หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 101 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


สาระสำคัญของสารวันสันติภาพสากล ปี 1993/2536 : หากท่านปรารถนาสันติ จงเข้าหาคนยากจน พิมพ์
Friday, 19 May 2006

สาระสำคัญของสารวันสันติภาพสากล
ของสมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น พอล ที่ 2
1 มกราคม 1993/2536
หากท่านปรารถนาสันติ จงเข้าหาคนยากจน

“มีใครคนใดบ้างที่ไม่ต้องการสันติภาพ”
คำเริ่มต้นของสารฉบับนี้ เป็นทั้งการตั้งคำถามและท้าทายโลกของเราเป็นอย่างยิ่ง

ในช่วงเวลาที่สารฉบับนี้ออกมานั้น ความหวาดกลัวสงครามระหว่างกลุ่มคนที่มีอุดมการณ์ขัดแย้งกันได้หมดไปแล้ว แต่ความขัดแย้งที่รุนแรงภายในกำลังคุกรุ่นขึ้นในทุกส่วนของโลก เช่น สถานการณ์บอสเนีย-เฮอร์เชโกวินา ซึ่งสงครามได้คร่าชีวิตผู้คนเพิ่มขึ้นทุกวัน และดูเหมือนไม่มีอะไรจะมาหยุดยั้งความรุนแรงที่ปราศจากสติสัมปชัญญะของอาวุธสงครามได้

ในย่อหน้าที่สองของสารระบุอย่างชัดเจนว่า “โลกของเราปรากฏหลักฐานที่แสดงถึง “การคุกคามที่อันตรายต่อสันติภาพ” มากขึ้น คนเป็นจำนวนมากและประชาชนหลายชาติ กำลังมีชีวิตอยู่ในสภาพที่ยากจนสุดขีด ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนมีมากขึ้น แม้แต่ในประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้ว นี่เป็นปัญหาที่มโนธรรมของมนุษยชาติไม่ควรมองข้าม เนื่องจากสภาพที่ผู้คนจำนวนมากกำลังดำรงอยู่นั้น เป็นการดูถูกศักดิ์ศรีภายในของพวกเขาเอง และเป็นผลคุกคามต่อความก้าวหน้าอย่างแท้จริงที่จะประสานกลมเกลียวกันของชุมชนโลก”

สารฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่า การพูดถึงคำว่า “สันติภาพ” นั้น มีความหมายมากไปกว่าการไม่มีสงคราม เป็นการยืนยันเงื่อนไขของการเคารพอย่างแท้จริงต่อศักดิ์ศรีและสิทธิของมนุษย์ทุกคน อันเป็นเงื่อนไขซึ่งทำให้สามารถไปถึงความสำเร็จสมบูรณ์ ซึ่งการเอารัดเอาเปรียบคนอ่อนแอ ความยากจนข้นแค้นที่ยังมีอยู่ทั่วไป และความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ย่อมก่อให้เกิดความล่าช้าและเป็นอุปสรรคในการทำให้เกิดสันติภาพโดยแท้จริง

สารฉบับนี้ได้สรุปถึงปัญหาต่างๆ ที่ได้ทำร้ายคนยากจนและในที่สุดก็คุกคามสันติภาพ เช่น ปัญหาหนี้สินต่างประเทศ ยาเสพติด ซึ่งเกี่ยวพันกับความรุนแรงและอาชญากรรม หรือสถานการณ์ที่บางประเทศมีสภาพทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ทำให้เกิดการอพยพย้ายถิ่นฐานไปยังประเทศที่เจริญกว่า ซึ่งเป็นการทำให้เกิดความตึงเครียดอันรบกวนระเบียบสังคม

สมเด็จพระสันตะปาปา กล่าวไว้ว่า “ความยากจนขาดแคลนเป็นสาเหตุที่ซ่อนเร้น แต่เป็นสาเหตุที่แท้จริงของการคุกคามสันติภาพ การลดศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ทำให้เกิดการทำร้ายที่รุนแรงต่อคุณค่าของชีวิต และเป็นการโจมตีหัวใจของการพัฒนาอย่างสันติของสังคม”

สารฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่า ประเทศอุตสาหกรรม ผู้คนถูกครอบงำด้วยความบ้าคลั่งและแข่งกันทางวัตถุข้าวของ สังคมบริโภคทำให้ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนยากจนนั้นชัดเจนขึ้น และการไขว่คว้าหาความสุขสบายในชีวิตอย่างไม่หยุดยั้ง กำลังปิดตาประชาชนมิให้มองเห็นความต้องการของผู้อื่น ในการที่จะส่งเสริมสวัสดิการทางสังคม เศรษฐกิจ และสวัสดิภาพทางวัฒนธรรม และจิตใจนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหยุดยั้งการบริโภคอย่างไม่จำกัด

สารฉบับนี้ระบุไว้อีกว่า “การรู้จักประมาณและความเรียบง่าย ควรจะเป็นบรรทัดฐานในชีวิตประจำวันของเรา” ปริมาณสินค้าซึ่งบริโภคโดยประชากรเพียงส่วนน้อยของโลกนั้น มีมากเกินทรัพยากรที่มีอยู่จะตอบสนองได้ การลดความต้องการลงเป็นก้าวแรกที่ทำได้ในการขจัดปัดเป่าความยากจน ซึ่งจะต้องทำควบคู่ไปกับมาตรการที่จะประกันว่าทรัพย์สินของโลกจะถูกกระจายอย่างยุติธรรม

ย่อหน้าสุดท้ายของสารฉบับนี้กล่าวอย่างหนักแน่นว่า “หากท่านปรารถนาสันติ จงเข้าหาคนยากจน” และให้คนรวยและคนจนรับรู้ว่าพวกเขาเป็นพี่น้องกัน ให้พวกเขาแบ่งปันซึ่งกันและกัน เยี่ยงบุตรของพระเจ้าผู้ทรงรักทุกคน ทรงปรารถนาดีกับทุกคน และทรงประทานพระคุณแห่งสันติภาพแก่ทุกคน

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >