หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 167 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


สาระสำคัญของสารวันสันติภาพสากล ปี 1992/2535 : ผู้มีความเชื่อทั้งหลายร่วมกันสร้างสันติ พิมพ์
Friday, 19 May 2006

สาระสำคัญของสารวันสันติภาพสากล
ของสมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น พอล ที่ 2
1 มกราคม 1992/2535
ผู้มีความเชื่อทั้งหลายร่วมกันสร้างสันติ

ครบรอบ 25 ปี ของสารวันสันติภาพสากลในปี 1992 นี้ ได้มีการย้อนกลับไปในช่วงเวลาที่ผ่านมาโดยภาพรวม ซึ่งพบว่าหลายเหตุการณ์ยังคงดำเนินไปอย่างน่าเศร้าใจ และเป็นอุปสรรคขัดขวางสันติภาพอย่างแท้จริง

สารฉบับนี้กล่าวในย่อหน้าแรกๆ ไว้ว่า มนุษย์ได้ปล่อยให้ตนเองถูกชักนำด้วยการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวในทางทำลายหรือด้วยความชิงชังฝังรากลึก

ซึ่งความปรารถนาสันติภาพได้ฝังรากลึกลงในธรรมชาติมนุษย์ และมีอยู่ในศาสนาต่างๆ ทั้งแสดงตนออกมาในความปรารถนาที่จะมีระเบียบและความสงบ ในการวางตัวพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อื่นในความร่วมมือและการแบ่งปัน โดยตั้งอยู่ในความเคารพซึ่งกันและกัน คุณค่าต่างๆ เหล่านี้ซึ่งก่อกำเนิดมาจากกฎธรรมชาติ และพร่ำสอนกันโดยศาสนาต่างๆ ของโลก

สารปี 1992 ระบุว่า ชีวิตศาสนิกชน ถ้าดำเนินไปอย่างถูกต้องแล้ว จะก่อให้เกิดผลแห่งสันติภาพ และความเป็นพี่น้องกัน เพราะนี่คือธรรมชาติของศาสนาที่จะสนับสนุนความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับพระเป็นเจ้าตลอดกาล และส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันพี่น้องระหว่างประชาชนให้มากขึ้น

และยังกล่าวไว้อีกว่า ทัศนะด้านศาสนาและจิตใจที่เต็มไปด้วยการสวดภาวนา ไม่เพียงแต่จะช่วยเราให้เติบโตด้านภายในเท่านั้น แต่ยังชี้แนวทางแก่เราถึงความหมายที่แท้จริงในการดำรงอยู่ของเราในโลกนี้ และอาจกล่าวได้ด้วยว่า มิติทางศาสนากระตุ้นให้เรากล้ากระทำแม้กระทั่งการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนอันผูกพันมากขึ้น ในการสร้างสังคมที่มีระเบียบอย่างดี ที่ซึ่งสันติภาพเข้าครอบครอง

อาศัยการภาวนา บรรดาผู้มีความเชื่อทั้งหลายได้พบซึ่งกันและกันในระดับที่เอาชนะความไม่เท่าเทียม ความไม่เข้าใจ ความขมขื่น และความเกลียดชังได้ กล่าวคือ พบกันต่อหน้าพระเจ้าผู้ซึ่งเป็นพระเป็นเจ้าและพระบิดาของเราทุกคน การสวดภาวนา อันเป็นการแสดงออกที่แท้จริงของความสัมพันธ์อันดีกับพระเป็นเจ้า และกับผู้อื่นก็เป็นส่วนสนับสนุนที่ดีต่อสันติภาพแล้ว

สารฉบับนี้เน้นถึงการเคารพเสรีภาพทางศาสนาอย่างเคร่งครัด และการเคารพสิทธิที่จะมีเสรีภาพทางศาสนานั้น คือแหล่งที่มาพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 กล่าวไว้ในสารฉบับนี้ว่า “ข้าพเจ้าปรารถนาให้การเคารพสิทธิและเสรีภาพทางศาสนาเป็นความผูกพัน ไม่ใช่เพียงคำยืนยัน แต่จะนำมาปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยผู้นำทางการเมืองและผู้นำทางศาสนา ตลอดจนตัวของผู้ที่มีความเชื่อทั้งหลาย”

สมเด็จพระสันตะปาปา ทรงเตือนว่า “จะเป็นความผิดพลาด ถ้าศาสนาหรือกลุ่มผู้นับถือศาสนาต่างๆ แปลความหมายและการปฏิบัติตามความเชื่อที่พวกเขานับถือได้ตกไปสู่รูปแบบของลัทธิเคร่งศาสนาแบบผิดๆ และลัทธิเคร่งศาสนา โดยอ้างเหตุผลทางศาสนามาสนับสนุนการต่อสู้โต้แย้งกับผู้อื่น” และ “ถ้าหากจะมีการดิ้นรนต่อสู้ที่คู่ควรกับมนุษย์ นั่นก็เป็นการต่อสู้กับ “ตัณหา” อันไม่เป็นระเบียบต่างๆ ของมนุษย์เอง ต่อต้านความเห็นแก่ตัวทุกรูปแบบ ต่อต้านความพยายามที่จะกดขี่ผู้อื่น ต่อต้านความเกลียดชัง และความรุนแรงทุกรูปแบบ กล่าวโดยย่อคือต่อต้านทุกสิ่งทุกอย่างที่ตรงข้ามกับสันติภาพและการคืนดีกันอย่างแท้จริง

ในช่วงท้ายของสารฉบับนี้ สมเด็จพระสันตะปาปาเรียกร้องต่อบรรดาผู้นำชาติต่างๆ และต่อผู้นำกลุ่มชนนานาชาติ ให้แสดง “ความเคารพอย่างยิ่งต่อมโนธรรมทางศาสนาของชายและหญิงทุกคนอยู่เสมอ” และเคารพต่อความช่วยเหลือพิเศษที่ศาสนาจะสนับสนุนเพื่อความก้าวหน้าทางอารยธรรม และเพื่อการพัฒนาของประชาชน พวกเขาเหล่านั้นไม่ควรจำนนต่อการถูกผจญในการแสวงหาผลประโยชน์โดยใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือแห่งอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีต่อต้านปฏิปักษ์โดยวิธีการทางทหาร

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 เรียกร้องต่อผู้มีอำนาจรัฐทั้งหลาย ให้มุ่งมั่นด้วยความรับผิดชอบอย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันสงครามและความขัดแย้ง เพื่อทำงานให้สิทธิและความยุติธรรมจะได้รับชัยชนะ และในขณะเดียวกันก็สนับสนุนการพัฒนาซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทุกๆ คน และเป็นต้น ต่อบรรดาผู้ที่ถูกกดขี่เพราะความยากจน ความหิวโหย และความทุกข์ยาก ความก้าวหน้าในการลดอาวุธได้เกิดขึ้นแล้ว สมควรจะได้รับการยกย่องสรรเสริญ ทรัพยากรเศรษฐกิจและการเงินซึ่งก่อนหน้านี้นำเอาไปผลิตและขาย “อุปกรณ์แห่งความตาย” จำนวนมาก ตั้งแต่นี้ไปจะถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์แก่มนุษย์ มิใช่เพื่อทำลายมนุษย์

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >