หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow สายน้ำ...ที่ผ่านไป โดยวนิดา ลอยชื่น
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 51 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

สายน้ำ...ที่ผ่านไป โดยวนิดา ลอยชื่น พิมพ์
Wednesday, 10 January 2007


สายน้ำ....ที่ผ่านไป

Imageโดยวนิดา   ลอยชื่น

แม้แสงแดดที่เคยอุ่นเปลี่ยนแปรไปเป็นแผดเผา แม้สายลมเย็นเปลี่ยนเป็นพายุ แม้ทะเลสวยเปลี่ยนเป็นเกรี้ยวกราดกวาดสรรพสิ่ง แม้แม่น้ำที่ไหลเรื่อยเหมือนแม่ใหญ่ใจดีจะเปลี่ยนเป็นอุทกธารที่ล้นรี่ไหลเชี่ยว นั่นคงเป็นเรื่องที่ไม่เหนือความคาดหมายของผม  เป็นสิ่งที่เคยเห็น เคยรู้เคยสัมผัส วันนี้เมื่อน้ำเหนือหลากมาถึงที่ราบลุ่มภาคกลางเป็นอุกทกภัยอันน่าเศร้าสลดหลายคนก่นว่าคนต้นน้ำไม่รักษาป่า ผมอยากจะชวนท่านผู้อ่านเดินทวนน้ำไปกับผมไปสู่ต้นน้ำเจ้าพระยา สายเลือดหลักของชาติ ทวนตามน้ำไปสู่สี่แคว สิบลำคลอง ร้อยลำธาร พันลำน้ำ หมื่นแสนหยดหยาดของน้ำซับ


สมัยก่อนบทอาขยานบังคับท่องเรื่อง สัตว์สวยป่างาม จาก มูลบทบรรพกิจของ  พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย)  ท่อนตอนท้ายๆ บอกว่า  ป่าสูงยูงยางช้างโขลง  บอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าดง  แต่นัยที่แฝงอยู่คำว่ายางในที่นี้คงไม่ได้หมายถึงต้นยาง  เพราะยางเป็นไม้นำเข้ามาจากถิ่นอื่น ยางที่คู่กับช้างนั่นหมายถึง ชนกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่สูงมาเก่าแก่นานเท่าอาณาจักรไทย ชนเผ่ายาง  ที่คนพื้นราบเรียกเขาว่ากะเหรี่ยงในอดีตและปกาเกอะญอในปัจจุบัน เป็นเผ่าที่ครอบครองต้นน้ำลำธารเชี่ยวชาญการเลี้ยงช้างมาแต่ดึกดำบรรพ์    

ต้นแม่น้ำเจ้าพระยามาจากน้ำซับสายน้อยที่ชนกลุ่มนี้อาศัยประทังชีวิต กินอาบ รดพืชผลพวกเขารักมันยิ่ง พยายามรักษาไว้สุดชีวิต  เพราะเขาไม่มีน้ำประปา น้ำดื่มหลายยี่ห้อเหมือนคนเมือง สายน้ำจึงเป็นสายเลือดหล่อเลี้ยงทุกคนเรื่อยมา ถึงกับเป็นกฏของกลุ่มชนที่ต้องรักษาน้ำ-ป่าให้ยั่งยืน พวกเขาแบ่งสรรปันส่วนป่าอย่างลงตัวเพื่อป่าจะเลี้ยงเขาและลูกหลายได้นานเท่านาน

อาทิตย์  จันทร์ ผันผ่าน เวลาก้าวย่างอย่างสม่ำเสมอซื่อตรงต่อหน้าที่ ความแปรเปลี่ยนได้เข้ามาอย่างช้าช้า วันนี้น้ำซับที่เอ่อล้นสม่ำเสมอกลับเหือดหาย น้ำกลายเป็นสิ่งที่ต้องสรรปันส่วน น้ำกลายเป็นทรัพยากรที่ต้องแย่งชิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวิถีแห่งเมืองคืบเข้ามาถึง  การทำสวนส้มขนาดใหญ่  ทำไร่ขนาดใหญ่เพื่อเข้าสู่กลไกทางเศรษฐกิจ การแข่งขันส่งออกเพื่อเป็นหนึ่งในเวทีการค้าโลก มีผู้ประสบความสำเร็จหลายรายแต่ผู้พ่ายและตกเป็นจำเลยคือชนเผ่าที่รักษาป่ารักษาต้นน้ำยิ่งชีวิต

เมื่อลมฝนกระหน่ำโตรกธารน้ำซับที่เคยไหลเรื่อยกลายเป็นธารโคลนถาโถมสู่หมู่บ้าน กวาดทุกอย่างที่ขวางหน้า ทลายซอกเขาต้นไม้น้อยใหญ่พังลงอย่างยับเยิน ชาวบ้านที่อยู่เบื้องล่างหนีตายอลหม่าน แข่งกับคลื่นโคลนยักษ์ที่เร็วรี่ลงสู่หุบเขาเบื้องล่าง เกิดทางใหม่สายสีแดงฉานดังเพลิงนรกเป็นร่องรอยความสูญเสีย บ้านเรือน สัตว์เลี้ยง ไร่นาหายไปกับโคลนคลั่ง หลายหมู่บ้านตกอยู่ในความมืดที่เงียบงัน มีเพียงเสียงสะอื้นในอกเท่านั้นที่บอกว่ายังมีลมหายใจ

ลำน้ำขุ่นข้นไหลอย่างอิสระลงไปเรื่อย  เรื่อยไปสู่ลำห้วย  ลำคลอง  แม่ปิง  แม่วัง  แม่ยม  แม่น่าน   ความกราดเกรี้ยวยังไม่ลดละแม่ที่เคยนิ่งเย็นเป็นแม่มดใจร้าย   ทำลายทุกอย่างที่ขวางหน้า   แม่ไหลไปไหนใครๆก็ปิดหน้าร่ำให้  แม่ล้นท้นหลากทลายกลืนสรรพสิ่งที่ขวางแม้  มนุษย์ตัวเล็กมากมายพยายามขวางเปลี่ยนทาง    แต่แม่ยามนี้เป็นช้างสารตกมันแก่วงงวงฟาดงาห้อตะบึงสู่เมืองหลวงก่อนลงถาโถมสู่อ้อมอกอ่าวไทย

สายน้ำตาคงเป็นธารน้ำที่เล็กที่สุดในโลก   หากแต่เมื่อมันไหลรินกลับเกิดความรู้สึกรู้สามหาศาล   เมื่อสายน้ำผ่านไปคำถามมากมายถูกตั้ง  คนมากมายช่วยซับน้ำตาของเหล่าผู้ประสบภัย   เกิดแรงผลักดันมหาศาลสู่งบประมาณเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย  เจ้าของที่ดินรายใหญ่  เกษตรกรรายใหญ่  เจ้าของกิจการรายใหญ่   รัฐทดแทนความเสียหายเต็มกำลัง 

เสียงสะอื้นเบาๆดังในหุบเขา   คงไม่ได้ยินถึงเมืองหลวง  เมืองใหญ่  สายธารน้ำใจไม่ไหลทวนเจ้าพระยามาสู่ที่นี่แน่นอน   นอกจากการเป็นจำเลยของคนพื้นล่างว่าเป็นผู้ทำลายป่า เสียงสะอื้นในหุบเขามองหาธารน้ำมิตรอย่างวังเวง 


**********************************************

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >