หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow เปิดพื้นที่ต่อรองภายในสู่สันติภาวะ(1) : ปรีดา เรืองวิชาธร
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 171 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

เปิดพื้นที่ต่อรองภายในสู่สันติภาวะ(1) : ปรีดา เรืองวิชาธร พิมพ์
Wednesday, 12 October 2011
เปิดพื้นที่ต่อรองภายในสู่สันติภาวะ(1)

โพสต์ทูเดย์


ความขัดแย้งมิได้มีแต่เฉพาะภายนอกเท่านั้น แต่ภายในจิตใจของเราในแต่ละขณะ แต่ละช่วงเวลาของชีวิต ก็มีความขัดแย้งเกิดขึ้นแทบจะไม่เคยหยุดหย่อนเลยเช่นกัน ความขัดแย้งภายนอกแม้จะปรากฏตัวให้เห็นได้ง่าย แต่ก็ทำความเข้าใจและคลี่คลายสลายลงได้ยากถึงยากที่สุด เพราะเหตุแห่งความขัดแย้งมีหลายปมสลับซับซ้อน เชื่อมโยงไปมาจนยากที่จะเข้าถึงอย่างถ่องแท้ ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคล ในครอบครัว องค์กร พื้นที่ทางสังคมที่มีความได้เปรียบเสียเปรียบ ระหว่างชนชั้นอย่างสุดขั้ว รวมถึงข้อพิพาทระหว่างประเทศ

ความขัดแย้งภายนอกหลายระดับเหล่านี้ เมื่อเราเข้าไปรับรู้หรือเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งด้วยแล้ว ก็มักจะส่งผลกระทบทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อจิตใจภายใน และนำไปสู่ความขัดแย้งภายในในที่สุด โดยสังเกตได้ง่ายๆ ดังเช่นหากเรามีความขัดแย้งกับใครสักคน ภาวะภายในของเรามักจะหวั่นไหว สับสน วิตกกังวลหรือครุ่นคิดวนไปเวียนมา เหมือนกับตัดสินใจไม่ได้หรือหาทางออกไม่เจอ เป็นภาวะที่อึมครึมหรือเครียดอย่างต่อเนื่อง

ในทางกลับกันหากเรามีความขัดแย้งภายในเกิดขึ้น เปรียบคล้ายดังพื้นที่ภายในจิตใจของเรา กำลังเป็นเสมือนสนามรบ หรือสนามต่อรองของความต้องการอันแตกต่างหลากหลาย ซึ่งไม่ลงตัวไปในทางเดียวกัน ภาวะความขัดแย้งภายในเช่นนี้ จะสร้างความอึดอัดขัดเคือง ซึ่งอาจจะส่งผลทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ต่อความขัดแย้งภายนอก หรืออาจโหมกระพือความขัดแย้งภายนอกให้รุนแรงขึ้นอีก ความขัดแย้งภายในเป็นสิ่งที่เห็นและรู้เท่าทันได้ยาก เพราะมันปรากฏตัวอยู่ภายในซึ่งเรามักจะมีสติรู้สึกตัว และจับสังเกตภายในได้ยาก ทั้งนี้ก็เพราะเรามักมองออกนอกตัวเกือบตลอดเวลา หรือไม่ก็เฝ้าครุ่นคิดวนเวียนอย่างสับสน โดยแทบไม่เคยเห็นจิตที่กำลังคิดหรือกำลังกระเพื่อมไหว ดังนั้นเมื่อความขัดแย้งภายในเกิดขึ้น และกำลังเคลื่อนตัวไปอย่างไร เราจึงไม่สามารถเห็นตัวมันได้อย่างชัดเจน แต่จะรู้สึกได้เพียงคร่าวๆว่ากำลังอึดอัดหรือเครียดกังวลอยู่ลึกๆ กล่าวโดยสรุปแล้วความขัดแย้งภายนอกจึงสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออกกับความขัดแย้งภายใน เราจะเข้าใจและคลี่คลายความขัดแย้งภายนอกได้ ก็จำต้องเข้าใจและคลี่คลายความขัดแย้งภายในด้วยทางหนึ่งเช่นกัน

เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น เกี่ยวกับความขัดแย้งภายใน มีเรื่องเล่าที่พอจะทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นคือ มีคุณหมอที่ผมสนิทมากอยู่คนหนึ่ง แกเล่าให้ฟังว่าก่อนหน้านี้สัก 2 เดือนที่ผ่านมารู้สึกอึดอัดกังวลใจ จนนอนไม่ค่อยหลับต่อเนื่องหลายคืน แม้ตอนตรวจคนไข้ก็รู้สึกได้ว่า ภายในมีความไม่สบายใจเหมือนมีเรื่องคั่งค้างลังเลอยู่ ผมถามแกต่อไปว่า เรื่องเป็นอย่างไรหมอพอจะเล่าให้ฟังได้ไหม แกบอกว่าช่วงนี้กำลังจะตัดสินใจเรื่องชีวิตการทำงาน คือทุกวันนี้แกเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ในโรงพยาบาล รู้สึกชื่นชมศรัทธาการบริหารโรงพยาบาล ซึ่งกำลังจะลงตัวและยังมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปสู่องค์กรที่มีความสุข และได้รับความสำเร็จในด้านคุณภาพการรักษา ถือเป็นความภาคภูมิใจร่วมของคนในโรงพยาบาล ขณะเดียวกันถ้าเป็นผู้อำนวยการต่อก็จะได้ปรับตำแหน่งเป็นระดับ 9 ซึ่งครอบครัวต่างก็เห็นด้วยอย่างชื่นชม อีกทั้งตัวหมอเองก็รับปากผู้ใหญ่บางท่าน เพื่อจะรับผิดชอบบริหารโรงพยาบาล จนกว่าทุกอย่างจะเริ่มลงตัวเข้าที่เข้าทาง แต่ลึกๆ แล้ว คุณหมอกลับเหน็ดเหนื่อยภายในกับการต้องบริหารคน และระบบในโรงพยาบาลซึ่งเป็นงานที่แม้จะทำได้ดี แต่ก็ไม่ได้รู้สึกชอบจริงๆ ยิ่งต้องจัดการความขัดแย้งระหว่างคน ก็จะรู้สึกทุกข์ใจทุกทีที่มีเรื่อง ส่วนลึกจริงๆ แล้วอยากเป็นอาจารย์สอนนักศึกษาแพทย์มากกว่า ซึ่งค้นพบแรงปรารถนาภายในมาระยะหนึ่งแล้ว และยิ่งตอนนี้มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งกำลังเชียร์ให้มาช่วยสอน นับเป็นโอกาสเหมาะทีเดียว แต่ครั้นจะต้องตัดสินใจเลือกเดินก็เกิดความขัดแย้งภายใน ว่าจะทำอย่างไรดี จะลาออกในเร็ววันนี้ ก็เกรงว่าผลกระทบจะเกิดขึ้นมากมายกับสิ่งที่ได้ริเริ่มไว้ ผู้อำนวยการคนใหม่ก็ยังไม่มั่นใจ ว่าจะสามารถสานต่อปณิธานได้มากน้อยเพียงใด แถมยังต้องรู้สึกผิดต่อเจ้าหน้าที่และผู้ใหญ่ที่รับปากไว้ ผสมกับกลัวถูกตำหนิจากหลายฝ่าย ว่าไม่รับผิดชอบทิ้งโครงการดีๆ ที่ได้เริ่มไว้กลางคัน และถ้าไปรับตำแหน่งอาจารย์ก็อาจต้องทิ้งตำแหน่งระดับ 9 ไปทางครอบครัวก็คงผิดหวังไม่น้อยเช่นกัน

เมื่อคุณหมอท่านนั้นได้ระบายเรื่องราวออกมาอย่างพรั่งพรู ก็ทำให้แกเห็นความรู้สึกติดขัดที่สะสมมานาน มองเห็นการคิดปรุงแต่งนั่นโน่นนี่อย่างสับสน รวมถึงเห็นชัดเจนว่าช่วงชีวิตขณะนี้มีความต้องการเกิดขึ้นกี่อย่าง และแต่ละความต้องการอะไรเป็นความต้องการที่แท้จริง อะไรเป็นความต้องการที่มาจากความคาดหวังจากคนอื่น หรือมาจากความคาดหวังที่ตนเองคาดหวังตัวเองไว้ โดยสรุปแล้วเมื่อคุณหมอมีโอกาสได้เล่าระบายมาอย่างสบายๆ โดยไม่มีใครขัดจังหวะก็สามารถทำให้แกมองย้อนกลับเข้าไปข้างใน จนเห็นภาพภายในจิตใจว่า เหมือนมีคุณหมออยู่หลายคน ซึ่งแต่ละคนกำลังถือความต้องการไว้ในมือคนละอัน และหลังของคุณหมอแต่ละคนก็ปรากฏเห็นผู้คนมากหน้าหลายตาสนับสนุน หรือมีอิทธิพลให้คุณหมอต้องแบกหรือถือความต้องการไว้ในมือ อย่างแนบแน่น ดังนั้นเพื่อจะให้ได้มาซึ่งความต้องการอันใดอันหนึ่งนั้น ภาพสุดท้ายก็จะจบลงที่หมอทุกคนที่เหลืออยู่ ต้องทิ้งความต้องการในมือลงเสียสิ้นท่ามกลางความเศร้าเสียใจ เสียดายโอกาสและรู้สึกผิดเต็มไปหมด

จากเรื่องเล่าของคุณหมอท่านนี้สะท้อนให้เห็นว่า ในแต่ละช่วงแต่ละขณะของชีวิตเรา มักจะมีความขัดแย้งอันเนื่องมาจากความต้องการอันหลากหลาย บางครั้งความต้องการหลายอย่างก็สนับสนุนกัน บางครั้งก็ขัดแย้งกันและในเนื้อในของแต่ละความต้องการ ก็มักจะมีคนอื่นคอยชักใยอยู่เบื้องหลังความต้องการนั้นๆ บ้างก็เป็นความต้องการที่ผ่านการเดินทางในชีวิตมานาน จนมีชุดความคิดความเชื่อความเห็นมากมายคอยดุนหลังความต้องการนั้นๆ รวมถึงมีบทเรียนต่างๆ จากประสบการชีวิต คอยกำกับความต้องการนั้นๆ เป็นต้น และความต้องการอันหลากหลายดังกล่าวนี้ ต่างก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปมาได้ทุกขณะเช่นกัน ที่สำคัญเราแทบไม่เคยมองลึกเข้าไปข้างใน จนเห็นภาพสังเวียนของความต้องการที่กำลังฮึ่มๆ ขัดแย้งใส่กัน แม้ภาพที่ชัดเจนว่าเรากำลังรู้สึกอย่างไร กำลังต้องการอะไรหรือกำลังคาดหวังอะไร ก็แทบจะไม่เคยจับสังเกตเห็นได้ชัดเจน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เราเกิดความขัดแย้งภายในบ่อยครั้ง ซึ่งจะทำให้สับสนกังวลใจและตัดสินใจยากบนทางแพร่งที่ต้องเลือกทำ สัปดาห์หน้ามาต่อด้วยเรื่องคลี่คลายความขัดแย้งภายใน

โดย.....ปรีดา เรืองวิชาธร

ที่มา คอลัมน์ มองย้อนศร : http://www.budnet.org/


ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >