หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 716 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


ปตท.พลังไทย เพื่อใคร? พิมพ์
Thursday, 01 June 2006


ปตท.พลังไทย เพื่อใคร?

ฝ่ายเผยแพร่เพื่อการมีส่วนร่วม เรียบเรียง


ภาพจาก manager.co.th“มีคนเคยตั้งคำถามกับเราว่า กำไรของ ปตท. กลับคืนไปที่ใคร?”
ที่... ปากท้อง ที่... สมอง ที่... รอยยิ้ม ที่.... ลมหายใจ ที่... ชีวิต ........


ผู้คนทั่วไปคงคุ้นหูคุ้นตากับโฆษณาของ ปตท. ซึ่งเผยแพร่ให้ดูทางทีวีตลอดช่วงปีที่ผ่านมาเป็นอย่างดี อย่างหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ นี่เป็นโฆษณาที่ทำออกมาได้ดีอย่างยิ่ง ทั้งภาพและเสียงชวนให้ใครๆ เคลิบเคลิ้มคล้อยตามไปกับเนื้อหาที่สื่อออกมาให้เห็นถึงคุณูปการของผู้บริหาร ปตท. และรัฐบาล ซึ่งทำให้กับประชาชนคนไทยทั้งประเทศ จนรู้สึกซาบซึ้งจนน้ำตาเล็ดน้ำตาไหล

แต่หากได้รับรู้ข้อมูลต่อไปนี้ ความรู้สึกของคุณอาจเปลี่ยนไป

ชื่นชม สง่าราศรี กรีเซน นักวิชาการอิสระ ซึ่งทำงานวิเคราะห์วิจัยให้ภาคประชาชนในเรื่องพลังงาน ได้ทำรายงานการศึกษาในเรื่องของการแปรรูป ปตท. โดยชี้ให้เห็นว่า ปตท. หรือ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจแห่งแรกที่ถูกแปรรูปโดยใช้ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ และโอนสิทธิประโยชน์ อำนาจรัฐให้แก่บริษัท ทั้งสิทธิในการผูกขาดกิจการท่อก๊าซ สิทธิในการเวนคืน สิทธิในการยกเว้นภาษีต่างๆ เมื่อมีการเปิดขายหุ้นเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๔๔ นั้น หุ้นถูกจองหมดภายในเวลา ๑:๑๗ นาที ซึ่งหุ้นที่ขายในขณะนั้นราคา ๓๕ บาทต่อหุ้น ปัจจุบันราคาหุ้น ปตท. ได้พุ่งสูงขึ้นมาอยู่ที่ ๒๐๘ บาทต่อหุ้น เป็นการเพิ่มสูงขึ้นถึง ๖ เท่าภายในเวลาเพียง ๔ ปีเท่านั้น

เธอได้ระบุไว้ในรายงานว่า บทเรียนจากการแปรรูป ปตท. นั้น คือ

๑. เป็นการแปลงทรัพย์สมบัติชาติและอำนาจอธิปไตย ให้เป็นทุนของคนกลุ่มหนึ่ง จากเดิม ปตท. เป็นองค์กรของรัฐที่ดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์ กลับกลายเป็นบริษัทเอกชนซึ่งดำเนินการเพื่อกำไรสูงสุดของผู้ถือหุ้น ปตท. ได้กลายเป็นแหล่งแสวงหาผลประโยชน์ของญาติสนิทและผู้ใกล้ชิดของผู้นำรัฐบาล ดังที่ระบุไว้ว่า “จากข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร ปตท.และรายชื่อคณะกรรมการ ปตท.เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ที่มาดำรงตำแหน่งระดับสูงของ ปตท. นั้นส่วนใหญ่จะเป็นข้าราชการ และเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลในรัฐบาล โดยเฉพาะตระกูลชินวัตร เช่น คณะกรรมการ ปตท. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นน้องเขยของนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร และนายโอฬาร ไชยประวัติ ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทชินคอร์ป และนายกสภามหาวิทยาลัยชินวัตร นอกจากนี้ในรายชื่อผู้บริหาร ปตท. มีชื่อนายทรงวุฒิ ชินวัตร ซึ่งดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารองค์กร โดยเพิ่งเข้ามาดำรงตำแหน่งในปี ๒๕๔๗ ก่อนหน้านี้ไม่มีชื่อ จากรายชื่อเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า มีอิทธิพลทางการเมืองมาแทรกซึมอยู่”

๒. เป็นการแปรรูปสิทธิผูกขาดให้กลายเป็นใบ อนุญาตตลอดชีพให้บริษัทเอกชนล้วงกระเป๋าผู้บริโภค แม้ปัจจุบัน ปตท.จะมีสถานะเป็นบริษัท แต่ในการแปรรูป ปตท.นั้น ได้มีการโอนสิทธิประโยชน์ในฐานะรัฐวิสาหกิจและอำนาจรัฐบางอย่างให้แก่ ปตท. ด้วย ที่สำคัญได้แก่ สิทธิในการผูกขาดกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ สิทธิในการเวนคืน และสิทธิในการยกเว้นภาษีต่างๆ เป็นต้น ดังจะเห็นได้ว่า ปัจจุบัน ปตท.ยังคงเป็นผู้ผูกขาดแต่เพียงผู้เดียวในการจัดหาก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย จึงแทบจะปราศจากความเสี่ยงในการลงทุน

๓. อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคำมั่นสัญญาของรัฐบาล รัฐบาลเคยให้คำมั่นสัญญาไว้กับประชาชนก่อนจะแปรรูปว่า จะแยกธุรกิจท่อส่งก๊าซออกจากธุรกิจส่วนอื่นภายใน ๑ ปี เพื่อเปิดทางให้มีการแข่งขันลดการผูกขาดการจัดหาก๊าซ และจะจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระสาขาก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้าที่มีพระราชบัญญัติรองรับเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค แต่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันยังไม่มีการดำเนินการใดๆ ทั้งสิ้น

๔. ผลประโยชน์นักเล่นหุ้นสำคัญกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม สำหรับนักลงทุนนั้นรัฐกลับประกันผลตอบแทนการลงทุนขยายท่อก๊าซให้อย่างงาม (IRROE = ๑๖ เปอร์เซ็นต์) โดยนายแพทย์พรหมมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานฯ ได้กล่าวชี้แจงต่อข้อสังเกตของนายเจน นำชัยศิริ จากสภาอุตสาหกรรม (ในงานเสวนาโต๊ะกลมที่ประชาชาติธุรกิจเมื่อวันที่ ๗ ม.ค.๒๕๔๗) ถึงความเหมาะสมของการที่ ครม. มีมติให้ประกันผลตอบแทนการลงทุนท่อก๊าซของ ปตท.ในระดับที่สูงมาก (๑๖ เปอร์เซ็นต์) ทั้งที่เป็นกิจการผูกขาดว่า “รัฐไม่สามารถทำอะไรได้เพราะตอนขายหุ้นจอง ปตท. ได้เขียนล็อกไว้แล้วว่า Equity IRR ของ ปตท. จะต้องเท่ากับ ๑๖ เปอร์เซ็นต์”

Image๕. อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจ “ธรรมาภิบาล” ของรัฐบาลผ่านตลาดหุ้น เพราะธรรมาภิบาลผ่านกลไกของตลาดหุ้นไม่ใช่หลักประกันของประชาชน ข้ออ้างที่ว่า ปตท.ยังเป็นรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากคำว่า “รัฐวิสาหกิจ” นิยามไว้เพียงว่า รัฐจะต้องถือหุ้นในบริษัทอย่างต่ำ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ณ ปัจจุบัน ปตท. มีหุ้นส่วนเป็นของเอกชนถึง ๔๘ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งที่เหลือเป็นของรัฐบาลเพียงแค่ ๕๒ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น อีกทั้งเรื่องการรั่วไหลของผลประโยชน์ซึ่งเคยเป็นของ ปตท. อันได้แก่ ผลกำไรนับแต่มีการแปรรูป จำนวน ๑๙๐,๒๘๔ ล้านบาท ซึ่งควรตกเป็นของรัฐ กลับต้องแบ่งไปให้เอกชนทั้งในรูปของเงินปันผล จำนวนกว่า ๑๗,๐๐๐ ล้านบาท และในรูปแบบของราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้น จาก ๓๕ บาทต่อหุ้น เป็น ๒๐๘ บาทต่อหุ้น (ณ วันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๔๘) ซึ่งคิดเป็นมูลค่าประมาณ ๒๓๔,๐๐๐ ล้านบาท

รวมไปถึงการที่เจ้าหน้าที่ระดับผู้บริหารของกระทรวงพลังงานซึ่งเป็นตัวแทนของกระทรวงในการดูแลผลประโยชน์ในเรื่องพลังงาน และปากท้องของผู้ใช้พลังงาน กลับทำงานโดยหวังเบี้ยประชุมในการประชุมแต่ละครั้ง (ครั้งละไม่ต่ำกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท) และเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทมากกว่ารักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ

และนอกจากผู้ถือหุ้นบริษัท ปตท. ที่ได้ รับประโยชน์เป็นกอบเป็นกำจากการแปรรูป ปตท. แล้ว พนักงานบริษัท ปตท. เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ดังจะเห็นได้ว่า ค่าจ้างพนักงาน ปตท. ในปี ๒๕๔๓ ที่ได้รับเฉลี่ย ๘๑๗,๐๐๐ บาท/คน/ปี เพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ย ๑,๑๔๒,๐๐๐ บาท/คน/ปี ในปี ๒๕๔๖ หรือเพิ่มขึ้นถึง ๔๐ เปอร์เซ็นต์ ในระยะเวลาเพียง ๓ ปี

สำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อประชาชนโดยตรง ซึ่งนั่นคือ

น้ำมัน ก่อนการแปรรูป ปตท.เคยมีบทบาทหลักในการตรึงราคาน้ำมันในภาวะที่ราคาในตลาดโลกสูง ซึ่งเป็นการทำเพื่อผลประโยชน์ของประเทศ ไม่ใช่คิดถึงผลประโยชน์ของ ปตท.เป็นตัวตั้ง แต่หลังจากแปรรูป ปตท.แล้ว เมื่อรัฐบาลมีนโยบายตรึงราคาน้ำมัน รัฐต้องใช้กองทุนน้ำมันในการตรึงราคาน้ำมัน ซึ่งขณะนั้น (มีนาคม ๒๕๔๘) ปรากฏว่ากองทุนน้ำมันมีหนี้สะสมจากการตรึงราคาน้ำมันถึง ๗ หมื่นล้านบาทแล้ว ในขณะที่การบริโภคน้ำมันไม่ได้ลดลงตามกลไกราคาที่แท้จริง หนี้สินก้อนมหึมานี้จะกลายเป็นภาระของผู้บริโภคในอนาคต เพราะเมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลง รัฐบาลก็จะไม่สามารถลดราคาน้ำมันในประเทศได้ เนื่องจากต้องหาเงินไปชดเชยกองทุนน้ำมัน โดยสรุปแล้ว ผู้ที่ได้ประโยชน์สูงสุดจากการตรึงราคาน้ำมันก็คือ ปตท. ในฐานะผู้ขายน้ำมัน

ก๊าซหุงต้ม ก่อนการแปรรูป รัฐบาลใช้นโยบายตรึงราคาก๊าซหุงต้มเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ก๊าซในราคาถูก แต่ในปี ๒๕๔๔ ซึ่งมีการแปรรูป ปตท. รัฐบาลได้ประกาศราคาก๊าซหุงต้มลอยตัว ทำให้ราคาสูงขึ้นเป็นลำดับ จากราคาถังละ ๑๖๐ บาท ปัจจุบันราคาถังละเกิน ๓๐๐ บาทแล้ว ก๊าซหุงต้มถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนชั้นล่าง และส่วนหนึ่งใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถแท็กซี่ แต่ก๊าซหุงต้มถือเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง และ ปตท.กำลังหาช่องทางที่จะจำหน่ายเป็นสินค้าส่งออก ซึ่งในอนาคตผู้บริโภคอาจได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นอีก

อีกตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่า ปัจจุบันธุรกิจของปตท. มีเป้าหมายหลักอยู่ที่กำไรสูงสุดโดยการผลักภาระให้ประชาชนก็คือ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๗ ปตท.ได้ลดการส่งก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยให้แก่ กฟผ.ปริมาณ ๑๐๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพื่อนำก๊าซจำนวนดังกล่าวไปให้แก่ภาคอุตสาหกรรมเอกชน ซึ่งได้ราคาสูงกว่า กฟผ. ทำให้ กฟผ. ต้องใช้น้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้าแทนเป็นเวลา ๑๐ เดือน โดยต้นทุนเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น ๑,๕๐๐ ล้านบาททำให้ผู้บริโภคต้องรับภาระค่าเอฟทีเพิ่มขึ้น ๑๕๐ – ๒ สตางค์ต่อหน่วย (นสพ.กรุงเทพธุรกิจ, ๒๒ พ.ย.๔๗) ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้อาจจะไม่เกิดขึ้นหากรัฐบาลได้ทำตามสัญญาที่ให้ไว้ก่อนแปรรูป โดยการเปิดให้มีการแข่งขันในธุรกิจจัดหาก๊าซ และมีการจัดตั้งองค์กรอิสระขึ้นมากำกับดูแลกิจการก๊าซธรรมชาติ

สรุปแล้ว บทเรียนจากกรณี ปตท. คือ การแปรรูป... คือ การปล้นเงียบ และปล้นอย่างถูกกฎหมาย อย่างสง่างาม แล้วเราควรจะปล่อยให้ กฟผ. เจริญรอยตาม ปตท.?

คงต้องขอปิดท้ายด้วย โฆษณา ปตท. โดย ทีมงาน ผู้จัดกวน ที่ว่า

“เราอยากให้ทุกคนรู้ว่า กำไรของกลุ่มบริษัท ปตท. ๓๐ เปอร์เซ็นต์ กลับไปสู่คนบางจำพวก
เป็นงบประมาณในการพัฒนาครอบครัวกลุ่มผู้ถือหุ้น
ซึ่งเป็นการขูดรีดเลือดเนื้อประชาชนจากกำไรมหาศาลของโรงกลั่นและก๊าซธรรมชาติ
ปตท. แข็งแรงเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของนายทุน
บริษัท ปตท. จำกัด (บางคน)
พลังไทย เพื่อใคร?”

เรียบเรียงจาก
- บทเรียนจากการแปรรูป ปตท. โดย ชื่นชม สง่าราศรี กรีเซน นักวิชาการอิสระ
- ประสบการณ์จากกรณี ปตท. แปรรูป...ประชาชนได้อะไร? กลุ่มพลังไท/กลุ่มศึกษาพลังงานทางเลือกเพื่ออนาคต
- www.manager.co.th


เป็นนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง (King’s Scholarship) จบปริญญาตรีด้านวิศวะสิ่งแวดล้อมที่ Dartmouth แล้วได้ทุนรัฐบาลเรียนต่อปริญญาโทด้านพลังงานทรัพยากรที่ เบิร์กลีย์ แคลิฟอร์เนีย จากนั้นกลับมารับราชการใช้ทุนอยู่ที่สำนักนโยบายและแผนพลังงาน โดยทำงานในส่วนที่เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้า ตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ – ๒๕๔๖ จนครบกำหนดชดใช้ทุนจึงลาออกมาทำงานอิสระให้ภาคประชาชน

ที่มา : รายงานประจำปี ปตท. ๒๕๔๔ - ๒๕๔๖ ข้อมูลจาก www.settrade.com, www.pttplc.com

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >