หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow เปิดพื้นที่ต่อรองภายในสู่สันติภาวะ(2) : ปรีดา เรืองวิชาธร
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 101 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

เปิดพื้นที่ต่อรองภายในสู่สันติภาวะ(2) : ปรีดา เรืองวิชาธร พิมพ์
Wednesday, 19 October 2011
เปิดพื้นที่ต่อรองภายในสู่สันติภาวะ(2)

โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 11 เดือน กันยายน 2554


เมื่อมองอย่างใคร่ครวญถึงความขัดแย้งภายในใจเราจะพบว่า มันเป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่เกิดขึ้นได้เสมอ ตราบเท่าที่ภายในจิตใจของเรามีความผันผวนปรวนแปร อันเนื่องมาจากเรามีความต้องการหลากหลายไม่หยุดนิ่ง มีความคิดความเชื่อความเห็นหลายชุด มีประสบการณ์ชีวิตที่เพิ่มพูนไม่หยุดนิ่ง ตายตัว หรือ ได้รับอิทธิพลจากสิ่งอื่น คนอื่นรอบตัวที่หมุนเวียนเปลี่ยนผันไปทุกเมื่อเชื่อวัน เป็นต้น

ถ้าจะมองความขัดแย้งภายในให้เข้าใจง่ายขึ้น เราอาจลองตั้งต้นโฟกัสไปที่ความต้องการภายในก่อน ที่เรารู้สึกมีความขัดแย้งภายใน ก็เพราะเรามีความต้องการหลายอย่างในเวลาเดียวกัน แต่ความต้องการบางอย่างมันขัดแย้งไปด้วยกันไม่ได้ ขอย้ำอีกทีว่าเป็นเรื่องธรรมดาอย่างยิ่งที่เราจะมีความต้องการหลากหลายเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน แต่ที่มันขัดแย้งกันเองก็เพราะมีหลายเหตุปัจจัยไปกำหนด หรือมีอิทธิพลต่อคุณค่าความหมายของแต่ละความต้องการ ความต้องการบางอย่างจึงสอดคล้องลงตัวกันบ้าง บางครั้งก็ขัดแย้งสวนทางกันบ้าง

มีเหตุปัจจัยซึ่งสัมพันธ์กันอย่างน้อย 3 ประการที่ไปกำหนดคุณค่าความหมายของความต้องการภายในอันแรกก็คือ ชุดความคิดความเชื่อที่หลากหลาย ซึ่งบางครั้งไม่ได้เห็นไปในทางเดียวกัน ดังเช่นตัวอย่างของคุณหมอท่านนั้น ด้านหนึ่ง แกคิดว่าถ้ารับเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลต่อ ไม่ทิ้งกลางคัน จนกว่าทุกอย่างจะเริ่มลงตัวนั้น ถือเป็นความรับผิดชอบที่ควรตระหนัก ในฐานะสามัญสำนึกพื้นฐานของผู้นำที่ดี และเชื่อว่าเป็นการสะท้อนระดับภาวะผู้นำอย่างหนึ่งด้วย แต่ความคิดเห็นนี้ก็แย้งกับความคิดเห็นอีกชุดที่ว่า ชีวิตที่ได้ทำอะไรที่ไม่ตรงกับฉันทะ หรือแรงปรารถนาภายใน จนกำลังจะเกิดความทุกข์อย่างต่อเนื่อง และจะทำให้ชีวิตเสียสมดุลไปในที่สุด จึงควรลาออกไปเป็นอาจารย์แพทย์ตามแรงปรารถนา เป็นต้น ดังนั้น ชุดความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันจึงนำไปสู่ความต้องการที่ขัดแย้งกัน และจริงๆ แล้วในแต่ละขณะของชีวิตเรามักมีชุดความคิดเห็นมากกว่า 2 ชุด แถมยังเปลี่ยนแปลงได้เรื่อยๆ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในชีวิตที่มีหลายแง่หลายมุม

ปัจจัยต่อมาก็คือ ระดับความสัมพันธ์กับผู้อื่นที่มีความหมายต่อเราแตกต่างกันไป ความสัมพันธ์ที่มีความหมายในทางหนึ่งนั้น มักจะมีอิทธิพลไปกำหนดความคิดความเชื่อของเรา และไปกำหนดแต่ละความต้องการอีกต่อหนึ่ง ดังเช่น คุณหมอที่กล่าวถึงข้างต้นนั้นมีความผูกพันธ์อันลึกซึ้งกับครอบครัว ที่สนับสนุนให้แกได้ปรับเลื่อนตำแหน่งราชการเป็นระดับ 9 ทั้งยังเคารพศรัทธากับอาจารย์ผู้ใหญ่ ที่อยากให้แกบริหารโรงพยาบาลในระบบใหม่ อันก้าวหน้าเพื่อเป็นต้นแบบของโรงพยาบาลชุมชน รวมทั้งการมีความสัมพันธ์ฉันท์พี่น้องระหว่างตัวหมอเอง กับคนส่วนใหญ่ในโรงพยาบาล ความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับผู้คน 3 ฝ่ายนี้ทำให้หมอลังเลใจอย่างยิ่ง ที่จะลาออกจากโรงพยาบาลไปเป็นอาจารย์แพทย์ ในขณะเดียวกัน คุณหมอต้องไปเริ่มสานความสัมพันธ์ใหม่กับอาจารย์ในคณะแพทย์ทั้งหลาย ซึ่งได้ข่าวมาเช่นกันว่า บรรยากาศความสัมพันธ์ของเหล่าอาจารย์ในคณะแพทย์นั้น ค่อนข้างมีกำแพงอัตตาสูงและยังแห้งแล้งไม่เป็นกันเองเป็นต้น

ปัจจัยสุดท้ายที่จะกล่าวถึงในที่นี้ก็คือ สถานการณ์หรือเงื่อนไขข้อจำกัดในแต่ละช่วงของชีวิต ที่ผันผวนเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่หยุดนิ่ง ดังเช่นนักรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อมคนหนึ่ง ที่เดิมปฏิเสธการซื้อและใช้รถยนต์ส่วนตัว เพราะต้องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และถือเป็นคุณค่าด้านหนึ่งของการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย แต่พอถึงช่วงหนึ่งที่อายุมากขึ้น และต้องดูแลลูกและครอบครัวการซื้อรถส่วนตัวก็เลยเป็นเรื่องจำเป็น ซึ่งไปขัดแย้งกับความเชื่อและคุณค่าเดิม เป็นต้น จริงๆ แล้วยังมีเหตุปัจจัยอื่นอีกมากมายที่มีอิทธิพล กำหนดความต้องการให้แตกต่างหลากหลายกันไป แต่ที่ทำให้ความต้องการขัดแย้งกันธรรมดา กลายเป็นความขัดแย้งภายในที่สร้างความวิตกกังวล รู้สึกผิด เครียดหรือทุกข์ภายในมากนั้น ก็เนื่องจากเรามองเห็นความต้องการที่ทับซ้อนกันไม่ชัดเจน จนเราตัดสินใจผิดพลาดออกไป หรือไม่ก็แสดงพฤติกรรมออกไปอย่างบิดเบือน ไม่ตรงกับความรู้สึกหรือความต้องการที่แท้จริง แต่เหตุที่สำคัญที่สุดก็คือ การยึดมั่นถือมั่นต่อบางความต้องการอย่างเข้มข้น การติดยึดความคิดความเชื่อความเห็นอย่างตายตัว รวมถึงการยึดติดความสัมพันธ์แบบตายตัวไม่เปลี่ยนแปลง การยึดมั่นถือมั่นหรืออุปาทานในใจ เหล่านี้มักทำให้เราติดตันไม่สามารถเปิดใจให้กว้างเพื่อรับรู้ เข้าใจและยอมรับความหลากหลายในความต้องการที่มันขัดแย้งกันรวมถึงมองไม่เห็นเหตุที่มาของแต่ละความต้องการ

นอกจากความยึดติดภายในแล้ว ชีวิตที่ขาดการเฝ้าสังเกตภายใน ก็เป็นเหตุสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้เราไม่สามารถรับรู้อย่างเข้าใจ ถึงความต้องการภายใน ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ เราจึงไม่สามารถเปิดพื้นที่จิตใจให้เปิดกว้างมากพอที่จะทำให้ความต้องการ ตลอดจนความคิดความเชื่ออันหลากหลาย ได้มีโอกาสปะทะสังสรรค์ต่อรองกัน จนเราสามารถแสวงหาทางออกร่วมของทุกความต้องการอย่างสร้างสรรค์ได้ อย่างไรก็ตาม การจะเปิดพื้นที่ต่อรองภายในจะทำได้ยากมาก หากเรามองเห็นแต่ละความต้องการไม่ชัดเจน รวมถึงหากเราใจไม่กว้างพอที่จะให้ทุกความต้องการ ได้รับรู้เข้าใจอย่างตรงไปตรงมา แม้ว่าบางความต้องการ หรือบางความคิดเห็นอาจจะดูไม่ถูกต้องดีงาม หรือสร้างผลกระทบทางลบให้แก่ตัวเราเองและคนอื่นก็ตาม

ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ หากเราจะรับมือกับความขัดแย้งภายใน และสามารถเติบโตภายในควบคู่ไปด้วยแล้ว เราจึงต้องใจกว้างเพื่อฟังเสียงจากทุกความต้องการอย่างซื่อตรง และอ่อนโยน โดยใช้พลังแห่งสติจับสังเกตภายใน ผสานกับการวิเคราะห์อย่างใคร่ครวญจนเห็นความต้องการที่ชัดเจน รวมถึงเห็นเบื้องลึกเบื้องหลังของทุกความต้องการ เมื่อเห็นชัดเจนขึ้นก็เปิดพื้นที่ให้ความต้องการ ได้แลกเปลี่ยนต่อรองกันอย่างเต็มที่ทุกแง่มุม โดยอาจตั้งคำถามถามไปแต่ละความต้องการว่า หากเราสนับสนุนความต้องการอันหนึ่งขึ้นมาแล้ว เราจะได้อะไรบ้างที่เป็นคุณหรือผลด้านบวก เราจะสูญเสียอะไรบ้าง และหากเราต้องเลือกความต้องการอันนี้แล้ว เราจะมีทางลดข้อสูญเสียลงได้บ้างอย่างไร หรือหากเราไม่สามารถเลือกทำตามความต้องการอันนี้แล้ว เราจะมีทางเลือกอื่นอีกไหมที่สามารถชดเชยความต้องการเดิมได้บ้าง เป็นต้น

การตั้งคำถามภายในอย่างซื่อตรง และค่อยเป็นค่อยไปอาจทำให้เราเห็นแง่มุมใหม่ๆ ที่ลึกซึ้งขึ้น บางโอกาสเราอาจให้เพื่อนหรือคนอื่นที่สนิทใจทำหน้าที่เป็นคนรับฟัง และช่วยตั้งคำถามสืบค้นก็ถือเป็นอีกทางหนึ่ง ที่จะทำให้เราเข้าใจภายในเราได้ดีขึ้น อย่างน้อยเราอาจรู้สึกดีหรือมั่นคงขึ้น ก็เพราะมีคนอื่นเข้าใจและยอมรับเราตามที่เราเป็นได้ อย่างไรก็ตามผลจากการเปิดพื้นที่ต่อรองอย่างตรงไปตรงมา อาจไม่นำไปสู่การตัดสินใจที่ถูกต้องหรือดีที่สุดเสมอไป บางความต้องการอาจได้รับความสนับสนุน บางความต้องการอาจจะต้องพับเก็บไปเลยหรือลดระดับลงมาบ้าง หรือท้ายที่สุดอาจจะเป็นการผสมผสานแบบวิน-วินจากหลายความต้องการ จนก่อเกิดทางเลือกใหม่และเราก็ตัดสินใจเลือกทำได้อย่างเหมาะสม และถึงแม้ว่าเราจะตัดสินใจผิดพลาดจริงๆ แต่การเปิดพื้นที่ต่อรองภายในนั้น อย่างน้อยก็ทำให้เราได้รับรู้เข้าใจความต้องการภายใน ในหลายแง่หลายมุมมากขึ้น และเมื่อตัดสินใจไปแล้ว ก็อาจทำให้เบาใจว่าได้ตัดสินใจบนการไตร่ตรองมาดี จนเกิดความกล้าหาญที่จะรับผิดชอบทุกอย่างจากการตัดสินใจแล้ว ดังนั้นผลการตัดสินใจจะออกมาเป็นเช่นใด ก็เพียงเราเก็บไปเป็นบทเรียนในการตัดสินใจในรอบต่อไป

โดย.....ปรีดา เรืองวิชาธร

ที่มา คอลัมน์ มองย้อนศร : http://www.budnet.org/


ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >