หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow ศาสนพิธี "แสวงหาหนทางดับไฟใต้" และเสวนา "ประสานศาสนิก...พลิกสถานการณ์ไฟใต้"
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 98 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ศาสนพิธี "แสวงหาหนทางดับไฟใต้" และเสวนา "ประสานศาสนิก...พลิกสถานการณ์ไฟใต้" พิมพ์
Wednesday, 17 May 2006

เครือข่ายองค์กรศาสนา พุทธ คริสต์ อิสลาม เรียกร้องรัฐบาลแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้ โดยสันติวิธี ยึดพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาด้วยความนุ่มนวล เรียบร้อย และให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา


 

เมื่อวันเสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2547 องค์กรศาสนา 3 ศาสนา ทั้งพุทธ คริสต์ และอิสลาม ประกอบด้วย คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ, กลุ่มเสขิยธรรม, สภาองค์การมุสลิมแห่งประเทศไทย, อัช-ชะบ๊าบ สมัชชายุวมุสลิมไทย และเครือข่ายชาวพุทธเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคมไทย ได้ร่วมกันจัด ศาสนพิธีกรรมให้กับผู้สูญเสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมและระหว่างการขนย้ายผู้ชุมนุมที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา ณ อนุสรณ์สถานวีรชน 14 ตุลา 16 สี่แยกคอกวัว ถ.ราชดำเนิน กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมจากทั้ง 3 ศาสนา ประชาชนทั่วไปและสื่อมวลชน รวมประมาณ 150 คน

พิธีกรรมเริ่มจากการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้เสียชีวิตตามแบบของศาสนาพุทธ โดยพระสงฆ์จำนวน 10 รูป พร้อมธรรมเทศนาโดย พระมหาเจิม สุวโจ จากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ต่อด้วยผู้แทนจากคาทอลิก ซึ่งนำโดย บาทหลวงชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม, ซิสเตอร์จันทร์เพ็ญ กิจสวัสดิ์ จากคณะธิดาพระราชินีมาเรียผู้นิรมล, ซิสเตอร์ประไพ กิจทวี จากโรงเรียนกุหลาบวัฒนา, ดร. วไล ณ ป้อมเพชร เลขาธิการ คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ ได้ร่วมกันอ่านบทภาวนาเพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตและภาวนาขอให้มีสันติสุขเกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อจากนั้นตัวแทนศาสนาอิสลามได้ร่วมกันละหมาดให้กับผู้เสียชีวิต

Image Image Image

Imageจากนั้นซิสเตอร์จันทร์เพ็ญ กิจสวัสดิ์ จากคณะธิดาพระราชินีมาเรียผู้นิรมล เป็นผู้แทนของ 3 ศาสนา อ่านสารแสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ โดยใจความสำคัญของสารระบุว่า เครือข่ายองค์กรศาสนามีความความห่วงใยและเป็นกังวลต่อวิธีแก้ไขปัญหาของภาครัฐซึ่งนิยมใช้ความรุนแรงนั้น ยิ่งจะทำให้สถานการณ์ความไม่สงบทางภาคใต้ลุกลามบานปลายกลายเป็นปัญหาที่ไม่สามารถควบคุมได้อีกต่อไป จึงเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหานี้ด้วยสันติวิธีโดยดำเนินรอยตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาด้วยความนุ่มนวล ไม่ใช้ความรุนแรง และให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา พร้อมกันนี้ยังขอให้พี่น้องศาสนิกชนทุกศาสนาร่วมแสดงจุดยืนถึงการเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของเพื่อนมนุษย์ และเคารพความแตกต่างทางวัฒนธรรมและความเชื่อทางศาสนา รวมทั้งยืนยันในการไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขปัญหาด้วยความรุนแรงจากทุกฝ่าย เพื่อให้ทุกคนมีสันติสุขและเกิดสันติภาพในสังคม

Imageหลังจากพิธีกรรมทางศาสนาเสร็จสิ้นลง มีการเสวนาเพื่อแสวงหาหนทางดับไฟใต้ในหัวข้อ “ประสานศาสนิก...พลิกสถานการณ์ไฟใต้” ซึ่งวิทยากรประกอบด้วย อ.จอน อึ๊งภากรณ์ สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพฯ อ.วิทยา วิเศษรัตน์ ประธานที่ปรึกษาสภาองค์การมุสลิมแห่งประเทศไทย พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ ประธานกลุ่มเสขิยธรรม และบาทหลวงชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม
อ.จอน อึ๊งภากรณ์ สมาชิกวุฒิสภา ซึ่งได้ลงไปดูพื้นที่ภายหลังสถานการณ์การเสียชีวิตของประชาชนชาวมุสลิมเนื่องจากการที่ภาครัฐได้สลายการชุมนุมที่หน้าสถานีตำรวจภูธร อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ทำให้มีผู้เสียชีวิตรวม 85 คน (จากผู้ชุมนุมทั้งหมดประมาณ 1,300 คน) เนื่องจากการสลายการชุมนุมด้วยอาวุธของภาครัฐ การขาดอากาศและการอดอาหาร ระหว่างขนย้ายไปยังค่ายอิงคะยุทธ จ.ปัตตานี และค่ายเสนาณรงค์ จ.สงขลา
อ.จอน ได้เล่าให้ฟังว่า จากการได้พูดคุยกับผู้ชุมนุมซึ่งถูกจับในวันนั้นพบว่า ผู้ชุมนุมที่ถูกจับถูกมัดมือและกองทับกันหลายชั้นจึงขาดอากาศหายใจ ถูกกดทับ ผู้ชุมนุมได้ร้องขอความช่วยเหลือแต่ถูกทหารผู้ ควบคุมในรถนั้นเหยียบหัวซ้ำ ซึ่งเป็นข้อสังเกตว่าทหารไม่ได้รู้สึกเป็นมิตรต่อผู้ชุมนุมและมีทัศนคติทางลบต่อพวกเขาซึ่งอาจเกิดจากการได้รับการปลูกฝังทางลบมา ในเรื่องของเวลาที่ขนย้ายผู้ชุมนุมใช้ระยะเวลานานมาก คันแรกมาถึง 3 - 4 ทุ่ม คันสุดท้ายมาถึงประมาณเที่ยงคืน “คำถามคือ ระหว่างที่ในรถแต่ละคันมีผู้เสียชีวิตแต่ไม่ได้มีการวิทยุเตือนรถคันที่ตามมาว่าอาจมีผู้ชุมนุมที่หายใจไม่ออก อีกทั้งได้ทราบจากชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ ทำให้ทราบว่าจำนวนผู้เสียชีวิตในขณะสลายการชุมนุมยังมีอีกกว่า 15 รายที่ไม่ปรากฎเป็นข่าว”
อ.จอน แสดงความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า ขณะนี้ผู้คนในสังคมจำนวนมากไม่ค่อยพอใจที่มีการพูดความจริงเสมือนว่าความจริงจะยุยงให้เกิดความรุนแรง คนจำนวนมากกำลังสับสนมองปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในภาคใต้ที่มีการฆ่าพระภิกษุ เจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชน แล้วโยงเสมือนว่าผู้มาชุมนุมที่ อ.ตากใบเป็นผู้ก่อความไม่สงบ มองว่าถูกแล้วที่ถูกกระทำเช่นนี้ หรืออาจจะแรงน้อยไปด้วยซ้ำ โดยที่ยังไม่ได้ตรวจสอบหาความจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก เป็นบรรยากาศที่อาจจะรุนแรงกว่าเมื่อ 6 ตุลา 19 มีการแสดงออกด้วยความโกรธแค้นชิงชัง สื่อมวลชนถูกใช้เป็นเครื่องมือโจมตีผู้ออกมาเรียกร้องความเป็นธรรม “ผมคิดว่า ขณะนี้สื่อมวลชนของรัฐไม่เป็นตัวของตัวเอง ไม่สามารถเสนอข่าวสารได้รอบด้าน นี่คืออันตราย คำพูดของนายกฯ ไม่ได้ช่วยประสานทำความเข้าใจให้เกิดขึ้นในสังคม สิ่งที่เราต้องเรียกร้อง ให้รัฐบาลทำหน้าที่สร้างสันติสุข สร้างความเป็นธรรม สร้างสิทธิมนุษยชน สร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้น”
อ.จอน มองทางออกของปัญหานี้ว่า ควรนำแนวทางของศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ในเรื่องยุทธศาสตร์สันติวิธี และแผนดับไฟใต้ของรองนายกฯ จาตุรนต์ ฉายแสง ซึ่งเป็นแผนที่เกิดจากการพูดคุยกับทุกฝ่ายทางภาคใต้และชาวบ้านในพื้นที่ เป็นแผนที่ลดความรุนแรงโดยตรงและให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วม รวมทั้งต้องเรียกร้องจริยธรรมของสื่อให้สื่อกลับมามีอิสระในการนำเสนอ เรียกร้องให้รัฐเข้ามาอยู่ในกรอบของกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด ตัวแทนศาสนาต้องสร้างความเข้าใจกับประชาชนให้ประชาชนทุกศาสนานำหลักคำสอนมาปฏิบัติ ต้องถอนบ่อเกิดแห่งความรุนแรง สร้างเวทีแห่งความเข้าใจ สร้างการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่เพื่อพัฒนาภาคใต้

บาทหลวงชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม เล่าว่า ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ในภาคใต้ ตนได้โทรศัพท์ไปสอบถามซิสเตอร์ซึ่งอยู่ในพื้นที่ จ.ปัตตานีบอกว่า สถานการณ์ที่นั่นน่ากลัว มีจดหมาย ใบปลิว มีการขู่ฆ่าคนที่ให้ความร่วมมือกับมุสลิม มีเด็กย้ายออกจากโรงเรียนประมาณ 20 คนส่วนที่อื่นก็หวาดกลัวกันหมด “ขณะนี้เป็นสถานการณ์ที่น่ากลัว ทุกคนกลัวหมดเพราะไม่รู้ว่าศัตรูคือใคร เป็นสถานการณ์ที่ยืนยันว่าความเป็นมิตรมันขาดสะบั้นไปโดยพริบตา ไม่มีใครไว้ใจกัน ที่ตากใบเป็นเพียงอาการหนึ่ง แต่ที่อื่นๆ เป็นสถานการณ์อึมครึม โรงเรียนเลิกบ่าย 3 โมง 6 โมงเย็นก็ไม่มีใครกล้าออกจากบ้านแล้ว กระทบกับพี่น้องทุกศาสนา”
บาทหลวงชูศักดิ์ เห็นด้วยกับ อ.จอน ในแนวทางของหมอประเวศที่บอกว่า นี่คือวิกฤตของประเทศแล้ว ถ้าคนไทยยังรู้สึกเฉย “คิดว่านี่เป็นวาระแห่งชาติที่เราทุกคนต้องช่วยกัน อยากเห็นคนไทยที่มีน้ำจิตน้ำใจเอื้ออาทร นำมิติของศาสนสัมพันธ์ อยากเห็นพลังแห่งสันติจากอิสลาม พลังแห่งความรักจากคริสต์ พลังแห่งความเมตตาจากพุทธศาสนา ให้เกิดขึ้น อยากเชิญชวนทุกท่านที่เป็นศาสนิกมาร่วมกัน อยู่เฉยๆ ไม่พอแล้ว สิ่งที่ขาดในภาคใต้ไม่ใช่เงิน แต่ขาดน้ำใจ หัวใจที่ฉีกขาด หัวใจที่โดดเดี่ยว ต้องการความรัก ความเมตตาและกรุณา คนที่เจ็บปวดต้องการผู้บรรเทาทุกข์ การใช้ศาสนสัมพันธ์จะทำให้บ้านเมืองนี้สงบร่มเย็น”
ทางด้าน อ.วิทยา วิเศษรัตน์ ประธานที่ปรึกษาสภาองค์การมุสลิมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การแก้ปัญหาสถานการณ์ภาคใต้ต้องแก้ด้วยความจริง “อย่าคิดว่าเงินจะแก้ปัญหาได้ทุกเรื่อง การปกครองที่ อยุติธรรมนั้นประชาชนไม่มีความสุข การยกประเด็นว่า มุสลิมฆ่าพระเป็นสิ่งที่อันตรายมาก ขณะนี้มีการสร้างภาพว่าไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ แทนที่จะสร้างสรรค์ ประนีประนอม บอกว่าจะสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในภาคใต้แต่กลับส่งทหารลงไปแล้วจะสันติสุขได้อย่างไร อิสลามสอนว่า “ให้พูดความจริง แม้ว่าความจริงจะขื่นขม”
ส่วนพระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ ประธานกลุ่มเสขิยธรรม ได้เสนอแนวทางพลิกสถานการณ์ไฟใต้ ว่า 1.รัฐบาลต้องใช้กลไกที่มีอยู่สร้างความสมานฉันท์ อย่าทำให้แตกแยก ยุติการส่งเสริมลัทธิชาตินิยมใหม่ที่มีการคลั่งชาติที่ปรากฎตามสื่อโดยเฉพาะสถานีวิทยุของฝ่ายพุทธซึ่งกลับยุยงให้เกิดความแตกแยก เห็นด้วยกับการฆ่าชาวมุสลิม ทำให้เกิดรอยด่างในพระพุทธศาสนา การกระทำเช่นนี้เป็นการกระทำที่พระพุทธเจ้าตำหนิติเตียน ดังนั้นรัฐต้องเป็นตัวกลางสร้างความสมานฉันท์ 2.รัฐต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมและมีโอกาสตัดสินชะตากรรมของตนเอง 3.ต้องใช้หลักศาสนธรรมเป็นแกนในการแสวงหาทางออกอย่างยั่งยืน ให้ความจริงเป็นเครื่องมือในการสร้างความสมานฉันท์
ภายหลังการเสวนาเสร็จสิ้นลง พลตรีจำลอง ศรีเมือง ในนามของศูนย์คุณธรรม ซึ่งมาร่วมฟังเสวนาในครั้งนี้และเห็นความสำคัญและจำเป็นของเครือข่ายองค์กรศาสนิกทั้ง 3 ศาสนา ในการใช้ศาสนสัมพันธ์เพื่อเยียวยาให้กับพี่น้องมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเห็นพ้องกันว่าเครือข่ายองค์กรศาสนาจะลงไปเยี่ยมพี่น้องมุสลิมในพื้นที่เพื่อให้เห็นว่าพี่น้องทุกศาสนาจะร่วมมือกันสร้างสันติสุข พร้อมทั้งจะรวบรวมจดหมายและไปรษณีย์บัตรจากประชาชนทั่วประเทศซึ่งมีความเห็นอกเห็นใจ ต้องการให้เกิดความสมานฉันท์และเป็นกำลังใจให้กับญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว นำไปมอบให้ถึงมือของญาติพี่น้องชาวมุสลิม ในระหว่างวันที่ 23 – 26 พฤศจิกายนนี้ โดยผู้สนใจสามารถส่งไปได้ที่ ศูนย์คุณธรรม บ้านพิษณุโลก ถ.พิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300

เรียบเรียงโดย ธัญลักษณ์ นวลักษณกวี

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >