หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 709 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


สาระสำคัญของสาร ปี 2001/2544 : การเสวนาระหว่างวัฒนธรรม เพื่อการสร้างอารยธรรมแห่งความรักและสันติภาพ พิมพ์
Friday, 19 May 2006

สาระสำคัญของสารวันสันติภาพสากล
ของสมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น พอล ที่ 2
1 มกราคม 2001/2544
การเสวนาระหว่างวัฒนธรรม เพื่อการสร้างอารยธรรมแห่งความรักและสันติภาพ

สารปี 2001 เป็นการเริ่มต้นสหัสวรรษใหม่ และเป็นการมุ่งหวังมากขึ้นว่าความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนจะยิ่งได้รับแรงบันดาลใจเพิ่มมากขึ้นจากความใฝ่ฝันถึงภราดรภาพสากลที่แท้จริง

และในปี 2001 นี้ องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้เป็น “ปีสากลแห่งการเสวนาระหว่างอารยธรรม” ด้วย และสารฉบับนี้ชวนให้เราไตร่ตรองพิจารณาหัวข้อว่าด้วยการเสวนาระหว่างวัฒนธรรมและประเพณี ซึ่งการเสวนาที่ว่านี้เป็นวิถีทางที่จำเป็นต่อการสร้างโลกที่มนุษย์คืนดีกัน เป็นโลกที่สามารถมุ่งสู่อนาคตได้อย่างปลอดโปร่งและถาวรมั่นคงด้วยสันติภาพ

สารฉบับนี้ แม้จะมีความหวังถึงสันติภาพที่แท้จริง แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่ามีเมฆหมอกหนาทึบมาบดบังความหวังไว้ เพราะมนุษยชาติกำลังเริ่มต้นประวัติศาสตร์บทใหม่ด้วยบาดแผลใหญ่ๆ หลายๆ ภูมิภาคยังถูกรุมเร้าด้วยความขัดแย้งที่ขมขื่นถึงขนาดหลั่งเลือด และต่างก็ยังดิ้นรนด้วยความยากลำบากมากยิ่งขึ้นที่จะรักษาความสมานฉันท์ระหว่างประชาชนต่างวัฒนธรรมและอารยธรรม ที่อาศัยอยู่ในดินแดนเดียวกัน

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 บอกไว้ในสารฉบับนี้ว่า “เราทุกคนรู้ว่าเป็นการยากเหลือเกินที่จะขจัดความแตกต่างระหว่างฝ่ายต่างๆ ในเมื่อความเกลียดชังแต่โบราณและปัญหารุนแรงที่ไม่มีทางแก้ไขได้ง่ายนั้น กลับสร้างบรรยากาศแห่งความโกรธแค้น และเพิ่มความรุนแรงขึ้น แต่สิ่งที่เป็นอันตรายต่อสันติภาพในอนาคตไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันก็คือการไม่สามารถใช้ “ปัญญา” แก้ปัญหาที่เกิดจากสภาพสังคมใหม่ๆ ในหลายๆ ประเทศ อันเป็นผลมาจากการอพยพที่เพิ่มมากขึ้น และเกิดสถานการณ์ที่ไม่เคยมีมาก่อน ที่ประชาชนต่างวัฒนธรรมและอารยธรรมต้องมาอยู่ด้วยกัน

สารบอกไว้ว่า แม้จะเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะถือว่าวัฒนธรรมของตนเองมีคุณค่า แต่จำเป็นที่จะต้องรับรู้ด้วยว่า “ทุกๆ วัฒนธรรมก็มีข้อจำกัดของตน” ตามสภาพความเป็นจริงของมนุษย์และของประวัติศาสตร์ หากจะป้องกันมิให้เกิดความคิดที่ถือว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่งจนกลายเป็นการ “แยกตัว” นั้น วิธีแก้ที่มีผลก็คือ “การเรียนรู้จักวัฒนธรรมอื่นๆ อย่างชัดเจนและปราศจากอคติใดๆ”

ยิ่งกว่านั้น เมื่อศึกษาวัฒนธรรมอย่างรอบคอบและถูกต้อง เราจะพบว่าใต้เปลือกนอกวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างกันนั้น มักจะมี “องค์ประกอบที่สำคัญร่วมกัน” เพราะฉะนั้น เราจึงควรเข้าใจความหลากหลายของวัฒนธรรมในขอบเขตที่กว้างขึ้น คือ “ความเป็นเอกภาพของมนุษยชาติ”

ในอดีต ความแตกต่างทางวัฒนธรรมมักจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดระหว่างประชาชาติ และเป็นสาเหตุของความขัดแย้งและสงคราม แม้ในช่วงเวลานั้นก็ยังพบสัญญาณเตือนให้เห็น “การอ้างสิทธิที่วัฒนธรรมหนึ่งๆ กระทำต่ออีกวัฒนธรรมหนึ่งๆ อย่างก้าวร้าว” ซึ่งมีเพิ่มมากขึ้นทุกวันในส่วนต่างๆ ของโลก

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 เตือนไว้ในสารฉบับนี้ว่า “ในระยะยาวสถานการณ์การรุกรานทางวัฒนธรรมจะนำไปสู่ความตึงเคีรยดและความขัดแย้งที่ก่อให้เกิดหายนะได้ อย่างน้อยสถานการณ์เช่นนี้ก็ทำให้ชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมต้องประสบกับความยากลำบาก ในการอาศัยอยู่ในสังคมที่มีวัฒนธรรมของชนส่วนมาก ซึ่งแตกต่างจากวัฒนธรรมของตนและทำให้เสี่ยงต่อการเกิดความคิดและการกระทำที่เป็นอริและแบ่งแยกเชื้อชาติ”

สารฉบับนี้กล่าวไว้อย่างน่าคิดว่า “การคลั่งไคล้เอกลักษณ์ถึงขั้นรุนแรง นับว่าน่าเป็นห่วง แต่ที่เป็นอันตรายไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันก็คือ “การตกเป็นทาสทางวัฒนธรรม” ตามรูปแบบวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลจากโลกตะวันตก เพราะการปลีกตัวออกห่างจากต้นกำเนิดของคริสตศาสนาของตน ทำให้รูปแบบทางวัฒนธรรมเหล่านี้ มักจะได้รับอิทธิพลจากแนวทางชีวิตที่เน้นเรื่องฝ่ายโลก ไม่นับถือพระเจ้า และด้วยรูปแบบปัจเจกชนนิยมอย่างโจ่งแจ้งเป็นประการสำคัญ”

นี่คือปรากฏการณ์ส่วนใหญ่ที่ได้รับการค้ำจุนโดยสื่อมวลชนอันทรงพลัง ซึ่งมุ่งที่จะเผยแพร่วิถีชีวิต แผนการทางสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งรูปแบบวัฒนธรรมตะวันตก มักจะมีเสน่ห์ชวนหลงใหลเพราะมีพื้นฐานที่น่าตื่นตาตื่นใจจากวิทยาศาสตร์และวิชาการ แต่สารฉบับนี้ระบุไว้ว่า “วัฒนธรรมตะวันตกเหล่านี้ลดคุณค่าของมนุษย์ ชีวิตจิต และศีลธรรมลงอย่างมาก และเป็นวัฒนธรรมที่พยายามจะขจัดพระเป็นเจ้า ซึ่งเป็นองค์ความดีสูงสุด”

สารฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่า “วัฒนธรรมที่ไม่นับถือพระเจ้าก็จะสูญเสียจิตวิญญาณของตน หลงทาง และกลายเป็นวัฒนธรรมแห่งความตาย”

เนื้อหาของสารกล่าวอย่างชัดเจนว่า “มนุษย์แต่ละคนบรรลุวุฒิภาวะโดยการเปิดใจกว้างรับผู้อื่น และด้วยการให้ตัวเองแก่ผู้อื่นอย่างใจกว้าง วัฒนธรรมเองก็เช่นกัน มนุษย์เป็นผู้สร้างวัฒนธรรมเพื่อให้รับใช้ตน วัฒนธรรมจึงต้องมีการเสริมสร้างให้สมบูรณ์ด้วยการเสวนาและด้วยความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกันบนพื้นฐานเอกภาพดั้งเดิมของครอบครัวมนุษยชาติ เพราะครอบครัวมนุษยชาติมาจากพระหัตถ์ของพระเจ้า”

สารฉบับนี้บอกกับเราว่า “ความเป็นหนึ่งเดียวกัน มิได้หมายถึงความเหมือนกันแบบไม่มีชีวิตชีวา หรือการผสมผสานเข้ากัน โดยการบังคับขืนใจ หรือโดยการถูกกลืน แต่เป็นการแสดงให้เห็นถึงการพบกันของรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งเป็นเครื่องหมายของความร่ำรวยและคำสัญญาของความเจริญก้าวหน้าที่แท้จริง”

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 กล่าวไว้ในสารฉบับนี้ว่า “เมื่อต้องเผชิญกับความไม่เสมอภาคในโลกมากขึ้นทุกวัน คุณค่าหลักที่ต้องส่งเสริมให้เกิดขึ้นในวงกว้างมากยิ่งๆ ขึ้นนั้น คือ ความสมานฉันท์”

ซึ่ง “การส่งเสริมความยุติธรรม” เป็นหัวใจของวัฒนธรรมแห่งความสมานฉันท์ที่แท้จริง เรื่องนี้มิใช่เพียงแค่การให้ส่วนเกินของตนแก่ผู้ที่ต้องการเท่านั้น แต่ยังหมายถึง “การช่วยประชาชาติทั้งมวลที่ถูกกีดกันและถูกขับออกไปอยู่ชายขอบ ให้เข้ามาในแวดวงการพัฒนาทางเศรษฐกิจและพัฒนามนุษย์ หากจะให้สิ่งนี้เกิดขึ้น ไม่เป็นการเพียงพอที่จะอวดอ้างชักจูงด้วยปัจจัยส่วนเกิน ซึ่งตามความจริงแล้วโลกของเราผลิตได้อย่างมากมายอยู่แล้ว แต่เหนือสิ่งอื่นใดเราต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต เปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตและการบริโภค ทั้งเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจที่กำกับสังคมอยู่ในปัจจุบัน”

และ “การเสวนาระหว่างวัฒนธรรมที่แท้จริง” นอกจากจะต้องตระหนักถึงการเคารพกันและกันแล้ว ต้องไม่ลืมส่งเสริมความสำนึกที่แจ่มชัดเกี่ยวกับ “คุณค่าชีวิต” ซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 กล่าวไว้ในสารฉบับนี้ว่า “เราไม่อาจถือว่าชีวิตมนุษย์เป็นเพียงวัตถุที่เราสามารถทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ แต่เราต้องถือว่าชีวิตคือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และไม่อาจล่วงละเมิดได้ โลกจะไม่มีสันติภาพหากความดีพื้นฐานที่สุดนี้ ไม่ได้รับการคุ้มครอง และเป็นไปไม่ได้ที่จะเรียกร้องสันติภาพ แต่เหยียดหยามชีวิต”

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 ยังกล่าวไว้อีกว่า “แม้ในยุคสมัยของเราจะมีตัวอย่างความใจกว้างและการอุทิศตนเพื่อรับใช้ชีวิต แต่ยังมีภาพอันน่าสลดของคนนับร้อยล้านทั้งชายและหญิงที่ความโหดร้ายและความเพิกเฉยทำให้พวกเขามีอนาคตที่เจ็บปวดและมืดมน ข้าพเจ้าหมายถึงวงจรอุบาทว์แห่งความตาย ซึ่งรวมการฆาตกรรม การฆ่าตัวตาย การทำแท้ง การุณยฆาต การทำให้พิการ การทารุณทั้งทางกายและจิตใจ การบังคับอย่างไม่ยุติธรรมในรูปแบบต่างๆ การคุมขังโดยพลการ การหวนกลับไปใช้โทษประหารชีวิตโดยไม่จำเป็น การเนรเทศ การเป็นทาส การประเวณี การค้าผู้หญิงและเด็ก นอกจากที่กล่าวมาแล้ว เรายังต้องเพิ่มพันธุวิศวกรรมศาสตร์ที่ขาดความรับผิดชอบ เช่น การโคลนนิ่งและการใช้ตัวอ่อนมนุษย์เพื่อการวิจัย ซึ่งมักอ้างอย่างไม่ชอบธรรมถึงเสรีภาพ ความก้าวหน้าทางวัฒนธรรม และความเจริญของมนุษยชาติ เมื่อสมาชิกที่อ่อนแอและเปราะบางที่สุดของสังคมต้องตกเป็นเหยื่อของความโหดร้ายดังกล่าว ความคิดในเรื่องครอบครัวมนุษยชาติที่สร้างอยู่บนคุณค่าของตัวมนุษย์ ความไว้ใจ การเคารพกัน และการสนับสนุนซึ่งกันและกันก็จะเสื่อมถอยลงอย่างน่าอันตราย อารยธรรมที่อยู่บนพื้นฐานของความรักและสันติภาพจะต้องคัดค้านการทดลองเหล่านี้ ซึ่งไม่เหมาะสมกับมนุษย์เลย”

สารฉบับนี้บอกกับเราว่า “เพื่อจะสร้างอารยธรรมแห่งความรักนั้น การเสวนาระหว่างวัฒนธรรมจะต้องมุ่งขจัดความเห็นแก่ตัวทางเชื้อชาติให้หมดสิ้นไป และช่วยให้มนุษย์สามารถประสานการเคารพ เอกลักษณ์ของตนกับความเข้าใจในเอกลักษณ์ของผู้อื่น และการเคารพต่อความหลากหลาย”

แม้การเสวนามักจะเป็นเรื่องยาก เพราะถูกถ่วงด้วยมรดกอันโหดร้ายจากสงคราม ความขัดแย้ง ความรุนแรง และความเกลียดชัง ซึ่งยังคงอยู่ในความทรงจำของประชาชน เนื่องด้วยเกิดมีเขตแดนอันเนื่องมาจากการขาดการติดต่อกันนั้น เขตแดนนี้จะต้องเชื่อมกันโดยหนทางการให้อภัยและการคืนดีกัน หลายคนถือว่าสิ่งนี้เป็น “อุดมการณ์ที่เพ้อฝัน” แต่ในมุมมองของคริสตชนแล้ว หนทางนี้เท่านั้นที่จะนำไปสู่เป้าหมายของสันติภาพได้

ในช่วงท้ายของสารฉบับนี้ สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 ฝากความหวังไว้ที่บรรดาเยาวชนคนหนุ่มสาวจากทุกวัฒนธรรมและภาษา พระองค์เชื่อมั่นว่าเยาวชนทั้งชายหญิง จะเป็นผู้สร้างความสมานฉันท์ สันติภาพ และความรักชีวิต ด้วยการเคารพมนุษย์ทุกคน นอกจากนี้ บรรดาเยาวชนคือผู้สร้างมนุษยชาติใหม่ ซึ่งเป็นพี่น้อง ทุกคนเป็นสมาชิกของครอบครัวเดียวกัน และในที่สุดก็สามารถดำรงชีวิตในสันติสุข

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >