หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 40 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


เป็นหนึ่งเดียวกันด้วยใจที่เปิดกว้าง พิมพ์
Thursday, 01 June 2006


เป็นหนึ่งเดียวกันด้วยใจที่เปิดกว้าง

โดย บาทหลวง อิกญาซิอุส อิสมาร์โตโน ( Ignatius Ismartono)


บาทหลวง อิกญาซิอุส อิสมาร์โตโน เอสเจคุณพ่ออิสมาร์โตโน ได้ยกตัวอย่างความรุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีความขัดแย้งระหว่างศาสนามาเป็นเวลาช้านานแล้ว ในอินโดนีเซียนั้นประชากรส่วนใหญ่ประมาณ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ นับถือศาสนาอิสลาม ส่วนอีก ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ ฮินดู และพุทธ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในอินโดนีเซียสร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ความรุนแรง กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบมักจะทำลายศาสนสถานโดยการเผา วางระเบิดโบสถ์ของชาวคริสต์ และมัสยิดของมุสลิม หลายต่อหลายแห่ง เพื่อหวังทำลายความสัมพันธ์ระหว่างศาสนิกต่างศาสนาให้มีความเกลียดชัง มีความหวาดกลัวและหวาดระแวงซึ่งกันและกัน

ด้วยเหตุนี้พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศอินโดนีเซียจึงพยายามที่จะสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนิกต่างศาสนา โดยเน้นให้ศาสนิกทุกศาสนาหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องของการสื่อสารระหว่างศาสนาและความเชื่อที่แตกต่างกัน เพราะเห็นว่าการสื่อสารระหว่างศาสนาและการยอมรับความเชื่อที่แตกต่างกัน หากทุกฝ่ายตระหนักและรับฟังอย่างจริงจังย่อมเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้วยใจที่เปิดกว้าง

คุณพ่ออิสมาร์โตโน กล่าวว่า การสื่อสารระหว่างชนต่างศาสนาจะสะท้อนให้เห็นถึงบรรยากาศ ๔ ลักษณะ คือ
๑) การเป็นศัตรูกัน
๒) การอดกลั้น
๓) การเสวนา และ
๔) การเป็นพี่น้องกันอย่างแท้จริง

ซึ่งการเสวนาระหว่างศาสนิกจะเปลี่ยนจากการเป็นศัตรูมาสู่การเป็นพี่น้องกันได้ คุณพ่อได้ชี้ให้เห็นว่าความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรงนั้นเกิดจากสาเหตุซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องศาสนาเลย นั่นคือ จากปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ และศาสนาก็มีบทบาทสำคัญเมื่อความขัดแย้งเกิดขึ้น ผู้นำทางศาสนาต่างก็ถูกเชิญให้มาแสดงความเสียใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและเรียกร้องให้ศาสนิกของตนแสดงความอดทนและหลีกเลี่ยงที่จะไม่ตอบโต้อย่างเหี้ยมโหด ตลอดจนเรียกร้องให้รัฐบาลดูแลความปลอดภัยแก่ประชาชน บทบาทของผู้นำชุมชนและผู้นำศาสนาในการเข้าไปเยี่ยมพื้นที่ที่เกิดความขัดแย้งและใช้ความรุนแรงจะช่วยบรรเทาสถานการณ์อันตึงเครียดได้ แม้ว่าการเยี่ยมเยียนจะเป็นเพียงสัญลักษณ์ก็ตาม แต่ก็สามารถช่วยให้ผู้ที่มีความขัดแย้งกันเริ่มหาทางประสานรอยร้าวได้

บรรยากาศของความอดกลั้น เพราะความอดกลั้นคือพื้นฐานของสังคมที่เจริญแล้ว ซึ่งขึ้นอยู่กับความตั้งใจจริงและความรู้ที่คนๆ นั้นมีเกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ บทบาทของผู้นำศาสนาจะต้องให้การสนับสนุน ศึกษาเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างลึกซึ้ง แต่ลำพังความอดกลั้นเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอเพราะความอดกลั้นไม่สามารถทำให้เกิดการสื่อสารระหว่างกัน จึงจำเป็นต้องมีการเสวนา เพื่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ต่อกัน การให้แนวคิดเรื่องความหลากหลายเป็นสิ่งสำคัญ ศาสนิกแต่ละศาสนาควรเลิกคิดและรู้สึกว่าศาสนาที่ตนนับถือดีกว่าศาสนาอื่น แต่ควรเข้าใจว่าศาสนาต่างๆ ล้วนมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกัน แต่ทุกศาสนาต่างก็มีสิ่งที่ละม้ายคล้ายกันอยู่ ผู้นำชุมชนและผู้นำศาสนามีบทบาททำให้ศาสนิกได้แลกเปลี่ยนแรงบันดาลใจ ทำความเข้าใจเรื่องคุณธรรมต่างๆ อย่างละเอียด และพัฒนาการเคารพซึ่งกันและกัน ดังเห็นได้จากการที่รัฐบาลอินโดนีเซีย โดยกระทรวงศาสนา ได้เชิญผู้นำศาสนามาริเริ่มการเสวนาระหว่างกันโดยมีจุดมุ่งหมายสร้างความปรองดองต่อกันระหว่างผู้นับถือศาสนาเดียวกัน ผู้นับถือศาสนาต่างกัน และระหว่างศาสนาต่างๆ กับรัฐบาล

สร้างบรรยากาศแห่งการเป็นพี่น้องกันอย่างแท้จริง มิตรภาพและความร่วมมือกันจะเกิดขึ้นเมื่อศาสนิกต่างศาสนาต่างก็เอาใจใส่ในการแลกเปลี่ยนความคิดและแรงบันดาลใจซึ่งกัน ดังนี้แล้วความสมานฉันท์จะแสดงออกผ่านการทำงานร่วมกันเพื่อคุณงามความดีที่เป็นสากล

“ทุกศาสนาต่างตระหนักมากยิ่งขึ้นแล้วว่า ในความเป็นจริงเราอาศัยอยู่ในโลกที่มีความแตกต่างหลากหลาย ซึ่งนี่คือความท้าทายใหม่สำหรับทุกคนที่จะเข้าใจว่าความแตกต่างมีความหมายว่าอย่างไร ในอดีตความแตกต่างถูกเข้าใจเพียงว่า จะทำอย่างไรจึงสามารถกำจัดผู้ที่แตกต่างออกไป แต่ในปัจจุบันความแตกต่างสะท้อนออกมาในแนวความคิดเรื่องความหลากหลาย การมีอยู่ของความต่างถูกมองจากสายตาแห่งการร่วมไม้ร่วมมือกัน จากการสรรหาวิธีการเสริมสร้างกันและกันให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น อาศัยความเคารพในกันและกันเพื่อบรรลุพันธกิจร่วมกัน สำหรับอินโดนีเซียนั้น ข้อสรุปหนึ่งที่ได้จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องความหลากหลายคือ ก่อนที่การร่วมมือกันจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีการยอมรับเรื่องความหลากหลายที่มีอยู่ร่วมกันเสียก่อน การร่วมมือกันจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประชาชนที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน การร่วมมือกันจะช่วยให้พวกเขาสามารถปั้นแต่งโลกให้เป็นสถานที่ซึ่งมนุษย์ผู้เป็นที่รักของพระเป็นเจ้าจะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี” บทสรุปจากคุณพ่ออิกญาซิอุส อิสมาร์โตโน เอสเจ

Image



เรียบเรียงจาก
บทความของบาทหลวง Ignatius Ismartono พระสงฆ์คณะเยสุอิต ชาวอินโดนีเซีย : ผู้ประสานงานในวิกฤติ และการคืนดีในพื้นที่ความขัดแย้งของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งใช้ประกอบการบรรยายในงานสัมมนาพระสงฆ์ นักบวช และฆราวาส ประจำปี ๒๐๐๕ ของสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๘ ณ บ้านชุมพาบาล อ. เมือง จ. สุราษฎร์ธานี

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >