หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow บทเรียนสึนามิ กับชีวิตที่ถูกลืม
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 139 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

บทเรียนสึนามิ กับชีวิตที่ถูกลืม พิมพ์
Wednesday, 17 May 2006


บทเรียนสึนามิ... กับชีวิตที่ถูกลืม



Imageเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิถล่ม 6 จังหวัดภาคใต้ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้สร้างความสูญเสียต่อชายฝั่งทะเลอันดามันของไทยอย่างรุนแรง และสร้างความสูญเสีย ทั้งชีวิตและทรัพย์สินโดยประเมินค่ามิได้ ในขณะที่รัฐบาล (รักษาการ) และสื่อมวลชนนำเสนอในด้านผลกระทบต่อการท่องเที่ยวใน 6 จังหวัดภาคใต้ และมุ่งฟื้นฟูสภาพพื้นที่ให้กลับคืนสู่สภาพปกติ แต่มีข้อสังเกตว่ารัฐบาลมักจะเน้น “การฉวยโอกาสจากวิกฤต” ในครั้งนี้ค่อนข้างมาก

ประกอบกับวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 เป็นวันเลือกตั้ง ยิ่งทำให้การสร้างภาพลักษณ์ การแก้ภาพพจน์ของประเทศโดยเน้นมิติการท่องเที่ยว ยิ่งชัดเจนเพิ่มมากขึ้น และสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือการใช้เหตุการณ์นี้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง ใช้หยาดน้ำตาและความตายของผู้คนเป็นเครื่องมือในการหาเสียงของพรรคการเมืองในการเลือกตั้ง
แผนฟื้นฟูอันดามันหลังคลื่นยักษ์สึนามิถล่ม มีแนวโน้มที่จะกลับไปใช้แนวคิดในลักษณะเดิม คือเน้นการท่องเที่ยว มุ่งผลประโยชน์ในเชิงธุรกิจการท่องเที่ยว
ยิ่งทียิ่งชัดเจนขึ้นทุกขณะ และจนถึงขณะนี้ เรายิ่งเห็นชัดเจนว่าภาคธุรกิจกำลังเร่งให้ภาครัฐทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาล
ลงมาพลิกฟื้นชายฝั่งอันดามันให้คืนสภาพกลับมาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว และไม่มีการคำนึงถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านดั้งเดิมที่เป็นเจ้าของพื้นที่มานานนับหลายชั่วอายุคน

บทเรียนความเสียหายทั้งชีวิตคนตายและสูญหายอีกจำนวนนับไม่ถ้วนในเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้เราเห็นถึงการขาดดุลยภาพระหว่างชีวิตชุมชนกับความมักง่ายของภาคธุรกิจการท่องเที่ยว ระหว่างการพัฒนาที่มุ่งเน้นเม็ดเงินและผลประโยชน์ของภาครัฐกับความเรียบง่ายของชาวบ้าน ความโลภของนักธุรกิจการเมืองยิ่งทำให้เหตุการณ์ครั้งนี้กลายเป็นโศกนาฏกรรมที่ซ้ำเติมผู้คนเพิ่มมากขึ้น
เมื่อเกิดภัยพิบัติและความสูญเสียที่ไม่มีใครคาดคิด ทุกคนต่างตกอยู่ภายใต้ชะตากรรมเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นคนรวยหรือคนยากไร้ ยิ่งทำให้เรามองเห็นถึงสภาพการพัฒนาประเทศก่อนหน้านั้นอย่างชัดเจน ทั้งสภาพต่างคนต่างอยู่ การฉกฉวยและแย่งชิงผลประโยชน์จากธรรมชาติใส่ตัวเอง โดยมิได้คำนึงถึงกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ

Imageสิ่งที่น่าสนใจจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิถล่มในอีกด้านหนึ่งก็คือ แรงงานต่างด้าวชาวพม่าไม่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐอย่างดีเท่าใดนัก  โดยขณะนี้ในจังหวัดหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิถล่ม ได้พบแรงงานพม่าเสียชีวิตนับพันคนและสูญหายอีกหลายพันคน ส่วนแรงงานชาวพม่าที่รอดชีวิตไม่ได้รับบริจาคอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย ซ้ำร้ายยังถูกละเลย ถูกเลือกปฏิบัติ ถูกยัดเยียดข้อหาขโมยทรัพย์สินสิ่งของ และไม่มีการคุ้มครองความปลอดภัยแต่อย่างใด
ชีวิตแรงงานต่างด้าวชาวพม่าในประเทศไทย แม้จะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น การไปโรงพยาบาล หรือการรักษาต่อเนื่อง ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ควรได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะแรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่มีข้อจำกัดในด้านภาษาและการสื่อสาร การไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล คนไทยจะได้รับการต้อนรับที่ดีกว่า แต่ถ้าหากเป็นคนจนแม้จะเป็นคนไทย ก็ถูกเลือกปฏิบัติไม่แตกต่างจากชาวพม่าเช่นเดียวกัน แต่ในบางมิติ แรงงานต่างด้าวยังเป็นยิ่งกว่าคนจนในเมืองไทยด้วยซ้ำไป

นอกจากนั้น แรงงานชาวพม่าที่ทำงานในเรือประมง ยังเสี่ยงต่อการทำร้ายจากนายท้ายเรืออีกด้วย ชาวพม่าบางคนบอกเล่าว่า ตอนนี้เขากลัวคนไทย กลัวประเทศไทย เพราะถูกไต๋เรือทำร้าย ถูกตี ถูกชก ถูกบังคับข่มขู่ ถูกปืนจ่อขมับ เวลาทำงานใช้วาจาบังคับข่มขู่ และเมื่อไม่ได้ดั่งใจ บางคนจึงใช้พลั่วตีแสกหน้าคนต่างด้าวอย่างรุนแรง

สำหรับประเทศไทย คนต่างด้าวชาวพม่าคือคนแปลกหน้าในบ้านเมืองของเรา พวกเขาถูกสังคมไทยปฏิเสธ และจากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลทหารพม่าและรัฐบาลไทย ยิ่งทำให้สถานการณ์ของแรงงานต่างด้าวรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
สื่อมวลชนในประเทศไทยนำเสนอการจับกุมคุมขัง และสร้างภาพลักษณ์ให้คนพม่ากลายเป็นจำเลยของสังคมไทย กลายเป็นอาชญากรและผู้ที่สร้างความวุ่นวายให้บ้านเมืองของเรา ซึ่งคงต้องยอมรับความเป็นจริงว่า คนพม่าที่ดีก็มี คนที่เข้ามาสร้างความวุ่นวายให้บ้านเมืองของเราก็มาก แต่สิ่งสำคัญก็คือคนในบ้านของเราเองนี่แหละที่สร้างความวุ่นวายไม่จบสิ้นมากกว่าเขาเป็นไหนๆ
หากคนจนในประเทศไทยคือพลเมืองชั้นสองของแผ่นดิน คนต่างด้าวชาวพม่าซึ่งเป็นเพื่อนบ้านของเราเองก็เป็นเพียงสิ่งของหรือวัตถุอันไร้ค่าในสายตาของสังคมไทย
หลายครั้งที่ภาครัฐและสังคมไทยไม่ได้มองว่าแรงงานต่างด้าวเป็นคนและมีชีวิตเช่นเดียวกันกับเรา ทั้งๆ ที่พวกเขามีความคิด มีความฝัน อยากมีอนาคตที่ดีทั้งตนเองและประเทศของเขา ไม่ยิ่งหย่อนหรือแตกต่างไปจากคนไทยทุกคน
เหตุการณ์ในครั้งนี้ ได้ชี้ชัดว่าคนต่างด้าวชาวพม่าในประเทศไทย แม้จะมีลมหายใจ แต่พวกเขากลับกลายเป็นชีวิตที่ถูกลืมและไม่มีใครสนใจไยดีแต่อย่างใด
ในเหตุการณ์สึนามิถล่ม แรงงานข้ามชาติชาวพม่าได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกและคนไทย แรงงานไทยได้รับความสนใจอยู่บ้าง แต่น้อยครั้งนักที่จะได้รับข่าวสารจากแรงงานต่างด้าวในบ้านเมืองของเรา ส่วนใหญ่จะได้รับข่าวเกี่ยวกับผลกระทบต่อการท่องเที่ยว ธุรกิจ การกระตุ้นการลงทุนเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงแผนฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวให้คืนกลับมาดังเดิม

Imageนับจากเหตุการณ์สึนามิเริ่มต้นจนถึงวันนี้ เราได้เห็นถึงการทับซ้อนของผลประโยชน์ระหว่างคุณค่าชีวิตประชาชนกับการแสวงหารายได้จากการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างรัฐบาล นักธุรกิจ และบรรดาผู้มีอิทธิพล ทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น
คนในวงการธุรกิจท่องเที่ยวและการเมืองท้องถิ่นจนถึงระดับชาติ ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวบริเวณชายฝั่งอันดามันถูกยกขึ้นมาเพื่อนำเงินเข้ากระเป๋าตัวเองและพวกพ้อง โดยมิได้คำนึงถึงผลร้ายที่จะตามมาแต่อย่างใด
การจัดสรรและแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะประชาชนเจ้าของพื้นที่ การมีส่วนร่วมของประชาชนจะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน และถ้าหากเป็นไปได้ บทเรียนจากคลื่นยักษ์สึนามิถล่มในครั้งนี้ ควรได้มีการทบทวนถึงนโยบายของรัฐ ว่าที่ผ่านมา รัฐได้กระตุ้นความโลภ ความหลง มุ่งเน้นการพอกพูนความเห็นแก่ตัวในชีวิตมนุษย์มากกว่าความสงบสุขในชีวิตของประชาชนใช่หรือไม่ ...แต่สิ่งนี้ได้กลายเป็นเรื่องที่ทำได้ยากที่สุด
รัฐอาจใช้เวลาเพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อมด้านการท่องเที่ยวให้กลับคืนมา อาจใช้เวลาในการกระตุ้นการท่องเที่ยวเพื่อนำเงินเข้าประเทศ แต่ยิ่งรัฐบาลเน้นและดำเนินนโยบายไปในแนวนี้มากเพียงใด ความเสียหายและวิกฤตในวันข้างหน้า ยิ่งคืบคลานเข้ามาอย่างรุนแรงและรวดเร็วมากขึ้นเพียงนั้น
...
จนกระทั่งถึงขณะนี้ เหตุการณ์สึนามิถล่ม 6 จังหวัดภาคใต้ ข่าวคราวเริ่มแผ่วจางลงตามวันเวลา แต่ในพื้นที่จริงยังคงมีปัญหาอีกมากมายที่รอการแก้ไขและร่วมรับรู้จากคนไทยทุกคน


วรพจน์ สิงหา ฝ่ายเผยแพร่เพื่อการมีส่วนร่วม
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >