หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow รัฐธรรมนูญเผือกร้อน : ไพโรจน์ พลเพชร
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 73 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

รัฐธรรมนูญเผือกร้อน : ไพโรจน์ พลเพชร พิมพ์
Wednesday, 01 February 2012

รัฐธรรมนูญเผือกร้อน ไพโรจน์ พลเพชร

โดย : ชุติมา ซุ้นเจริญ


รัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุด แต่ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมการเมือง ทั้งยังอาจเป็นชนวนของความขัดแย้งรอบใหม่ ดังนั้น หากจะมีการแก้รัฐธรรมนูญ ต้องคิดอย่างรอบคอบและรอบด้าน

ตอนนี้มีแค่บางฝ่ายที่บอกว่า แก้เพราะรัฐธรรมนูญนี้เป็นผลพวงของการรัฐประหารปี 49 ซึ่งมันไม่พอ ในความเห็นผม นอกจากเป็นผลพวงที่ต้องยกเลิกแล้ว การแก้ไขที่จะเกิดขึ้นจะสร้างสรรค์ประชาธิปไตยที่ดีกว่า งดงามกว่า อย่างไรด้วย

แม้คนไทยจำนวนไม่น้อยจะไม่เคยผ่านตากับเนื้อหาในรัฐธรรมนูญ แต่แทบทุกคนย่อมรับรู้ถึงความสำคัญของสิ่งที่เรียกว่า "รัฐธรรมนูญ" เพราะในรอบ 8 ทศวรรษของการปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตย มีการร่างและฉีกรัฐธรรมนูญมาจนถึงปัจจุบันเป็นฉบับที่ 18 แล้ว และมีสัญญาณว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญรอบใหม่กำลังจะเริ่มต้นขึ้นในไม่ช้า ท่ามกลางความขัดแย้งที่หลายฝ่ายกังวลว่าอาจกลายเป็นชนวนเหตุของการเผชิญหน้าและความรุนแรงในที่สุด

ก่อนจะไปถึงจุดนั้น ไพโรจน์ พลเพชร ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) นักเคลื่อนไหวผู้ติดตามประเด็นข้อกฎหมายที่ส่งผลต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน และมีผลงานวิจัยเกี่ยวกับการบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เสนอแนวทางปลดล็อคความรุนแรง เพื่อให้สังคมไทยได้ประโยชน์จากกระบวนการนี้ และบางทียังอาจช่วยให้ความฝันเรื่องการปรองดองเป็นจริงขึ้นมาได้

ในเรื่องเงื่อนเวลา คิดว่าเหมาะสมที่จะแก้รัฐธรรมนูญหรือยัง

ที่จริงความขัดแย้งหนึ่งที่สำคัญในทางการเมืองที่ผ่านมาก็สะท้อนออกที่รัฐธรรมนูญด้วย เพราะว่ารัฐธรรมนูญปี 40 กับ ปี 50 มีความแตกต่างกัน ถ้าดูโดยเจตนาของรัฐธรรมนูญปี 40 จะเน้นอยู่สามเรื่อง คือเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน เรื่องการมีส่วนร่วม และเรื่องการให้สถาบันทางการเมืองมีเสถียรภาพ ทีนี้พอรัฐธรรมนูญปี 50 ไปแก้ในส่วนสถาบันทางการเมืองค่อนข้างมาก เวลาพูดถึงรัฐธรรมนูญจึงเหมือนเป็นเป้าหมายที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขมาตั้งแต่ต้น เพราะมีบางฝ่ายเชื่อว่ารัฐธรรมนูญปี 50 เป็นผลพวงของการยึดอำนาจเมื่อปี 49 เป็นปมเงื่อนสำคัญที่จะลดความขัดแย้งในสังคม

ปัญหาก็คือ ด้วยกระบวนการแบบไหนจึงจะสามารถลดทอนความขัดแย้งที่เป็นอยู่ อันที่สองคือ สาระอะไรที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วทำให้เป็นที่ยอมรับกันได้ ผมเข้าใจว่า ถ้าใช้กระบวนการเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการรณรงค์ทางการเมือง ที่หมายถึงการรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจของคนในสังคม ก็จะเป็นประโยชน์ ทำให้การคลี่คลายความขัดแย้งลงได้

หมายความว่าไม่ต้องรีบ?

ในความเห็นผม ไม่ต้องรีบ เพราะถ้าเราคิดว่าปมเงื่อนของความขัดแย้งอยู่ที่โครงสร้างทางการเมืองซึ่งอยู่ในรัฐธรรมนูญ ก็ต้องมาทำข้อตกลงให้ได้ คือการทำข้อตกลง หมายความว่าต้องเกิดการเรียนรู้ร่วมกันทางสังคม อันนี้คือประเด็นสำคัญ แทนที่จะมาเผชิญหน้ากันก็ใช้กระบวนการแก้รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือในการถกเถียงสร้างความเข้าใจ เพราะฉะนั้นอันนี้จะทำให้เราลดปัญหาบางอย่างที่จะทำให้เกิดการเผชิญหน้ากันได้

ประเมินว่าถ้ารวบรัดตัดตอนอาจเป็นชนวนของความรุนแรง?

ครับ ตอนนี้ถ้าดูแนวโน้มเรื่องกระบวนการ ผมเข้าใจว่าทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่ามันจะต้องเปิดกว้าง ถ้าดูจากปี 40 กระบวนการได้มาของคนที่แก้รัฐธรรมนูญ ต้องมาจากสองส่วน การเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด กับที่สถาบันวิชาการส่งมาแล้วให้รัฐสภาเลือก อันนี้จะเป็นหลักการพื้นฐาน แต่กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญปี 40 หลังจากผ่านรัฐสภาก็จบ ส่วนปี 50 สสร.มาจากคมช. คือมาจากฐานอำนาจ แต่สุดท้ายหลังจากรัฐธรรมนูญผ่านสภา ต้องใช้ประชาชนลงประชามติ เพราะฉะนั้นถ้าเอาข้อแข็งของทั้งสองครั้งมาใช้ก็จะเป็นประโยชน์

กระบวนการก็คือผ่านรัฐสภาเหมือนปี 40 แล้วเอาการลงประชามติเป็นตัวตัดสินสุดท้าย ผมว่าอันนี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญ เพราะยืนอยู่บนหลักการที่เห็นความสำคัญของประชาชน กระบวนการนี้จะทำให้เกิดการถกเถียงอย่างขนานใหญ่ในสังคมอีกรอบว่าแต่ละประเด็นควรเป็นแบบไหน เพราะบทเรียนของรัฐธรรมนูญปี 40 และปี 50 มีทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งทั้งคู่ ซึ่งอันนี้ต้องผ่านการศึกษา ไม่ใช่เพียงแค่ความรู้สึกว่าต้องการอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ต้องเข้าใจมันจริงๆ

ถ้าเช่นนั้นควรมีกระบวนการบางอย่างก่อนจะไปสู่การแก้รัฐธรรมนูญ?

ผมเข้าใจว่าแต่ละฝ่ายก็มีธงในการแก้ ซึ่งผมคิดว่าไม่ผิด แต่จะแก้ภายใต้ความเข้าใจอย่างไร คุณต้องแชร์ออกมาว่าความคิดของคุณมันแก้ปัญหาสังคมอย่างไร แก้ปัญหาการเมืองอย่างไร เพราะว่าครั้งนี้มันยังไม่ชัดนะครับ ต่างจากปี 40 ซึ่งชัดเจนว่ารัฐธรรมนูญจะนำไปสู่การเมืองรูปแบบไหน แต่พอรัฐธรรมนูญปี 50 ก็ไม่ชัดว่าจะนำไปสู่อะไรเหมือนกัน ทีนี้ถ้าเราจะทำใหม่ก็ต้องชัดเจนว่าจะนำไปสู่อะไร

ทีนี้ถ้าดูจากกระแสทางสังคม มันมีการพูดถึงเรื่องการปฏิรูปโครงสร้างทั้งหมด ตรงนี้ก็เป็นโจทย์ใหญ่ รัฐธรรมนูญจะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะนำไปสู่การปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งยังไม่มีใครแสดงความมุ่งหมายชัด แต่ผมคิดว่าต้องตั้งโจทย์ร่วมอย่างนี้ขึ้นมาก่อนว่าเราจะนำรัฐธรรมนูญไปสู่อะไรกันแน่ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรมหรือเปล่า ถ้าใช่ รัฐธรรมนูญเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่ง ไม่ใช่ทั้งหมด

เพราะในข้อเท็จจริงแล้วรัฐธรรมนูญเป็นเพียงการจัดกติการ่วมกัน ให้เห็นพ้องต้องกันว่ากติกาที่เราจะอยู่ร่วมกันในทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมมันเป็นแบบนี้ แต่หลังจากนั้นมันขึ้นอยู่กับว่าจะปฏิบัติอย่างไร ยกตัวอย่างรัฐธรรมนูญปี 40 ที่เราพยายามออกแบบโครงสร้างทางการเมืองให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ให้ประชาชนมีพื้นที่มากขึ้น แต่พอในทางปฏิบัติไม่เปลี่ยนมันก็ก่อให้เกิดความขัดแย้งได้

ในความเห็นของคุณ การแก้รัฐธรรมนูญควรนำไปสู่อะไร

ผมคิดว่าแต่ละฝ่ายสามารถเสนอได้ แต่อยากให้ลองคิดว่าทำไมรัฐธรรมนูญปี 40 จึงเห็นพ้องต้องกันได้ง่าย เพราะมุ่งหมายตรงกันตั้งแต่ต้นว่า มันต้องไปสู่การปฏิรูปการเมือง แต่พอรัฐธรรมนูญปี 50 มันไม่ใช่ เหมือนเป็นการจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจแล้วก่อให้เกิดความขัดแย้งในโครงสร้างทางการเมือง ทีนี้ถ้าครั้งนี้ทำแบบปี 50 อีกก็จะซ้ำรอยเดิม ก็จะขัดแย้งอีก ฉะนั้นสิ่งที่ต้องคิดก็คือ เราต้องตั้งเป้า ตั้งโจทย์ขึ้นมาก่อนว่าเราจะแก้รัฐธรรมนูญเพื่อนำไปสู่อะไร

ความเห็นผม รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือหนึ่งเท่านั้นเองที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองและสังคมที่ไม่เป็นธรรม อะไรบ้างที่ควรมีไว้ในรัฐธรรมนูญ อะไรที่ไม่อยู่ในรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องที่สังคมต้องถกเถียงกัน

คิดอย่างไรกับข้อเสนอของ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน

ผมไม่เห็นด้วยกับวิธีคิดที่บอกว่าผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นเป็นคนที่รู้ดีและกำหนดทิศทางประเทศไทย เพราะในข้อเท็จจริง เราต้องยอมรับว่าตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 40 เป็นต้นมา เราต้องพึ่งพาความเติบโตหรือการตื่นตัวของผู้คนเข้ามา มันถึงกำหนดชะตาประเทศหรือชะตาประชาธิปไตยร่วมกันได้ เพราะฉะนั้นกระบวนการมีส่วนร่วมทุกขั้นตอนจึงมีความหมาย ไม่ใช่อาศัยผู้เชี่ยวชาญอย่างเดียว แต่ต้องอาศัยองค์ความรู้ของสังคมไทยด้วย

ถ้าเปรียบเทียบระหว่างรัฐธรรมนูญปี 40 กับปี 50 อะไรคือจุดอ่อนและจุดแข็ง

ที่จริงรัฐธรรมนูญปี 40 เป็นรากฐานที่สำคัญ เนื่องจากก่อนหน้านั้นเราเห็นว่าเสถียรภาพของรัฐบาลไม่มั่นคง ฉะนั้นเวลาออกแบบรัฐธรรมนูญก็เลยมีโจทย์ว่าทำอย่างไรให้ฝ่ายบริหารเข้มแข็ง แล้วก็ออกแบบองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจเพื่อถ่วงดุลกัน อีกส่วนคือเปิดพื้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง ตรวจสอบอำนาจรัฐ เพิ่มสิทธิเสรีภาพมากขึ้น ทีนี้หลังจากเราใช้รัฐธรรมนูญปี 40 ปรากฎว่าสิ่งที่สำเร็จที่สุดก็คือรัฐบาลที่เข้มแข็ง ส่วนที่เป็นสิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วมของประชาชน และองค์กรอิสระ แม้จะออกแบบได้ดี แต่มันทำหน้าที่ได้ไม่ดี ฉะนั้นนี่คือจุดแข็งของรัฐธรรมนูญปี 40 คือ มีการวางโครงสร้างทางการเมืองได้ดี แต่พอนำมาใช้มันไม่เป็นไปตามคาดหมายอย่างนั้น

ทีนี้พอถึงรัฐธรรมนูญปี 50 ก็เลยมีการไปแก้เพื่อลดทอนความเข้มแข็งของรัฐบาล คือไปเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบอำนาจรัฐ แล้วก็ไปเพิ่มอำนาจของตุลาการเข้ามา ซึ่งอันนี้เป็นจุดอ่อนอย่างสำคัญ ที่สำคัญแม้แต่วุฒิสมาชิกก็กลายเป็นว่าเพิ่มสัดส่วนของการแต่งตั้งมากขึ้น ซึ่งอธิบายไม่ได้ว่าทำไมไม่ยึดโยงกับฐานที่มาจากประชาธิปไตย เพราะบทบาทวุฒิสภา ถ้าดูจากรัฐธรรมนูญปี 40 ไม่ใช่เพียงทำหน้าที่ออกกฎหมายเท่านั้น แต่ทำหน้าที่ตรวจสอบองค์กรต่างๆ มากขึ้นด้วย เป็นสภาที่ถอดถอนฝ่ายบริหารได้ ถอดถอนองค์กรอิสระได้ เมื่อวางบทบาทไว้อย่างนี้แต่ฐานที่มาไปออกแบบให้มาจากการแต่งตั้งก็เลยมีปัญหาว่ามีอำนาจขนาดนี้จะไปตรวจสอบฝ่ายที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนได้อย่างไร

รัฐธรรมนูญปี 50 ยังมีจุดอ่อนตรงไปเพิ่มอำนาจของตุลาการให้เข้ามามีบทบาทในการคัดสรรบุคคล โดยเชื่อว่าถ้าตุลาการคัดเลือกแล้วจะได้คนที่อิสระ เป็นคนดี แต่ที่จริงสถาบันตุลาการไม่ควรจะเข้ามาเกี่ยวพัน เพราะมันทำให้สูญเสียความเป็นอิสระบางอย่าง สถาบันตุลาการถูกวิพากษ์วิจารณ์มากว่าไม่ยึดโยงกับภาคประชาชน โดยเฉพาะจากฝ่ายที่อยู่ในอำนาจรัฐปัจจุบัน

ส่วนรัฐธรรมนูญปี 40 ได้กำหนดเรื่องสิทธิเสรีภาพไว้มาก เรื่องการมีส่วนร่วมไว้มาก แต่ต้องไปยึดโยงกับรัฐบาลว่าต้องไปออกกฎหมายลูก เพราะฉะนั้นเพื่อทำให้สิทธิเสรีภาพนั้นเป็นจริง รัฐธรรมนูญปี 50 ก็ไปแก้จุดอ่อนเรื่องนี้ เปิดใหม่ว่าประชาชนสามารถเข้าถึงสิทธินี้ได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องออกกฎหมายลูก นี่คือจุดแข็งของรัฐธรรมนูญปี 50 ขยายเรื่องสิทธิเสรีภาพให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น

ที่ผ่านมาภาคประชาชนได้ประโยชน์จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญมากน้อยแค่ไหน

เรื่องนี้มันอยู่ในภาคปฏิบัติว่าจะสามารถใช้ได้มากน้อยแค่ไหน เพราะการรับรองสิทธิไว้ในรัฐธรรมนูญ กับการเข้าถึงสิทธิอาจเป็นคนละเรื่องกัน ต้องมีกลไกเพียงพอให้เขาเข้าถึงได้ แม้ว่ารัฐธรรมนูญปี 50 พยายามแก้เรื่องสิทธิเสรีภาพ คือนอกจากจะไม่ต้องออกกฎหมายลูกแล้ว ยังไปผูกพันว่าให้สถาบันตุลาการสามารถใช้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายในการวินิจฉัยได้ แต่ดูจากที่ผ่านมาสถาบันตุลาการก็ยังไม่ตื่นตัวในการนำหลักการในรัฐธรรมนูญมาวินิจฉัยเวลาเกิดข้อขัดแย้งทางคดี อันนี้เป็นเรื่องภาคปฏิบัติ ซึ่งอาจจะแก้ไม่ได้ด้วยรัฐธรรมนูญ

ดูเหมือนว่าการจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจในรัฐธรรมนูญ เช่นให้ประชาชนมีสิทธิมากขึ้น แต่ในทางสังคมการเมืองไทย มันมีความสัมพันธ์เชิงอำนาจอีกแบบหนึ่ง ซึ่งคล้ายๆ ซ้อนทับกันอยู่ จะเรียกว่าเป็นวัฒนธรรมก็ได้ ความเชื่อก็ได้ มันเลยทำให้สองอย่างนี้ขัดกันอยู่ตลอดเวลา เวลานำมาใช้ จึงเป็นเรื่องใหญ่มากกว่าตัวบท

คือรัฐธรรมนูญมันเหมือนทิศทาง วางแนวทางว่ากติกาเราเป็นอย่างนี้ ความสัมพันธ์ของอำนาจระหว่างประชาชนกับรัฐเป็นอย่างนี้ ระหว่างสถาบันเป็นอย่างนี้ แต่ในทางสังคมที่เป็นจริง มันก็จะมีความสัมพันธ์อีกชุดหนึ่งที่คนเชื่อกันอยู่ หรือชุดความคิดที่ใช้กันอยู่จริงๆ ซึ่งอันนี้แก้ไขยากกว่ารัฐธรรมนูญ

ดังนั้นถ้าคาดหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างต้องใช้เวลาพอสมควร และไม่ใช่แค่แก้รัฐธรรมนูญ?

คือตอนแรกมันเหมือนกับเป็นเรื่องที่เร่งด่วนมาก แต่ตอนหลังเริ่มมีการตั้งคำถามว่าเรื่องนี้แก้แล้วมันจะสมประสงค์หรือเปล่า อย่างไรก็ตามข้อเสนอเรื่องการเปลี่ยนแปลง ภาคประชาชนคิดมาตลอดว่า ปัญหาที่เราเผชิญอยู่นี้มันเป็นเรื่องโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคมการเมือง การเปลี่ยนแปลงหรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องนำไปสู่อันนี้ ซึ่งเราพูดถึงการจัดการที่ดิน หรือการจัดการทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม รัฐธรรมนูญจะเป็นเครื่องมือในการไปจัดความสัมพันธ์ที่สร้างความเป็นธรรมขึ้นได้ เราพูดถึงเรื่องการคืนอำนาจให้ประชาชนปกครองตัวเองมากขึ้น รัฐธรรมนูญจะเป็นเครื่องมือนำไปสู่อันนี้ได้ และนี่คือสิ่งที่ภาคประชาชนคาดหวัง

ถ้าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องมีโจทย์อันนี้เข้ามาในการถกเถียง อันที่สองเราอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงแบบสันติวิธี หมายความว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้นำไปสู่ความขัดแย้งของสังคมไทยอีกรอบหนึ่ง เพราะถ้าการแก้รัฐธรรมนูญนำไปสู่ความขัดแย้งใหญ่ นำไปสู่การเผชิญหน้า นำไปสู่ความรุนแรง หรือนำไปสู่ความเกลียดชังซึ่งกันและกัน เราไม่พึงปรารถนาแน่ มันควรมีกระบวนการที่ละเมียดละไม คือไม่เร่งรีบ เพราะการเร่งรีบโดยไม่สร้างความเข้าใจ เร่งรีบแล้วไปสร้างความเชื่อหรือความคิดขึ้นมาชุดหนึ่ง หรือสร้างความเกลียดชังระหว่างกัน อันนี้จะนำไปสู่ความขัดแย้งใหญ่ในสังคม ซึ่งผมคิดว่าสังคมไทยมีประสบการณ์มามากเพียงพอแล้ว

การเปลี่ยนแปลงด้วยวิธีการรุนแรงมันไม่สามารถทำให้สังคมไทยไปข้างหน้าได้อย่างที่ควรจะเป็น การเปลี่ยนแปลงในปี 40 ถือเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างทางการเมืองที่สำคัญมากและเปลี่ยนโดยสันตินะครับ ทำไมทุกฝ่ายถึงเห็นพ้องต้องกันได้ อันนี้เป็นประสบการณ์สำคัญที่เราน่าจะนำมาใช้กับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องคิดว่าแม้ว่าเราจะมีความขัดแย้งทางการเมือง แต่ทำอย่างไรที่จะยกระดับไปสู่การถกเถียงในเชิงเหตุผลมากขึ้น

ถ้าเราคิดว่าสถาบันต่างๆ ในสังคม สถาบันทางการเมืองหรือแม้แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ควรจะมีบทบาทอย่างไรในสังคมไทย หรือควรจะอยู่อย่างไรในรัฐธรรมนูญก็ต้องถกเถียงกันได้ และสามารถอธิบายได้ว่าทำไมเราถึงเลือกแบบนี้ แต่ไม่ใช่ตั้งต้นว่าคิดต่างแล้วสร้างความเกลียดชัง สร้างความเป็นศัตรู ถ้าขืนทำอย่างนั้นจะนำไปสู่ความรุนแรง

แต่ตอนนี้ก็เริ่มมีความพยายามผูกโยงการแก้รัฐธรรมนูญกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112?

ผมคิดว่าข้อถกเถียงที่ว่าสถาบันควรจะมีบทบาทในสังคมไทยแบบไหน นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงเมื่อปี 2475 ก็ได้กำหนดไว้แล้วว่าเป็นสถาบันหนึ่งในทางการเมืองที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นประมุขแห่งรัฐ ถามว่าสถานะแบบนี้จะทบทวนได้มั้ย หรือจะต้องสร้างความเข้าใจร่วมอีกครั้งหนึ่งหรือไม่ ก็ทำได้ในทางวิชาการ

เมื่อทำได้อาจไปคิดต่อเรื่องมาตรา 112 ว่าจะทำอย่างไร สถานะของมาตรา 112 เป็นการปกป้องประมุขแห่งรัฐมั้ย แล้วมันควรมีอยู่มั้ย ถ้ามีควรมีแบบไหน อันนี้เป็นข้อถกเถียง และหากจะมีการแก้ไข ผมไม่เห็นด้วยกับการเร่งรีบ อย่าลืมว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่กระทบค่อนข้างกว้างขวาง ถ้าเกิดไม่สามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเพียงพอ ก็ทำให้เกิดการเผชิญหน้าได้ง่าย เพราะมันมีลักษณะสุดโต่งทั้งสองขั้ว

ผมคิดว่ามันควรจะมีการถกเถียงให้มาก ไม่เช่นนั้นมันจะกลายเป็นการเร่งเครื่องให้เกิดการเผชิญหน้าได้มากขึ้น แล้วก็จะพาลไปถึงรัฐธรรมนูญด้วย ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้ที่จริงมันควรจะแยกจากกัน แต่บางฝ่ายก็พยายามผูกโยงเข้าด้วยกัน ซึ่งผมคิดว่าอาจจะต้องมีการพูดกันใหม่ คือเรื่องสถาบัน ควรพูดได้ว่าจะเป็นแบบไหน และพูดในที่สาธารณะได้ด้วยไม่จำเป็นต้องงุบงิบพูดกัน แต่พูดกันด้วยเหตุด้วยผล

บางคนมองว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้อาจมีวาระซ่อนเร้น?

ผมคิดว่าต้องเปิดออกมา เพราะถ้าเกิดถูกตั้งคำถามแบบนี้มันจะเป็นปัญหาแล้วทำให้สำเร็จยาก คือถ้าเป็นอย่างที่บางฝ่ายพูดว่าเป็นการพัฒนาประชาธิปไตยที่เข้มแข็งขึ้น ต้องบอกว่าคืออะไร เหมือนกับที่รัฐธรรมนูญปี 40 บอกได้ว่าเราจะปฎิรูปการเมือง ถ้าบอกว่าจะปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ สังคม แล้วรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือหนึ่ง ผมว่าอันนี้ต้องพูดให้ชัด ส่วนว่าจะปฏิรูปอย่างไรและเรื่องอะไรบ้างค่อยไปลงรายละเอียดในนั้น แต่เป้าให้ตรงกันก่อน

ตอนนี้มีแค่บางฝ่ายที่บอกว่า แก้เพราะรัฐธรรมนูญนี้มันเป็นผลพวงของการรัฐประหารปี 49 ซึ่งมันไม่พอ ในความเห็นผมนอกจากเป็นผลพวงที่ต้องยกเลิกแล้ว การแก้ไขที่จะเกิดขึ้นจะสร้างสรรค์ประชาธิปไตยที่ดีกว่า งดงามกว่า อย่างไรด้วย

ทีนี้ประชาธิปไตยปัจจุบันก็เปลี่ยนไป ประชาธิปไตยตัวแทนอย่างเดียวก็ไม่ใช่แล้ว เพราะรัฐธรรมนูญปี 40 บอกว่าประชาธิปไตยมีทั้งแบบมีส่วนร่วม ประชาธิปไตยที่ประชาชนมีบทบาทมากขึ้น เป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริงมากขึ้น หรือข้อเสนอของกรรมการปฏิรูปประเทศไทยก็พูดชัดว่าต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางอำนาจจึงจะเรียกว่าปฏิรูปประเทศได้ เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีเป้าอย่างนี้ ยังอึมครึม ฝ่ายหนึ่งก็บอกมีอะไรอยู่ในใจหรือเปล่า ผมคิดว่ามันจะก่อให้เกิดปัญหาแน่ๆ ปัญหาที่ว่าคือเกิดการเผชิญหน้า ซึ่งมันไม่เป็นผลดีกับทุกคน ไม่เฉพาะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

ดูจากการโยนหินถามทางของแต่ละฝ่าย คาดว่าผลจะออกมาในรูปไหน

หนึ่ง ผมเชื่อว่าต้องมีกระบวนการ สสร.เกิดขึ้นแน่ ทีนี้ถ้าเกิดสสร.ขึ้น ระยะเวลาน่าจะยาว และถึงสุดท้ายแล้วคงปฏิเสธการลงประชามติไม่ได้ ต้องให้ประชาชนตัดสิน แต่ว่าจุดอ่อนของการตัดสินทั้งฉบับมันก็มี เพราะว่าทั้งฉบับคนจะเห็นพ้องกันหมดมันเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นควรจะมีบางประเด็นที่ทำประชามติก่อนก็ได้ เช่นเรื่องโครงสร้างทางการเมืองควรเป็นแบบนี้มั้ย ที่มาของวุฒิสมาชิกควรเป็นอย่างไร ทำไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเกิดผลีผลามว่าต้องเป็นอย่างนั้น ต้องเป็นอย่างนี้ แล้วไม่ผ่านกระบวนการพูดคุยถกเถียงเพียงพอ ก็เกิดข้อขัดแย้งได้ง่าย

คือต้องเปิดให้แต่ละฝ่ายที่มีเหตุผลต่างกันได้พูดอย่างเต็มที่ และพูดให้สังคมได้รู้ด้วย ถึงเวลาลงประชามติ ประชาชนจะมีข้อมูลเพียงพอ ซึ่งสื่อของรัฐหรือสื่อทั้งหมดต้องถือเป็นญัตติที่ต้องเอาประเด็นต่างๆ มาให้แต่ละฝ่ายได้โต้แย้งกัน แล้วกระบวนการนี้มันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาความขัดแย้งบางอย่างได้ คือยกความขัดแย้งให้มาอยู่ในที่ที่สามารถสร้างการเรียนรู้ร่วมกันได้ ผมคิดว่าด้วยกระบวนการรับฟังความเห็นที่แตกต่าง มันจะทำให้การแก้รัฐธรรมนูญนำไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยได้จริง

ประเมินจากสถานการณ์ในปัจจุบันคิดว่าอะไรน่าเป็นห่วงมากที่สุด

เนื่องจากความขัดแย้งที่ผ่านมา มันเหมือนไปแย่งชิงอำนาจรัฐกัน พอได้อำนาจแล้วก็ไปจัดการฝ่ายตรงข้าม ซึ่งผมว่ามันไม่ถูก เพราะกลายเป็นว่าเราละเลยเสียงข้างน้อยไปเลย ซึ่งมันทำให้เกิดความขัดแย้งได้ง่าย ฉะนั้นกระบวนการที่จะเกิดขึ้นต่อไป จำเป็นต้องเปิดพื้นที่ให้ทุกฝ่ายเข้ามาใช้กระบวนการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ แต่ถ้าหักหาญน้ำใจกัน คิดว่าเป็นเสียงข้างมากทำอะไรก็ได้ แล้วไม่เปิดพื้นที่ให้ความแตกต่างหลากหลาย ผมคิดว่าจะนำไปสู่ความคับข้องใจ การเผชิญหน้าได้ และจะไม่ยอมกัน ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งใหม่อีกรอบ และครั้งนี้จะแรงขึ้น

ที่ผมเป็นห่วงอีกอย่าง คือการสื่อสารในสังคมไทย ตอนหลังมันมีแนวโน้มของการสร้างความเกลียดชัง ทำอย่างไรถึงจะลดระดับความเกลียดชังลงซะบ้าง ให้เหตุผลกันมากขึ้น ไม่ใช่เอาชนะกันด้วยวิธีปลูกฝังความเกลียดความโกรธ ผมยืนยันว่าไม่ยั่งยืน ประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงทั่วโลกก็ไม่ยั่งยืน ยิ่งซ้ำเติมมากขึ้น.

 

----------------------

ที่มา...กรุงเทพธุรกิจ : http://www.bangkokbiznews.com


ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >