยอมรับว่าพระองค์ทรงสอนอย่างผู้มีอำนาจ... แต่พระองค์ก็ทรงถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กล่าวผรุสวาท เป็นผู้ละเมิดกฎบัญญัติอันศักดิ์สิทธิ์ หลังจากที่พระองค์ทรงถูกตัดสินโดยพยานเท็จแล้ว พระองค์ก็ทรงรับการลงโทษให้สิ้นพระชนม์แบบนักโทษบนไม้กางเขน พระองค์ทรงถูกทอดทิ้งและทรงถูกสบประมาท... แต่สามวันต่อมา...พระคูหากลับว่างเปล่า แล้วทรงปรากฏพระองค์แก่บรรดาสานุศิษย์ก่อนที่จะเสด็จกลับคืนสู่พระบิดา ผู้ซึ่งพระองค์ได้เสด็จจากมา (เทียบ “พระศาสนจักรในเอเชีย” ข้อ 11) บนเส้นทางสู่เอมมาอูส ยามที่ศิษย์กำลังสิ้นหวังและปล่อยชีวิตดำเนินไปอย่างไร้ทิศทาง พระองค์ทรงเป็นเพื่อนร่วมเดินทางไปพร้อมกับพวกเขา สนทนาเรื่องราวที่เกิดขึ้นในกรุงเยรูซาเล็ม ไขข้อข้องใจและเติมความหวังใหม่ด้วยพระวาจาและศีลศักดิ์สิทธิ์ ทำให้ศิษย์หันกลับไปร่วมใช้ชีวิตในหมู่อัครสาวก ณ จุดนัดพบที่กรุงเยรูซาเล็ม

Image3.3   จิตตารมณ์แห่งความรักและรับใช้           
ธรรมนูญฉบับนี้ ยืนยันถึงการเจริญชีวิตติดตามพระเยซูเจ้าในฐานะที่เป็นศิษย์ ด้วยการปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ เลียนแบบอย่างชีวิตของพระองค์ กล้าที่จะเลือกอยู่เคียงข้างผู้ที่ทนทุกข์ มีส่วนร่วมในความทุกข์ยากและดิ้นรนต่อสู้เพื่อการหลุดพ้นร่วมกับพวกเขา จิตตารมณ์ของพระเยซูคริสตเจ้าที่แสดงออกมาด้วยความรักและการรับใช้ ดังที่ปรากฏในวิถีชีวิตของพระองค์ จักต้องนำมาเป็นพื้นฐานหลักของการตรวจสอบชีวิตของเราแต่ละคน และเป็นแรงบันดาลใจที่จะทำให้ชีวิตจิตของเราเข้มแข็งและเด่นชัดมากขึ้นทุกวัน เราต้องตั้งคำถามว่า ทุกวันนี้ เราที่เป็นบุคลากรของพระศาสนจักรได้เข้าใจ และได้เข้าถึงชีวิตจิตในการปฏิบัติพันธกิจของพระเยซูเจ้ามากน้อยแค่ไหน เข้าถึงชีวิตหรือว่าสาระสำคัญของธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ เมื่อไตร่ตรองมาถึงจุดนี้ ผมต้องตั้งคำถามตนเองอยู่เสมอว่า เมื่อจะเริ่มโครงการอะไรใหม่ๆ เราทำไปเพื่ออะไรเพื่อใคร เพื่อตนเองหรือเพื่อผู้อื่น อะไรเป็นแรงจูงใจ (Motivation) อะไรเป็นแรงบันดาลใจที่ผลักดันมาจากภายใน (Animation) ที่ทำให้ผมต้องคิดและวางแผนที่จะทำ ผมจะให้ความสำคัญแก่แรงบันดาลใจมากกว่าแรงจูงใจ เพราะแรงบันดาลใจมาจากมิติของชีวิตจิต ส่วนแรงจูงใจส่วนใหญ่มาจากความต้องการและผลประโยชน์ ดังนั้นจึงต้องมีกระบวนการตรวจสอบชีวิตและงานอยู่เสมอ           

เมื่อวานนี้ เราได้พยายามแบ่งปันจากแนวคำถามที่ว่าเราเคยมีประสบการณ์ตรงกับความชื่นชมยินดี ความสมหวัง กับความโศกเศร้าและความกังวลของประชาชนหรือไม่ แล้วพวกเราก็ตอบมาตามประสบการณ์ ถามต่อไปอีกว่า มีกิจกรรมอะไรบ้างที่ตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มชน พวกเราก็ตอบดังที่ปรากฏในการประมวลสรุปเนื้อหา แต่ถ้าตั้งคำถามให้ลึกลงไปอีกว่า กิจกรรมหรือโครงการนั้นๆ เราทำเพราะว่ามันเป็นแผนปฏิบัติงานประจำ ทำเพื่อทำหรือทำด้วยจิตตารมณ์แห่งความรักและการรับใช้ เราคงต้องใช้เวลาครุ่นคิดและไตร่ตรองมากกว่านี้ แต่แน่ใจว่าผลสัมฤทธิ์ของการทำงานจะออกมาต่างกัน ซึ่งพวกเราทุกคนที่อยู่ที่นี่คงจะได้ประสบด้วยตนเอง หรือองค์กรของพระศาสนจักรที่ทำงานตามฝ่ายต่างๆ หากซึมซาบในจิตตารมณ์นี้ ก็คงไม่มีประเด็นเรื่องการแข่งขันต่างคนต่างไป ชิงดีชิงเด่น ไม่สนใจกันและกัน ซึ่งมันเป็นค่านิยมของสังคมชาวโลก แต่ตรงกันข้ามคุณค่าแห่งพระวรสารก็จะปรากฏเด่นชัดในการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีจิตใจเอื้ออาทรต่อกัน ให้อภัยและให้โอกาส และพยายามช่วยกันในองค์กรและระหว่างองค์กรให้มุ่งไปสู่ทิศทางงานอภิบาลของพระศาสนจักรเดียวกัน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างกระบวนการความรักและการรับใช้เป็นแรงบันดาลใจหรือจิตวิญญาณในทุกกิจกรรม /  โครงการ และทุกองค์กรของพระศาสนจักร 


4. ข้อควรคำนึงและแนวทางปฏิบัติเพื่อการฟื้นฟูชีวิต : วิถีทางใหม่ของการอภิบาลในโลกปัจจุบัน           

4.1 การฟื้นฟูชีวิตเพื่ออ่านเครื่องหมายแห่งกาลเวลา เป็นวิถีทางใหม่ของการอภิบาล ต้องอาศัยกระบวนการวินิจฉัย แยกแยะและตรึกตรองอย่างลึกซึ้ง (Social Discernment) ซึ่งกระบวนการนี้เป็นงานของพระจิตเจ้า เป็นทั้งเครื่องมือและเป้าหมายในการแสวงหาพระประสงค์ของพระเจ้าต่อสภาพการณ์ที่เป็นจริง ช่วยให้เราตื่นตัวและรู้เท่าทันต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และตระหนักถึงพระประสงค์ของพระเจ้า ที่ทรงเชื้อเชิญหรือท้าทายเราให้วางแผนงานสู่การปฏิบัติเพื่อการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ทั้งในชีวิตส่วนตัวและในสังคมส่วนรวม กระบวนการนี้มีอยู่ 3 ขั้นตอนที่สำคัญ คือ 

4.1.1  การศึกษาสภาพความเป็นจริงของชุมชน เป็นการเรียนรู้ข้อมูลจากสภาพจริงของชุมชน โดยอาศัยการศึกษาเอกสารข้อมูลเชิงวิชาการหรือการเรียนรู้แบบร่วมชีวิตในชุมชน ต่อจากนั้นเป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์แยกแยะข้อมูลที่ได้ศึกษาหรือได้เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรง พร้อมกับเชื่อมโยงประเด็นต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจภาพรวมของสภาพความเป็นจริงทั้งด้านบวกและด้านลบ                       

4.1.2  การไตร่ตรองทางเทววิทยา เป็นขั้นตอนของการพินิจพิเคราะห์ประสบการณ์ที่ได้รับมาอย่างลึกซึ้งโดยอาศัยแสงสว่างจากพระคัมภีร์ คำสอนของบรรดาปิตาจารย์ และคำสอนของพระศาสนจักรในเรื่องต่างๆ เพื่อจะได้ค้นพบแรงบันดาลใจใหม่ กรอบความคิดพื้นฐานใหม่ อันจะนำไปสู่จุดเปลี่ยนของชีวิตและการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ สามารถตอบสนองต่อพระประสงค์ของพระเจ้าในสถานการณ์นั้นๆ ได้อย่างถูกต้อง ก่อเกิดคุณประโยชน์ต่อกลุ่มชนที่เราทำงานอยู่ด้วย                       

4.1.3  การลงมือปฏิบัติ เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการ  
ก.  กำหนดยุทธศาสตร์ วางแผนเชิงกลยุทธ / วางแผนปฏิบัติงาน และดำเนินการตามแผนที่วางไว้
ข.  ติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง                                   
ค.  ขยายผลการปฏิบัติในการวางแผนงานใหม่         

Image4.2  การทำงานเครือข่ายแบบบูรณาการ           
ในการทำงานของเรา เราต้องแสวงหาพันธมิตร และร่วมกันทำงานเครือข่ายแบบบูรณาการ เพื่อทำให้การอภิบาลมีความหมายและมีคุณค่าที่เปี่ยมไปด้วยพลังในชีวิต                       

4.2.1  แสวงหาเพื่อน (Co-alliance) ที่มีอุดมการณ์และมีจุดประสงค์เดียวกันคือ ทำงานส่งเสริมความเป็นมนุษย์ ให้ความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ และเน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลางของงานส่งเสริมและสนับสนุน

4.2.2  ร่วมมือกัน (Collaboration) ซึ่งมิใช่เฉพาะการร่วมมือทำงานของบุคลากรระดับเดียวกัน แต่ต้องเป็นการร่วมมือของผู้ที่มีบทบาท-หน้าที่ที่ต่างกันอย่างประสานสัมพันธ์ และยึดแนวทางการทำงานแบบองค์รวม เพื่อเสริมสร้างชีวิตและงานของกันและกัน

4.2.3  เป็นหุ้นส่วนกับคนทุกข์ยาก (Corporation) คือความพยายามเข้าใจถึงสภาพความเป็นจริงที่คนทุกข์ยากกำลังเผชิญอยู่ ตระหนักถึงความต้องการของคนเหล่านี้ ร่วมเป็นหนึ่งเดียวและเป็นปากเป็นเสียงแทนพวกเขา ที่สำคัญเราต้องมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของพวกเขาและพร้อมที่จะเป็นเพื่อนร่วมเดินทางพร้อมกับพวกเขา

4.2.4  ร่วมกันรับผิดชอบ (Co-responsibility) ต้องมีสำนึกต่อการร่วมรับผิดชอบเรื่องใดก็ตามที่เป็นความเดือดร้อนของผู้อื่น ถึงแม้ว่าเราไม่ได้รับผลกระทบใดๆ แต่เราต้องถือว่า เราต้องร่วมรับผิดชอบในการบรรเทาความเดือดร้อนของเขาเหล่านั้น เพราะพวกเขาเป็นลูกของพระบิดาเดียวกันกับเราและเป็นพี่น้องของเรา

4.2.5  ความเป็นหนึ่งเดียวกัน (Communion base) เป็นธรรมชาติของพระศาสนจักร ที่แสดงออกมาถึงความเชื่อในพระตรีเอกภาพผู้ทรงเป็นพระเจ้าหนึ่งเดียวแต่มีสามพระบุคคล ความเป็นหนึ่งเดียวกัน (เอกภาพ) ในความหลากหลาย (ความต่าง) จึงเป็นชีวิตของพระศาสนจักร ทั้งในด้านโครงสร้างการบริหารและในการดำเนินพันธกิจ และเป็นพื้นฐานของการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ (องค์รวม) คือ การประสานสัมพันธ์ เชื่อมโยงสิ่งที่แตกต่างและหลากหลายซึ่งแต่ละส่วนก็คงเอกลักษณ์เฉพาะ เข้ามาสู่ความเป็นเอกภาพและมุ่งสู่ทิศทางเดียวกัน

4.2.6  มีเป้าหมายเดียวกัน (Common goal) คือ รักและรับใช้ มุ่งสู่ความสมบูรณ์ครบครันในพระคริสตเจ้า (Completion in Christ) พระธรรมนูญ GS ฉบับนี้ได้ให้โครงสร้างการทำงานใหม่แก่พระศาสนจักร เป็นการสร้างพระศาสนจักรที่อยู่บนรากฐานแห่งความเป็นเอกภาพ (Communion) โดยมีจุดหมายเดียวกันคือ การปฏิบัติพันธกิจแห่งความรักและการรับใช้อันเป็นจิตตารมณ์คริสตชน เพราะฉะนั้น การแข่งขัน (Competition) กับการมุ่งสู่ความสมบูรณ์ในองค์พระคริสตเจ้า (Completion) นั้นแตกต่างกัน และผลที่เกิดขึ้นก็แตกต่างกัน ค่านิยมการแข่งขันที่เกิดขึ้นในสังคม นำไปสู่การแตกแยก ความโศกเศร้า ความกังวล แต่ความสมบูรณ์นำไปสู่การประสานพลังสร้างสรรค์ของเราแต่ละคน การช่วยเหลือเกื้อกูล ความร่วมมือและความรับผิดชอบต่อการทำงานร่วมกัน สิ่งที่ได้มา คือ ความชื่นชมยินดี ความผาสุกของประชาชน ซึ่งก็คือ ความสมบูรณ์ครบครันในพระเยซูคริสตเจ้า (Completion in Christ) 

*********************************** 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >