หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow เกี่ยวกับ ป.อ.112 ต้องตรองให้หลายชั้น ตรึกให้รอบด้าน : เชาวลิต บุณยภูษิต
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 98 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

เกี่ยวกับ ป.อ.112 ต้องตรองให้หลายชั้น ตรึกให้รอบด้าน : เชาวลิต บุณยภูษิต พิมพ์
Wednesday, 21 September 2011
เกี่ยวกับ ป.อ. 112 ต้องตรองให้หลายชั้น ตรึกให้รอบด้าน

โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 14 สิงหาคม 2554


ความเป็นมาเบื้องต้น

กรณีที่มีบุคคลจำนวนหนึ่งออกมาเรียกร้องให้ยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งบัญญัติไว้ในลักษณะ 1 ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หมวด 2 ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี" โดยให้เหตุผลต่างๆ เป็นต้นว่า

"มนุษย์ ไม่ว่าจะชาติกำเนิดใด ดำรงตำแหน่งสถานะใด ย่อมมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีเสรีภาพ มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน มีเหตุผล มีความสามารถอดทนอดกลั้นต่อความคิดเห็นที่แตกต่าง และในสังคมประชาธิปไตย เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเป็นเสรีภาพที่จะขาดเสียมิได้ หากจะมีการจำกัดเสรีภาพดังกล่าว รัฐต้องกระทำเท่าที่จำเป็น และจะจำกัดจนถึงขนาดกระทบต่อสารัตถะแห่งเสรีภาพนั้นมิได้...เพื่อรักษาไว้ซึ่งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ คณะนิติราษฎร์จึงเห็นควรเสนอแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" (5 คณาจารย์กลุ่มนิติราษฎร์)

"เสรีภาพในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็น คือหัวใจสำคัญของการเป็นนักเขียนในสังคมประชาธิปไตย...เสรีภาพในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็น ถือเป็นพื้นฐานสำคัญเบื้องต้นที่เอื้อให้นักเขียนทุกคนทุกแขนงในสังคม ได้มีพื้นที่ มีอิสรภาพ และมีโอกาสในการพัฒนาทั้งคุณภาพผลงานและทั้งคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่โดยเท่าเทียมกัน" (กลุ่มนักเขียน)

ในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่ง แม้ไม่ได้เป็นนักเขียนอาชีพ แต่ก็เขียน แปล เป็นบรรณาธิการหนังสือบ้างเป็นครั้งคราว และเป็นนักศึกษาที่กำลังเรียนกฎหมายอยู่ กลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวบางท่านก็เป็นอาจารย์ บ้างก็เป็นรุ่นพี่ เป็นเพื่อน ผมจึงค้นหาข้อมูลจากแง่มุมอื่นๆ มานำเสนอ เพื่อประกอบการคิดไตร่ตรองของสังคมไทยเราในเรื่องดังกล่าวให้รอบด้านมากที่สุด

ความผิดฐานหมิ่นประมาท : กรณีบุคคลทั่วไป

ประมวลกฎหมายอาญา คุ้มครองเสรีภาพและชื่อเสียงบุคคลทั่วไปไว้ในหลายมาตรา เช่น ลักษณะ 11 ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ หมวด 3 ความผิดฐานหมิ่นประมาท มาตรา 326 บัญญัติว่า "ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ" หรือมาตรา 328 บัญญัติว่า "ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดย การโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษร ที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆ แผ่นเสียงหรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวร้องด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท" เป็นต้น

ความผิดฐานหมิ่นประมาท : กรณีประมุขของรัฐ

พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของรัฐ รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ในหมวด 2 ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ มาตรา 8 ว่า "องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้"

ในขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญก็รับรองสิทธิเสรีภาพของชนชาวไทยไว้ในหมวด 3 ส่วนที่ 7 ว่าด้วยเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน มาตรา 45 บัญญัติว่า "บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น

การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน..."

ผู้เขียนคิดว่าในเมื่อกฎหมายยังคุ้มครองเสรีภาพและชื่อเสียงบุคคลธรรมดา พระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐกฎหมายก็ยิ่งต้องคุ้มครอง และการลงโทษผู้กล่าวอ้างเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นมาว่าร้ายองค์ประมุขโดยเจตนาในกลางบ้านกลางเมืองเหมือนที่บางคนกระทำด้วยความเมามันนั้นหาใช่การกลั่นแกล้งทางการเมืองแต่อย่างใดไม่ แต่เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานที่ต้องกระทำเพื่อรักษาเกียรติคุณของประมุขแห่งรัฐไว้ต่างหาก

ส่วนที่กล่าวอ้างว่ามีการนำกฎหมายอาญาไปกลั่นแกล้งกันทางการเมือง ฟ้องร้องดำเนินคดี คุมขังและลิดรอนอิสรภาพของประชาชนผู้ถูกกล่าวหาจำนวนมากนั้น ควรแยกแยะประเด็นว่าผู้นั้นเจตนาทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือไม่ หากไม่ใช่เจตนาทำความผิด ก็ควรจะหาทางแก้ไขในส่วนนั้น การหาทางยกเลิกทั้งหมดเลยหาใช่การแยกแยะประเด็นไม่ เพราะอย่างไรเสียหลักกฎหมายในการคุ้มครองประมุขของรัฐจากการหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่น ยังต้องคงเป็นหลักไว้ ส่วนข้อยกเว้นที่เป็นปัญหาก็หาทางแก้ตรงจุดนั้น

ตามหลักกฎหมายอาญาแล้ว บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา และกระทำครบองค์ประกอบความผิด ศาลหาได้ลงโทษผู้กระทำความผิดในทันทีไม่ ดังนั้นการจะใช้เรื่องการหมิ่นประมาทองค์ประมุขมากลั่นแกล้งกันทางการเมืองเป็นการอ้างที่มีน้ำหนักน้อยมาก เพราะผู้พูดย่อมรู้ดีว่าการที่ตนกล่าวพาดพิงสถาบันมีเจตนาใดอยู่เบื้องหลังหรือไม่ วิญญูชนทั่วไปก็พอแปรเจตนาผู้พูดออก ยิ่งศาลยุติธรรมยิ่งย่อมมีวิจารณญาณในการพิจารณาอรรถคดีที่ละเอียดถี่ถ้วนยิ่งกว่า

เสรีภาพในการสร้างสรรค์ ไฉนฤาจึงใช้มันเพื่อทำลาย

สิทธิคือประโยชน์หรืออำนาจเหนือบุคคลอื่นที่กฎหมายรับรองหรือคุ้มครอง ส่วนเสรีภาพคืออำนาจเหนือตนเองที่จะกระทำการหรือไม่กระทำการใดๆ ก็ได้ ในสังคมเรามีคนไม่น้อยที่ชอบอ้างเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (freedom of speech) ทั้งที่เราก็ทราบกันอยู่การใช้เสรีภาพไม่ผิดแต่ก็มีขอบเขต คือเสรีภาพนั้นต้องไม่ใช้ไปในทางละเมิดสิทธิและเสรีภาพผู้อื่นเช่นกัน แต่ก็ยังมีบางคนกล่าวอ้างเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญอย่างผิดๆ คือแทนที่จะใช้เพื่อประโยชน์ของสังคม แต่กลับใช้ไปเพื่อสร้างความบาดหมางให้เกิดขึ้นในหมู่ชน ใช้เพื่อระบายถึงความเกลียดชัง ความไม่พอใจ ใช้เพื่อปลุกปั่น เป็นการพูดเพื่อให้สะใจ (ทั้งคนฟังและคนพูด) แทนที่จะพูดด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยกันแก้ปัญหา หรือช่วยกันนำพาประเทศไทยให้ไปข้างหน้า จนในที่สุดเสรีภาพในการพูดกลายเป็นเสรีภาพในการกล่าววาจาเพื่อปลุกปั่นกระจายความชิงชัง (hate speech) ไปเสีย

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ให้สติเรื่องการใช้เสรีภาพในการพูดไว้ในหนังสือ "นักวิชาการ เทศ-ไทย หาความรู้ให้แน่ ใช่แค่คิดเอา" ว่า "เราให้เสรีภาพในการพูด ก็เพื่อชีวิตและสังคมที่ดีมีความเจริญงอกงาม คนที่ใช้เสรีภาพเป็น คือรู้จักใช้เสรีภาพด้วย ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อข้างนอก คนมีเสรีภาพในการพูด แต่ข้างใน ใจของคนพูดไม่มีเสรีภาพ เพราะไม่อิสระจากความมุ่งร้าย ความเกลียดชัง การดูถูกเหยียดหยาม เป็นต้น ที่รู้กันอยู่แล้วว่าไม่ดี ไม่งาม ทำให้ขาดเมตตาจิตที่จะคิดถึงใจเขาใจเรา ระบอบประชาธิปไตยให้ได้เพียงแค่เสรีภาพข้างนอกในการพูด แต่เสรีภาพข้างในจิตใจของคนที่จะใช้เสรีภาพในการพูดนั้น อยู่ที่ตัวคนนั้นเอง ที่จะต้องพัฒนาชีวิตจิตใจของตน ให้รักธรรม รักความจริง รักความถูกต้องดีงาม ปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ มีเมตตา และใฝ่ปัญญา มุ่งจะร่วมมือแก้ปัญหา และทำการสร้างสรรค์"

หลักการตรัสของพระพุทธเจ้า

พระพุทธองค์ผู้ทรงส่งสาวกจาริกไปในแว่นแคว้นต่างๆ เพื่อประโยชน์สุขแก่หมู่ชน เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ แม้ทรงมีเสรีภาพในการตรัสสอนโดยไม่ต้องเรียกร้องหา เป็นอิสระจากเครื่องครอบงำจิตใจ เช่น ความมุ่งร้าย ความเกลียดชัง การดูถูกเหยียดหยาม ฯลฯ ทรงมีอิสระจากอคติและไม่เคยทำร้าย กล่าวร้ายหรือมุ่งร้ายต่อผู้ใด มีความปรารถนาดีต่อสัตว์ทั้งหลายที่ตั้ง แต่พระองค์ก็ยังทรงยึดหลักในการตรัส 6 ประการ คือ

1. วาจาที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น พระองค์ไม่ตรัส
2. คำพูดที่จริง ถูกต้อง แต่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น พระองค์ไม่ตรัส
3. คำพูดที่จริง ถูกต้อง เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น พระองค์เลือกกาลที่จะตรัส
4. คำพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น พระองค์ไม่ตรัส
5. คำพูดที่จริง ถูกต้อง แต่ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น พระองค์ไม่ตรัส
6. คำพูดที่จริง ถูกต้อง เป็นประโยชน์ เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น พระองค์เลือกกาลที่จะตรัส
(อภัยราชกุมารสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ 13)

จากหลักนี้จะเห็นได้ว่าแม้แต่คำพูดที่จริง ถูกต้อง เป็นประโยชน์ เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น พระพุทธเจ้าก็ยังทรงเลือกกาลที่จะตรัส มิพักต้องพูดถึงคำพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ว่าพระองค์จะตรัสหรือไม่ พระพุทธองค์ไม่ทรงอ้างถึงเสรีภาพของพระองค์แต่อย่างเดียว แต่มุ่งถึงประโยชน์ของผู้ฟังอีกด้วย

นอกจากนี้ในอัคคัญญสูตร (พระไตรปิฎก เล่มที่ 11) ซึ่งเป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงวิวัฒนาการของการปกครองของสังคมมนุษย์ พระพุทธเจ้าตรัสเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ไว้ว่า "ในหมู่ชนที่ถือตระกูลเป็นใหญ่ กษัตริย์จัดว่าประเสริฐที่สุด ส่วนผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและมนุษย์"

ประเด็นที่นำมาเสนอบางแง่มุมเหล่านี้ก็เพื่อประกอบการคิดใคร่ครวญถึงข้อเรียกร้องของกลุ่มต่างๆ เพื่อจะได้นำไปประกอบการมองให้รอบด้านที่สุด

โดย.....เชาวลิต บุณยภูษิต

ที่มา คอลัมน์ มองย้อนศร : http://www.budnet.org/


ความคิดเห็น
วิจารณ์กับโจมตี
เขียนโดย blk เปิด 2011-09-25 10:34:54
คนไทยหลายคน แยกความหมายของคำว่าวิจารณ์ กับโจมตึไม่ออกครับ

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >