หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow ทางแห่งการหลุดพ้น : อมรา มลิลา
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 1267 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ทางแห่งการหลุดพ้น : อมรา มลิลา พิมพ์
Wednesday, 09 March 2011

ทางแห่งการหลุดพ้น

กินกิน... ใช้ใช้

อมรา มลิลา

โลกและสิ่งมีชีวิตทั้งหลายล้วนมีธรรมชาติที่เกี่ยวพันกันอย่างแนบแน่นซับซ้อน หรือจะกล่าวว่า แท้ที่จริงแล้วมันคือ สิ่งเดียวกันก็ไม่ผิด เพราะหากพิเคราะห์ให้ถ่องแท้แล้วจะเห็นว่า ณ จุดสมดุลคือ เมื่อลมหายใจดับสิ้นลง สิ่งมีชีวิตก็ไม่ต่างอะไรกับสิ่งแวดล้อมหรือโลกตรงไหนเลย

เมื่อหนองน้ำลำคลองขาดอากาศระบายถ่ายเทในจำนวนพอเหมาะ น้ำก็เริ่มเน่าเหมือนน้ำเลือดน้ำหนอง ร่างกายสิ่งมีชีวิตขาดอากาศจากลมหายใจไหลเวียนถ่ายเทเข้าไปสู่เนื้อตัว น้ำก็เริ่มเน่าเสีย เกิดกลิ่นขึ้น เซาะซึมให้เนื้อหนังซึ่งเป็นธาตุดินแตกแยก เพื่อให้น้ำเน่าเสียเหล่านั้นได้กลับไปสู่แหล่งธรรมชาติ คืนกลับสู่โลกไปเป็นสมบัติสาธารณะดังเดิม

และแล้วดินและน้ำเหล่านี้ก็ทำหน้าที่เป็นปุ๋ย เป็นสารอาหารหล่อเลี้ยงธัญพืช ผัก ผลไม้ต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่เป็นอาหารให้สัตว์ คน สิ่งมีชีวิตทั้งหลายได้อาศัยเป็นเครื่องยังชีวิต เมื่อถูกบริโภคเข้าสู่ร่างกายผ่านขบวนการย่อย ดูดซึม สังเคราะห์ขึ้นเป็นชิ้นส่วนของอวัยวะร่างกายของชีวะนั้น ทำให้เราลืมรากเหง้าดั้งเดิม หลงคิดครอบครองว่านี่คือเราเกิดตัวตนคนสัตว์ขึ้น

เกิดความเห็นผิด คิดผิด ยึดมั่นถือมั่นว่า "เรา" และ "โลก" เป็นคนละสัดส่วนกัน เห็นโลกเป็นทรัพย์สมบัติ จากสักการะที่ต่างคนต่างยื้อแย่ง แสวงหาไว้ในครอบครอง เพื่อเป็นข้อพิสูจน์ความยิ่งใหญ่ของ "ตน"

เมื่อเกิดความคิดผิดเห็นผิดเช่นนั้นขึ้น การบริโภคสิ่งแวดล้อมจึงเป็นไปด้วยโมหะ อวิชชา ขาดความรอบคอบ ขาดการพินิจพิจารณาไตร่ตรองตามสภาพเป็นจริง ผลที่ติดตามมาจึงมีแต่ปัญหา ปัญหา และปัญหา...

คนเราเปรียบได้กับหมู่เนื้อ มีโลกามิส หรือกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และทิฏฐิ หรือค่านิยม เป็นเสมือนเหยื่อล่อกิเลสในใจเป็นประดุจพราน

สิ่งมีชีวิตอื่นๆ แม้จะมีการบริโภค แต่ก็ไม่ซับซ้อน วุ่นวายยุ่งยากเหมือนมนุษย์ เป็นต้นว่าเรื่องกิน สิ่งมีชีวิตทั้งหลายก็กินเพียงแค่อิ่มท้อง อย่างมากก็ขวนขวายเผื่อแผ่ลูกและคู่ครอง จะทำร้ายเบียดเบียนกันเพราะธรรมชาติกำหนดให้สิ่งหนึ่งเป็นอาหารของอีกสิ่งหนึ่ง ไม่ใช่เพราะอิทธิพลของรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะปรุงแต่ง เร่งเร้าให้เกิดการเบียดเบียน

ค่านิยมของการกิน ทำให้มนุษย์เราเหี้ยมโหด ก่อหนี้สินเวรภัยให้ตัวเองโดยไม่รู้ตัว เป็นต้นว่าเรานิยมรังนกนางแอ่นว่ามีคุณค่า เป็นอาหารบำรุงกำลังผู้ป่วย ผู้พักฟื้น เมื่อผู้บริโภคจำนวนสูง ผู้ผลิตก็พยามยามขวนขวายหาสินค้ามาสนองความต้องการจากรังที่หนึ่ง.. รังที่สอง.. แม้กระทั่งรังที่สาม ที่แม่นกต้องพยายามขากน้ำลายของตนออกมาสร้างรังอย่างรีบเร่ง เพื่อรองรับไข่ที่จะตกออกมาบีบเค้นออกมาจนกระทั่งเส้นเลือดในคอแตก กลายเป็นสายเลือดปะปนกับน้ำลายเพื่อสร้างรัง แม้กระนั้นก็ตาม คนบางคนยังดุร้ายใจหิน ไปแย่งชิงเอามาซื้อขายเพื่อไปบริโภค จนแม่นกบางตัวถึงแก่ชีวิตจากการรีบเร่งสร้างรังให้ทันวัตถุประสงค์ของเผ่าพันธุ์นก

เรานิยมกินไข่จาระเม็ด จนเต่าตนุเกือบจะสูญพันธุ์อยู่แล้ว หรือ เมื่อมีนิยามว่า อาหารทะเลต้องสด เนื้อจึงหวาน นุ่ม รสชาติเลิศ เราจึงสรรหากรรมวิธีเอากุ้งเป็นๆ นาบลงบนน้ำแข็ง แล้วเอาเข้าห้องเย็นเป็นการแช่แข็งทั้งเป็นจนค่อยๆ ตายสนิท เพื่อศพจะได้มีรสชาติเข้าขั้นมาตรฐาน ต้องรสนิยมของประดานักชวนชิมทั้งหลาย ปูก็ต้องทั้งยังเป็นๆ ใส่ในหม้อน้ำเดือด โดยไม่เคยคำนึงถึงความเจ็บปวดรวดร้าวแสนสาหัสของมัน ที่ถูกลวกจนสุกทั้งเป็นๆ ... สารพันที่มนุษย์ผู้ตกเป็นทาสของรส จะสรรหาวิธีกินอย่างพิสดารพันลึกขึ้นมาสนองความทะยานอยากของตน

กล้า และกล้า และกล้าที่จะทำสารพัดอย่างเลือดเย็น เพราะสรรพสัตว์เหล่านั้นไม่มีวาจาตอบโต้ หรือมีปฏิกิริยาศอกกลับ รุกล้ำเข้าไปบนสิทธิส่วนบุคคลในอันจะปกป้องรักษาชีวิตของตนไว้

เราลืมเอาใจเขามาใส่ใจเรา ชีวิตใคร ใครก็หวงแหน ชีวิตใคร แม้จะน้อยนิด กระจ้อยร่อย กระจิดริด กระจิ๋วหลิวแค่ไหนก็ตาม ก็เป็นที่รักที่สงวนของครอบครัวเขาทั้งสิ้น เพียงแต่เราจะย้อนเข้ามามองใจตัวเองว่า ถ้าใครมาทำกับเรากับครอบครัวเรา อย่างที่เราทำกับเขาเราจะยินดี พอใจหรือไม่ หากคำตอบว่า "ไม่" เราก็ต้องฝึกกำหราบทรมานใจของตน ให้งดเว้นการกระทำนั้นๆ ไม่ว่าจะมีผู้รู้เห็น หรือไม่มีผู้รู้เห็นก็ตาม

นอกจากจะบริโภคด้วยการ "กิน" แล้ว เรายังบริโภคด้วยการ "เสพ" สังวาส

พุทธธรรมสอนให้เราสันโดษในคู่ครอง แต่กิเลสมักเป่ามนต์ให้เราลืมหลงเสีย มองข้ามความรู้สึกในจิตในใจอีกฝ่าย ที่ยึดถือว่าคู่ครองคือ สมบัติโดยชอบธรรมของตนแต่ผู้เดียว ใครจะมาล่วงล้ำก้ำเกินอธิปไตยไม่ได้ โดยลืมเฉลียวใจไปว่า คนของเราเองนั่นแหละ เป็นฝ่ายปล่อยตัวเปิดใจทอดสะพานออกไปชักพาศึกเข้า "บ้าน" เวรภัยจึงเกิดขึ้น และสะสมพอกพูนเพิ่มอย่างไม่รู้จบ เกิดทั้งโรคภัยทางใจ ทั้งโรคภัยทางกายที่ร้ายแรงยิ่งกว่ามะเร็ง ปัจจุบันใครๆ ก็สยองโรคเอดส์ แต่เวลาพรานใจเป่ามนต์มหาละลวย มนุษย์เราก็ลืมกลัว ลืมตาย ลืมศีลธรรม ซึ่งเป็นรั้วกางกั้นเราจากภัยพิบัติทั้งหลายทั้งปวง

เราจึงบริโภคสิ่งแวดล้อมด้วยความมัวเมา ขาดสติ ไร้ปัญญา ก่อมลภาวะให้กับจิตใจและสังคมรอบล้อมตัวเรา ครอบครัวเดือดร้อน ร้าวฉาน จนถึงขั้นแตกหัก ลูกเต้ากลายเป็นเด็กมีปัญหา เกิดแผลทางจิตใจกลายเป็นคนขาดความเชื่อมั่นในตนเอง และหิวกระหายความรัก ความเอาใจใส่
นึกๆ ดูก็น่าหัว ของใช้ส่วนตัวเช่น แปรงสีฟัน หรือชุดชั้นใน เราพิถีพิถัน ใครจะมาหยิบยืมใช้ร่วมกันเป็นไม่ได้ แต่สิ่งที่สนิทชิดเชื้อเป็นส่วนตัวยิ่งกว่านั้นคือ คู่เสพ คู่ครอง เรากลับไม่ระมัดระวังในการใช้สอย เห็นเป็นของสาธารณะที่จะหยิบฉวยผลัดกันใช้ ยืมกันครอง
มนุษย์เรามีอะไรประหลาดๆ ทำนองนี้ พิถีพิถัน จู้จี้ถี่ถ้วนกับสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ไร้สาระ ต่างสะเหร่าประมาทขาดสติ ลุ่มหลงตกเป็นเหยื่อของโลกามิสในสิ่งสลักสำคัญ จนตนเองหมดอิสรภาพ เอาตัวไม่รอด

ปัญหาที่ติดตามมาไม่ใช่หยุดเพียงแค่คนสองคนที่ทำหุ้นส่วนเป็นคู่ชีวิตกันเท่านั้น ยังกระทบกระเทือนลุกลามไปยังลูกเต้าอีกด้วย ในรายที่พ่อแม่เป็นโรคจากการสำส่อนในการเสพ เป็นต้นว่า ซิฟิลิส หรือหนองในพยาธิสภาพอาจก่อผลให้ลูกในครรภ์มีความพิการแต่กำเนิด หรือติดโรคขณะคลอดได้

นอกจากบริโภคโดยกิน โดยเสพแล้ว ยังบริโภคโดยการใช้สอยอีกด้วย

มนุษย์ใช้สอยธรรมชาติอย่างสุรุ่ยสุร่ายสิ้นเปลือง ก่อมลพิษจนโลกภินท์พังมานับครั้งไม่ถ้วนแล้ว สัตว์ทำสงครามกันเพื่อแย่งชิงอาหาร หรือที่อยู่อาศัย ก็เพียงใช้เขี้ยวเล็บ กำลังกายแห่งตน แต่มนุษย์ทำสงครามกันมีทั้งมีดพร้า ธนูอาบยาพิษ ปืนผาหน้าไม้ ก้าวไกลต่อไปถึงลูกระเบิด ขีปนาวุธ นิวเคลียร์ สารพิษ เชื้อโรค ฯลฯ และ ฯลฯ

ขณะต่างฝ่ายต่างมุ่งหวังความเป็นใหญ่ มุ่งแต่จะประหัตประหารทำลายล้างกัน ความรู้เห็นตามเป็นจริงถูกบดบังไว้ด้วยเพลิงโทสะ และความยึดผิดเห็นผิดนั้น ต่างฝ่ายต่างก็เข่นฆ่าตนเองไปด้วยไม่รู้ตัว เพราะยิ่งทำลายกันมากเท่าไร ธรรมชาติก็เสียสมดุลไปเท่านั้น ทำให้สภาวะของการดำรงชีวิตอยู่ถูกกระทบกระเทือนตามไปด้วย จนถึงขั้นวิกฤต คือ เป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิต

เมื่อถึงจุดนี้ ฝ่ายแพ้ก็ถูกทำลาย ฝ่ายชนะก็ถูกทำลาย

ธรรมชาติคือ ผู้ทรงอำนาจเที่ยงแท้แน่นอนในวาระสุดท้ายเสมอ และเป็นผู้จุดสรรพสิ่งให้ดำเนินไปตามวัฏจักร กลับคืนสู่สมดุลธรรมชาติอย่างไม่เปลี่ยนแปลง

นั่นคือ การใช้สอยด้วยเรี่ยวแรงของโทสะ เรามักบริโภคสิ่งต่างๆ กันด้วยโลภะที่ฝังรกรากอยู่ในจิตใจ ไขว่คว้าแสวงหาลาภ ยศ ทรัพย์ศฤงคารทั้งโดยสุจริตและทุจริต กิเลสในใจเป็นแรงขับเคลื่อนให้ใจวิปริตแปรปรวนตามไป หลงใหลในอำนาจวาสนาบารมี จนคิดว่าแผ่นดินและแผ่นน้ำซึ่งเป็นสาธารณะสมบัติ เป็นสมบัติส่วนตน จึงสะสม แย่งชิง เบียดบังมาเป็นของๆ ตน

ไม่ใช่แต่ยุคนี้ที่คนกิเลสหนาปัญญาหยาบ ตัดไม้ทำลายป่า ขุดดินระเบิดขุนเขา ทำดินให้เป็นพิษ หมดสภาพที่จะใช้เพาะปลูกได้ แม้สมัยก่อนพุทธกาล เมื่อโลกเริ่มอุบัติขึ้นอาภัสสรพรหมก็หลงใหลในรสง้วนดิน จนวิบัติจากสภาพพรหมมาเป็นมนุษย์แล้วก็ไม่หลาบไม่จำ ยังหวงแหนก่อวิวาท แย่งชิงกันเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ข้าวสาลี หวงแหนของตัวเอาไว้ แล้วไปขโมยจากเพื่อนบ้าน ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่สภาพแวดล้อมบีบคั้นทุกข์ยากหนักขึ้นโดยลำดับ เพราะใจที่ไม่รู้จักบริโภคด้วยเหตุด้วยผล ด้วยความมีประมาณ มีขอบเขต ทำให้เราก่อทุกข์ก่อโทษให้ตัวโดยไม่จำเป็นต่อเนื่องซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นสายโซ่ไม่รู้จบสิ้น

เราลุ่มหลงในเทคโนโลยี ในความรู้ทางโลกใหม่ๆ ความจำกัดของพื้นแผ่นดินที่อยู่อาศัยเทียบกับอัตราส่วนประชากร ทำให้เราแผ่ขยายในแนวดิ่งแทนแนวราบที่คุ้นเคยมา แต่เราไม่ทันรอบคอบ คิดถึงน้ำหนักแท่งลองฟ้าที่ผุดขึ้นระเกะระกะ ทำให้น้ำหนักที่ทิ้งลงบนผิวแผ่นดินไม่ได้สมดุลกัน ก่อให้เกิดความกระเพื่อมของชั้นดินข้างใต้ เกิดแรงสั่นสะเทือนเป็นแผ่นดินไหว ภัยธรรมชาติต่างๆ นานาติดตามมา จนกว่าสมดุลใหม่จะเกิดขึ้น
เราต้องการการคมนาคมที่สะดวกรวดเร็ว มีการตัดเส้นทางเชื่อมโยงถึงกันโดยไม่ทันได้คิดว่า เราโค่นไม้ทำลายป่า เพื่อปรับเป็นถนนสร้างสภาวะผิดธรรมชาติขึ้นมาแทน ที่สมดุลดั่งเดิม ที่เคยรองรับซับกระแสน้ำป่า สกัดกั้นพายุและภัยธรรมชาติต่างๆ ให้อยู่ในขอบข่ายที่ไม่ก่อความเดือดร้อนและอันตรายแก่เรา

เมื่อกันชนธรรมชาติเหล่านี้ถูกทำลายหมดไปด้วยเข้าใจว่า เป็นการพัฒนาบ้านเมืองไปสู่ความเจริญ แต่แท้ที่จริงเป็นการเปลี่ยนแปลงไปสู่ภัยธรรมชาตินานัปการ ฝนที่เคยตกในปริมาณปกติธรรมดา ก็กลายเป็นกระแสน้ำเชี่ยวไหลบ่าเข้าสู่เมือง เกิดอุทกภัย เสียหายวุ่นวาย ขณะเกิดก็รวดเร็วปานจักรผัน ครั้นเมื่อสาเหตุผ่านพ้นไป ภัยเหล่านี้ก็สงบลงทันควัน ทุกอย่างเข้าสู่สภาพปกติประหนึ่งไม่มีอะไรเกิดขึ้น
เพราะอันที่จริง ทุกอย่างก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงผิดแผกไป เพียงแต่กันชนธรรมชาติถูกความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของมนุษย์โยกย้าย ทำลายเปลี่ยนแปรไป เท่านั้นเอง

โลกซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมจึงสำแดงความเป็นไตรลักษณ์ เตือนสามัญสำนึกของมนุษย์ให้รู้จักใช้สติสัมปชัญญะปัญญา ไตร่ตรองหาความพอเหมาะพอดีในการจะอยู่ จะบริโภคใช้สอย และพึ่งพาอาศัยสิ่งแวดล้อมอย่างพอดีพอควร

ตรงที่เคยเป็นผืนน้ำมหาสมุทรก็สามารถเปลี่ยนเป็นที่ราบสูง ดอนแห้งแล้ง ตรงที่เคยเป็นเมืองอยู่อาศัยก็ถูกน้ำแร่เดือดจากปล่องภูเขาไปไหลท่วม กลายเป็นซากหินแร่ หรือถูกทะเลโคลนสาดทับ กลายเป็นเมืองใต้ดินไป ที่ราบก็กลายเป็นภูผาโขดเขา เพราะความเปลี่ยนแปลงที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยพลังผลักดันของกิเลส

ป่าที่ไม้ใหญ่ถูกโค่นต่อเนื่องกัน โดยมิได้ปลูกไม้ใหม่ทดแทนเพื่อรักษาสมดุลไว้ มินานผิวดินที่เคยชุ่มชื้น เพราะอุ้มน้ำก็กลายเป็นหินตาย ร่วนแตกระแหง แปรเปลี่ยนเป็นทะเลทรายแทนป่าชุ่มชื้นเขียวขจีตามธรรมชาติ เราก็เริ่มเคยชินกับที่ราบแตกระแหงสุดลูกหูลูกตา และมีป่าคอนกรีตระเกะระกะขึ้นมาแทนที่

สัตว์ป่าที่เคยเป็นอาหารให้มนุษย์ก็ร่อยหรอ สูญพันธุ์ สัตว์น้ำก็ถูกรบกวนเบียดเบียน ความอุดมสมบูรณ์ก็เริ่มแปรเปลี่ยนไป ดินที่เคยเหมาะแก่การเพาะปลูกก็เริ่มจืด เสื่อมสภาพอุดมสมบูรณ์หรือถูกรุกไล่ไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นแทนการทำเรือกสวนไร่นา

มนุษย์และโลกจึงเปลี่ยนแปลงไม่มีเวลาหยุดอยู่นิ่ง บางครั้งแลเสมือนพัฒนาก้าวหน้า บางครั้งตกต่ำซวนเซ แต่ความเป็นจริงแล้ว ความเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏขึ้นนี้หมุนวนเป็น วัฏจักรซ้ำแล้วซ้ำอีกอยู่เช่นนี้ ตราบชั่วอนันตกาล เพราะไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ยุคป่าเถื่อนหรือมนุษย์ยุคไฮเทค ต่างก็หนีไม้พ้นกฎธรรมชาติที่ต้องบริโภคธรรมชาติเป็นเครื่องอยู่อาศัย เริ่มด้วยกินเพื่อยังชีพ เสพเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ และใช้สอยเพื่อหาความสะดวกสบายให้ตัวเองตามฐานะ

หากรู้จักฉลาดบริโภคตามความพอเหมาะพอดี ไม่ล่วงล้ำก้ำเกินสมดุลธรรมชาติ ความสงบผาสุก ร่มเย็นก็แผ่ซ่านปกคลุมชุมชนและสังคมสรรพสิ่งมีชีวิตก็อยู่กันอย่างเป็นเพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย เกื้อกูล อนุเคราะห์กันและกันตามสติกำลังความสามารถ

แต่ถ้าบริโภคด้วยกิเลส ตัณหา อวิชชา อุปาทาน เราก็ฆ่าตัวเอง ทีละเล็กละน้อยโดยไม่รู้ตัว และเป็นอยู่แบบตายผ่อนส่ง แล้วก็ร่ำร้องหาตัวผู้ร้าย บ่อนทำลายความสงบสุขเพื่อจะมาลงโทษ โดยหารู้ไม่ว่า ตัวเองนั่นแหละคือ จำเลยตัวฉกรรจ์

รู้เช่นนี้แล้ว ถึงเวลาหรือยังที่เราจะลืมตาตื่น แนะสอนใจของตนให้รู้จักกิน รู้จักใช้โดยมีประมาณ.

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >