หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow ชีวิตที่ต้องมีความอ้างว้างเป็นเพื่อน : พระไพศาล วิสาโล
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 181 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ชีวิตที่ต้องมีความอ้างว้างเป็นเพื่อน : พระไพศาล วิสาโล พิมพ์
Wednesday, 06 June 2012


 

 

 

 

 

 

 

 

นิตยสาร สารคดี ฉบับที่ 276 กุมภาพันธ์ 2551 

 

ชีวิตที่ต้องมีความอ้างว้างเป็นเพื่อน

พระไพศาล วิสาโล

 


คนเรามักจะรู้สึกเหงาและว้าเหว่เมื่ออยู่ไกลบ้าน ห่างเหินจากมิตรสหาย แต่บางครั้งแม้อยู่บ้านก็ยังรู้สึกเหงาและว้าเหว่อยู่นั่นเอง ความรู้สึกดังกล่าวเกิดขึ้นด้วยหลายสาเหตุ แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันก็คือ มีอะไรบางอย่างขาดหายไปจากชีวิตของเรา

อะไรบางอย่างนั้นอาจได้แก่ เพื่อน คนรัก พี่น้อง พ่อแม่ หรือคนใกล้ชิดที่เคยเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเราหรือคนที่เรารู้สึกผูกพันด้วย แต่บางครั้งสิ่งที่ขาดหายไปนั้น เราอาจไม่เคยมีมาก่อนเลย แต่จิตใจโหยหาอยู่ลึกๆ เช่น ความรักที่จริงใจ ครอบครัวที่อบอุ่น หรือชุมชนที่เรารู้สึกสนิทแนบแน่น

ความเหงาและว้าเหว่อาจเกิดขึ้นท่ามกลางชีวิตที่เร่งรีบและกลุ่มชนที่พลุกพล่าน แต่ไม่ว่ารอบตัวจะวุ่นวายเพียงใด ภายในใจนั้นกลับวังเวง เปล่าเปลี่ยวอย่างยิ่ง เพราะลึกๆ เรารู้สึกแปลกแยกกับผู้คน หรือรู้สึกว่านี่ไม่ใช่ "ที่" ของเรา กล่าวอีกนัยหนึ่ง เรากำลังโหยหา "บ้าน" ที่แท้จริง

บ้านที่ใจใฝ่หาอาจหมายถึงผู้คนหรือชุมชนที่มีความรู้สึกนึกคิดร่วมกับเรา มีมุมมองหรือวิถีชีวิตเหมือนกับเรา พูดภาษาเดียวกับเรา สามารถแบ่งปันความรู้สึกได้อย่างไม่ต้องปิดบัง ชุมชนดังกล่าวอาจเป็นชุมชนที่ดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง หรือมาร่วมกันเป็นครั้งคราว อาจเป็นชุมชนทางชาติพันธุ์ ชุมชนทางการเมือง ชุมชนทางศาสนา ชุมชนทางอินเทอร์เน็ต หรือแม้แต่แก๊งมอเตอร์ไซค์

เพียงแค่มีความเห็นต่างกับคนรอบตัวก็อาจทำให้บางคนรู้สึกเปล่าเปลี่ยวแปลกแยก ถึงกับต้องแสวงหากลุ่มคนที่คิดตรงกัน หลายคนที่รักทักษิณจึงรู้สึกอบอุ่นเหมือนอยู่บ้านเมื่อได้เข้าร่วมการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ(นปก.) ที่ท้องสนามหลวง เช่นเดียวกับชาวพุทธจำนวนมากรู้สึกเหมือนกลับบ้านเมื่อได้ไปสำนักสันติอโศกหรือวัดพระธรรมกาย

บางครั้งความรู้สึกเปล่าเปลี่ยวแปลกแยกหรือเหงาลึกอาจเกิดขึ้นกับคนทั้งรุ่น จนเกิดความรู้สึกเหินห่างหมางเมิน หรือถึงกับเป็นปฏิปักษ์กับคนที่เหลือ เกิดความรู้สึกเป็น "เรา" กับ "เขา" อย่างชัดเจน ดังคนหนุ่มสาวในอเมริกาและยุโรปช่วงคริสต์ทศวรรษ ๑๙๖๐ จนนำไปสู่เหตุการณ์จลาจลในปี ค.ศ. ๑๙๖๘ และขยายมาสู่หลายประเทศในเอเชีย รวมทั้งไทย ซึ่งปะทุเป็นเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๑๖ และการแบ่งขั้วอย่างรุนแรงหลังจากนั้น

ความรู้สึกทำนองเดียวกันกำลังเกิดกับหนุ่มสาวชาวมุสลิมที่เกิดในยุโรป คนเหล่านี้ไม่รู้สึกผูกพันกับสังคมยุโรปซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนผิวขาวนับถือ (หรือเคยนับถือ) ศาสนาคริสต์ ขณะเดียวกันก็ไม่รู้สึกแนบแน่นกับชุมชนชาวมุสลิมรุ่นพ่อแม่ ซึ่งแม้อพยพมาอยู่ยุโรปนับสิบปีแล้ว แต่ยังมีรากเหง้าฝังลึกอยู่กับมาตุภูมิ (เช่น อินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ) หนุ่มสาวชาวมุสลิมเหล่านี้ไม่รู้สึกว่าประเทศเหล่านั้นเป็น "บ้าน" ของตัว จึงรู้สึกอ้างว้างเปล่าเปลี่ยวอยู่ลึกๆ ดังนั้นจึงง่ายที่จะเข้าร่วมกับกลุ่มหัวรุนแรงที่สามารถตอบสนองความต้องการมีชุมชนที่ตนรู้สึกสนิทแนบแน่น เป็นชุมชนที่มีความรู้สึกนึกคิดร่วมกันทั้งในด้านศาสนา อุดมการณ์ทางการเมือง และความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์กับสภาพสังคมที่เป็นอยู่

ทั้งหมดนี้กล่าวได้ว่าเป็นความเหงา ว้าเหว่ เปล่าเปลี่ยว หรือแปลกแยก ด้วยเหตุผลทางสังคม คือการเหินห่างจากกลุ่มคนหรือชุมชนที่มีคุณลักษณะร่วมกัน อันได้แก่ ชาติพันธุ์ อุดมการณ์ ศาสนา ภาษา วิถีการดำเนินชีวิต รสนิยม รวมไปถึงรูปลักษณ์และอาการทางกาย (คนขี้เหร่หรือผู้ป่วยเอดส์อาจรู้สึกแปลกแยกเมื่ออยู่ท่ามกลางคนสวยหรือคนมีสุขภาพดี)

อย่างไรก็ตาม แม้จะได้มาอยู่ท่ามกลางผู้คนหรือชุมชนที่ให้ความรู้สึกเสมือน "บ้าน" แต่หลายคนกลับพบว่าความรู้สึกเหงา อ้างว้าง ว่างเปล่า ก็ยังมารบกวนอยู่ เหมือนกับว่ายังมีบางอย่างขาดหายไป ความรู้สึกดังกล่าวอาจเรียกรวมๆ กันว่าความรู้สึกพร่อง ความรู้สึกพร่องทำให้ชีวิตที่เคยมีรสชาติ กลายเป็นน่าเบื่อ จืดชืด ชวนเซื่องซึม แต่ละวันผ่านไปอย่างซังกะตาย

คนจำนวนไม่น้อยหาทางออกด้วยการเที่ยวเตร่สนุกสนาน หรือแสวงหาสิ่งตื่นเต้นเร้าใจด้วยสิ่งเสพนานาชนิด ทั้งอาหาร เสียงเพลง และเพศรส แต่ก็บรรเทาความรู้สึกดังกล่าวไปได้เพียงชั่วครั้งชั่วคราว หลายคนคิดว่าทรัพย์สินเงินทองหรือความสำเร็จในอาชีพการงานจะช่วยกลบความรู้สึกพร่อง และทำให้ชีวิตเติมเต็ม แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ

มีนักธุรกิจคนหนึ่งซึ่งประสบความสำเร็จอย่างหาคนเปรียบได้ยาก เขาสามารถกอบกู้ธุรกิจก่อสร้างของครอบครัวให้พ้นจากหนี้สินซึ่งสูงถึง ๗,๐๐๐ ล้านบาทได้ในเวลา ๓ ปี และใช้เวลาอีก ๓ ปียกฐานะของบริษัทให้พุ่งทะยานจนติดอันดับ ๑ ใน ๕ ของธุรกิจประเภทเดียวกัน มีผลประกอบการปีละเกือบ ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท เขาได้รับการยกย่องนับถืออย่างสูงจากผู้คนในแวดวงธุรกิจ แต่แล้ววันหนึ่งเขาก็เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายขึ้นมาอย่างไม่มีสาเหตุ ขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน แต่ละวันผ่านไปเหมือนว่างเปล่า เขารู้สึกว่าตัวเองไม่มีความหมาย เขาเคยพูดว่า "ผมจะมีความหมายอะไร ก็เป็นแค่...มหาเศรษฐีหมื่นล้านคนหนึ่ง"

เงินทองและความสำเร็จทางอาชีพเป็นยอดปรารถนาของผู้คน ใครๆ ก็คิดว่าเมื่อได้สิ่งเหล่านี้มาครอบครองแล้วชีวิตจะเปี่ยมสุข แต่ประสบการณ์ของนักธุรกิจผู้นี้บ่งชี้ว่า หาเป็นเช่นนั้นไม่ แล้วอะไรล่ะที่จะทำให้เรารู้สึกเต็มอิ่มกับชีวิต

คำตอบของนักธุรกิจผู้นี้ก็คือ ตำแหน่งทางการเมือง แล้วเขาก็ได้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการสมใจ ตำแหน่งรัฐมนตรีเพียงแค่ ๓ ปี (และถูกเว้นวรรคเพราะการรัฐประหาร) อาจน้อยเกินไปที่เขาจะบอกได้ว่า อำนาจทางการเมืองเป็นคำตอบสุดท้ายของชีวิตหรือไม่ แต่ถ้าถามคนซึ่งเคยเรืองอำนาจถึงขีดสุดต่อเนื่องนานนับสิบปีในฐานะเผด็จการ อย่างประธานาธิบดีมาร์กอสแห่งฟิลิปปินส์ คำตอบคือ ไม่ใช่แน่นอน

เมื่อครั้งยังครองอำนาจสูงสุด มาร์กอสเคยถ่ายทอดความรู้สึกลงในบันทึกประจำวันว่า "ผมเป็นคนที่มีอำนาจมากที่สุดในฟิลิปปินส์ ผมมีทุกอย่างที่เคยใฝ่ฝัน พูดให้ถูกต้องก็คือ ผมมีทรัพย์สมบัติทุกอย่างเท่าที่ชีวิตต้องการ มีภรรยาซึ่งเป็นที่รัก และมีส่วนร่วมในทุกอย่างที่ผมทำ มีลูกๆ ที่ฉลาดหลักแหลม ซึ่งจะสืบทอดวงศ์ตระกูล มีชีวิตที่สุขสบาย ผมมีทุกอย่าง แต่กระนั้นผมก็ยังรู้สึกไม่พึงพอใจในชีวิต"

มาร์กอสมีทุกอย่างที่ใครๆ อยากจะมีกัน ทั้งเงินทอง อำนาจ ครอบครัว แต่เขาก็ยังไม่มีความสุข ทั้งนี้ก็เพราะมีบางอย่างที่ขาดหายไปจากชีวิตของเขา ใช่หรือไม่ว่าสิ่งนั้นได้แก่ความสงบเย็นในจิตใจ ทั้งหมดที่เขากล่าวถึงล้วนเป็นสิ่งนอกตัวทั้งสิ้น ซึ่งไม่สามารถนำความสงบเย็นมาสู่จิตใจได้อย่างแท้จริง บางอย่างกลับนำความร้อนใจมาให้ด้วยซ้ำ โดยเฉพาะทรัพย์และอำนาจซึ่งได้เท่าไรก็ไม่รู้จักพอ ด้วยเหตุนี้เขาจึงไม่รู้สึกเต็มอิ่มกับชีวิตเสียที

ความสงบใจนั้นมีหลายระดับ ระดับพื้นฐานก็คือการมีสิ่งยึดเหนี่ยวในจิตใจ สิ่งยึดเหนี่ยวที่สามารถทำให้เราอุ่นใจ หายว้าวุ่น และไม่โดดเดี่ยวอ้างว้าง ได้แก่สิ่งที่ทรงพลานุภาพและยิ่งใหญ่กว่าตัวเรา อาทิ พระเจ้า เทพยดา หรือท้าวจตุคามรามเทพ สำหรับชาวพุทธก็ได้แก่พระรัตนตรัย เป็นต้น ไม่ว่าใครก็ตาม หากยังเป็นปุถุชนอยู่ ย่อมต้องการที่พึ่งทางใจ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า "บุคคลผู้ไร้สิ่งเคารพ ไม่มีสิ่งนับถือ ย่อมอยู่เป็นทุกข์"

แต่สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจนั้นมักให้ความสงบใจได้ชั่วคราว โดยเฉพาะในยามประะสบทุกข์หรือประสบกับความผันผวนปรวนแปรในชีวิต แต่ในยามปรกติแม้มีที่ยึดเหนี่ยวแล้วก็ยังรู้สึกอ้างว้างว่างเปล่า สาเหตุสำคัญเพราะลึกๆ ก็รู้สึกว่าชีวิตของตนนั้นไร้คุณค่า ไม่มีความหมาย ไม่ว่าความสุขสบายจะมีมากมายเพียงใดก็ไม่สามารถกลบความรู้สึกว่างเปล่า หรือทำให้รู้สึกเติมเต็มขึ้นมาในจิตใจได้

หลายคนได้พบว่าชีวิตมีคุณค่าและเกิดความรู้สึกเต็มเปี่ยมกับชีวิตเมื่อได้ลงมือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมหรือช่วยเหลือผู้อื่น อาสาสมัครบางคนที่ไปนวดเด็กกำพร้า สารภาพว่าเธอเริ่มต้นด้วยความรู้สึกว่าไป "ให้" แก่เด็ก แต่เมื่อทำไปสักพัก ก็พบว่าเด็กต่างหากที่ "ให้" แก่ตน คือให้ความสุข และทำให้ชีวิตของตนมีคุณค่าและความหมาย

เราทุกคนล้วนมีจิตใจที่ใฝ่ดีด้วยกันทั้งนั้น การทำความดี เช่นช่วยเหลือผู้อื่นย่อมยังให้เกิดปีติและความอิ่มเอมใจ เป็นความสุขที่เกิดจากการเห็นผู้อื่นมีความสุข และภาคภูมิใจที่ตนได้ทำสิ่งที่มีความหมาย ทุกคนย่อมต้องการมีชีวิตที่ทรงคุณค่า หากลังเลสงสัยในคุณค่าของชีวิตตนเมื่อใด ย่อมหาความสงบได้ยาก นอกจากจะว้าวุ่นใจแล้วยังถูกรบกวนด้วยความรู้สึกว่างเปล่าเบาหวิวอย่างยากที่จะทนได้

ความสงบใจยังเกิดได้จากการฝึกฝนอบรมจิตอย่างสม่ำเสมอ จนความเร่าร้อนทะยานอยากหรือความโกรธมิอาจครอบงำได้ มีความสันโดษ พอใจในสิ่งที่มี และเปี่ยมด้วยเมตตาจิต รู้จักให้อภัย ไม่ว่าโดยการทำสมาธิภาวนาหรือโดยการมองอย่างเป็นกุศลก็ตาม ความสงบดังกล่าวเกิดจากการหันมามองด้านใน หรือทำกับใจของตนเอง ยิ่งกว่าที่จะไปทำกับคนอื่นหรือจัดการกับสิ่งรอบตัว จึงมีความยั่งยืนกว่าความสงบจากภายนอก เพราะสิ่งภายนอกนั้นยากที่จะควบคุมได้ ขณะที่จิตใจนั้นยังอยู่ในวิสัยที่เราสามารถดูแลได้มากกว่า หากเข้าใจธรรมชาติของมัน

ชีวิตที่ขาดความสงบใจ เพราะไร้ที่ยึดเหนี่ยว อยู่อย่างไร้คุณค่า และไม่รู้จักทำใจให้เป็นกุศล เป็นชีวิตที่ย่อมรู้สึกถึงความพร่องอยู่ลึกๆ ตลอดเวลา แม้รอบตัวจะเต็มไปด้วยทรัพย์สมบัติ บริษัทบริวาร และมีอำนาจล้นฟ้าก็ตาม เป็นความพร่องทางจิตวิญญาณ ซึ่งต่างจากความพร่องเพราะไร้ซึ่งวัตถุ หรือความอ้างว้างเปล่าเปลี่ยวเพราะไร้ชุมชนที่ตนรู้สึกแนบแน่นด้วย

อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่า แม้จะทำสิ่งที่มีคุณค่าเป็นอาจิณ และหมั่นอบรมจิตอยู่เสมอ ก็หาได้เป็นหลักประกันว่าเราจะปลอดพ้นจากความรู้สึกพร่องอย่างสิ้นเชิงไม่ หรือรู้สึกว่าชีวิตเติมเต็มอย่างสมบูรณ์ ไม่น่าเชื่อว่าคนที่เผชิญกับภาวะดังกล่าวอย่างรุนแรงและต่อเนื่องจนถึงขั้น "วิกฤตศรัทธา" คือ แม่ชีเทเรซา ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักบุญที่โดดเด่นที่สุดของศตวรรษที่ ๒๐

เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการตีพิมพ์หนังสือรวมจดหมายของท่านที่เขียนถึงบาทหลวงผู้รับสารภาพบาปตลอดเวลา ๖๖ ปีที่ทำงานรับใช้พระเจ้า (Mother Teresa: Come Be My Light) เป็นครั้งแรกก็ว่าได้ที่มีการเปิดเผยต่อสาธารณชนว่าท่านต้องเผชิญกับความรู้สึก "มืดมน ว่างเปล่า และหนาวเหน็บ" ครั้งแล้วครั้งเล่าตลอด ๕๐ ปีหลังของชีวิต มีตอนหนึ่งท่านเขียนว่า "ศรัทธาของดิฉันอยู่ที่ไหน ลึกลงไปภายในไม่มีอะไรนอกจากความว่างเปล่าและความมืดมน พระผู้เป็นเจ้า ความเจ็บปวดที่มิอาจหยั่งรู้ได้นี้ช่างเจ็บปวดเสียเหลือเกิน ดิฉันไม่มีศรัทธาไม่กล้าเอ่ยถ้อยคำและความคิดที่เนืองแน่นในใจฉัน และทำให้ดิฉันเป็นทุกข์อย่างเหลือล้น...มีคนบอกดิฉันว่า พระเจ้ารักดิฉัน แต่ความมืดมน หนาวเหน็บ และว่างเปล่านั้นมากมายเสียจนกระทั่งไม่มีอะไรสัมผัสวิญญาณของดิฉันเลย"

ความรู้สึกว่าพระเจ้าได้หายไปจากชีวิตของท่าน เกิดขึ้นช่วงใกล้ๆ กับที่ท่านเริ่มดูแลรักษาคนยากจนที่โกลกาตา และความรู้สึกนั้นไม่เคยหายไปเลยจวบจนวาระสุดท้ายของท่าน ดังท่านเล่าว่า "ความมืดมนที่ร้ายกาจเกิดขึ้นภายในใจดิฉัน ราวกับว่าทุกอย่างตายสิ้น มันเป็นเช่นนี้ตั้งแต่ดิฉันเริ่มทำงาน (สงเคราะห์คนยากจน)" ภาวะดังกล่าวทำให้ท่านรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้างอย่างยิ่ง "ความโดดเดี่ยวอ้างว้างช่างทรมานยิ่งนัก อีกนานเท่าใดที่หัวใจของดิฉันจะต้องทุกข์ทรมานแบบนี้" จวบจน ๒ ปีสุดท้ายของชีวิต แม่ชีเทเรซาก็ยังเขียนถึง "ความแห้งผากทางจิตวิญญาณ" ที่เกิดกับท่าน

น่าพิศวงมากที่ผู้ซึ่งศรัทธาพระเจ้าอย่างเหลือล้นจนสละตนเพื่อพระองค์ได้ กลับรู้สึกอ้างว้างว่างเปล่าอยู่ในห้วงลึกของจิต แต่ขณะเดียวกันก็น่าอัศจรรย์ที่แม้ความทุกข์จะกัดกร่อนใจไม่เว้นแต่ละวัน ท่านก็ยังสามารถทำสิ่งยิ่งใหญ่ให้แก่เพื่อนมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่องถึงครึ่งศตวรรษ แสดงให้เห็นถึงศรัทธาอันกล้าแกร่งอย่างยากจะหาผู้ใดเทียมเท่าได้

กรณีแม่ชีเทเรซาทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า ความรู้สึกพร่องหรือความอ้างว้างว่างเปล่าทางจิตวิญญาณนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร เป็นเพราะ "ยิ่งดิฉันต้องการพระองค์มากเท่าไร ดิฉันก็เป็นที่ต้องการน้อยลงเท่านั้น" ดังที่ท่านเคยบันทึกไว้ใช่หรือไม่ หรือว่านี้เป็นปัญหาพื้นฐานของปุถุชนทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นใครก็หนีความรู้สึกพร่องทางจิตวิญญาณไปไม่ได้ ต่างกันที่มากหรือน้อย และรู้ตัวหรือไม่รู้เท่านั้น

ถ้าเป็นปัญหาพื้นฐานของปุถุชน ความรู้สึกพร่องทางจิตวิญญาณเกิดขึ้นจากอะไร มีรากเหง้าจากไหน เดวิด ลอย (David Loy) นักปรัชญาชาวอเมริกันได้ให้อรรถาธิบายที่น่าสนใจ โดยอาศัยแนวคิดแบบพุทธเรื่องอนัตตา กล่าวคือในความเป็นจริงแล้ว อัตตาหรือตัวตนนั้นหามีไม่ แต่เป็นเพียงสิ่งที่จิตปรุงแต่งขึ้นมาเอง แล้วก็ยึดติดถือมั่นในอัตตานั้น โดยหลงคิดว่ามันมีอยู่จริงๆ แต่ในส่วนลึก จิตก็รู้อยู่รางๆ (หรือสงสัย) ว่ามันไม่มีอยู่จริง ส่วนหนึ่งก็จากการสังเกตว่าตัวตนนั้นแปรเปลี่ยนอยู่เรื่อย เดี๋ยวเป็นนั่นเดี๋ยวเป็นนี่ (เพียงแค่ดื่มเหล้าเสพยาก็เปลี่ยนไปเป็นคนละคน ยิ่งเกิดอุบัติเหตุทางสมองก็อาจกลายเป็นคนใหม่ไปอย่างสิ้นเชิง) แต่จิตไม่สามารถยอมรับความจริงว่าตัวตนนั้นเป็นมายาภาพ ดังนั้นมันจึงพยายามปฏิเสธความจริง ข้อนี้ เพราะเท่ากับว่ามันเองก็หามีตัวตนหรือแก่นแท้ที่ยั่งยืนไม่

สิ่งที่จิตทำก็คือ กดข่มความรู้หรือความสงสัยดังกล่าวไว้ ทำนองเดียวกับที่หลายคนชอบกดความรู้สึกไม่ดีเอาไว้ (เช่น เกลียดแม่ อยากทำร้ายพ่อ) แต่สิ่งที่ถูกกดนั้นมันไม่หายไปไหน แต่ถูกเก็บไว้ในจิตไร้สำนึก และคอยผุดโผล่ในรูปลักษณ์อาการที่ผิดเพี้ยน (เช่นเกลียดพ่อแม่ แต่ไม่ยอมรับ เลยไปโกรธเกลียดศาลพระภูมิแทนโดยไม่รู้สาเหตุ) ในกรณีความสงสัยว่าตัวตนไม่มีอยู่จริงนั้น อาการที่ปรากฏสู่การรับรู้ของจิตสำนึกคือความรู้สึกพร่อง ว่างเปล่า โหวงเหวง ไม่มั่นคง เหมือนขาดอะไรบางอย่างแต่ไม่รู้ว่าคืออะไร ความรู้สึกดังกล่าวผลักดันให้ผู้คนพยายามครอบครองสิ่งต่างๆ ด้วยเชื่อว่าจะทำให้จิตใจรู้สึกเต็ม หรือมีที่ยึดเหนี่ยวเพื่อให้เกิดความมั่นคง แต่ไม่ว่าจะมีเท่าไร ใจก็ยังรู้สึกพร่องและไม่มั่นคงอยู่นั่นเอง เพราะสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่การมีน้อยเกินไป แต่อยู่ที่การไม่ยอมรับความจริงว่าตัวตนนั้นไม่มีอยู่จริงต่างหาก

ทางออกจึงได้แก่การยอมรับว่าตัวตนนั้นไม่มีอยู่จริง เลิกปฏิเสธหรือเบือนหน้าหนีความจริงดังกล่าว แต่การทำเช่นนั้นมิได้เกิดจากการคิด เพราะถึงคิดได้ จิตก็จะยึดเอาความคิดนั้นมาเป็นตัวตนอีกแบบหนึ่ง คือถือเอาเป็น "ตัวกูของกู" การยอมรับความจริงดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริงก็จากการประจักษ์แจ้งด้วยปัญญาว่า ไม่มีอะไรที่เป็นตัวกูของกูเลย และไม่มีอะไรที่ยึดติดถือมั่นเป็นตัวตนได้ เมื่อเห็นความจริงอย่างชัดแจ้งจนไร้ข้อสงสัย การกดข่มความจริงจนไปสร้างความปั่นป่วนจากจิตไร้สำนึกก็ไม่มีอีกต่อไป ความรู้สึกพร่องก็เป็นอันหมดไปอย่างสิ้นเชิง

แม้ศาสนาต่างๆ จะช่วยลดความรู้สึกพร่องลงได้บ้าง เช่น มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ แนะนำวิธีทำใจให้สงบ มีสวรรค์และโลกหน้าที่ให้ความหวังว่าจะบรรเทาความรู้สึกพร่องที่รบกวนจิตใจในโลกนี้ให้หมดไปได้ แต่ก็ยังไม่สามารถขจัดความรู้สึกพร่องไปได้อย่างแท้จริง จนกว่าจิตใจจะประจักษ์แจ้งและยอมรับความจริงดังกล่าวอย่างสิ้นเชิง

มองในแง่นี้ความรู้สึกพร่องจึงเป็นปัญหาสากลของคนทุกคนที่ยังเป็นปุถุชนอยู่ แต่ถึงจะยังไม่บรรลุธรรมอย่างถึงที่สุด เราก็ยังมีหวังว่าจะบรรเทาความรู้สึกพร่องได้เป็นลำดับไป หากใช้ชีวิตและรู้จักทำใจอย่างถูกต้อง แต่ในระหว่างที่ยังไม่สามารถขจัดความรู้สึกดังกล่าวอย่างสิ้นเชิง เราก็เห็นจะต้องยอมรับว่า ความเหงา อ้างว้าง ว่างเปล่า และเปล่าเปลี่ยว เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่เราต้องอยู่กับมันไปอีกนาน

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >