หน้าหลัก arrow อยู่กับปวงประชา arrow พระศาสนจักรกับการพัฒนา : พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 458 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 124: เรียนรู้โลกยุคใหม่ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ชีวิต จิตวิญญาณ!?
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 124


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


พระศาสนจักรกับการพัฒนา : พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ พิมพ์
Wednesday, 12 January 2011

พระศาสนจักรกับการพัฒนา ข้อคิดจากจาการ์ต้า อินโดนีเซีย

พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์


เมื่อต้นเดือนธันวาคม 1972 ที่แล้วนี้ ข้าพเจ้ามีโอกาสไปเยี่ยมสำนักงานพัฒนาของคาทอลิก ที่กรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย และได้ทราบว่า องค์การคาทอลิกที่ทำงานพัฒนาในอินโดนีเซียได้มีการจัดรวมตัวกันขึ้นเป็น กลุ่มในระดับต่างๆ จากวัดตามท้องถิ่นเข้าสู่ระดับสังฆมณฑล และจากนั้นก็รวมกันเป็นระดับชาติอีกทีหนึ่ง ในประเทศไทยเราคาทอลิกก็กำลังพยายามรวมกันเข้าเป็นสภาคาทอลิกแห่งประเทศไทย เพื่อการพัฒนาอยู่แล้ว ทั้งนี้ก็เพราะเนื้อแท้ของการพัฒนา และสถานการณ์ปัจจุบันเรียกร้องให้มีการร่วมมือและวางแผนร่วมกันในทุกระดับ

เฉพาะที่กรุงจาการ์ต้า มีสำนักงานขององค์การอุปการะการศึกษาของเด็กอนาถา สำนักงานส่งเสริมสุขภาพของแม่และเด็กและสำนักงานเครดิตยูเนี่ยน ทุกองค์การเหล่านี้เป็นองค์การของคาทอลิก แต่รับใช้ชาวอินโดนีเซียทุกคน โดยไม่เลือกศาสนา สำนักงานมีผู้อำนวยการเป็นฆราวาส หรือ ซิสเตอร์ องค์การเหล่านี้รวมกันเข้าเป็นสภาพัฒนาระดับชาติ สำนักงานระดับชาติมีพระสงฆ์เป็นผู้อำนวยการ การจัดประสานงานของเขายังไม่ได้รับผลร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่กำลังมุ่งไปในทิศทางที่ถูกต้อง มีการวางแผนร่วมกัน การปรึกษาพิจารณาโครงการร่วมกัน การฝึกอบรมผู้นำร่วมกัน ฯลฯ ต่างก็รู้ว่าใครกำลังทำอะไร ได้ผลน้อยมากเท่าใด มีอุปสรรคอะไร และได้แก้ไขแล้วอย่างไร นับเป็นการพัฒนาพระศาสนจักรในอินโดนีเซียอย่างถูกทางและทันสมัย ทั้งยังเป็นการประหยัดแรงคน เงินและเวลาไปในตัว ในเรื่องนี้ เขาก็ไปไกลกว่าเรา

พระศาสนจักรในประเทศไทย เพิ่งจะริเริ่มจัดประสานงานพัฒนาในระดับชาติ เมื่อปี 1972 ที่แล้วมานี้เอง แต่ก็ได้พบอุปสรรค อันเกิดจากความไม่เข้าใจกันเป็นส่วนใหญ่ สมาชิกของสภาฯ เพื่อการพัฒนาเวลานี้ มีองค์การสมาชิกอยู่ 18 องค์การ เป็นสังฆมณฑลเสีย 10 และองค์การฆราวาสกับนักบวชอีก 8 องค์การ ถึงเวลาแล้ว ที่องค์การคาทอลิกที่ทำงานพัฒนาจะรวมกันเข้าจริงๆ จังๆ เสียที เพื่อพระศาสนจักรในประเทศไทยที่รักของเราสามารถบริการรับใช้ประชาชนชาวไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


เรากำลังทำอะไรเพื่อความยุติธรรมในสังคม

เมื่อพระสันตะปาปา ปอลที่ 6 โปรดให้คณะกรรมการยุติธรรมและสันติเข้าเฝ้าเมื่อเดือนกรกฎาคมที่แล้ว พระองค์ได้ตรัสปรารภใคร่จะให้พระศาสนจักรสนใจและเอาใจใส่ในปัญหาความยุติธรรมให้มากขึ้น และลงมือ "ทำงาน" จริงจังให้เกิดความยุติธรรมในสังคม มิใช่เพียงแต่ "พูด" ถึงความยุติธรรมเท่านั้น


กรรมการคณะนี้จึงได้ปรึกษาหารือกับบรรดาพระสังฆราชทั่วโลก เพื่อจะได้รู้ว่าควรทำอะไรบ้างในปัญหานี้ ผลปรากฏว่า มีการเสนอให้

1). จัดอบรมพระสงฆ์และนักบวชให้เข้าใจถึงความยุติธรรมและสันติมากขึ้น เพื่อไปอบรมผู้อื่นได้ในเรื่องนี้

2). ส่งเสริมให้คณะองค์การต่างๆ ที่ทำงานในพระศาสนจักรมีการร่วมมือประสานงานกัน เพื่อสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

3). ในบทเทศน์ก็ดี ในการสอนคำสอน หรือวิชาความรู้ในชั้นเรียนก็ดี ต้องมีการกระตุ้นเตือนให้เกิดความสนใจและเข้าใจปัญหาความยุติธรรมและสันติ

4). บรรดาพระสังฆราช และชาวคาทอลิกเป็นส่วนรวม ต้องกล้าแสดงความคิดเห็นของตนอย่างเปิดเผย โดยทางสื่อสารมวลชน กล้าประณามความอยุติธรรมอันโจ่งแจ้งที่มีอยู่ในโลกปัจจุบัน


คำติเตียนที่น่าคิด

มิสเตอร์ชุลลิกัลป์ กรรมการชาวอินเดียผู้หนึ่งในคณะยุติธรรมและสันติ ได้พูดออกมาตรงๆ ว่า "บรรดาพระสงฆ์และนักบวชในเอเชียขาดความสนใจในเรื่องสังคมเอามากๆ... พระสงฆ์หลายองค์ไม่เคยอ่าน ไม่เคยเรียนคำสอนเรื่องสังคมของพระศาสนจักร ที่มีเขียนไว้ ในพระสมณสาสน์ และเอกสารอันเกี่ยวกับปัญหาสังคมเลย พระสงฆ์และนักบวชเหล่านี้จึง

         ไม่เข้าใจว่า เขามีหน้าที่ต้องเปลี่ยนทัศนคติของตน และโดดเข้ามาทำงานพัฒนา
         ไม่รู้สึกว่า ตนต้องสนใจ รู้จักสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน
         ไม่รู้สึกศรัทธาต่องานการริเริ่มจัดตั้งกลุ่มชน เพื่อศึกษาและลงมือแก้ปัญหาสังคม ในเมื่อฆราวาสไม่สนใจ ไม่อยากลงมือทำหรือทำเองไม่ได้ และเมื่อฆราวาสหรือนักบวชคนใดริเริ่มทำงานอะไรทำนองนี้ พระสงฆ์และนักบวชอื่นๆ ก็มักไม่สนับสนุนด้วยประการทั้งปวง
         ไม่รู้สึกศรัทธาต่อการเอาตัวเข้าไปพัวพัน หรือ ร่วมมืออย่างจริงจังกับองค์การที่พยายามทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันจะนำมาซึ่งความยุติธรรมในสังคม
         มักจะจำกัดวงการงานของตน ทำเฉพาะกับชาวคาทอลิก และผู้ที่เราหวังจะให้เขากลับใจได้ มัวแต่สนใจในเรื่องจารีตพิธีและการโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ โดยอ้างว่าพระสงฆ์และนักบวชมีหน้าที่เช่นนี้เท่านั้น


คำถามที่ควรนำมาพิจารณาบ่อยๆ

เมื่อพระศาสนจักรถือเป็นภาระหน้าที่ ที่จะทำการ "พัฒนา" สร้างสรรค์ความยุติธรรมและสันติ นำความเจริญก้าวหน้าครบครันและชีวิตที่สมบูรณ์มาสู่มนุษยชาติ อันเป็นภาระที่ได้รับการสืบทอดมาจากพระเยซูคริสต์ เพื่อจะได้ทำสืบต่อไปจนสำเร็จ เช่นนี้แล้ว พระศาสนจักรในประเทศไทยที่รักของเราก็ควรสำรวจดูตนเองบ่อยๆ เพื่อจะได้ทำพระภารกิจอันศักดิ์สิทธิ์นี้ให้สมบูรณ์ครบครันไปตามความสามารถ


หัวข้อต่อไปนี้ เปรียบประดุจกระจกเงาที่เราควรหยิบยกขึ้นมาส่องดูสภาพ และการกระทำของพระศาสนจักรในประเทศไทยเราว่าเป็นอย่างไร

1. ประชาชนทั่วไป มีความสำนึกหรือเปล่าว่า เขามีสิทธิที่จะพัฒนา

2. ในสังคมของเรา ยังมีพวกที่เราคิดว่าเป็น "เศษคน" ซึ่งกำลังเป็นเหยื่อของความอยุติธรรม อย่างลืมตาอ้าปากไม่ได้เลย อยู่หรือไม่?

3. พระศาสนจักร ในฐานะที่เป็นกลุ่มชนกลุ่มหนึ่ง รู้หรือเปล่าว่า ในถิ่นที่ตนอยู่นั้น มีสภาพที่ไม่ยุติธรรม อยู่ที่ใดบ้าง?

4. มีอะไรที่แสดงให้เห็นชัดว่า ผู้นำพระศาสนจักรได้พิจารณาสำรวจดูตนเอง

5. มีอะไรบ้างที่แสดงให้เห็นชัดว่า พระศาสนจักรได้กลับตัว กลับใจเปลี่ยนความคิด หันมาเข้าใจให้ถ่องแท้ว่า ตนต้องมีบทบาทอย่างเต็มที่ในโลกปัจจุบัน

6. พระศาสนจักรเคารพสิทธิของคนที่ตนจ้างไว้ หรือได้สนับสนุนให้เขาก้าวหน้าไหม?

7. ฆราวาสกำลังเข้ามาทำหน้าที่สำคัญๆ ในการบริหารทรัพย์สินของพระศาสนจักรหรือเปล่า?

8. มีความเคลื่อนไหวอะไรบ้างไหม ที่สนับสนุนให้สตรีมีส่วนร่วมรับผิดชอบในกิจการงานต่างๆ

9. พระศาสนจักรทำอะไรไป ที่แสดงว่า ตนร่ำรวย หรือเข้าข้างคนรวยบ้างไหม?

10. ในด้านการศึกษาอบรมที่พระศาสนจักรทำอยู่ตามท้องถิ่นต่างๆ ตามโรงเรียน สถาบันนักบวช ทั้งในการเทศน์ หรือในสื่อสารก็ดี ได้มีการอบรมให้รู้จักพินิจพิเคราะห์สังคมที่ตนอยู่ และคุณค่านิยมต่างๆ ของตนบ้างหรือไม่ และเมื่อเห็นคุณค่านิยมเหล่านี้มิได้ส่งเสริมความยุติธรรมสำหรับมนุษย์ทุกคนแล้ว เขาจะทิ้งมันเสียได้ไหม?

11. ในการแก้ปัญหาต่างๆ นั้น พระศาสนจักรและองค์การคริสตชนในท้องถิ่นมักจะกระทำกันเฉพาะในแวดวงของตนเท่านั้นหรือ

12. ในการทำงานพัฒนา ส่งเสริมความยุติธรรมและสันตินั้น พระศาสนจักรในท้องถิ่นของท่านร่วมมือกับคริสตจักรอื่นๆ หรือไม่?

13. แล้วบรรดาพระสงฆ์เล่า เขาสนใจเรื่องความยุติธรรมทางการเมือง การพัฒนาและสันติมากขึ้นไหม?


ต้องลงมือทำ

พระศาสนจักรได้พยามยามเสมอที่จะช่วยมนุษย์ให้พบความจริงในปัญหาสังคม ทั้งยังช่วยมนุษย์ให้ลงมือทำงานเพื่อแก้ปัญหานั้นด้วย อาศัยพลังจากคำสั่งสอนของพระคริสตวรสาร คริสตชนทุกคนต้องลงมือทำ การแถลงเพียงหลักการเท่านั้นยังไม่พอ การชี้ให้เห็นความยุติธรรมก็ยังไม่พอ การประกาศประณามความอยุติธรรมก็ยังไม่เพียงพอ คำพูดอย่างเดียวไม่มีน้ำหนัก ถ้าเราไม่ยอมเอาตัวเข้าพัวพันรับผิดชอบและลงไม้ลงมืออย่างจริงจัง การตำหนิผู้อื่นว่า ไม่ยุติธรรมนั้นมันง่ายมาก เราแต่ละคนนั่นแหล่ะย่อมมีส่วนในความยุติธรรมด้วย

ก่อนอื่น เราแต่ละคนต้อง "กลับตัวกลับใจเราเองเสียก่อน" ความสุภาพถ่อมตนเช่นนี้แหล่ะจะทำให้การกระทำของเรายืดหยุ่นได้ไม่มีทิฐิ ไม่มีการถือพวกถือพ้อง เข้มแข็งพอที่จะเผชิญหน้ากับงานมหาศาลที่เรายังต้องกระทำ

ในการทำงานเช่นนี้ เราคริสตชนมีความหวังอยู่เสมอ เพราะเรารู้ว่าพระคริสตเจ้าอยู่ข้างเรา ทรงทำงานกับเราในโลกนี้ พระคริสต์ผู้ทรงไถ่กู้โลกโดยยอมถูกตรึงกางเขน และทรงกลับคืนพระชนม์อย่างรุ่งโรจน์นั้น ยังทรงดำเนินการไถ่กู้โลกต่อไปทางพระวรกาย คือ พระศาสนจักรของพระองค์ นอกจากนี้ เรายังรู้ดีว่า ยังมีเพื่อนมนุษย์อื่นๆ อีกที่กำลังทำงานเพื่อความยุติธรรมและสันติเช่นกัน เพราะโดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์ทุกคนย่อมมีความปรารถนาประจำใจในอันที่จะอยู่ด้วยกันฉันพี่น้อง และมีความกระหายจะได้ยุติธรรมและสันติ.... (Octogesima Adveniens 48)

-----------
ที่มา : จากหนังสือ "ศาสนาพลังพัฒนามนุษย์" ปี 2529

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >