หน้าหลัก arrow หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 1256 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

สันติขึ้นอยู่กับตัวท่านด้วย : พระคุณเจ้าบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ พิมพ์
Thursday, 13 January 2011

สันติขึ้นอยู่กับตัวท่านด้วย

จะมีสันติขึ้นได้ ก็ต้องแล้วแต่สภาพคนดี มีศีลและจิตใจสูง

พระคุณเจ้าบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์


สันติเกิดขึ้นได้

แต่สันตินั้นจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ต้องมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง พระสันตะปาปา ปอล ที่ 6 ได้ทรงตอบไปแล้วโดยตั้งเป็นคำขวัญวันสันติสากล ปี 1974 ไว้ดังนี้ว่า "สันติขึ้นอยู่กับตัวท่านด้วย"

1. สันติขึ้นอยู่กับมนุษย์

สันติเกิดขึ้นได้ถ้ามนุษย์สนใจ พยายามสร้างสรรค์มันขึ้นมา และมีไว้ในตัวตนเอง
สันติจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมนุษย์มีปัญญา มีสภาพการบางอย่างอยู่ในตนเอง สันติที่เกิดขึ้นเช่นนี้ จึงเป็นสันติแบบมนุษย์ เป็นสันติที่แท้

ทั้งนี้หมายความว่า สันติมิได้มาจากวัตถุภายนอกแต่อย่างเดียว สันติต้องเกิดมาจากเสรีภาพของมนุษย์ สันติขึ้นอยู่กับมนุษย์

แต่ก็มิได้หมายความว่า สันติไม่ต้องการสภาพสิ่งแวดล้อมภายนอกด้วย เพราะชีวิตมนุษย์ขึ้นอยู่กับการรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติทุกอย่าง ทั้งในดิน ในน้ำ และในท้องฟ้า อย่างดีและถูกต้อง ชีวิตมนุษย์ยังขึ้นอยู่กับการรู้จักแบ่งปันทรัพยากรเหล่านี้ให้ทั่วถึงกันทุกคนอย่างยุติธรรม ฯลฯ มิฉะนั้นแล้ว จะเกิดปัญหาน่าวิตก ดังที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้คือ ปัญหาสภาพแวดล้อมเป็นพิษ ปัญหาประชากร ปัญหาสลัม ปัญหาการเอารัดเอาเปรียบกันในการค้า ฯลฯ เป็นต้น (สมณสาสน์ Populorum Progressio 26 และ Octogesima Adveniens 37) ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะดิน น้ำอากาศก็จริง แต่มันมีความสัมพันธ์กับมนุษย์ทั้งในส่วนตัว และส่วนรวมอย่างใกล้ชิด มีอิทธิพลเหนือความเป็นอยู่ของมนุษยชาติ จึงนับว่าปัญหาเหล่านี้มีส่วนสำคัญเกี่ยวกับสันติด้วย

อนึ่ง ความสามัคคีปรองดองกันระหว่างมนุษย์ทุกคน ทุกชาติ จะยั่งยืนอยู่ได้ก็ต้องอาศัยองค์การอันเป็นเสมือนกลไก ให้มีการติดต่อสัมพันธ์กันในทุกเรื่องทุกระดับ เช่น การไปมาหาสู่ การทำสัญญากัน ตลอดจนความสัมพันธ์ทางการทูต ทางเศรษฐกิจ ทางสังคม การศึกษา การเผยแพร่ข่าวสาร ฯลฯ ซึ่งถ้าเอาหน่วยงานและองค์การต่างๆ นี้มารวมกันแล้วก็เปรียบได้เสมือนเครื่องจักรมหึมา ที่ต้องทำงานทั้งวันทั้งคืน เพื่อบริการมนุษย์ทุกฝ่ายในทุกระดับ องค์การต่างๆ เหล่านี้ เป็นประดุจเครื่องกลไกที่ทำงานแทนตัวมนุษย์ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า องค์การเหล่านี้มักทำงานไม่ได้ผล หรือมักจะก่อให้เกิดผลร้ายด้วยซ้ำไป เพราะนานเข้าองค์การเหล่านี้มักจะล้าสมัย ขาดความกระตือรือร้น จนเข้าขั้นชอบอยู่กับที่ ไม่สามารถก้าวหน้าออกไปสู่ความต้องการใหม่ๆ และในที่สุด ก็ก่อให้เกิดการกดขี่และความอยุติธรรมเกิดขึ้น ถือมนุษย์เป็นสิ่งของ คนจนและคนอ่อนแอกลับตกเป็นหุ่นยนต์ ทำให้เมืองมนุษย์เป็นจอมปลวกไปเสีย ฉะนั้น เพื่อป้องกันมิให้องค์การเหล่านั้นมาเป็นนายเหนือมนุษย์ มนุษย์จึงต้องพยายามเป็นผู้สร้างสรรค์ เป็นนายให้ได้ มิใช่เป็นทาสของสิ่งที่ตนทำขึ้นมา ดังนี้ มนุษย์จะต้องใช้มันให้ถูกวัตถุประสงค์ และสร้างมันขึ้นมาได้อีกถ้าจำเป็น

หากมนุษย์มัวแต่ใช้วัตถุปัจจัยเพื่อให้เกิดสันติ ก็เท่ากับว่า สร้างตึกระฟ้าด้วยเครื่องจักรแต่อย่างเดียว ไม่ใช้นายช่าง และถ้าจะให้นายช่างสร้างตึกโดยไม่หาเครื่องมือเครื่องจักรที่ทันสมัยให้ใช้ นายช่างก็ทำไม่ได้

การที่มนุษย์รู้จักใช้ความสามารถในตัวสร้างสันติ และรู้จักใช้เครื่องมือและวัตถุปัจจัยในการสร้างสันตินั้นด้วยแล้วไซร้ จึงนับว่าครบถ้วน


สันติขึ้นอยู่กับมนุษย์ทุกคน

ปัจจุบัน สันติมีความหมายกว้างมาก คือ หมายถึงสังคมที่พัฒนาได้ผลสำเร็จ มิได้หมายเพียงว่าปลอดสงคราม แต่หมายถึงสังคมที่สามัคคีปรองดองกัน มีความยุติธรรม และเจริญครบครัน เมื่อวัตถุประสงค์ของสันติมีความหมายกว้างคลุมไปทั่วโลกเช่นนี้ ก็จำเป็นอยู่เองที่ผู้สร้างสันติต้องกินความถึงมนุษย์ทุกคน

สันติเกิดขึ้นได้อย่างยากเย็น มีงานสลับซับซ้อน จึงจำเป็นอยู่เองที่ต้องใช้นักวิชาการที่รู้จักเทคนิคสมัยใหม่ (สมณสาสน์ Pacem in Terris 55) สันติจะเกิดขึ้นได้ จะอยู่ยืนนานหรือไม่ โดยมากก็แล้วแต่อำนาจในทุกระดับ ไม่ว่าด้านสังคม การเมือง ด้านคนงาน หรือสื่อสารมวลชน

การสร้างสันติมิใช่งานอดิเรก หรือเป็นงานของบางคนที่มีความรู้ความสามารถ แต่เป็นภาระหน้าที่ของมนุษย์ทุกคน และของแต่ละคน


สันติขึ้นอยู่กับตัวท่านด้วย

สันติไม่ขึ้นอยู่กับท่านแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับท่านด้วยอย่างแท้จริง จะเปรียบให้เห็นได้จากการจราจร หากคนใช้รถใช้ถนนไม่ระวังตัว ก็ทำให้เกิดอุบัติเหตุไปชนคนอื่น หรือคนอื่นมาชนเอาได้ฉันใด ในเรื่องการสร้างสันติก็เช่นกัน หากเราแต่ละคนไม่ยอมรับผิดชอบ คิดเสียว่าเป็นเรื่องของคนอื่น ก็น่าตำหนิติเตียนยิ่งนัก ไม่มีทางแก้ตัวได้เลย พระสันตะปาปา ปอล ที่ 6 ทรงเรียกร้องพวกเราแต่ละคน ให้ทำภาระหน้าที่ของแต่ละคนด้วยความสำนึกรับผิดชอบ และยินดีช่วยกันตอบสนองเต็มความสามารถ


2. กิจกรรมอันก่อให้เกิดสันติ ย่อมใช้ความสามารถทั้งสามระดับของมนุษย์

ระดับปัญญา
มนุษย์สมัยนี้หากจะเป็นนายเหนือจักรวาล เป็นนายเหนือการงานของตนได้ ก็ต้องใช้สติปัญญาของตน ในการสร้างสันติก็เช่นกัน อย่างน้อยที่สุดก็ต้องใช้ปัญญาเรียนรู้ทั้งทฤษฎีและภาคปฏิบัติว่า ลัทธิอื่น ศาสนาอื่นปัจจุบันนี้ เขาเข้าใจสันติว่าอย่างไร ทุกคนจึงมีภาระหน้าที่ที่จะใช้เวลา ปัญญา และความสามารถของตนเรียนรู้เรื่องนี้ ซึ่งเป็นการลงทุนฝ่ายปัญญานั่นเอง อันนับว่า เป็นสิ่งจำเป็นในการเป็น "ผู้สร้างสันติ"

ระดับใจ และน้ำใจ
แต่ละบุคคลยังต้องมีหัวใจอันเป็นคำรวม หมายถึง ความรู้สึกนึกคิด ความปรารถนา ความหวัง ทั้งหมายถึงน้ำใจ ซึ่งทำให้เราเข้าใจในความหมายของสันติ ความยุติธรรม และการพัฒนากระตุ้นให้เราทำงานเพื่อสันติ ความยุติธรรมและการพัฒนาดังที่เราเข้าใจนั้น โลกจะบ้าคลั่งสงคราม หรือจะสามัคคีมีใจเดียวกัน ก็ย่อมแล้วแต่ความเข้าใจอันนี้ ความรัก ความสามัคคีอันเป็นปึกแผ่นแน่นแฟ้น ย่อมเรียกร้องให้ทั่วทั้งโลกรวมตัวกันเข้าเป็นหนึ่งเดียวทั้งในด้านเทคนิค วัฒนธรรม และการเมือง

ความก้าวหน้าทางวิชาการ ทำให้มนุษย์มีความหวัง รู้จักตนเองมากขึ้น และถ้าเอาวิธีการ เทคนิคเข้าช่วยด้วยแล้ว ก็ยังจะช่วยให้มนุษย์มีอิทธิพลโดยตรงเหนือชีวิตของสังคมต่างๆ ได้

ระดับมโนธรรม
เพื่อให้เกิดสันติ พระสันตะปาปา ปอล ที่ 6 เคยตรัสว่า "เราเกาะอยู่กับชีวิตนอกตัวเราเองมาก... เราจึงขัดสนลงในส่วนชีวิตภายใน เพราะชีวิตภายนอกตัวเรามั่งคั่งขึ้น"

ขั้นแรกที่สำคัญคือ ชีวิตภายในจิตใจ การที่จะเป็นผู้สร้างสันติที่รู้สำนึกผิดชอบได้นั้น จำต้องรู้จักรำพึงวิปัสสนา เพราะสันติย่อมเป็นผลของจิตใจที่สามารถหยั่งรู้เข้าใจตัวมนุษย์ ชีวิตมนุษย์ วิถีทางแห่งประวัติศาสตร์ของมนุษย์ และจุดหมายปลายทางของมนุษย์ในแนวใหม่ได้

ก. สันติภายในตัวท่าน
จากนี้ เราต้องก้าวขึ้นขั้นต่อไปจากความรู้ความเข้าใจมนุษย์ ก้าวไปยังความรู้สำนึกผิดชอบทางศีลธรรม ทั้งนี้ มิใช่เพื่อเพิ่มบัญญัติ หรือศีลห้ามขึ้นอีก แต่เพื่อการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงในตัวเราเองอย่างที่พระวรสารเรียกว่า การกลับใจ การเป็นทุกข์เสียใจนั่นเอง เพราะคนต้องกลับเป็นคนใหม่ โดยเริ่มจากข้างใน การปฏิวัติเช่นนี้มีความหมายยิ่งนักสำหรับแนวคิด และแนวดำรงชีวิต ในสมัยศตวรรษที่ 20 นี้ แนวโน้มอันนี้ถือว่า สันติภายในตัวมนุษย์คือ สันติที่มีอยู่ในชีวิตจริง เพราะสันติอันแท้จริงตั้งรากฐานอยู่บนหัวใจมนุษย์ แต่ละคนต้องสร้างสันติขึ้นภายในตัวตนเอง จึงจะสามารถสร้างสันติกับคนอื่นได้ หมายความว่า เพื่อสร้างสันติขึ้นได้ ตนจะต้องมีสันติในตัวเอง ตนต้องเจริญชีวิตฝ่ายจิตต้องครองชีวิตสันติ ด้วยความสงบ อ่อนโยน รู้จักบังคับตน มีใจหลุดพ้น และเข้าได้ดีกับผู้อื่น มีความมั่นคงแน่วแน่ รู้จักทำให้สัญชาติญาณชอบรุกรานผู้อื่นมีความหมายสูงขึ้น แต่ทุกอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นมาจากความรัก และหยั่งรากลึกลงในความรัก ทั้งรักพระและมนุษย์ ซึ่งต้องเป็นค่านิยมอันแรกของผู้สร้างสันติ


คำขวัญวันสันติปีนี้ (ค.ศ.1974) เชิญชวนเราให้มาศึกษาค้นคว้า และรำพึงพิจารณาให้กว้างขวางลึกซึ้งถึงพลังอันล้ำเลิศของความรัก อันเป็นบ่อเกิดความเจริญพัฒนาเรื่อยมาในประวัติศาสตร์

แท้จริง ความคิดเช่นนี้ มีคนสมัยใหม่มากมายหลายคน ไม่ยอมรับแม้ที่เป็นคริสตชนด้วยกัน ฉะนั้น หากเราตั้งใจเป็นผู้สร้างสันติแล้วไซร้ ก็จำเป็นเหลือเกินที่จะต้องพูดถึงแก่นสำคัญอันนี้ให้ชัดเจน

ต้องยอมรับกันว่า ปัจจุบัน อันเป็นสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว มีการต่อสู้กันอยู่ในชีวิตสังคมทั่วไป แม้ที่ประชุมพระสังฆราชทั่วโลกก็ยอมรับว่า ระบบสังคมต่างๆ มักจะก่อให้เกิดความอยุติธรรม และการกดขี่ข่มเหงกัน


การใช้กำลังรุนแรง

หากเราจะบอกว่า เมื่อมีการต่อสู้กันอยู่ในสังคมทั่วไปเช่นนี้ การต่อสู้ก็เป็นสิทธิของมนุษย์ เป็นสิ่งที่ดีถูกต้อง การพูดเช่นนี้ก็ไม่ถูก เพราะเท่ากับยอมรับว่า การต่อสู้มีค่าสูงเหนือกว่าวิธีอื่นใดที่เราจะคิดค้นได้ เพื่อแก้ไขความอยุติธรรมหรือการกดขี่ ถ้ายอมรับเช่นนี้ ก็เท่ากับยอมรับเอาวิธีรุนแรงเข้ามาแก้ไขความรุนแรง ที่เรากำลังประณามอยู่นั่นเอง เท่ากับเรายอมรับว่า กำลังรุนแรงเป็นกฎศีลธรรม หรือกฎหมายบ้านเมืองได้

อีกประการหนึ่ง การเหมาเอาว่าประวัติศาสตร์ล้วนเป็นการต่อสู้นั้น เป็นการดูประวัติศาสตร์อย่างผิวเผิน เพราะถ้าจะพิจารณาความตึงเครียด หรือการต่อสู้ในพวกเดียวกันหรือระหว่างชาติแล้ว จะเห็นว่า ไม่เป็นการยุติธรรมต่อประวัติศาสตร์เลย ในการมองข้ามกฎมูลฐานของสังคมข้อหนึ่งไปเสีย นั่นก็คือ การหันหน้าเข้าหากัน การเกาะกลุ่มกัน และการอยู่ร่วมกันเหล่านี้ล้วนเป็นกำลังผลักดันให้มนุษยชาติทั้งมวลรวมกันเข้าเป็นสังคม

ประการสุดท้าย อันเป็นประการสำคัญยิ่ง คือ การปฏิเสธที่จะหันหน้าเข้าหากัน และไม่ยอมรับการเข้าคืนดีกันใหม่เช่นนี้ จะเรียกว่า เป็นการเชื่อฟังพระวรสาร เป็นการปฏิบัติตามบัญญัติใหม่แห่งความรัก ซึ่งให้เรารักทั้งเพื่อน และศัตรูได้ละหรือ "การเข้าคืนดีกันใหม่" นี้ เรายังมีโอกาสพูดกันอีกอย่างละเอียด กว้างขวางในปีศักดิ์สิทธิ์


ส่วนประกอบแห่งการสร้างสันติ

ส่วนประกอบที่จะนำมาสร้างสันตินั้น ได้แก่

* การรับเอาเป็นภาระหน้าที่ ที่จะรับรู้ และจับจุดแห่งการต่อสู้นั้นๆ

* การรับเอาเป็นภาระหน้าที่ ที่จะแสวงหาการแก้ไขโดยสันติวิธี พยายามแก้ความเชื่อถือที่ว่า การต่อสู้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ (ศึกษาหาวิธีจำกัดหลักเกณฑ์การป้องกันตนเอง)

* การไม่รู้จักเกลียดชังกัน แม้กำลังต่อสู้กันอย่างดุเดือดเผ็ดร้อน แม้เรามีสิทธิที่จะไม่เห็นพ้องด้วย แต่ไม่ยอมมีสิทธิที่จะเคืองแค้นกัน (เพราะการเคืองแค้นกันไม่ใช่ความรักแท้จริงต่อเพื่อนบ้าน)

* เจริญชีวิตอยู่ในสันติธรรม และสัตยธรรม พูดความจริง ทำตามที่ได้พูด

* ปฏิบัติตามพระคริสต์ ผู้ทรงรับทรมาน (สลัดความชั่วทิ้งเสีย) สิ้นพระชนม์ (ปฏิเสธตนเอง) และกลับคืนชีพ (ชีวิตใหม่ในองค์พระเยซูคริสต์)


ข. สันติเกิดขึ้นอาศัยท่าน ท่านเป็นผู้สร้างสันติ

สันติของผู้อื่นต้องการท่าน สันติภายในมิใช่ว่าเป็นการเลี่ยง ไม่สนใจกับสันติในโลก ตรงกันข้ามสันติแห่งดวงใจ ย่อมเป็นหัวใจของสันติ เพราะสันติเช่นนี้ อยู่นิ่งไม่เป็น ต้อง "แพร่ขยาย" ต่อๆ ไปด้วยกิจกรรมดี คนเราสมัยนี้ เป็นต้นเยาวชน จะเชื่อฟังก็ต่อเมื่อพูดแล้วทำให้เขาเห็นด้วย แล้วเขาจึงจะทำตาม นี่เป็นกฎธรรมดาในสังคมทั่วไป มีโอกาสหลายอย่างที่จะให้เราสร้างสันติได้ ช่วยคนอื่นให้เป็นผู้สร้างสันติขึ้นด้วยก็ได้ เช่น

* การที่คนเราชอบความเงียบสงัด เพราะเบื่อหน่ายสังคมอุตสาหกรรมที่อึกทึก หันไปนิยมธรรมชาติ พยายามลดอัตราความเร็วลง ฯลฯ

* การเปลี่ยนจากนิยมปริมาณ หันมานิยมคุณภาพแห่งการดำรงชีวิต

* การหันมาสนใจภาระหน้าที่ขั้นมูลฐานคือ ใช้ชีวิตในการเรียนรู้เรื่องสันติ ความยุติธรรม และการพัฒนา เป็นต้น

โอกาสเหล่านี้ ล้วนทำให้เราแต่ละคนเป็นผู้สร้างสันติได้ แต่มิใช่ทำอยู่แต่เพียงผู้เดียว มนุษย์เราเกิดมาในสังคมและเจริญเติบโตขึ้นในสังคม ฉะนั้น แต่ละคนต้องทำงานและรับผิดชอบในสังคม ความจริงข้อนี้ใช้ได้ทั้งทางสังคมบ้านเมือง และสังคมศาสนา สำหรับคริสตชนแต่ละคน ก็ต้องเป็นผู้สร้างสันติขึ้นในพระศาสนจักรเอง เพราะคริสตชนแต่ละคนเป็นหน่วยหนึ่งของพระวรกายของพระคริสต์ เป็นประชากรพระเจ้า

ฉะนั้น ความคิด วาจา กิจการ แม้กระทั่งข้อคำถามต่างๆ จะหันเหเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ นอกจากจะต้องเข้าสัมพันธ์อยู่กับพระศาสนจักร

เริ่มจากแต่ละคน จนถึงทุกคนรวมกัน เป็นการรวมกันสร้างสันติ

คำขวัญวันสันติปี 1974 หมายถึง การที่ทุกคนในสังคมคริสตชนต้องรวมกันสร้างสันติ (หมายถึงกิจกรรมทางสังคมการเมืองด้วย) นอกจากนี้ยังหมายถึงสังคมมนุษย์อื่นๆ อีกเป็นอันมาก ซึ่งเป็น "ผู้มีน้ำใจดี" ให้เขาได้รวมกันเป็นผู้สร้างอีกด้วย


ค. พระวรสารแห่งสันติ

พระศาสนจักรทำให้สันติมั่นคงขึ้นได้ โดยการประกาศพระวรสาร (ข่าวดี) ในวันฉลองสันติทุกปี พระสันตะปาปา ทรงย้ำถึงความสัมพันธ์อันนี้ ระหว่างข่าวดีของพระคริสต์กับสันติ เรื่องนี้จะพูดกันอย่างละเอียด กว้างขวางในการประชุมสังคายนาพระสังฆราชทั่วโลกคราวหน้า


เพื่อประโยชน์ในการพิจารณา ขอเสนอหัวข้อดังต่อไปนี้

* จะเป็นผู้สร้างสันติ เป็นธรรมทูต ผู้นำข่าวดี และผู้ประกาศสันติของพระเจ้า ในเวลาเดียวกันได้อย่างไร

* ภาระหน้าที่เหล่านี้ จะต้องแบ่งแยกออกจากกันไหม หรือว่าต้องรวมประสานเข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน

* พระศาสนจักร และโลกมนุษย์แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร

* มีข่าวดีสองอย่าง อย่างหนึ่งของโลก และอีกอย่างหนึ่งของพระหรือ

* ใครเป็นผู้ส่งใคร ส่งไปถึงใคร เพื่อประกาศข่าวดีอะไร

* ผู้เป็นพยานถึงพระวาจาที่ได้รับมานั้น ต้องมีบทบาทอย่างไร ต้องทำอะไร

* เราต้องทำอย่างไร เพื่อค้นหาความหมายแห่งสันติของพระคริสต์อันจะทำให้เกิดสันติของโลก

* เราจะนำเอาทฤษฎี "ผู้มีน้ำใจดี" กับทฤษฎี "เครื่องหมายแห่งกาลเวลา" มาใช้ให้เกิดผลได้อย่างไร

* จะทำอย่างไร จึงจะนำเอาปัญหาสันติ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการอภิบาลสัตบุรุษ

* จะทำอย่างไร จึงจะทำให้กิจกรรมนี้ เป็นโอกาสส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างศาสนา


ลักษณะ และทัศนคติของผู้สร้างสันติ

เราอาจให้ลักษณะเด่นๆ สำหรับบรรยายแก่นแท้ของผู้สร้างสันติที่ดี มีศีลธรรม และจิตใจสูงได้ดังต่อไปนี้

ผู้รักสันติและสร้างสันติต้องเป็น

* ผู้มีใจมั่นคง แน่วแน่

* คนชอบเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าทั้งในส่วนตัว และในสังคมโลก (ปรับปรุงให้ทันสมัย)

* คนสร้างประวัติศาสตร์ ถือว่าตนมีส่วนในการทำให้มนุษยชาติดีขึ้น แม้จะเป็นส่วนเล็กน้อยเท่าใดก็ตาม ฉะนั้นเขารู้จักกาลเวลาทั้งปัจจุบัน (ใช้เวลาเป็น) อนาคต (วางแผนล่วงหน้า) และอดีต (ถือที่แล้วมาเป็นบทเรียน รู้จักดูเหตุการณ์ - นิมิตหมายแห่งกาลเวลา)

* ผู้ที่ชอบอุทิศตนเพื่องานในทุกด้าน ไม่ว่าด้านการเมือง สังคม หรือวัฒนธรรม เพื่อนำมาซึ่งสันติ เขารู้จักไว้วางใจ ในพระเจ้าผู้ทรงจัดสรรทุกอย่าง คิดเสียว่าสันติเป็นการที่พระเจ้าทรงสร้างต่อไป พระเจ้าทรงให้คนรับผิดชอบในสันติ และตัวเขาเองก็เป็นผู้จัดสรรทุกสิ่งให้มีสันติ

* ผู้รู้สำนึกในความบาป และพระหรรษทาน

* ผู้ถือเอาความเชื่อมั่น ความหวัง ความรัก และความเมตตา เป็นบ่อเกิดแห่งกำลังใจ และความยินดี

สันติของพระเจ้า ต้องการสันติของมนุษย์
สันติของมนุษย์ ก็ต้องการสันติของพระเจ้า


---------
ที่มา : จากหนังสือ "ศาสนาพลังพัฒนามนุษย์" ปี 2529

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >